งาน วิจัย เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อ การ ศึกษา


  1. SRU Intellectual Repository
  2. Graduate School(Theses/IS)
  3. Education
  4. Education Administration: Independent Study (IS)

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/653

ชื่อเรื่อง:  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ:  THE USE OF INFORMATION TECHNOLOGY FOR MANAGEMENT OF SCHOOLS UNDER NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
ชูศักดิ์ เอกเพชร
ปิยะนุช บัวชุม
คำสำคัญ:  เทคโนโลยี
สารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา
วันที่เผยแพร่:  2561
สำนักพิมพ์:  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ:  ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ถือว่าจำเป็นต่อผู้บริหาร ยุคใหม่ที่ต้องใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างเร่งด่วน ประกอบกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรภายในสถานศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงาน และการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความรู้ ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และขาดการกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบการบริหารจัดการขาดความคล่องตัวก่อให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการงานต่าง ๆ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ถือเป็นภารกิจหลักที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน 1,761 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 317 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหาร งานทั่วไปตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามประสบการณ์การสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณและด้านการบริหารงานบุคคลมีความคิดเห็นไม่เห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการบริหารงานทั่วไปมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากร โดยการฝึกอบรมปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในด้านการการจัดการเรียนการสอนด้านการบริหารงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา และควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยและดำเนินการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพผู้เรียนและชุมชน
URI:  http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: Education Administration: Independent Study (IS)

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จารึก ชิ้นสมบัติ. (2550). การศึกษาสภาพและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร .

ชริสา พรหมรังสี. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ถวิล เกษสุพรรณ์. (2552). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ทรงวิทย์ ชูวงศ์. (2550). กระบวนการบริหารจัดการของสถานศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมด้านความปลอดภัยแก่นักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเจดีย์(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ทินกร พูลพุฒ. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก(ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). คุณธรรมสาหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ยุทธศักดิ์ ไชยสีหา. (2555). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษาหลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็นและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.

สมเดช สาวันดี. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุขุม เฉลยทรัพย์และคณะ. (2551). เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.