งานวิจัยเจลล้างมือ สมุนไพร

Submitted by มัญชรี ศรีจำลอง on Mon, 06/09/2021 - 08:47

กิจกรรมการผลิตเจลล้างมือและสเปรย์สมุนไพรจากเตยหอม ตะไคร้หอมและมะกรูด

วันนี้ (3 กันยายน 2564) วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พื้นที่ขนอม นำโดย ผศ.มริสา ไกรนรา อาจารย์ประจำสาขาศึกษาทั่วไป ดร.ดวงกมล กรรมแต่ง หัวหน้าสาขาศึกษาทั่วไป พร้อมด้วยนักศึกษา ร่วมกันผลิตเจลล้างมือและสเปรย์จากสมุนไพร จากตะไคร้หอม เตยหอม และมะกรูด เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการสกัดกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพรการนำเอาประโยชน์สรรพคุณจากพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติการสกัดกลิ่นหอมจากพืชสมุนไพร การหาแนวทางในการลดใช้สารเคมีและปรับเปลี่ยนมาเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการตระหนักเห็นถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือและสเปรย์จากสมุนไพรจึงมีความจำเป็นในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ณ ห้องปฏิบัติการเคมี วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
---------------------------------------
รายงาน : แผนกประชาสัมพันธ์ งานบริหารและวางแผน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/pr.cim.rmutsv
http://cim.rmutsv.ac.th

ชื่องานวิจัย

ประสิทธิภาพของเจลล้างมือที่ผลิตจากเม่าหลวง (AntidesmathwaitesianumMuell. Arg.) ต่อการทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเจลล้างมือที่ผลิตจากเม่าหลวงในการทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคและการต้านอนุมูลอิสระ โดยการสกัดสารสำคัญอย่างหยาบจากเม่าผงที่บดละเอียด แล้วนำมาสกัดด้วยเครื่องกลั่นระเหยสุญญากาศ ทำให้ได้สารสกัดออกมา ซึ่งคิดเป็นค่า %Yield โดยเฉลี่ยคือ 7.344 ในการทดสอบประสิทธิภาพโดยการหาความเข้มข้นต่ำที่สุดของสารสกัดจากเม่าหลวงในการยับยั้งการเจริญ (Minimum inhibitory concentration: MIC) และทำลาย (Minimum bactericidal concentration: MBC) เชื้อทดสอบ ซึ่งพบว่า ค่า MIC และ MBC ของ Bacillus cereus และ Escherichia coli คือ ความเข้มข้นของสารสกัดเม่าหลวงที่ระดับ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 80 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่า MIC และ MBC ของ Salmonella sp. และ Staphylococcus aureusคือ 20 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับผลของแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ที่ระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งการเจริญและทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคที่ใช้ทดสอบได้ทุกสายพันธุ์ หลังจากนั้นจึงได้เลือกระดับความเข้มข้นของสารสกัด เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือ ได้แก่ สูตรที่ 1 คือ สูตรมาตรฐาน, สูตรที่ 2 คือมีความเข้มข้นของสารสกัด 80 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร, สูตรที่ 3 มี 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร, และ สูตรที่ 4 มี 120 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สำหรับผลการทดสอบความคงตัว (ความเสถียร) ทางกายภาพและชีวภาพของเจลล้างมือ พบว่า ความคงตัวของสีเจลล้างมือสูตรที่มีสารสกัดเม่าหลวงเป็นส่วนผสม ได้แก่ สูตรที่ 2, 3, และ 4 อยู่ในช่วงเฉดสี Greyed- Orange ในขณะที่ช่วงของสีเจลล้างมือสูตรมาตรฐาน (สูตรที่ 1) อยู่ในช่วงเฉดสี Greyed-White สำหรับผลการวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดด่าง พบว่าเจลล้างมือสูตรที่ 4 มีค่า pH เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 5.084 ในขณะที่ในเจลล้างมือสูตรที่ 3 และ 2 มีค่า pH เฉลี่ยอยู่ที่ 5.222 และ 5.277 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรที่ 1 ซึ่งมีค่า pH เฉลี่ยอยู่ที่ 6.813 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเจลล้างมือในการทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค ด้วยวิธี paper disk diffusion พบว่าเจลล้างมือสูตรที่ 2, 3, และ 4 มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อทดสอบทุกสายพันธุ์ ยกเว้น E. coli ได้ดีกว่าสูตรที่ 1 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณยับยั้ง (Inhibition zone) ที่สูงกว่า สำหรับผลการวิเคราะห์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเจลล้างมือทั้ง 4 สูตร พบว่า ตลอดระยะเวลา 30 วัน สูตรที่ 1 มีค่าเปอร์เซ็นต์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าทุกสูตร ในขณะที่สูตรที่ 2 มีเปอร์เซ็นต์ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูงและคงที่กว่าสูตรที่ 3 และ 4 และเมื่อทำการศึกษาการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือทั้ง 4 สูตรโดยใช้วิธี Five-Point-Hedonic Scale ในอาสาสมัคร จำนวน 25 คน โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการทดสอบคือ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความพึงพอใจโดยรวม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยการใช้ Least Significant Difference Test (LSD) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าอาสาสมัครผู้ทดสอบมีความพึงพอใจในทุกตัวแปรคือ ด้านสี, กลิ่น, เนื้อสัมผัส และความพึงพอใจโดยรวมต่อผลิตภัณฑ์เจล ล้างมือสูตรมีสารสกัดเม่าเป็นส่วนผสม ได้แก่ สูตรที่ 2, 3, และ 4 ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 95 แต่มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เจลล้างมือสูตรที่ 1 ซึ่งพบว่าผู้ทดสอบมีความพึงพอใจในทุกตัวแปรที่ใช้ทดสอบต่อผลิตภัณฑ์เจลล้างมือสูตรดังกล่าวมากที่สุด

คำสำคัญ : สารสกัดเม่าหลวง (Mao Luang (AntidesmathwaitesianumMuell. Arg.) extract), เจลล้างมือ (Hand washing gel), ฤทธิ์ในการทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค (Antimicrobial activity), สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

งานวิจัยเจลล้างมือ สมุนไพร

ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือแอลกอฮอล์ถือเป็น “New Normal” อันดับต้นๆ ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและมีไว้ใช้เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน เจลแอลกอฮอล์มีหลายสูตร หลายยี่ห้อ ปัจจุบันมีการใส่สารบำรุงผิวและเพิ่มกลิ่นให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น

งานวิจัยเจลล้างมือ สมุนไพร

กว่าจะเป็นเจลล้างมือที่เราใช้กันต้องผ่านกระบวนการผลิตที่มีส่วนผสมของสารต่างๆ ที่ใครหลายคนอาจไม่รู้ แต่สำหรับ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา จากหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาองค์ประกอบของเจลล้างมือแอลกอฮอล์ พบว่าสารก่อเนื้อเจลที่นิยมใช้มากที่สุด คือ คาร์โบพอล (Carbopol) เป็นโพลีเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการทำให้เกิดเนื้อเจลแอลกอฮอล์ แต่มีข้อควรคำนึงในการทำเจลแอลกอฮอล์ด้วยโพลีเมอร์ชนิดนี้คือ การใช้สารไตรเอทาโนลามีน (triethanolamine) ในการทำปฏิกิริยาสร้างเนื้อเจล ซึ่งหลายประเทศทางยุโรป โดยคณะกรรมาธิการยุโรป European commission  จัดให้สารกลุ่มนี้เป็นสารต้องห้ามในการผลิตเครื่องสำอาง เนื่องจากสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และมีการศึกษาพบว่าสามารถทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิดและก่อตัวจนเกิดเป็นสารกลุ่มไนโตรซามีน (nitrosamines) ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แต่ในประเทศไทยสารนี้ยังคงได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ต้องมีการจำกัดปริมาณการใช้หรือความเข้มข้นในผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงเป็นที่มาของงานวิจัยไฮโดรแอลกอฮอล์เจล” เจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรธรรมชาติที่ อ.ดร.ธีรพงศ์ ได้ศึกษาวิจัย

งานวิจัยเจลล้างมือ สมุนไพร

จุดเริ่มต้นของงานวิจัยเกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เจลแอลกอฮอล์ขาดตลาดอย่างหนัก หลายหน่วยงานภายในจุฬาฯ พยายามผลิตเจลแอลกอฮอล์เพื่อแจกจ่ายให้กับนิสิต เจ้าหน้าที่ และบุคลากรไว้ใช้ในขณะที่ยังเดินทางมาทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย ทำให้ อ.ดร.ธีรพงศ์ พยายามคิดหาวิธีในการผลิตโพลิเมอร์ทดแทนจากธรรมชาติที่มีราคาถูก สามารถขึ้นรูปเจลร่วมกับแอลกอฮอล์ได้ และที่สำคัญไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ในระยะยาว

“เราใช้พอลิเมอร์ “แซนแทนกัม” (Xanthan gum) เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่หาซื้อได้ทั่วไป และใช้ในการประกอบอาหารได้ ซึ่งมีราคาถูกกว่าคาร์โบพอล แต่ปัญหาในการใช้แซนแทนกัมคือการทำให้สารมีประสิทธิภาพโอบอุ้มแอลกอฮอล์เป็นไปได้ยาก ผมจึงนำเทคนิคจากองค์ความรู้เดิมมาปรับองค์ประกอบและกรรมวิธีการผลิต จนสามารถรับแอลกอฮอล์ได้สูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถคงสภาพเนื้อเจลได้แม้เก็บเป็นเวลา 1-2 ปี” อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าว

นอกจากนี้ อ.ดร.ธีรพงศ์ยังเติมอนุภาคนาโนเข้าไป สำหรับคนที่ใช้เจลแอลกอฮอล์ผสมน้ำมันหอมระเหยแล้วไม่ติดทน เป็นเพราะน้ำมันหอมระเหยจะระเหยไปพร้อมกับแอลกอฮอล์ การวิจัยครั้งนี้ได้นำน้ำมันหอมระเหยมาใส่ในเทคโนโลยีระดับนาโนให้กักเก็บและห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยไว้ หลังจากแอลกอฮอล์ระเหย กลิ่นหอมก็ยังคงติดมือนานขึ้น ระยะเวลาในการปลดปล่อยกลิ่นก็ยาวนานขึ้น น้ำมันหอมระเหยนาโนนี้มีการใช้พืชสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เช่น ตะไคร้หอม มะกรูด ซึ่งมีรายงานว่าเป็นสมุนไพรที่มีผลในการฆ่าเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดในอนาคต

งานวิจัยเจลล้างมือ สมุนไพร

อ.ดร.ธีรพงศ์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากเจลแอลกอฮอล์แล้ว แซนแทนกัมพอลิเมอร์ยังสามารถต่อยอดมาสู่เจลกึ่งสเปรย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดี “ก่อนหน้านี้ผมได้ผสมวิตามินอีหรือสารสกัดที่ให้ความชุ่มชื้นให้กับผิว เช่น ใบบัวบก หรือสารต่างๆ ที่มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้น แต่พบว่าแซนแทนกัมสามารถให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้ดีจนรู้สึกได้ว่าใช้แล้วมือนุ่ม ไม่แสบผิว นอกจากนี้สเปรย์แอลกอฮอล์ที่ใช้กันทั่วไปค่อนข้างระเหยเร็ว ระยะเวลาในการสัมผัสเชื้อโรคเร็วเกินไปทำให้ฆ่าเชื้อได้ไม่ดีเท่ากับเจล แต่สำหรับบางคนที่สะดวกแบบสเปรย์มากกว่า ผมจึงทำสเปรย์ในรูปแบบของเจลที่เรียกว่า “สเปรย์เจล” โดยเพิ่มระยะเวลาในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้เหมือนกับเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสูตรที่มาจากพอลิเมอร์ธรรมชาติตัวนี้ด้วยเช่นกัน”

จุดบังเอิญเล็กๆ ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมต่อยอดชิ้นใหม่ จาก ‘วิกฤต’ สู่ ‘โอกาส’ ทำให้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ผลิตโดยอาจารย์นักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ท่านนี้เป็นนวัตกรรมนาโนจากสมุนไพรธรรมชาติ ที่นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์เจลล้างมือแล้ว ยังต่อยอดไปถึงการผลิตเวชภัณฑ์ยาในสัตว์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกด้วย

“สารไตรเอทาโนลามีนใช้ระยะเวลายาวนานจึงก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าต่อไปยังมีการใช้เจลแอลกอฮอล์เป็นเครื่องมือป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในระยะยาว เราก็ควรมองหาทางเลือกใหม่ที่มีความปลอดภัย ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคในอนาคต” อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย