วิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ป. 2

Article Sidebar

วิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย ป. 2

เผยแพร่แล้ว: ส.ค. 25, 2021

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา ,ความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย

Main Article Content

ดุจเดือน ไชยพิชิต

North Eastern University

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนการอ่านตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด และ 2 ) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านดงแสนตอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนครเขต 2  จำนวน  14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นรูปแบบการวิจัยเบื้องต้น Pre-Experimental One Group posttest only design  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา 13 แผน จำนวน 13 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาไทย และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน เฉลี่ยเท่ากับ 47.51 ของคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 79.18 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70

             2.นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา จำนวนนักเรียน 14 คน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.85 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.25 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 71.42 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70                

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวการพัฒนาทักษะภาษาไทย การจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
มยุรา อมรวิไลกุล. (2551). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ ภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วันเพ็ญ พวงมะลิ. (2543). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ที่ ใช้ เกม และการ์ตูน เรื่องประกอบการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2533). การพัฒนาการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. กรุงเทพฯ: ประยูร วงศ์จำกัด.
เอื้อมพร ยั่งยืน. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและเขียนคำ สำหรับนักเรียนที่มีความ บกพร่อง ทางสติปัญญา โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่งด้วยหนังสือเล่มใหญ่. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

ภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.

-2550.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ. : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

______. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตาม

หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา โพธิลักษณ์. (2554). การใช้เกมเสริมทักษะการอ่านคำที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

ชุลี อินมั่น. (2533). การอ่านสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: กรมการศึกษานอก

โรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ.

ถนอม ยนต์ชัย. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ทองพูน ศิริมนตรี. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนสะกดคำตาม

มาตรตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนและกระบวนการเรียนภายา กลุ่ม

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเมืองเสือ.สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

นิภาพร ปวนสุรินทร์. (2542). ผลของการใช้แบบฝึกเกมทางภาษาเพื่อเพิ่มทักษะการอ่านคำ

พื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบุรีรัมย์.

พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2539). ความหมายของความบกพร่องทางสติปัญญา. เอกสารการ

อบรมระยะสั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพ และจ้างงานบุคคลปัญญาอ่อน.

กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ เอกสารการศึกษาพิเศษเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเพื่อการเรียนการสอน. ในเอกสารประกอบการสัมมนา

เชิงปฏิบัติการเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการ

สอน. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภา ตัณฑลพงษ์. (2549). เกมภาษาสื่อความคิดพิชิตการอ่าน. นทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรรณี โสมประยูร. (2539). การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา

พานิช.

เสถียร ยอดคดี. (2554). การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ที.พี. พริ้นท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2557). แนวทางการดำเนินงาน

แก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วยรูปแบบการพัฒนาทักษะภาษาไทยด้วยบันได 5 ขั้น (ภาษาพาเพลิน). ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (เอกสารอัดสำเนา).

อภิชญา สวัสดี. (2546) . การศึกษาความสามารถการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนที่มีความ

บกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนอ่านคำ

ภาษาไทยโดยใช้เกมฝึกทักษะ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร.