เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชาย 2564

เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชาย 2564

ขนาดตัวอักษร  ก ก ก

|

การแสดงผล

|

|


กรณีคลอดบุตร

16 สิงหาคม 2564

เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชาย 2564

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  • จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 
  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

พิจารณาสั่งจ่าย

 เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
  • 1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
  • 3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
  • 4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
  • 5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
  • 6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
  • 7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
  • 8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
  • 9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

หมายเหตุ

   หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ผู้มีรายได้ประจำคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับกองทุนประกันสังคม ที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนในทุกเดือน เพื่อใช้เป็นเงินส่วนกลางในการจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนตามสิทธิ์ที่ควรได้รับ โดยกองทุนนี้ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกันตนครอบคลุมในเรื่อง เงินค่าคลอดบุตร ด้วย ไปดูกันว่าการ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม จะต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไร และสิทธิที่จะได้รับมีอะไรบ้าง

เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชาย 2564

เอกสารเบิกประกันสังคม ค่าตรวจและรับฝากครรภ์

หลักฐานที่ใช้พิจารณาประกอบการอนุมัติคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ แต่ละครั้งที่ไปโรงพยาบาล

สถานที่ยื่นเรื่อง

สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถยื่นได้เลย ไม่ต้องรอให้เด็กคลอดออกมาหรือจะรอยื่นพร้อมกับ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม เมื่อเด็กคลอดมาแล้วก็ได้

เอกสารเบิกประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมลงชื่อผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (โดยถ้าคลอดลูกมากกว่า 1 คน แนบสำเนาสูติบัตรมาให้ครบถ้วน)
- หากคุณพ่อเป็นฝ่ายยื่นคำขอ ประกันสังคม ค่าคลอด ให้แนบทะเบียนสมรสมาด้วย ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้หนังสือรับรองกรณีผู้ประกันตนไม่มีทะเบียนสมรสแนบมาแทน
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ ที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ยื่นคำขอ โดยรองรับ 9 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

สถานที่ยื่นเรื่อง

การยื่นขอรับ เงินค่าคลอดบุตร สามารถยื่นได้ผ่านสำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข และถ้าไม่เห็นด้วยกับเงินประโยชน์ทดแทนที่ได้รับ สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารแจ้ง

เอกสารเบิกประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมลงชื่อผู้ยื่นคำขอ
- ถ้าเคยยื่นใช้สิทธิแล้วต้องการใช้สิทธิสำหรับลูกคนเดิม ต้องใช้หนังสือ ขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน 1 ฉบับ
- ถ้าฝ่ายคุณแม่เป็นผู้ขอยื่นใช้สิทธิ ประกันสังคมคลอดบุตร ใช้สำเนาสูติบัตรของลูก 1 ชุด ถ้าเป็นแฝดแนบของลูกแฝดมาด้วย
- ถ้าฝ่ายคุณพ่อยื่นใช้สิทธิ ต้องใช้สำเนาทะเบียนสมรสหรือสำเนาทะเบียนหย่าที่มีบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด และสำเนาสูติบัตรของลูก (ถ้าเป็นแฝดแนบของลูกแฝดมาด้วย) 1 ชุด
- ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลมาด้วย จำนวน 1 ชุด
- ถ้าผู้ขอยื่นใช้สิทธิเป็นชาวต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ 1ชุด
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ ที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ยื่นคำขอ โดยใช้ได้กับ 9 ธนาคารต่อไปนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
- สำเนาเอกสารทุกชนิด ที่ใช้ในการยื่นคำขอเงินสงเคราะห์บุตร ต้องลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง และนำเอกสารฉบับจริงมาด้วย เผื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
- หากเอกสารสำคัญเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องแปลเป็นภาษาไทยและลงชื่อรับรองความถูกต้องด้วย สถานที่ยื่นเรื่อง

สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข หรือยื่นเรื่องผ่านทางไปรษณีย์ โดยต้องมีหลักฐานแนบมาครบถ้วน

เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชาย 2564

สิทธิ์ที่จะได้รับมีอะไรบ้าง ?
1. สิทธิประโยชน์ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
2. สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร
3. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
4. สิทธิประโยชน์กรณีแท้งบุตร

ผู้ชายได้รับสิทธิ์ไหม ?

ในกรณีที่คุณพ่อเป็นผู้ประกันตน ก็สามารถใช้สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรได้ โดยจะได้เงินชดเชยน้อยกว่าหากคุณแม่เป็นผู้ใช้สิทธิ ที่จะได้รับเงินค่าหยุดงานเนื่องจากการคลอดบุตรเพิ่มมาด้วย หากบ้านไหนที่สามารถใช้สิทธิได้ทั้งสองคน ยื่นขอใช้สิทธิโดยใช้ชื่อคุณแม่ก็จะได้เงินชดเชยมากกว่าแน่นอน

สิทธิได้รับทั้งคู่เลยไหม?

ถ้าบ้านไหนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้งสองฝ่าย จะไม่สามารถยื่นใช้สิทธิทั้งสองคนได้ในคราวเดียวกัน ต้องเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

เงินชดเชยได้เท่าใด?

เงินชดเชยในแต่ละกรณีจะมีมูลค่าและเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ดังนี้

สิทธิประโยชน์ค่าตรวจและรับฝากครรภ์

ทางสำนักงานประกันสังคมต้องการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ตั้งครรภ์มีการตรวจและดูแลครรภ์อย่างมีคุณภาพ จึงเพิ่มการจ่ายเงินค่าตรวจและค่าฝากครรภ์รวม 1,000 บาท โดยจะแบ่งจ่าย 3 ครั้ง ตามอายุครรภ์ดังนี้
- ครั้งที่ 1 อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ จ่ายตามราคาที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500 บาท
- ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 12-20 สัปดาห์ จ่ายตามราคาที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จ่ายตามราคาที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200 บาท
- ผู้ที่ได้รับสิทธินี้ต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ผู้ทำงานในองค์กรโดยมีนายจ้าง) และ 39 (ผู้ที่ออกจากองค์กรมาแล้วแต่ยังจ่ายค่าประกันสังคมต่อ) ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่เป็นผู้ที่ทำงานอิสระ ไม่มีนายจ้างจะไม่ได้รับสิทธินี้

สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร

- จะได้รับค่าบริการทางแพทย์แบบเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่ได้คำนึงถึงจำนวนเด็กที่เกิด คือถ้าเกิดเป็นลูกแฝดไม่ว่าจะกี่คนก็จะได้เงิน 13,000 บาท เท่านั้น
- ถ้าคุณแม่เป็นผู้ยื่นเรื่องขอ เงินคลอดบุตร จะได้รับสิทธิเพิ่มมาจากฝ่ายพ่อคือ เงินค่าหยุดงานเนื่องจากการคลอดบุตร โดยจะได้รับ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างเฉลี่ย (ฐานเงินเดือนสูงสุดคือ 15,000 บาท) เป็นเวลา 90 วัน โดยสิทธิ เงินคลอดบุตร นี้สามารถรับได้ 2 ครั้งเท่านั้น
- ผู้ที่จะได้รับสิทธิ ประกันสังคมคลอดบุตร จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วนานกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้ สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
- จะได้รับค่าสงเคราะห์บุตรแบบเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาตรต่อเด็กหนึ่งคน โดยจะได้รับสิทธิตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ ซึ่งสามารถยื่นขอสิทธิได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน ถ้าหากครอบครัวไหนมีลูกแฝดสามก็จะได้ค่าสงเคราะห์บุตรเท่ากับ 1,800 บาทต่อเดือนเลย
- ผู้ที่จะได้รับสิทธิ ประกันสังคม ค่าคลอด นี้จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และภายใน 36 เดือนก่อนที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์นี้ นอกจากนี้สิทธินี้ยังสามารถใช้ได้กับผู้ประกันตนตามมาตร 40 ที่เลือกจ่ายเงินแบบทางเลือกที่ 3 โดยจ่าย 300 บาทต่อเดือน (รัฐบาลสมทบให้อีกเดือนละ 150 บาท) ซึ่งจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 200 บาท ครั้งละไม่เกิน 2 คน มีผลตั้งแต่แรกเกิดจนอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ เช่นเดียวกัน

สิทธิประโยชน์กรณีแท้งบุตร

กรณีนี้คงไม่มีใครอยากพบเจอกับตัวเอง แต่ถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมาจริง ๆ ผู้ประกันตนสามารถขอรับสิทธิประโยชน์นี้ได้หากเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดคือ เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วนานกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่จะรับสิทธิ รวมถึงต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือ 7 เดือนด้วย ซึ่งสิทธิที่จะได้รับก็จะมีทั้งค่าฝากครรภ์ (หากยังไม่ได้ยื่นขอสิทธิในตอนต้น) , ค่าคลอดบุตร 13,000 บาท และ เงินค่าหยุดงานเนื่องจากการคลอดบุตรด้วย หากแม่เป็นผู้ยื่นขอรับสิทธิ ส่วนถ้าพ่อเป็นผู้ขอรับสิทธิก็จะสามารถเบิกได้เฉพาะค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรเท่านั้น

สิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมมีอยู่มากมายที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพอย่างมีศักยภาพ ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เงินที่เราจ่ายไปในแต่ละเดือนเกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยบางคนอาจจะไม่ได้สนใจในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าไม่ใช่เงินมากมายอะไร แต่การเลี้ยงลูกคนหนึ่งให้มีคุณภาพนอกจากจะต้องให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่แล้ว เรื่องเงินก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเลย ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบสิทธิของตัวเองด้วย ว่าสามารถยื่นรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่และหวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยตอบคำถามในส่วนของสิทธิประกันสังคมในกรณีคลอดบุตรได้บ้างไม่มากก็น้อย ... สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนครอบครัวจะมีบุตร หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เตรียมคลอด สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูกเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huggies.co.th/th-th/birth มาเตรียมพร้อมการเป็นคุณแม่กันนะคะ

เว็บไซต์อ้างอิง
1.https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_691/233_233
2.https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_694/234_234
3.https://www.sso.go.th/wpr/main/news/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C_detail_detail_1_16_0/3144_3144
4.https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_698/249_249
5. https://www.frank.co.th/blog/
6. https://money.kapook.com/view184534.html
7.https://nhaidee.com/money/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/