ใบเตือน พนักงานเล่นโทรศัพท์

มีวิธีจัดการ กับพนักงานที่เล่นมือถือขณะทำงานอย่างไรบ้างครับ

กระทู้คำถาม

ทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการ

ที่ทำงานผมพนักงานค่อนข้างเล่นมือถือกันเยอะ ทำงานนะทำแต่ก้อไม่complete ก้อเพราะไปเสียเวลาเล่นมือถือเนี่ยแหละ แบบว่าถี่มากมากกับการเล่นมือถือ
ทำไงดีครับ?

0

0

ใบเตือน พนักงานเล่นโทรศัพท์

stepmos

กำลังโหลดข้อมูล...

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

ตักเตือนลูกน้องที่เล่นโทรศัพท์ในเวลางานยังงัยดี ไม่ให้ผิดใจต่อกัน

ลูกน้องชอบแอบเล่นโทรศัพท์(Facebook,line)ในเวลางานบ่อยๆ แล้วไม่ค่อยจะช่วยเพื่อนร่วมงานทำงาน อยากจะตักเตือนเขา แต่ด้วยความที่เข้ามาทำงานใหม่ และก็พอจะสนิทกันบ้าง เลยไม่รู้จะหาวิธีอะไรมาตักเตือนดี จะพูดก

สมาชิกหมายเลข 1569228

มนุษย์เงินเดือน

การบริหารจัดการ

ห้ามแชทเวลางาน ผิดกฏหมาย...

พอดีฝ่ายบุคคล ส่งข้อความเข้าไลน์กลุ่มที่เอาไว้คุยเรื่องงานค่ะ เราเลยสงสัยว่าจริงเท็จอย่างไรคะ? :D:D:D เตือนลูกจ้าง แชตระหว่างทำงาน เลิกจ้างได้.. คำพิพากษาฎีกา ที่ 2564/2557 โจทก์เป็นพนักงานยื่นฟ้อ

hellobecharming

มนุษย์เงินเดือน

กฎหมายแรงงาน

ถ้าบริษัทห้ามพกมือถือ ตลอดเวลาทำงานคุณโอเคมั้ยคะ

บริษัทเราห้ามพก ใช้ได้แต่ตอนพักเที่ยง 12.00-13.00 มีล็อคเกอร์ให้พนักงานเก็บของ มีโทรศัพท์ตั้งโต๊ะของบริษัทให้ประจำแผนก ถ้าเป็นระดับ ผจก. จะมีโทรศัพท์ประจำโต๊ะให้ กฏนี้ เจ้าของบริษัทเป็นคนออกกฏมา มีน้

น้ำตานางฟ้า

มนุษย์เงินเดือน

ทรัพยากรบุคคล

จะทำอย่างไรกับ พนักงานที่นั่งเล่นแต่โทรศัพท์ทั้งวัน ติดโลกโซเชียลมากเกินไป

ขอความเห็นครับ พนักงานนั่งเล่นโทรศัพท์ทั้งวัน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปกติทางบริษัทเปิดให้ใช้อินเตอร์เนท ช่วงเช้าจะปิด 9 โมง เปิดอีกที 12:00 - 13:00 และช่วงเย็นหลัง 17:30 ในช่วง 3 ปีที่ผ

สมาชิกหมายเลข 1001272

เจ้าของธุรกิจ

มนุษย์เงินเดือน

ทรัพยากรบุคคล

เพื่อนร่วมงาน

การเล่นโทรศัพท์ในเวลางานมีความผิดไหม ?

คืองี้ครับ ผมเป็นพนักงานของบริษัทหนึ่งตำแหน่งเป็น Web Programmer ครับ โดยปกติผมก็จะมีงานให้แก้ไขเว็บไซต์นู่นนิดนี่หน่อย พอแก้ไขเสร็จก็คือจบงานผม ด้วยความที่มันว่างก็เลยหยิบโทรศัพท์มาเลย Social บ้าง เล

สมาชิกหมายเลข 5238488

ทรัพยากรบุคคล

การบริหารจัดการ

มนุษย์เงินเดือน

การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

พนักงานประจำ

ใครเคยทำงาน N.C.R rubber industry บ้างมั้ยครับ ฝ่ายexport sale

ตามคำถามเลยครับ บรรยากาศการทำงาน ความกดดันน สภาพแวดล้อม ความก้าวหน้าเป็นยังไงบ้างครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สมาชิกหมายเลข 6456334

บริษัทสตาร์อัพทำประกันกลุ่มได้ไหม

บริษัทมีพนักงานไม่เยอะ มีไม่ถึง5คน สามารถทำประกันกลุ่มให้พนักงานได้ไหมครับ

สมาชิกหมายเลข 3695855

จัดการอย่างไรกับพนักงานฝีมือดีที่ชอบคุกคามพนักงานสาวๆ (ลูกน้อง)

เรื่องแดงจากพนักงานที่ถูกคุกคาม เล่าเรื่องให้ฟัง ตั้งคณะสอบสวมอยู่ ตัวพนักงานก็มีครอบครัวแล้ว และก็ยอมรับว่าทำจริง ลวนลามไม่ถึงขั้นข่มขืน แต่อ้างว่าป่วย ฝีมือการทำงานอยู่ในขั้นดี และทำงานกับบริษัทมานา

slipman

หัวหน้ากับเจ้านายต่างกันอย่างไร

หัวหน้ากับเจ้านายต่างก็สั่งเราได้ บังคับบัญชาเราได้ จึงอยากรู้ว่า  1. ตำแหน่งไหน ระดับไหนถึงจะเรียกว่าหัวหน้า และถึงจะเรียกว่าเจ้านาย 2. หัวหน้าของหัวหน้าก็คือเจ้านายใช่หรือไม่  3. เจ้านา

สมาชิกหมายเลข 7030674

พนักงานกิจกรรมการตลาด

พอดีกำลังหางานใหม่ค่ะ เจอตำแหน่ง พนักงานกิจกรรมการตลาดของToyota โดยรายละเอียดงาน คือสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด เช่น ออกบูธ อยากสอบถามว่ามีพี่ๆคนไหนเคยทำงานนี้บ้าง ทำแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ เป็นของบริษัทอ

สมาชิกหมายเลข 7052659

อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการ

ต้องทำยังไงบ้าง

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

ใบเตือน พนักงานเล่นโทรศัพท์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง

หนังสือเตือนพนักงานหรือลูกจ้าง เป็นเอกสารที่ออกโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจ เช่น ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานโดยตรงของพนักงานผู้ได้รับการแจ้งตักเตือนนั้น โดยออกให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างผู้ที่นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างต้องการจะแจ้งตักเตือน เพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้น รับทราบ ปรับปรุง แก้ไข หรือปฏิบัติตามคำแนะนำ คำสั่งที่นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างได้แจ้ง โดยการแจ้งตักเตือนนั้นอาจมีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น การเข้างานสายหรือเลิกงานก่อนเวลา การปฏิบัติงานที่ผิดพลาดหรือล่าช้า การที่ลูกจ้างหรือพนักงานปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง เป็นต้น

โดยทั่วไป เนื่องจากควาสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น มักจะเป็นไปด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ในกรณีที่เป็นความผิดครั้งแรกและไม่ร้ายแรงมากนัก นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างมักจะแจ้งตักเตือนลูกจ้างโดยวาจาเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียความรู้สึก แต่หากเป็นความผิดร้ายแรง หรือเป็นความผิดที่นายจ้างเห็นว่าควรจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณะอักษร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงใช้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการเลิกจ้างในภายหลัง นายจ้างก็ควรบอกกล่าวตักเตือนพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษร

ในกรณีที่นายจ้างต้องการจะเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง นายจ้างอาจเลือกใช้หนังสือเลิกจ้าง เพื่อแสดงความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับพนักงานหรือลูกจ้างนั้น

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือเตือนพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ผู้จัดทำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่เป็นที่มาของการออกหนังสือเตือนพนักงานหรือลูกจ้างฉบับนี้ เช่น การที่พนักงานหรือลูกจ้างเข้างานสาย ออกงานไว ลาบ่อย หรือขาดงานบ่อย พนักงานหรือลูกจ้างปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง หรือลูกจ้างหรือพนักงานมีผลการปฏิบัติงานที่ช้า ผิดพลาด ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงานที่ทำ
  • แนบ หลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุ หรือเหตุการณ์ที่นายจ้างจะแจ้งตักเตือนนั้นด้วย เช่น บันทึกวันและเวลาเข้า-ออกงานของลูกจ้าง ผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามความคาดหมายหรือตัววัดผล (KPIs)
  • ระบุ มาตรการแก้ไขหรือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีก (ถ้ามี) เช่น ขั้นตอน วิธีการ และกรอบระยะเวลาการปรับปรุงแก้ไข รวมถึง การประชุมและการประเมินติดตามผลการแก้ไขปรับปรุง
  • ระบุ มาตรการลงโทษทางวินัย (ถ้ามี) เช่น การพักงาน การเพิกถอนสิทธิการได้รับเงินตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ทั้งนี้ การลงโทษดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและ/หรือตามที่ตกลงในสัญญา อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่เงื่อนไขใดเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่สุด
  • จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 2 ฉบับ ลงนามโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้าง และส่งแบบปิดผนึกให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ต้องการจะตักเตือน และ
  • ให้ลูกจ้างลงนามรับทราบการแจ้งตักเตือนนั้นด้วย เพื่อให้ลูกจ้างมีโอกาสที่จะตรวจสอบข้อความในหนังสือเตือนฉบับนั้น ว่าถูกต้องหรือไม่ และโอกาสของพนักงาน/ลูกจ้างในการชี้แจงหรืออธิบายข้อเท็จจริง (ถ้ามี) เนื่องจาก การออกหนังสือเตือนฉบับดังกล่าวอาจเกิดจากการเข้าใจผิดของนายจ้างไปเอง หรืออาจมีเหตุผลจากฝ่ายพนักงานหรือลูกจ้างที่นายจ้างอาจสามารถรับฟังได้
  • นายจ้างและลูกจ้างต่างฝ่ายต่างจัดเก็บหนังสือเตือนฉบับดังกล่าวไว้กับตนเพื่อใช้อ้างอิงและใช้เป็นหลักฐาน หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในอนาคต

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหนังสือเตือนพนักงานหรือลูกจ้างที่น่าพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • การจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอันเนื่องมาจากการปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ที่ไม่ใช่ความผิดอันร้ายแรง หากนายจ้างได้ทำการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และลูกจ้างยังปฏิบัติผิดในเรื่องเดิมซ้ำอีก นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างนั้นให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง ทั้งนี้ สำหรับการเลิกจ้างภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติผิดในครั้งแรก
  • การพักงานลูกจ้าง จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นอย่างน้อย

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม