กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษา มีประโยชน์

นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนตามความสนใจ ความถนัดเพื่อนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนและสังคม กิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนที่น่าสนใจ มีดังนี้

สารบัญ Show

  • Share this:
  • คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการมีอะไรบ้าง
  • นันทนาการก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด
  • ความสำคัญของนันทนาการคืออะไร
  • กิจกรรมนันทนาการมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไรบ้าง

  1. เต้นรำ ฟ้อนรำและกิจกรรมเข้าจังหวะ
  • เต้นลำลีลาศเป็นกิจกรรมที่นิยมทุกเพศ ทุกวัย จัดขึ้นในงานรื่นเริงต่างๆ
  • ฟ้อนรำเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงลักษณะความประณีต สวยงามและอ่อนช้อย แสดงถึงความเป็นอยู่เครื่องแต่งกายละศิลปะประจำท้องถิ่นนั้น เช่นฟ้อนเล็บเชิ้ง รำกลองยาว
  • กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดนตรี เสียงเพลงหรือจังหวะต่างๆ ให้เข้ากับอัตราความเร็วหรือความช้าของโน้ตในรูปแบบต่างๆ การเต้นรำ ฟ้อนรำ และกิจกรรมเข้าจังหวะให้ความสนุกสนาน ช่วยผ่อนคลายความเครียดของร่างกายและอารมณ์

รอบรู้อาเซียน

การเต้นเป็นพลังอันแข็งแกร่งในวัฒนธรรมประเทศฟิลิปปินส์ มีการจัดตั้งคณะบัลเลย์ขนาดใหญ่และขนาดศิลป์พื้นบ้านแห่งชาติ คือ บายานิฮัน เนชันแนล โฟส์กดานซ์ (Bayanihan National Folk Dance) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกศิลปะการเต้นต่างๆ จึงเป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์ และมีการเปิดสอนในหลักสูตรระดับโรงเรียน และมหาวิทลัยด้วย

        2. ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ

      ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ เป็นกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมต้องใช้มือประกอบกิจกรรมทำขึ้นในยามว่างและไม่ประกอบอาชีพ เป็นกิจกรรมนันทนาการที่แสดงออกถึงความสามารถพิเศษทางศิลปะงานประดิษฐ์และหัตถกรรมมีความละเอียดอ่อน ใช้ทักษะความคิด ความสามารถในหารทำงานและพัฒนาไปสู่ทักษะงานอาชีพ เช่น แกะสลัก งานประดิษฐ์ งานปั้น งานพิมพ์ งานปักถักร้อย ศิลปะการตกแต่งบ้าน

          3. กิจกรรมอาสาสมัคร

อาสาสมัคร หมายถึง ผู้ที่งานด้วยความเต็มใจ ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน เป็นการให้เปล่าไม่คิดเงินและค่าตอบแทนใดๆ  เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เช่น อาสาสมัครของภาชาดไทย อาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในทุกๆด้านรวมทั้งผู้เดือดร้อนทุกข์ยากด้านอื่น

จุดประกายความรู้

สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อใด

คำตอบ: สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยราชกาลที่ ๕ เดิมเรียกว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

         4. กิจกรรมนอกเมือง

กิจกรรมนอกเมืองหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักธรรมชาติได้ไกล้ชิดธรรมชาติได้พักผ่อนย่อนใจไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ธรรมชาติกิจกรรมนอกเมืองยังการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมนอกเมืองที่นักเรียนสามารถเลือกเข้ากิจกรรมโดยทั่วไปได้ดังนี้

  1.   การท่องเที่ยวทัศนศึกษาหรือทัศนาจร การเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุวนอุทยานสวนสาธารณะน้ำตกชายทะเล
  2. กิจกรรมที่ท้าทายความสามรถ เช่น การไต่ยอดเขา การผจญภัยในป่าที่ไม่ได้พัฒนาซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถ
  3. การดูนก ส่องสัตว์ต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ได้พักผ่อนกับธรรมชาติ รู้จักสัตว์ต่างๆ หลากหลายชนิด
  4. การอยู่ค่ายพักแรม การใช้ชีวิตอยู่ค่ายพักแรมเป็นการฝึกให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดีมีความอดทน รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ เคารพในสิทธิผู้อื่น ได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติกิจกรรมของชาวค่ายต้องปฏิบัติด้วยกันมากมาย เช่น การเดินทางไกล การปลูกป่า การกีฬาบางชนิด รวมทั้งกิจกรรมอาสาพัฒนา
  5. การเดินทางไกล ทำให้สมาชิกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยสร้างความอดทนโดยอาศัยความสวยงามตามธรรมชาติเป็นสิ่งจูงใจ การเดินทางไกลมักจะเป็นกิจกรรมหนึ่งของการอยู่ค่ายพักแรมบางประเภท
  6. กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษา มีประโยชน์

การนำกิจนันทนาการไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม

กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งนักเรียนสามารถนำหลักการและแนวคิดของกิจกรรมนันทนาการไปปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังนี้

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษา มีประโยชน์

                  กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่บุคคลทำในเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ และไม่ผิดกฏหมาย แล้วทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสบายใจ

๑ ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ    กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท ได้แก่
                 ๑)กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น
                 ๒)งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น
                 ๓) เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น
                 ๔)กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล
                 ๕) การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น
                 ๖) งานศิลปหัตถกรรม เช่น เขียนภาพระบายสี แกะสลักผัก การปั้น
                 ๗) การอ่าน เขียน พูด เช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือ เขียนบันทึก เป็นต้น
                 ๘) งานสังคม เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น

๒ การเลือกกิจกรรมนันทนาการ
                 กินกรรมนันทนาการมีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงควรมีหลักในการเลือกให้เหมาะสมกับวัย เพศ โอกาส ความรู้ ความสามารถ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
                 ๑) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศและวัย เช่น การเย็บปักถักร้อยเหมาะกับผู้หญิง กีฬาชกมวยเหมาะกับผู้ชาย หมากเก็บเหมาะกับเด็ก ๆ เป็นต้น
                 ๒) ความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะจะทำให้เกิดความสนุกสนานขณะปฎิบัติ เช่น ถ้ามีความสามารถในการพูด อาจเลือกเล่านิทานหรือโต้วาทีร่วมกับเพื่อน เป็นต้น
                 ๓) สภาพร่างกายการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมจะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี เช่น ผู้ที่ป่วยไม่ควรเลือกการเล่นกีฬากลางแจ้ง
                 ๔) โอกาสและสถานที่ เช่น การเล่นกีฬาควรเล่นในสนามหรือโรงยิมเนเซียม การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลไม่ควรไปในฤดูฝน เป็นต้น
                 ๕) สังคม ขนมธรรมเนียม ประเพณี เช่น ไม่ควรเลี้ยงสุกรในชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก เป็นต้น
                 ๖) งานอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานที่ไม่ได้ใช้แรงกายมาก ควรเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง ได้แก่ การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เป็นต้น
                 ๗) ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวกิจกรรมบางชนิดใช้ค่าใช้จ่ายสูง เช่น กีฬากอล์ฟ เล่นเปียโน การสะสมของที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ยากจนดังนั้นจึงควรเลือกให้สอดคล้องกับฐานะ
                 ๘) ประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และส่วนรวม กิจกรรมที่เลือกควรมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เช่น การขุดลอกคูคลอง

๓ ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
                 ๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด
                 ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข
                 ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม
                 ๕) ช่วยลดปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติดเพราะกิจกรรมนันทนาการช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๖) ช่วยในการบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ
                 ๗) ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชองชุมชนและของประเทศ

กิจกรรมนันทนาการนอกสถานศึกษา มีประโยชน์

นันทนาการนอกสถานศึกษามีอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวทัศนศึกษาหรือทัศนาจร การเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุวนอุทยานสวนสาธารณะน้ำตกชายทะเล.
กิจกรรมที่ท้าทายความสามรถ เช่น การไต่ยอดเขา การผจญภัยในป่าที่ไม่ได้พัฒนาซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถ.

กิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม

กิจกรรมนันทนาการนอกเมือง กลางแจ้ง มีประโยชน์อย่างไร

คุณค่าของนันทนาการกลางแจ้ง / นอกเมือง ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติสร้างความสนุกสนานตื่นเต้น สนุกสนานเพลิดเพลิน รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าดำรงชีวิตเข้ากับธรรมชาติได้ เรียนรู้ และเห็นคุณค่าของธรรมชาติโดยตรง

นันทนาการก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด

- เพราะ การทำกิจกรรมนันทนาการ ทำให้เราได้พักผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ทำให้บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือประกอบการงานต่างๆ ได้ดีขึ้น