งานวิจัย เกี่ยวกับ ฝาขวดน้ำ

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ปี 2559

เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันขยะที่เกิดจากขวดน้ำพลาสติกมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ขยะประเภทขวดพลาสติกถูกน้ำมาดัดแปลงเป็นสิ่งประดิษฐ์หลากหลายรูปแบบและส่วนใหญ่จะเป็นการนำส่วนตัวขวด และส่วนก้นขวดมาประดิษฐ์เป็นของใช้ต่างๆมากมาย ผู้คิดค้นงานวิจัยจึงตั้งข้อสมมุติฐานว่าหัวขวดน้ำทั้งหลายนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน จึงได้นำส่วนหัวของขวดน้ำมาประดิษฐ์โดยการนำหัวขวดสองหัวมาต่อกันกลายเป็นที่เก็บของเอนกประสงค์ขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง เช่น ใส่ยาอม ครีมทาผิว สบู่เหลว ของที่มีลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆ หรือ เป็นของเหลว ซึ่งฝาขวดเอนกประสงค์ชิ้นนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถเปิดได้สองทาง และมีลักษณะเป็นเกลียว

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นาง ปักจิต คำศรีสุข

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

ฝาขวดอเนกประสงค์

งานวิจัย เกี่ยวกับ ฝาขวดน้ำ

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา


• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

ทำจากฝาขวดน้ำพลาสิก สามารถเปิดได้สองทาง ขนาดเล็กกระทัดรัด สะดวกต่อการพกพา มีลักษณะเป็นเกลียว
1. สามารถนำมาบรรจุของเหลวประเภท ครีม หรือสบู่เหลว เพื่อสะดวกในการพกพาเมื่อเดินทางไกล หรือเมื่อใช้พาหนะเครื่องบิน
2. สามารถนำมาบรรจุยาอมแก้เจ็บคอ หรือ ยาชนิดอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นเม็ดหรือแคปซูล เพื่อให้สะดวกในการรับประทานและการพกพา
3. สามารถนำมาใช้เก็บวัสดุหรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถหยิบไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
4. มีคุณสมบัติพิเศษเปิดฝาได้สองทาง


งานวิจัย เกี่ยวกับ ฝาขวดน้ำ

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา


• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

ชุมชน/สังคม


• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น


วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 284

TITLE NAME

ชื่อโครงการ (Project Name)

อุปกรณ์ช่วยเปิดขวดน้ำดื่ม 2 in 1

ผู้พัฒนา (Owner)

- ธีรพัฒน์ ทองประดู่
- ทิพธน จินดากาญจน์
- สุพรรษา​ จิตรมุ่ง​

อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor)

- สะอารอนิง ดาโอะ

โรงเรียน (School)

สุราษฎร์พิทยา

เนื้อหาบทคัดย่อ (Abstract Detail)

ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมบริโภคน้ำดื่มชนิดบรรจุขวดเนื่องจากเป็นน้ำสะอาดที่ผ่านกรรมวิธีการกรองที่ได้รับการควบคุมและตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล สะดวกต่อการพกพาและมีปริมาณพอเหมาะต่อการบริโภคแต่ละครั้ง แต่จากการสังเกตพบว่า ฝาขวดน้ำดื่มมีพื้นที่จับน้อยและมีผิวลื่น ดังนั้นการเปิดขวดด้วยการออกแรงบีบมือที่ฝาขวดโดยตรงจำเป็นต้องออกแรงมาก จึงเป็นปัญหาสำหรับเด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุและคนที่มีความแข็งแรงของข้อมือน้อย เพราะในการเปิดฝาขวดต้องอาศัยแรงสองแรง คือ แรงบีบมือ เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างมือกับฝาขวด และแรงบิดหรือหมุนในการเปิดฝาขวด เป็นเหตุให้เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีความแข็งแรงของข้อมือน้อยไม่สามารถเปิดฝาขวดน้ำดื่มได้ นอกจากนี้มีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.catdumb.com เผยถึงสาเหตุที่ผู้หญิงญี่ปุ่นเปิดฝาขวดน้ำดื่มไม่ได้ เพราะการเปิดฝาขวดน้ำดื่มต้องอาศัยแรงบีบมือ เท่ากับ 20 kgf แต่แรงบีบมือของผู้หญิงทั่วไปมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10 kgf และมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในเด็กและผู้สูงอายุ จึงไม่สามารถเปิดฝาขวดน้ำดื่มได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า “อุปกรณ์ช่วยเปิดขวดน้ำดื่ม 2 in 1” เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเปิดฝาขวดน้ำดื่มในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิดฝาขวดแบบคานงัด โดยนำหลักการของโมเมนต์มาใช้ในการทดแรง โดยจากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด ทำให้สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยเปิดขวดน้ำดื่ม 2 in 1 ที่มีฟังก์ชันการทำงานและได้รับการออกแบบตรงกับความต้องการ สามารถพกพาได้ในชีวิตประจำวัน ใช้งานและทำความสะอาดได้สะดวกรวดเร็ว และช่วยลดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ กระดูกหรือข้อมือ ลดความหงุดหงิดจากปัญหาเปิดฝาขวดน้ำดื่ม โดยสามารถเปิดฝาขวดน้ำดื่มได้ง่ายด้วยการออกแรงบิดน้อยกว่าปกติเพียงครั้งเดียว จะทำให้เกิดแรงทำงานพร้อมกันสองแรง คือ แรงกดหรือบีบฝาขวดเพื่อเพิ่มเสียดทาน และแรงบิดเพื่อเปิดฝาขวด ซึ่งจากการคำนวณประสิทธิภาพในการทดแรงของอุปกรณ์ช่วยเปิดขวดน้ำดื่ม 2 in 1 พบว่า เมื่อออกแรงบิดเปิดฝาขวดน้ำดื่มอย่างน้อย 1/5 เท่าของแรงต้านระหว่างฝาขวดกับปากขวด ก็สามารถที่จะเปิดฝาขวดออกจากปากขวดได้ และจากการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ทั้งฝาขวดพลาสติกแบบเกลียวและฝาขวดโลหะแบบเกลียว รวมทั้งช่วยลดความเสียหายของหลอดดูดน้ำและลดความเสี่ยงที่จะทำให้ปลายของหลอดดูดน้ำสกปรกหรือสัมผัสเชื้อโรคด้วยการออกแบบฝาปิดขวดน้ำดื่มที่สามารถยึดหลอดดูดน้ำให้อยู่ภายในปากขวดได้