งานวิจัย การใช้สมาธิเป็นฐาน

สมาธิ: กับการแก้วิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน

Authors

  • สิริธนา บริบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Keywords:

สมาธิ, วิกฤต, พฤติกรรม

Abstract

                    การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาคนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันพบว่านักเรียนโดยเฉพาะระดับมัธยมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่สนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบในการเรียน
ไม่ทำงานที่มอบหมายให้ ใช้เครื่องมือสื่อสารในแบบผิด ๆ ทะเลาะวิวาท การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จและการเสพสิ่งเสพติด ก่อให้เกิดความเสียหายทุกด้านโดยเฉพาะด้านสังคมและเศรษฐกิจ อันเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนโดยใช้หลักสมาธิเป็นวิธีหนึ่งที่ควรนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน หลักของสมาธิมีกล่าวทุกศาสนาและลัทธิความเชื่อ วิธีการฝึกสมาธิก็เป็นไปตามแนวคิดของแต่ละศาสนาหรือลัทธินั้น ๆ ในส่วนของศาสนาพุทธก็มีหลายวิธีตามจริตของแต่คน ส่วนการนำสมาธิมาแก้ไขวิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เช่น สมาธิบำบัดจะช่วยบำบัดความเครียดได้ผลดี มีผลต่อร่างกาย อารมณ์และจิตใจของมนุษย์ ทำสมาธิแล้วจะสามารถช่วยให้อารมณ์ดี สงบเย็น ผ่อนคลาย สภาพจิตดี ความคิดรู้ผิดชอบชั่วดีเกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการลดพฤติกรรม การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐานซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความตั้งใจของตัวผู้เรียน เอาจิตใจจดจ่อกับเรื่องที่เรียนอย่างมีระบบ ต่อเนื่อง ครบวงจร จนเป็นสมาธิต่อกระบวนการเรียนรู้ทั้งการฟัง การคิด การพูด การเขียน อันส่งผลต่อพฤติกรรม โดยสรุปสมาธิทำให้มีสติทุกเวลาในการคิด พูด ทำซึ่งจะทำให้ยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและส่งผลให้ความคิด ความจำของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2562). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และอุดม ตะหน่อง. (2562). สมาธิกับจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่14 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2562). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี - เตรียมชัยศรี. (2561). การปฏิบัติสมาธิ เพื่อการเยียวยาสุขภาพ. จัดพิมพ์โดยกองการแพทย์ทางเลือกกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ศุภกฤษ ไชยศร. (2564) การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน(Concentration - Based Learnin). โรงเรียนไทยรัฐวิทยา95 (วัดโพธิ์ทองบน).

สุภาพรรณ เพิ่มพูน, อนุชา โสภาคย์วิจิตร์ และณฐภัทร อ่าพันธุ์. (2563). การฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน 2563.

งานวิจัย การใช้สมาธิเป็นฐาน

How to Cite

บริบูรณ์ ส. (2021). สมาธิ: กับการแก้วิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 35-50. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/45

Issue

Section

บทความวิชาการ

เบญญาภา อรุณโชติ
โรงเรียนเสริมปัญญา ต.ปากเเพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
E-mail:

1. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

๏ บริบทโรงเรียน
โรงเรียนเสริมปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เปิดสอนระดับชั้นปฐมวัย ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีจำนวนนักเรียน 569 คน

การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน คือ ภารกิจหลักของงานวิชาการในโรงเรียน ผู้บริหารและครูจึงมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ เพราะการเรียนการสอนเป็นหน้าที่หลักของครู  ไม่ว่าจะเป็นครูสอนในระดับการศึกษาใด หรือประเภทวิชาใด และผู้บริหารก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการสอนแก่ครู เพื่อให้การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ ให้เป็นคนดี และอยู่ดีมีสุขในสภาพสังคมปัจจุบัน โดยเน้นเรื่องการใช้อินทรีย์สังวร คือ การใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในการกินอยู่ ดู ฟังให้เป็น โดยเฉพาะเด็กๆ ถ้าปฏิบัติตามหลักการจะมีความภูมิใจและมั่นใจในตนเอง เพราะเป็นการปฏิบัติที่เกิดจากปัญญา  คนที่มีปัญญาทำสิ่งใดจะทำด้วยความรู้ เมื่อทำอะไรด้วยความรู้ก็จะมีความมั่นใจในตนเอง  ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำทางวิชาการที่เข็มแข็ง เป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมในการนำนวัตกรรมรูปแบบต่างๆมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนากระบวนการเรียนรู้ กระบวนการสอนให้ได้ผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียน ครูก็เป็นส่วนสำคัญที่จะต้องพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ด้วยวิธีบูรณาการ

ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จึงได้นำนวัตกรรมต่างๆเข้ามาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ โดยนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีคุณภาพอย่างสูงสุดกับนักเรียน โดยใช้การเรียนรู้โดยสมาธิเป็นฐาน (Concentration-based Learning) คือ การเรียนรู้ การทำให้รู้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือระดับปัญญาที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับ การเรียนรู้เป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน (Internal Phenomenon) จากความตั้งมั่นของจิตใจ  มีจิตใจจดจ่อมุ่งมั่น หรือภาวะจิตที่แน่วแน่มั่นคงต่อสิ่งที่เรียนรู้ ที่กำหนดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการเรียนรู้ที่จิตกำหนดแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การคิดพิจารณา หรือการทำกิจกรรมอื่นใดที่มีต่อการเรียนรู้นั้น เกิดปัญญาเห็นแจ้งโดยการเรียนรู้ทุกครั้ง ผู้เรียนรู้จะต้องนำหลักของสมาธิเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ทุกขั้นตอน (ชัยยศ ประไพพงษ์,2553)

สมาธิ  หมายถึง การมีจิตมุ่งมั่นแน่วแน่อยู่กับการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การฟังครูสอน การลงมือปฏิบัติ การทำกิจกรรม การทำการบ้าน การมีมารยาทที่เหมาะสม ฯลฯ สมาธิเป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้ และมักได้กับตัวเฉพาะบุคคล อาจเชื่อมโยงกับบุคลิกภาพที่ดีตามมาด้วย การพัฒนาสมาธิมีประโยชน์หลายอย่าง เพราะจิตที่มุ่งมั่นแน่วแน่นั้น จะทำให้การรับรู้ รู้ดีขึ้นอย่างมาก และสิ่งที่รับรู้จะคงอยู่ในจิตใจ ความทรงจำได้นานมาก  สมองทำงานทั้งจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก เมื่อถึงยามจำเป็น สมองสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มาก่อนหน้านั้นมาใช้งานได้ทันที เมื่อรับรู้ดีแล้ว ความเข้าใจลึกซึ้งก็จะตามมาด้วย และที่สำคัญที่สุดก็คือ สมาธิทำให้เกิดปัญญา

โรงเรียนเสริมปัญญา เป็นโรงเรียนปฐมวัย-ประถมศึกษา ซึ่งเป็นที่ที่ฝึกฝนอบรมให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาแก่เด็ก ฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรในโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อให้นักเรียนมีองค์ความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี และจากการประเมินสภาพโดยทั่วไปของนักเรียน โรงเรียนเสริมปัญญา นั้นพบว่านักเรียนบางส่วนยังมีปัญหาในด้านความประพฤติ คือ ขาดระเบียบวินัยในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ยังขาดมารยาทไทยที่เหมาะสม อีกทั้งนักเรียนยังขาดความเอาใจใส่ในการเรียน ตลอดจนทางด้านสติปัญญา พบว่านักเรียนยังขาดสมาธิความตั้งใจเรียน จึงต้องอาศัยการพัฒนานักเรียนโดยผ่านการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกสมาธิ ประสบการณ์นักเรียน ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนานักเรียนก็คือครูผู้สอน และผู้ที่มีหน้าที่พัฒนาครูคือผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งต้องใช้การนิเทศติดตามช่วยเหลือครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรมการนิเทศการสอนซึ่งผู้วิจัยใช้ทั้งหลักการนิเทศแบบมีรูปแบบและการนิเทศแบบไม่มีรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อให้ครูพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมโดยใช้การเรียนรู้แบบสมาธิเป็นฐาน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการภาย ในกลุ่มสาระทุกกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา และด้านสังคม

๏ สนใจทำวิจัยเรื่อง ………การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้สมาธิเป็นฐาน

วิเคราะห์ที่มาและความสำคัญ

ความสำคัญของเรื่องนี้ ที่จะใช้การทำวิจัยเพื่อทำให้เข้าใจ  คือ

1. มีนักเรียนบางส่วนไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุ  แต่คาดว่า หากเด็กพวกนี้มีสมาธิ ก็จะตั้งใจเรียน มีความรู้ และเปลี่ยนพฤติกรรม  จึงสนใจจะพัฒนากาเรียนรู้ โดยใช้สมาธิเป็นเครื่องมือ การทำสมาธิมีหลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใด  (ต้องใช้ข้อมูลในการเลือกวิธีการทำสมาธิ)  สืบค้นตัวอย่างที่เขาประสบความสำเร็จมาใช้อธิบายวิธีการ

2. ครูเป็นกลไกที่สำคัญ ที่จะพัฒนาด้วยการนิเทศโดยผอ.

ปัญหา คือ (ก.) มีวิธีอื่นหรือไม่ ที่มีประสิทธิภาพกว่าการนิเทศ (การวิจัยน่าจะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการพัฒนาครู)  (ข.) ผู้มานิเทศต้องมีความรู้ (ผอ.คนเดียวไม่พอ)   (ค.) โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ เขาทำอย่างไร  ปัจจัยใดทำให้ครูพัฒนาได้ด้วยตัวเอง

การนิเทศไม่ใช่วิธีเดียว ที่เลือกนำมาใช้พัฒนาครู  แต่ควรจะวิจัยว่า วิธีการใดเหมาะสม และมีปัจจัยใดควบคุมการพัฒนาของครู อาจมีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน


2. วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน

วิเคราะห์วัตถุประสงค์

พัฒนา”การจัดการเรียนรู้” กับ “การเรียนรู้” น่าจะมีความหมายต่างกัน  เพราะ “การจัดการเรียนรู้” เป็นกระบวนการที่จัดขึ้น แต่ “การเรียนรู้” เป็นทักษะที่ตัวนักเรียน บางส่วนมาจากผลของ “การจัดการเรียนรู้”

การศึกษา “ผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้”  จะใช้ข้อมูลอะไรอธิบาย   คะแนนสูงขึ้น  ทักษะการเรียนรู้ดีขึ้น  หรือตั้งใจเรียนมากขึ้น

เนื่องจากกรอบการสนับสนุนทุนจากโครงการนี้ คือ วิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีขึ้น  ดังนั้นต้องจัดความสัมพันธ์ของการทำวิจัยครั้งนี้ให้มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3. วิธีการวิจัย
กิจกรรมที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน
1.1 รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของ ครู นักเรียน ก่อนทำวิจัย

กิจกรรมที่ 2  พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน
2.1 จัดระบบการเรียนรู้
2.2 สังเกตพฤติกรรมของครู นักเรียนระหว่างเรียน

กิจกรรมที่ 3  นิเทศติดตามการสอนของครู
3.1 ประชุมชี้แจง
3.2 สังเกตการสอน

กิจกรรมที่ 4 ศึกษาผลของการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
4.1 รวบรวมข้อมูลหลังทำวิจัย
4.2 วิเคราะห์ผล  แปลผล  และสรุปผลการวิจัย

วิเคราะห์วิธีวิจัย

ใน  4 กิจกรรม ต้องเพิ่มเนื้อหา เพื่อให้ทราบว่า ผู้วิจัยจะทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร  เก็บข้อมูลอะไร จากกลุ่มตัวอย่างไหน  จำนวนเท่าใด แปลผลอย่างไร

ดังนั้นแนะนำให้มีกิจกรรมวิจัย ดังนี้

กิจกรรมที่ 1  ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้

ข้อมูลชุดแรก คือ มีปัจจัยอะไรทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ตั้งใจเรียน  (ชาติพันธุ์  สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ สารอาหาร พัฒนาการของสมอง  และอื่น ๆ)  มีจำนวนเด็กเหล่านี้อยู่เท่าใด  ทำไมเด็กคนอื่นจึงไม่เป็นแบบนี้  ที่ผ่ามมาครูผู้สอนจัดการอย่างไร  ผลการเรียนเป็นอย่างไร  เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศใด   (จะเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างไร จึงจะน่าเชื่อถือ อาศัยแบบสอบถามอย่างเดียวไม่เพียงพอ)

กิจกรรมที่ 2 ศึกษาเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการทำสาธิ

การทำสมาธิ ทำให้เรียนรู้ดีขึ้น อันนี้เป็นความจริงไม่ต้องทำวิจัย  แต่จะใช้เทคนิคหรือวิธีใดจึงจะเหมาะสม อันนี้จึงจะยังต้องการความรู้ ต้องสืบค้นวิธีต่าง ๆ แล้วนำมาทดลองใช้ เพื่อสรุปว่า วิธีใดเหมาะสมสำหรับนักเรียนกลุ่มใด

กิจกรรมที่ 3 ศึกษากระบวนการพัฒนาครู

การพัฒนาครูมีหลายวิธี การนนิเทศเป็นเพียงวิธีหนึ่ง  แนะนำให้เลือกวิธีที่ดี ๆ มาสัก 2-3 วิธี ทดลองใช้ดู และเปรียบเทียบผล

กิจกรรม ที่ 4 ศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียน

สืบค้นข้อมูล  หรือไปดูงานจากโรงเรียนอื่น  เลือกระบบที่ดี ๆ มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน แล้วทดลองใช้ 2 เทอม สร้างกลไกติดตาม และพัฒนา ให้ได้ถึงระดับปัจเจก  เก็บข้อมูลเปรียบเทียบ  ที่สำคัญคือต้องมีข้อมูล ด้านความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อใช้อธิบายว่า ดีขึ้นหรือไม่

4.  แผนการดำเนินการวิจัย (Gantt chart)  (ทำการถอดข้อมูลจากตาราง ได้ดังนี้)
เดือนที่ 1-2  รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของ ครู นักเรียน ก่อนทำวิจัย
เดือนที่ 3-5  จัดระบบการเรียนรู้
เดือนที่ 6-8 สังเกตพฤติกรรมของครู นักเรียนระหว่างเรียน
เดือนที่ 9-10 รวบรวมข้อมูลหลังทำวิจัย
เดือนที่ 11-12 วิเคราะห์ผล  แปลผล  และสรุปผลการวิจัย

วิเคราะห์แผนการดำเนินงาน

ปรับปรุงใหม่ ตามกิจกรรม

5.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เดือนที่ 1-3 ได้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน  (ข้อมูลและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้)
เดือนที่ 4-6 ได้พัฒนาการเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน (ได้กระบวนการจัดการเรียนรู้ สำหรับใช้ทดลอง)
เดือนที่ 7-9 ได้ผลการวิจัย (ได้วิธีการทำสมาธิที่เหมาะสม)
เดือนที่ 10-12 ได้ วิเคราะห์ผล และสรุป (ได้วิธีการพัฒนาครู และผลการจัดการเรียนรู้)

6. งบประมาณ

ไม่เกิน 60,000 บาท

7.เอกสารอ้างอิง

1.นภัสวรรณ  ทัศนาญชลี.2549.การนิเทศที่มีผลต่อการใช้หลักไตรสิกขาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้.
2.ชัยยศ  ประไพพงษ์.2553.แนวทางการเรียนการสอน การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน.
3.ชารี  มณีศรี.2538.การนิเทศการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์โสภณการพิมพ์.
4.สาโรช  บัวศรี.2511.พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่.พระนคร:โรงพิมพ์คุรุสภา.

สรุป

ข้อเสนอโครงการนี้น่าสนใจ เพราะจะได้ความรู้และความสัมพันธ์หลายอย่าง  เช่น การจัดการกับนักเรียนที่มีปัญหา โดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง  การพัฒนาครู ซึ่งต้องใช้แนวคิดของ Learning organization  และการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

แนะนำให้ปรับปรุงข้อเสนอโครงการอีกครั้ง โดยใช้แนวทางที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยเฉพาะควาชัดเจนในวิธีการวิจัย ว่าจะทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร

ผลสุดท้าย คือ นักเรียนกลุ่มนี้มีทักษะในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  ทำให้ได้คะแนนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สูงขึ้น   ถ้าสำเร็จ

ชื่อเรื่องอาจเปลี่ยนเป็น “การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่ไม่ตั้งในเรียน”