บทบาท หน้าที่ ภาระ งาน ของ ครู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

บทบาท หน้าที่ ภาระ งาน ของ ครู

ส่อง "ภาระงานครู" งานที่สำคัญที่สุด ที่ครูต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกเหนือจากงานสอนหนังสือเด็ก คืองานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เป็นงานที่ไม่มีเวลา ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้ ต้องก้มหน้าปฏิบัติโดยไม่ปริปาก

เมื่อ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ขอให้ครูปรับแผนการสอน ผ่อนคลายภาระด้านการเรียนเด็ก “ลดเวลาเรียนทุกรูปแบบ ลดการบ้าน งดกิจกรรมรวมกลุ่ม ลดชิ้นงาน ลดการทดสอบทั้งระดับโรงเรียนและระดับชาติ” แต่เจ้ากระทรวงคุณครูทราบหรือไม่ว่าภาระงานครูไม่ได้มีหน้าที่แค่สอนหนังสือนักเรียนอย่างเดียว 

เมื่อรมว.ศธ.อ้างเหตุผลว่า ต้องการให้นักเรียนผ่อนคลาย ลดความเครียดของนักเรียน ที่ต้องเรียนภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำไมรมว.ศธ.ไม่คิดถึงครูบ้างว่าครูควรได้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดภาระงาน ไปพร้อมๆกับนักเรียน ด้วยหรือไม่

ข้าราชการครู มีความรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนก็จริง แต่นั้นไม่ใช่งานทั้งหมดที่ครูต้องแบกรับ การจัดการเรียนการสอนเป็นงานที่ต้องปฏิบัติ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและวิทยฐานะที่สูงขึ้น ครูยังต้องรับการประเมิน ทั้งในระดับโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ

นอกจากความเป็นครูแล้ว ครูยังเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ปฏิบัติที่มีผู้บังคับบัญชามากมาย

จากสาเหตุนี้ เมื่อผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องรับการประเมิน เพื่อเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนวิทยฐานะ จำเป็นที่ครูต้องมีส่วนร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติระดับล่างสุดที่ทุกคนสั่งงานได้ เมื่อผลงานของครูก็คือผลงานของผู้บริหาร

ภาระงานครู นอกจากการประเมินแล้ว ยังมีงานประจำที่ต้องปฏิบัติอีกมากมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น รายงานต่างๆ ในรอบปี รายงานข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ปีการศึกษาละ 2 รอบ ,รายงานปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ,รายงานการเยี่ยมบ้าน ,รายงานการดื่มนมของนักเรียน ,รายงานอาหารกลางวัน ,รายงานข้อมูลครู ,รายงานการดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานศึกษา ,รายงานข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียน ,รายงานกิจกรรมวันสำคัญ และรายงานอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดทั้งปี

ยังมีงานอื่นที่เกี่ยวข้ององค์กรภายนอก เช่น รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา ,รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ,การจัดนิทรรศการแสดงผลงานของโรงเรียน (OPEN HOUSE) ,งานประจำปีของโรงเรียน ,งานวันจบการศึกษา ,การเลี้ยงต้อนรับ ,งานเลี้ยงวันเกษียณอายุราชการ ทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน

และงานที่สำคัญที่สุด ที่ครูต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เป็น งานที่ไม่มีเวลา ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้ ต้องก้มหน้าปฏิบัติโดยไม่ปริปาก

เมื่อรมว.ศธ.ต้องการลดความเครียดให้กับนักเรียนแล้ว รมว.ศธ.ต้องการลดความเครียดให้กับครูบ้างไหม เท่าที่บรรยายมาเป็นส่วนน้อยที่พอจะบอกได้ ในหน้าที่ของครู ยิ่งกับครูท่านใดที่เป็นครูด้วยจิตวิญญาณและใจรักแล้ว หน้าที่ของครูไม่มีเวลาสิ้นสุด เรียกได้ว่า เป็นกันตลอดชีวิต 24 ชั่วโมงต่อวัน

ภาระงานครูที่ไม่จำเป็น ภาระงานที่ซ้ำซ้อน ภาระงานที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ ท่านลดภาระเหล่านี้ให้กับครูบ้าง โครงสร้างการบริหารทุกวันนี้มันทำให้เห็นว่า งานทุกอย่างที่ครูทำไม่ใช่เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเดียว แต่กลายเป็นการแบกรับภาระทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เพื่อประโยชน์ของทุกคน

หยุดภาระงานครู หรือสิ่งเหล่านี้ ตั้งแต่วันนี้ รมว.ศธ. อย่าปล่อยให้ผู้บริหารทำนาบนหลังครูอีกต่อไป เพราะนั่นมันหมายถึงแย่งเวลาที่ครูควรจะอยู่ดูแลนักเรียน ดีกว่าไหม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อ อนุทิน "ลอกการบ้าน" ไทยรักไทย ส่งให้ประชาชนตรวจ ผ่านหรือไม่ผ่าน

ไม่คิดว่าจะมีอยู่จริง "ครูธุรการ" ลูกจ้างนอก ม.33 ของกระทรวงศึกษาธิการ

จุฬาฯ ชูนโยบาย "10 พลัส พลัส" ลดค่าเล่าเรียน-แจกทุน ช่วยนิสิตสู่โควิด

ถ้าครูต้องโกหกผ่าน "แบบประเมิน" ความเสี่ยงโควิด แล้วใครจะพูดความจริง

ถ้า ตรีนุช สั่งให้ "ลด-คืนค่าเทอม" ช่วงโควิด-19 ไม่ได้ส.ส.ปชป.ขอให้ลาออก

วิธีการที่ครูควรจะทำต่อศิษย์ เช่น

1. สอนศิษย์ให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆให้มากที่สุดเท่าที่ครูจะกระทำได้

2. สอนให้นักเรียนหรือศิษย์ของตนมีความสุขเพลิดเพลินกับการเล่าเรียนไม่เบื่อหน่ายอยากจะเรียนอยู่เสมอ

3. อบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยหรือกรอบของคุณธรรมไม่ปล่อยให้ศิษย์กระทำชั่วด้วยประการทั้งปวง

4. ดูแลความทุกข์สุขอยู่เสมอ

5. เป็นที่ปรึกษาหารือ ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์

ครูกับครู

            ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาวิชาชีพครูเพราะครูกับครูที่ทำงานสอนอยู่สถานศึกษาเดียวกันเปรียบเสมือน
บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
หากสมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีความสมานสามัคคีอันดีต่อกันแล้ว นอกจากจะทำให้การอบรมสั่งสอนนักเรียนเป็น
ไปอย่างมีคุณภาพแล้ว
ยังช่วยให้การปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆที่นอกเหนือจากการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้การพัฒนาสถานศึกษา
และการพัฒนาวิชาชีพครูก็จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
วิธีที่ครูควรปฏิบัติต่อครู เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ต่อกัน เช่น

1. ร่วมมือกันในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติอย่างสม่ำเสมอ

2. ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางด้านวิชาการ เช่น การแนะนำการสอน, แนะนำเอกสารหรือแหล่งวิทยาการให้

3. ช่วยเหลืองานส่วนตัวซึ่งกันและกันเท่าที่โอกาสจะอำนวย

4. ทำหน้าที่แทนกันเมื่อคราวจำเป็น 

5. ให้กำลังใจในการทำงานซึ่งกันและกันซึ่งอาจจะแสดงออกในรูปของวาจาหรือการกระทำก็ได้

6.
กระทำตนให้เป็นผู้มีความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันเสมอ ไม่แสดงตนในทำนองยกตนข่มท่านหรือแสดงตนว่าเราเก่งกว่าผู้อื่น

ครูกับผู้ปกครอง

            ผู้ปกครองนักเรียนเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเล่าเรียนของศิษย์และความก้าวหน้าของสถานศึกษา โรงเรียนใดที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาใกล้ชิดโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอโรงเรียนนั้นจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทั้งด้านคุณภาพการเรียนของนักเรียนและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมรอบๆ โรงเรียนวิธีการที่ครูสามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

1. แจ้งผลการเรียนหรือความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบเป็นระยะ ๆ

2. ติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อช่วยแก้ปัญหาของศิษย์ในกรณีที่ศิษย์มีปัญหาทางการเรียนความประพฤติ สุขภาพ อื่น ๆ

3. หาเวลาเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม เช่น เมื่อได้ข่าวการเจ็บป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรม เป็นต้น

4. เชิญผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน เช่น การแข่งขันกีฬา ประจำปี งานแจกประกาศนียบัตรหรืองานชุมนุมศิษย์เก่า เป็นต้น

5. เมื่อได้รับเชิญไปร่วมงานของผู้ปกครองนักเรียน เช่น งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่งานมงคลสมรส เป็นต้น ต้องพยายามหาเวลาว่างไปให้ได้

6. ครูควรร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และอาชีพให้ผู้ปกครองและประชาชนในท้องถิ่นบ้าง จะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของครูมากยิ่งขึ้น

7. เมื่อชุมชนได้ร่วมมือกันจัดงานต่าง ๆ เช่น งานประจำปีของวัด หรือ งานเทศกาลต่าง ๆครูควรให้ความร่วมมืออยู่อย่างสม่ำเสมอ

8. ครูควรแจ้งข่าวสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองได้ทราบเป็นระยะ ๆซึ่งอาจจะส่งข่าวสารทางโรงเรียนหรือการติดประกาศ
ตามที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านก็ได้

            นอกจากครูจะต้องพยายามสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนกลุ่มบุคคลต่าง ๆดังกล่าว ซึ่งถือว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับครูและครูก็ต้อง
เกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลาแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอื่น ๆ
ที่ครูจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยอีก เช่น พระภิกษุกับบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ในวัดซึ่ง
โรงเรียนตั้งอยู่ จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินการงานต่าง
ๆ ของ โรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้นส่วนประชาชนทั่วไปนั้นหากได้รับความประทับใจ
 เมื่อมาติดต่องานกับโรงเรียน
ก็จะเป็นส่วนเป็นพลังอีกส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนงานการศึกษาของโรงเรียนให้ก้าวหน้าต่อไป

            E (Evaluation) – การประเมินผลหมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่
งของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะ
ไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใด
ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบสำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครูสามารถใช้วิธีการต่าง ๆได้หลายวิธี ทั้งนี้อาจจะใช้หลาย ๆวิธีในการประเมินผลครั้งหนึ่งหรือเลือกใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี เช่น


1. การสังเกตหมายถึง การสังเกตพฤติกรรมการทำงานการร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

2. การสัมภาษณ์หมายถึง การสัมภาษณ์เพื่อต้องการทราบความเจริญก้าวหน้าทางด้านการเรียนของนักเรียนซึ่งอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ในเนื้อหาวิชาการที่เรียน วิธีการเรียน หรือวิธีการทำงานเป็นต้น

3. การทดสอบหมายถึง การทดสอบความรู้ในวิชาการที่เรียน อาจจะเป็นการทดสอบทางภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติก็ได้ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ควรมีการ
ทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการเรียนการสอนทุก
ๆ วิชา

4. การจัดอันดับคุณภาพหมายถึง การนำเอาผลงานของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาเปรียบเทียบกันในด้านคุณภาพแล้วประเมินคุณภาพของนักเรียน
แต่ละคนว่าคนใด ควรอยู่ในระดับใด

5. การใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจเป็นวิธีการประเมินผลการเรียนอีกแบบหนึ่ง เพื่อสำรวจตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนทั้งของนักเรียนและของครู

6. การบันทึกย่อและระเบียนสะสมเป็นวิธีที่ครูจดบันทึกพฤติกรรมความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

7. การศึกษาเป็นรายบุคคล หมายถึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ปัญหาในที่นี้หมายความว่าควบคุมทั้งเด็กที่เรียนเก่งและ
เด็กที่เรียนอ่อนรวมทั้งเด็กมีปัญหาในด้านพฤติกรรมต่าง
ๆ ด้วย

8. การใช้วิธีสังคมมิติ เป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเดียวกันประเมินคุณภาพของบุคคลในสมาชิกเดียวกันเพื่อตรวจสอบดูว่า สมาชิกคนใด
ได้รับความนิยมสูงสุดในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ
ด้านก็ได้

9. การให้ปฏิบัติและนำไปใช้ เป็นวิธีการที่ครูต้องการทราบพัฒนาการทางด้านทักษะหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนหลังจากที่ได้แนะนำวิธีการปฏิบัติให้แล้ว

การประเมินผลการเรียนการสอนทุก ๆ วิชาครูควรประเมินความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ

1. ด้านความรู้ (Cognitve Domain ) คือ การวัดความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล

2. ด้านเจตคติ ( Affective Domain)คือ การวัดความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ และความขยันขันแข็งในการทำงาน เป็นต้น

3. ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domian)คือการวัดด้านการปฏิบัติงานเพื่อต้องการทราบว่านักเรียนทำงานเป็นหรือไม่หลังจากที่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีแล้ว
การวัดด้านการปฏิบัติงานหรือด้านทักษะนี้ ครูจะใช้มากหรือน้อยจะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะวิชาที่สอนวิชาใดเน้นการปฏิบัติงานก็จำเป็นต้องมีการวัดด้านการ
ปฏิบัติงานให้มาก
ส่วนวิชาใดเน้นให้เกิดความงอกงามทางด้านสติปัญญาการวัดด้านการปฏิบัติงานก็จะลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการเรียนการสอนทุก ๆ
วิชาควรจะมีการวัดในด้านการปฏิบัติงานบ้างตามสมควร

            R (Research) – การวิจัยหมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความจริงความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี
การวิจัยของครูในที่นี้
อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุต่าง ๆที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้สาเหตุที่ครูต้องรับผิดชอบ
ในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา
ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาเด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียนเด็กที่ชอบรังแกเพื่อน
และเด็กที่ชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ถ้าครูสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            การที่ครูจะแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นครูจะต้องทราบสาเหตุแห่งปัญหานั้น วิธีการที่ควรจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้
ครูจะต้องอาศัยการวิจัยเข้ามาช่วย ดังนั้นหน้าที่ของครูในด้านการค้นคว้าวิจัยจึงเป็นงานที่ครูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูทุกคนจึงควรศึกษากระบวนการวิจัยให้มีความรู้ ความเข้าใจด้วย ขั้นตอนในการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้


1. การตั้งปัญหา

2. การตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา

3. การรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

5. สรุปผล

สำหรับขั้นตอนของการทำงานวิจัยควรดำเนินงานตามลำดับต่อไปนี้
1. การเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย

2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. การจำกัดขอบเขตและการให้คำจำกัดความของปัญหา

4. การตั้งสมมุติฐาน

5. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

6. การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย

7. การรวบรวมข้อมูล

8. การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล

9. การสรุปอภิปราย และข้อเสนอแนะ

10. การรายงานผลการวิจัย            S (Service) บริการหมายถึง การให้บริการ คือครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังต่อไปนี้

1. บริการความรู้ทั่วไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น

2. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัยโดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน

3. บริการด้านอาชีพ เช่นร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้ประชาชนในท้องถิ่น

4. บริการให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรือการทำงาน

5. บริการด้านแรงงาน เช่น ครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน

6. บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ

2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพมีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถ
และความสนใจของนักเรียน
นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตนและรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียน
การสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน

2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา
ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย

3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร

4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์เพื่อจะได้ทราบว่าศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้วการประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า

6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษาปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์

7. ตรงต่อเวลาโดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลาทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย

8. ปฏิบัติงานทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคนโดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
คือ พระภิกษุ
สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนานอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือ
ไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จ
มีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ
ท่องบ่น ตอนก่อนเพล
เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่นพระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ
2 โมงพระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใดคนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อเติมขึ้นไป บางแห่งมีการตรวจสอบในตอนเช้า
ตอนบ่ายจึงเรียนเขียนอ่านต่อ ถ้าใครเกียจคร้านก็จะถูกตีด้วยไม้ บ่าย 4 โมงครึ่งหรือ 5 โมง จึงเลิกเรียน วันหยุดเรียนได้แก่วันพระ และวันที่มีพิธีต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 ).

ภาระหน้าที่ของครูมีอะไรบ้าง

ภาระงานครู นอกจากการประเมินแล้ว ยังมีงานประจำที่ต้องปฏิบัติอีกมากมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น รายงานต่างๆ ในรอบปี รายงานข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ปีการศึกษาละ 2 รอบ ,รายงานปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ,รายงานการเยี่ยมบ้าน ,รายงานการดื่มนมของนักเรียน ,รายงานอาหารกลางวัน ,รายงานข้อมูลครู ,รายงานการดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพ ...

บทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ครูควรเป็นอย่างไร

1.2 บทบาทของครูในการเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเยาวชน โดยการให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียน ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพตามหลักสูตร ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะจัดการสอนโดยวิธีใด ครูต้องมีการวางแผนและเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ไม่ละทิ้งเด็ก และมีการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อให้เด็กเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น

รร มีหน้าที่อะไร

บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 1. จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป 2. จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ 3. พัฒนาหลักสูตร/จัดการเรียนการสอน 4. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ 5. กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ 6. ระดมทรัพยากร ปกครอง ...

การปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูผู้สอนมีอะไรบ้าง

1. ทำการสอน อบรมนักเรียน ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ 2. เอาใจใส่ในการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สม่ำเสมอ 3. ส่งเสริมและเผยเพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 4. อบรมสั่งสอนและผยเพร่ความรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรม ก่านิยม เอกลักษณ์ไทย