เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

ภาวะพร่องออกซิเจน (HYPOXIA)

ภาวะพร่องออกซิเจน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นสาเหตุให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง

ชนิดของภาวะพร่องออกซิเจน

แบ่งตามสาเหตุได้เป็น ๔ ชนิด คือ

๑. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เป็นภาวะพร่องออกซิเจนที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดขึ้นเนื่องจาก

๑.๑ ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง ทำให้ความกดดันย่อยของออกซิเจนลดลงด้วย จึงอาจเรียกภาวะพร่องออกซิเจนแบบนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนจากระยะสูง (Altitude Hypoxia) นอกจากนี้แล้วอาจเกิดจากการกลั้นหายใจ โรคหอบหืด อากาศที่หายใจมีก๊าซอื่นปะปน เป็นต้น

๑.๒ พื้นที่ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสโลหิตลดลง เช่น ปอดบวม ปอดแฟบ มีลมในช่องปอด จมน้ำ เป็นต้น

๑.๓ ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสโลหิตได้สะดวก เช่น ปอดบวม จมน้ำ โรคเยื่อไฮยาลีน เป็นต้น

๒. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ที่เกิดจากความบกพร่องในการนำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลงจากโรคโลหิตจาง หรือการเสียเลือด ภาวะผิดปกติของสารเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ตามปกติ ตลอดจนการที่ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง ที่ทำให้สารเฮโมโกลบิน หรือเม็ดเลือดแดง เกิดความบกพร่องในการจับออกซิเจน เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamides) สารไซยาไนด์ (Cyanide) หรือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นต้น

๓. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสโลหิต (Stagnant Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการไหลเวียนของกระแสโลหิต เช่น การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว หรือภาวะเลือดคั่งอยู่ที่ร่างกายส่วนล่างเนื่องจากแรง G เป็นต้น

๔. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)

เป็นภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไซยาไนด์ เป็นต้น

อาการของภาวะพร่องออกซิเจน

ภาวะพร่องออกซิเจนนับว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากมักจะเกิดอาการขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว (Insidious onset) จนหมดสติไปในที่สุด โดยทั่วไปแล้ว มีอาการ และอาการแสดง ดังนี้

อาการ (Subjective symptoms)

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตนเองรู้สึกได้เช่น มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ร้อนๆ หนาวๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง เคลิ้มฝันเป็นสุข (euphoria) ไม่รู้สึกวิตกกังวลใดๆ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับแต่ละคน และแต่ละวัน อาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งตัวเองอาจสังเกต และจดจำไว้ เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่า กำลังเกิดภาวะพร่องออกซิเจนขึ้นแล้ว

อาการแสดง (Objective signs)

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นหรือตรวจพบได้ เช่น หายใจเร็วและลึกขึ้น (air hunger) เขียวคล้ำ (cyanosis) สับสน (confusion) การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน (muscle incoordination) หรือหมดสติในที่สุด

ระยะเวลาครองสติ (Time of Useful Consiousess)

คือ ระยะเวลาตั้งแต่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการของภาวะพร่องออกซิเจนขึ้น จนกระทั่งหมดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนั้นอาจจะยังไม่ถึงกับหมดสติก็ได้ ระยะเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะสูง ที่ทำการบิน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยตามตารางแสดงระยะเวลาครองสติที่ระยะสูงต่างๆ

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

ตารางแสดงระยะเวลาครองสติที่ระยะสูงต่างๆ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         เคยไหมคะ เวลาที่ไปเที่ยวบนเขา หรืออยู่บนตึกที่สูง ๆ แล้วรู้สึกหายใจลำบาก อึดอัดมากจนอาเจียนออกมา ปวดศีรษะ หรือหัวใจเต้นถี่เร็วผิดปกติ รู้หรือไม่คะว่า นั่นเป็นสัญญาณของ ภาวะพร่องออกซิเจน จากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำค่ะ  ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้น รีบมาทำความรู้จักกับภัยร้ายนี้ เพื่อที่จะได้สังเกต และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณหรือคนที่คุณรักค่ะ

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

สารบัญ

  • ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร? มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดภาวะนี้บ้าง?
  • ภาวะพร่องออกซิเจน สามารถสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง?
  • วิธีป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน

ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร? มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดภาวะนี้บ้าง?

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoxemia) จึงทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้นั่นเอง จนทำให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง จึงแสดงลักษณะผิดปกติออกมาให้เห็นทางภายนอก เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เป็นต้น

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

โดยภาวะพร่องออกซิเจนนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิด ดังนี้ (อ้างอิงข้อมูลจาก สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)1. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจาก

  • ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการที่ขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น ภูเขา ยอดตึก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากความกดบรรยากาศลดลง ออกซิเจนจึงเบาบางไปด้วย กล่าวคือ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าตอนอยู่ที่ระดับพื้นดินนั่นเอง ภาวะพร่องออกซิเจนชนิดนี้ ยังอาจเกิดจากการกลั้นหายใจ อากาศที่หายใจมีก๊าซอื่นปะปน หรือเกิดในผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • พื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสเลือดลดลง มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดแฟบ มีลมในช่องปอด เป็นต้น
  • ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสเลือดได้สะดวก มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดบวม เป็นโรคเยื่อไฮยาลีน หรือจมน้ำ เป็นต้น

2. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia) โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เป็นโรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก ภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ ยาเสพติด ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

3. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) เกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือด เช่น แรงดันเลือดจากหัวใจลดลง เนื่องจากเป็นโรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น4. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้ เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนด์ เป็นต้นในคนปกติทั่วไปจะระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 80 – 100 มิลลิเมตรปรอท (อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Thai Nurse Club) แต่ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจะมีระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่าคนทั่วไป โดยแบ่งความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้ 3 ระดับ คือ

  • Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 60 – 80 มิลลิเมตรปรอท
  • Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 40 – 60 มิลลิเมตรปรอท
  • Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

ในปัจจุบัน มีการพบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ก็มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือก็คือมีออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าคนทั่วไป โดยที่ไม่ได้แสดงอาการผิดปกติใดออกมา แพทย์เรียกอาการนี้ว่า happy hypoxemia

อ่านบทความ : เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด จำเป็นอย่างไรในยุคโควิด-19

ภาวะพร่องออกซิเจน สามารถสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง?

ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน อาจมีความรุนแรงและอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกัน เนื่องจากมีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากการอยู่บนที่สูง ยิ่งหากอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรืออยู่เป็นระยะเวลานานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น หรือในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าคนที่แข็งแรงทั่วไป แต่ถึงอย่างไร ก็สามารถสังเกตอาการบ่งชี้ภายนอกได้ดังนี้

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

  • ผิวหนังซีด หรือเป็นสีเขียวคล้ำ
  • ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
  • มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา
  • หายใจลำบาก ถี่ หรือมีเสียงหวีด
  • รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • ตาพร่ามัว สับสน มึนงง ซึม
  • การรับรู้ตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ อาจเข้าสู่ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้

ส่วนในเด็กก็อาจอาการข้างต้นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่อาจสังเกตอาการผิดปกติ ได้ดังนี้

  • ดูอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
  • เลิกสนใจของเล่น หรือสิ่งที่เด็กเคยสนใจ
  • สังเกตเห็นเด็กนั่งเอนตัวไปทางด้านหน้า เนื่องจากทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ อาจมีอาการหายใจทางปากและมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ

ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่พบอาการบ่งชี้ข้างต้น แต่เราสามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดได้ โดยการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หากพบว่ามีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% นั่นแปลว่าเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ดังนั้น หากสังเกตแล้วพบอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือพบว่าระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติแม้ไม่มีอาการ ก็ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

วิธีป้องกันการเกิด ภาวะพร่องออกซิเจน

สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะทำการบำบัดรักษาด้วยการให้ออกซิเจน เพื่อให้ระดับออกซิเจนในเลือดกลับมาดีขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยเยียวยาให้ร่างกายกลับมาดีขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะพร่องออกซิเจน ก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยลดโอกาสการเกิดได้ค่ะ

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

  • นอนหนุนหมอนสูง หรือปรับฟังก์ชันเตียงให้อยู่ในท่าศีรษะสูง (เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงปรับระดับไฟฟ้า จาก ALLWELL มีฟังก์ชันในการปรับท่าทางที่หลากหลาย สามารถปรับท่าศีรษะสูงได้) เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่
  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน
  • หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
  • หากเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้ที่เคยมีภาวะพร่องออกซิเจน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศเบาบาง
  • หากเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด และได้รับการพ่นยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก

สรุป

ภาวะพร่องออกซิเจน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ แต่ก็เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย ซึ่งบางครั้ง มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้น หรือตรวจวัดออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว แล้วพบว่าออกซิเจนต่ำผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ก่อนจะเกิดภาวะรุนแรงค่ะ