การอ่านด้วยน้ำเสียงหนักแน่น สั้น กระชับ เหมาะกับการอ่าน เนื้อความ ในลักษณะใด

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 1

1.  งานเขียนร้อยแก้วประเภทใดมุ่งนำเสนอเนื้อหาข้อเท็จจริงทุกข้อ *

ง. จดหมายเหตุ นิยายอิงพงศาวดาร

2.   การอ่านให้เกิดจินตภาพ  ควรปฏิบัติอย่างไร *

ก. อ่านเน้นคำที่สำคัญ และคำที่ต้องการให้เกิดจินตภาพ

ข. อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีในภาษาไทย

ค. อ่านจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ง. อ่านออกเสียงให้ดังกังวานจนผู้ฟังเกิดจินตภาพ

3. การอ่านที่ต้องการเน้น  หรือเพิ่มน้ำหนักของเสียงควรใช้เครื่องหมายใดกำกับ *

4. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของการอ่านแบบพรรณนา *

ก. การอ่านที่เน้นน้ำหนักของเสียง

ข. การอ่านที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตาม

ค. การอ่านที่ลากเสียงช้าๆ และไว้หางเสียง

ง. การอ่านที่ทำให้เกิดเสียงโศกเศร้า แล้วกลับเป็นเสียงปกติ

5.   การอ่านคำให้เอื้อสัมผัสในเพื่อเพิ่มความไพเราะ  เป็นการอ่านในข้อใด *

ก. ไม่มีกษัตริย์ครองปฐพี อ่านว่า ปะ - ถะ- พี

ข. ข้าอุตส่าห์มาเคารพอภิวันท์ อ่านว่า อะ-พิ- วัน

ค. บุญบันดาลดลจิตพระธิดา อ่านว่า พระ- ทิ- ดา

ง. คิดถึงบาทบพิตรอดิศร อ่านว่า อะ- ดิด- สอน

6.การอ่านกาพย์ยานี 11 ข้อใดแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้ถูกต้อง *

ก. นาวา / แน่นเป็นขนัด // ล้วนรูปสัตว์ / แสนยากร // เรือริ้ว / ทิวธงสลอน // สาครลั่น / ครั่นครื้นฟอง //

ข. พระเสด็จโดย / แดนชล ทรงเรือต้น / งามเฉิดฉาย // กิ่งแก้ว / แพร้วพรรณราย // พายอ่อนหยับ / จับงามงอน //

ค. ตับเหล็ก / ลวกหล่อนต้ม // เจือน้ำส้ม / โรยพริกไทย // โอชา / จะหาไหน // ไม่มี / เทียบเปรียบ /มือนาง //

ง. เห็นนวลครวญ / ครุ่นคิด // กำเริบจิต / วาบหวั่นไหว // ไปได้ก็ / จะไป // โอบเอวอุ้ม / พุ่มพวงพยุง //

7.การอ่านบทร้อยกรองประเภทใดที่มีการแบ่งวรรคตอนแตกต่างจากข้ออื่น *

8.การอ่านด้วยน้ำเสียงหนักแน่น สั้น กระชับ  เหมาะกับการอ่านเนื้อความในลักษณะใด *

ก. เนื้อความประเภทสั่งสอน

ข. เนื้อความประเภทตัดพ้อต่อว่า

ค. เนื้อความประเภทแสดงอารมณ์กลัว

ง. เนื้อความประเภทแสดงอารมณ์โกรธ

9.การอ่านคำประพันธ์ประเภทใด สามารถฝึกอ่านได้ง่ายมากที่สุด *

10.  เสียงของกลอนจะไพเราะขึ้นอยู่กับข้อใด *

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

การอ่านออกเสียง 

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของการอ่านแบบบรรยาย

     ก. การอ่านที่ทำให้เกิดเสียงโศกเศร้า แล้วกลับเป็นเสียงปกติ

     ข.  การอ่านที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตาม

          ค. การอ่านที่ลากเสียงช้าๆ และไว้หางเสียง

          ง.   การอ่านที่เน้นน้ำหนักของเสียง

2.  การอ่านให้เกิดจินตภาพควรปฏิบัติอย่างไร

     ก.  อ่านเน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการให้เกิดจินตภาพ

     ข.  อ่านออกเสียงให้ดังกังวานจนผู้ฟังเกิดจินตภาพ

     ค.  อ่านจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

     ง.   อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีในภาษาไทย

3.  การใช้เสียงในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วข้อใดไม่ถูกต้อง

     ก.  ออกเสียงให้เหมาะสมกับประเภทของเรื่องที่อ่าน

     ข.  เน้นเสียงตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ

          ค.  ออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างเป็นธรรมชาติ

          ง.   ออกเสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ

4.  การอ่านที่ต้องการเน้นหรือเพิ่มน้ำหนักของเสียงควรใช้เครื่องหมายใดกำกับ

     ก.  เครื่องหมาย _                 ข.  เครื่องหมาย /_

     ค.  เครื่องหมาย /                  ง.  เครื่องหมาย //

5.  การอ่านโคลงกระทู้มีหลักในการอ่านอย่างไร

     ก.  อ่านกระทู้เรียงตามแนวตั้งก่อน แล้วย้อนไปอ่านตามแนวนอน

     ข.  อ่านตามแนวนอนก่อนแล้วย้อนไปอ่านกระทู้เรียงตามแนวตั้ง

     ค.   ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณา

     ง.  อ่านเหมือนโคลงสี่สุภาพ คือ อ่านตามแนวนอน

6.  การอ่านบทร้อยกรองประเภทใดที่มีการแบ่งวรรคตอน    

     ก.  กลอนสุภาพ                  ข.  กลอนสักวา

7.  การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองมีจุดมุ่งหมายในการอ่านอย่างไร

     ก.  มุ่งให้เกิดความซาบซึ้งในรสของบทประพันธ์

     ข.  มุ่งให้เกิดความงามทางภาษา

     ค.  มุ่งให้เกิดอรรถรสในการอ่าน

8.  การอ่านคำประพันธ์ประเภทใด ฝึกอ่านได้ง่ายที่สุด

9.  การอ่านด้วยน้ำเสียงหนักแน่น สั้น กระชับ เหมาะกับการ

ก.  เนื้อความประเภทแสดงอารมณ์โกรธ

     ข.  เนื้อความประเภทแสดงอารมณ์กลัว

     ค.  เนื้อความประเภทตัดพ้อต่อว่า

     ง.   เนื้อความประเภทสั่งสอน

10.  การอ่านคำให้เอื้อสัมผัสในเพื่อเพิ่มความไพเราะ

     ก.  คิดถึงบาทบพิตรอดิศร              อ่านว่า  อะ-ดิด-สอน

     ข.  บุญบันดาลดลจิตพระธิดา         อ่านว่า  พระ-ทิ-ดา

     ค.  ไม่มีกษัตริย์ครองปฐพี           อ่านว่า  ปะ-ถะ-พี

     ง.  ข้าอุตส่าห์มาเคารพอภิวันท์       อ่านว่า  อะ-พิ-วัน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

อ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 1-2

  ฝูงชนกำเนิดคล้าย       คลึงกัน

 ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ       แผกบ้าง

 ความรู้อาจเรียนทัน        กันหมด

 เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง       ห่อนแก้ฤๅไหว

                                                      (โคลงโลกนิติ)

    1. ใจความสำคัญของบทร้อยกรองนี้อยู่ในตอนใด

     ก.       เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง        ห่อนแก้ฤๅไหว    

     ข.  ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ      แผกบ้าง     

     ค.  ความรู้อาจเรียนทัน          กันหมด 

          ง.  ฝูงชนกำเนิดคล้าย           คลึงกัน

2.  ผู้เขียนบทร้อยกรองนี้มีน้ำเสียงอย่างไร

     ก.  เศร้าโศกสลดใจ

     ข.  แนะนำสั่งสอน

     ค.  รักและห่วงใย

     ง.  ตำหนิติเตียน

3.  ประโยคในข้อใดมีความหมายตรง

     ก.  เมื่อเสร็จจากการทำธุรกิจส่วนตัวแล้วก็ออกเดินทางต่อไป

     ข.  เมื่อไปได้สักครู่เขาจอดรถข้างทางเพื่อลงไปยิงกระต่าย

     ค.  ในโอกาสเดียวกันนั้นเธอก็ลงจากรถไปเก็บดอกไม้ด้วย

     ง.  เขาและเธอไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยขับรถไปเอง

4.  นิทานชาดกจัดเป็นนิทานประเภทใด

     ก.  นิทานนานาชาติ

     ข.  นิทานประจำถิ่น

     ค.  นิทานคติธรรม

     ง.   นิทานอีสป

5.  ข้อใดมีความหมายโดยนัย           

     ก.  ผู้ที่เกี่ยวข้องเดือดร้อนกันไปหมดทั้งตัวเองและ

         ผู้ปกครองที่ต้องลางานมา

     ข.  ทำผิดระเบียบโรงเรียนตามเคยเดี๋ยวฝ่ายปกครอง  

          จะเชิญไปพบ

     ค.  เธอแต่งตัวสวยมากเลยนะนางเอกงิ้วยังแพ้เธอเลย

     ง.  ห้ามไม่ให้แต่งหน้ามาโรงเรียน

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 6-7

“ในช่วงหน้าแล้งกระเจียวใช้ชีวิตอย่างเร้นลับ                         โดยซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนดิน เมื่อฝนแรกมาถึง มันจึงค่อยๆ ชูก้านดอกออกมาอวดสีสวยสดบนพื้นดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจริงๆใบสีเขียวก็จะงอกขึ้นมา จนถึงหน้าแล้งใบเขียวๆ ก็เหี่ยวแห้งไป ถึงคราวที่กระเจียวพักซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน อีกครั้ง”

 6.  ข้อใดคือประโยคใจความรองของข้อความนี้

     ก.  เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจริงๆ ใบสีเขียวก็จะงอกขึ้นมา 

     ข.  ในช่วงหน้าแล้งกระเจียวใช้ชีวิตอย่างเร้นลับโดยซ่อน

         ตัวอยู่ใต้ผืนดิน

     ค.  ใบเขียวๆ ก็เหี่ยวแห้งไป ถึงคราวที่กระเจียว

         พักซ่อนตัวอยู่ใต้ดินอีกครั้ง

     ง.  เมื่อฝนแรกมาถึง มันจึงค่อยๆ ชูก้านดอกออกมา  อวดสีสวยสดบนพื้นดิน

7.  ข้อใดคือประโยคใจความสำคัญของข้อความนี้

     ก.  เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจริงๆ ใบสีเขียวก็จะงอกขึ้นมา 

     ข.  ในช่วงหน้าแล้งกระเจียวใช้ชีวิตอย่างเร้นลับโดยซ่อน

         ตัวอยู่ใต้ผืนดิน    

     ค.  ใบเขียวๆ ก็เหี่ยวแห้งไป ถึงคราวที่กระเจียว

         พักซ่อนตัวอยู่ใต้ดินอีกครั้ง

     ง.  เมื่อฝนแรกมาถึง มันจึงค่อยๆ ชูก้านดอกออกมา

            อวดสีสวยสดบนพื้นดิน

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 8-10  

 “ชีวิตมีค่าเกินกว่าที่จะปล่อยไปตามยถากรรม              หรือล่องลอยไปตามกระแสสังคม เอาแต่ทำมาหากิน  ไขว่คว้าหายศ ทรัพย์ และแสวงหาความสุข จนลืมไปว่าทั้งหมดนี้เป็นของชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แม้จะรู้ด้วยเหตุผลว่าทุกคนจะต้องตาย แต่ผู้คนกลับจมอยู่กับความลุ่มหลง เพลิดเพลินกับความสุขเฉพาะหน้าหรือฝัน             เอาเองว่าทุกอย่างที่เรามีนั้นจะเป็นของเราไปชั่วฟ้า   ดินสลาย กว่าจะตื่นจากฝันก็มักสายไปแล้ว”


 8.  ข้อความนี้ตีความได้อย่างไร

     ก.  ให้ใช้ชีวิตอย่างคนที่มีสติ ไม่ลุ่มหลงอยู่กับความสุข

         เฉพาะหน้า

          ข.  ต้องใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง

     ค.  อย่าปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม

     ง.     อย่ายึดติดกับสิ่งที่มี

9.  ข้อใดคือประโยคใจความสำคัญของข้อความนี้ 

     ก.  แม้จะรู้ด้วยเหตุผลว่าทุกคนจะต้องตาย แต่ผู้คนกลับ

         จมอยู่กับความลุ่มหลง 

     ข.  ฝันเอาเองว่าทุกอย่างที่เรามีนั้นจะเป็นของเราไป

         ชั่วฟ้าดินสลาย กว่าจะตื่นจากฝันก็มักสายไปแล้ว 

     ค.  เอาแต่ทำมาหากิน ไขว่คว้าหายศ ทรัพย์ และ

         แสวงหาความสุข

     ง.  ชีวิตมีค่าเกินกว่าที่จะปล่อยไปตามยถากรรม  
    

10.  ผู้เขียนข้อความนี้มีน้ำเสียงอย่างไร

     ก.  เศร้าโศกสลดใจ

     ข.  แนะนำสั่งสอน

     ค.  รักและห่วงใย

     ง.  ตำหนิติเตียน

การเขียนสื่อสารด้วยถ้อยคำ 

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดใช้คำถูกต้องตามฐานะของบุคคล

     ก.  ประธานนักเรียนเข้าคารวะผู้อำนวยการสถานศึกษา

     ข.  ประธานนักเรียนเข้าเยี่ยมผู้อำนวยการสถานศึกษา

     ค.  ประธานนักเรียนเข้าพบผู้อำนวยการสถานศึกษา

     ง.  ประธานนักเรียนเข้าหาผู้อำนวยการสถานศึกษา

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 2-3

คือเธอผู้เป็นสุดที่รักยิ่งชีวิต

     คือเธอผู้ซึ่งเป็นทุกสิ่งในชีวิตฉัน เป็นผู้ที่นำทาง

   ผู้ที่ชี้ทาง ผู้ซึ่งลิขิตชีวิตและโชคชะตา

     คือเธอผู้เป็นดั่งสร้อยถนิมพิมพาภรณ์ เป็นดั่ง 

   เครื่องประดับกายและใจให้ล้ำเลิศวิไลตลอดมา

     คือเธอผู้เป็นสิ่งที่คาดหวังของฉัน อย่าทิ้งฉันไป          

   วันใดที่ไร้เธอ ฉันคงต้องถึงแก่การตาย

2.  ข้อความใดใช้อาการนามไม่ถูกต้อง

     ก.  อย่าทิ้งฉันไป วันใดที่ไร้เธอฉันคงต้องถึงแก่การตาย    

     ข.  เป็นดั่งเครื่องประดับกายและใจให้ล้ำเลิศวิไล 

     ค.  ผู้ที่ชี้ทาง ผู้ซึ่งลิขิตชีวิตและโชคชะตา

     ง.  คือเธอผู้เป็นสุดที่รักยิ่งชีวิต  

3.  ข้อความนี้มีจุดด้อยอย่างไร

     ก.  ใช้คำไม่ถูกต้องตามชนิดและหน้าที่ของคำ

     ข.  ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ

     ค.  ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง

     ง.  ใช้คำฟุ่มเฟือย

4.  ข้อใดใช้ลักษณะนามไม่ถูกต้อง

     ก.  ชาวประมงกำลังหาซื้อเรือลำใหม่มาใช้แทนลำเก่าที่เอาขึ้นคาน

     ข.  ช่างไม้ที่กำลังซ่อมบ้านของเราไปซื้อเลื่อยมาหลายคัน

     ค.  หน้าฝนนี้เราต้องเตรียมร่มไว้หลายคัน

     ง.  เธอสวมแหวน 2 วง

5.  การกระทำที่เอาใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรใช้คำใด           จึงจะถูกต้องตามความหมายที่แท้จริง

     ก. อดตาหลับขับตานอน

     ข.  ขะมักเขม้น

     ค.  หมกมุ่น

     ง.  มั่วสุม

5.  การกระทำที่เอาใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรใช้คำใด  จึงจะถูกต้องตามความหมายที่แท้จริง

     ก. อดตาหลับขับตานอน

     ข.  ขะมักเขม้น

     ค.  หมกมุ่น

     ง.  มั่วสุม

6.  ข้อใดกล่าวถึงจุดประสงค์ของการคัดลายมือได้ถูกต้องที่สุด

     ก.   ช่วยให้เขียนตัวอักษรไทยได้ถูกต้องตามหลักวิธีการต่างๆ

     ข.  ช่วยให้รักการเขียนภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ

     ค.  เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ความคิด

     ง.  ช่วยให้ผู้คัดลายมือมีสมาธิในการทำงาน

7.  ข้อพึงปฏิบัติก่อนการคัดลายมือข้อใดสำคัญที่สุด 

     ก.  เลือกรูปแบบการคัดลายมือตามความพอใจ

          แล้วเลือกข้อความที่จะคัด

           ข.  อ่านทำความเข้าใจข้อความที่จะคัดลายมือให้จบ

                ก่อนลงมือคัด

     ค.  นั่งให้ถูกต้องตามหลักการนั่งคัดลายมือ

     ง.  เตรียมอุปกรณ์ในการคัดลายมือ

8.  การคัดลายมือมีจุดประสงค์ตรงกับข้อใด      

     ก.  เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์อักษรไทย

     ข.  เพื่อฝึกการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

     ค.  เพื่อฝึกสมาธิในการเขียนตัวอักษรไทย

     ง.  เพื่อประกวดการคัดลายมือ

9.  ข้อใดไม่มีความจำเป็นในการฝึกคัดลายมือ

        ก.  คัดตัวอักษรให้เสมอแนวเดียวกัน และให้โย้ไป

          ข้างหน้าเล็กน้อย

     ข.  เว้นระยะช่องไฟระหว่างตัวอักษรให้ห่างเสมอกัน

     ค. เริ่มคัดตัวอักษรจากหัวไปหาง โดยไม่ยกดินสอ

     ง.  วางสระและวรรณยุกต์ให้ถูกที่

10.ข้อใดเป็นข้อควรปฏิบัติในการคัดลายมือที่ถูกต้อง 

     ก.  นั่งโน้มตัวไปด้านหน้าเพื่อถ่ายน้ำหนักลงที่ดินสอหรือปากกา      

       ข.  จับดินสอให้แน่นเพื่อการลงน้ำหนักตัวอักษรที่ชัดเจน  

        ค.  ใช้ไม้บรรทัดวัดระยะช่องไฟให้มีความสม่ำเสมอ

      ง.  วางกระดาษให้ห่างจากสายตาประมาณ 12 นิ้ว

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  จดหมายขอความช่วยเหลือจัดเป็นจดหมายประเภทใด

     ก.  จดหมายเปิดผนึก

     ข.  จดหมายส่วนตัว

     ค.  หนังสือราชการ

     ง.   จดหมายกิจธุระ

2.  ข้อใดเรียงลำดับส่วนประกอบของการเขียนเรียงความได้ถูกต้อง

     ก.  เปิดเรื่อง คำนำ เนื้อหา สรุป ปิดเรื่อง

     ข.  เปิดเรื่อง เนื้อหา ปิดเรื่อง

ค.  คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป

     ง.  คำนำ วิเคราะห์ สรุป

3.  เชิงอรรถเป็นส่วนประกอบอยู่ในตอนใดของรายงาน       

     ก.  ส่วนกลาง                           ข.   ส่วนสรุป

      ค.  ส่วนท้าย                            ง.   ส่วนต้น

4.  ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของการเขียนเรียงความ

           ก.  หนังสืออ้างอิง                   

           ข.  เนื้อเรื่อง

     ค.  คำนำ                              

     ง.  สรุป

    5.  ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานโครงงานควรมีลักษณะอย่างไร

        ก.  เป็นภาษาที่มีรูปแบบโดยเฉพาะ

     ข.  เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน

     ค.  เป็นภาษาแบบแผน

     ง.  เป็นภาษาวิชาการ

6.  การกำหนดเค้าโครงเรื่องรายงานอยู่ในขั้นตอนใดของ 

      การเขียนรายงาน 

ก.     การจัดระเบียบข้อมูล

     ข.  การนำเสนอข้อมูล

     ค.    การรวบรวมข้อมูล

     ง.   การวางแผน

7.  ข้อใดกล่าวถึงการย่อความไม่ถูกต้อง

     ก.  ถ้าเป็นราชาศัพท์ให้เปลี่ยนเป็นสำนวนผู้ย่อ

     ข.  ถ้าเป็นร้อยกรองผู้ย่อต้องสรุปเป็นร้อยแก้ว

     ค.  ไม่ควรใช้อักษรย่อในการย่อความ

     ง. การย่อความไม่ต้องมีตัวอย่าง

8.  การเขียนเรียงความควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นอันดับแรก

     ก.  กระแสสังคม                   ข.  ความนิยม

     ค.  โครงเรื่อง                       ง.  คำนำ

9.  ภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายส่วนตัวเป็นภาษาระดับใด

     ก.  ภาษากันเองแต่ให้เหมาะกับระดับบุคคล

     ข.  ภาษากึ่งแบบแผน

     ค.  ภาษาแบบแผน

     ง.  ภาษาปาก

10. ข้อใดกล่าวถึงวิธีการเขียนเรียงความที่ไม่ถูกต้อง

     ก.  ต้องสรุปด้วยบทกลอนหรือสุภาษิต  

      ข.  ใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน สละสลวย

          ค.  มีรูปภาพประกอบการเขียนเรื่อง

     ง.     ค้นคว้าข้อมูลประกอบการเขียน

การเขียนแสดงความคิดเห็นจากสื่อ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  การแสดงความคิดเห็นข้อใดสามารถเป็นหลักฐานอ้างอิงได้

     ก. การกล่าวโต้แย้งอย่างมีเหตุผล

     ข.  การเขียนแสดงความคิดเห็น

     ค.  การพูดแสดงความคิดเห็น

     ง.     การปราศรัยหาเสียง

2.  ข้อเสนอแนะในการเขียนแสดงความคิดเห็นควรมีลักษณะ     อย่างไร

        ก.  ไม่ใช้อารมณ์ในการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่มีอคติต่อเรื่อง

         ที่แสดงความคิดเห็น

          ข. ต้องเขียนในเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้ในเรื่องนั้นเป็น

          อย่างดี มีข้อมูลอ้างอิง

     ค.  แสดงความคิดเห็นอย่างละเอียดในแง่ที่เป็นประโยชน์

           ต่อส่วนรวม

     ง.  เสนอแนะว่าควรแก้ไขอย่างไร แก้ไขแล้วเกิดผลอย่างไร

3.  การแสดงความคิดเห็นที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

       ก. ไม่เสนอแนะแนวทางการแก้ไขในเรื่องที่แสดงความ

         คิดเห็น

        ข.  แสดงความคิดเห็นโดยใช้อารมณ์ที่สอดคล้องกับเรื่อง

         หรือเนื้อหา

     ค.  หยิบยกเฉพาะข้อดีเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ข้อมูล

           มีความน่าเชื่อถือ

          ง.  ชี้แจงสาเหตุที่ดีและไม่ดีให้ชัดเจน   

4.  “น่าเสียดายที่ภาพประกอบมีน้อย แต่ก็มีครบทุกตอน และ

    เป็นเพียงลายเส้นดำขาว ถ้าเป็นภาพสีจะช่วยให้หนังสือ

    เล่มนี้น่าอ่านยิ่งขึ้น

    ข้อความนี้ถูกต้องตามหลักการเขียนแสดงความคิดเห็นข้อใด

     ก.  เสนอแนะว่าควรแก้ไขในสิ่งที่ไม่ดีอย่างไร ถ้าแก้ไขแล้ว  จะเกิดผลอย่างไร

     ข. หยิบยกข้อดี ข้อด้อยมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

    ค.  ไม่ใช้อารมณ์ ต้องปราศจากอคติ

     ง.  มีความรู้ในเรื่องที่เขียน

5.  แมงมุมเพื่อนรักเป็นหนังสืออ่านสำหรับเยาวชนชุดก่อน

    นิทราอันดับที่ 4/21 เขียนโดย อี.บี.ไวท์ แปลโดยผู้ใช้

    นามปากกาว่า มัลลิกา

    ข้อความนี้ถูกต้องตามหลักการเขียนแสดงความคิดเห็นข้อใด

     ก.  เสนอแนะว่าควรแก้ไขในสิ่งที่ไม่ดีอย่างไร ถ้าแก้ไข

          แล้วจะเกิดผลอย่างไร

     ข. หยิบยกข้อดี ข้อด้อยมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

     ค.  ไม่ใช้อารมณ์ ต้องปราศจากอคติ

     ง.  มีความรู้ในเรื่องที่เขียน

6.  ปัจจุบันการเขียนแสดงความคิดเห็นทางสื่อต่างๆ จะมีอย่างหลากหลาย แสดงให้เห็นหลักความจริงในข้อใด

           ก.  ประชาชนได้รับการพัฒนาให้กล้าแสดงออก

           ข.  นักวิชาการได้รับการส่งเสริมการเขียน      

           ค.  ประชาชนมีเสรีภาพในการเขียน                           

     ง.  สังคมมีความขัดแย้ง

    7.  “ร้อนนี้คนไทยมีสิทธิ์กระอักเลือดค่าไฟฟ้ามหาโหด กฟผ.   

        อ้างต้นทุนเชื้อเพลิง ซึ่งเรื่องถึงคณะกรรมการกำกับกิจการ

        พลังงาน ขอปรับค่าเอฟทีในรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 25 สตางค์/หน่วย ระบุปลายปีเจอแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติซ้ำเติมอีกรอบ รัฐบาลหัวหมุนดึง ปตท. เข้าช่วยแบกภาระซื้อเวลา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรับผลกระทบหนัก ชี้นโยบายรัฐกระทบธุรกิจโดยตรงจากข้อความนี้เรียกว่าอะไร 

     ก. ข่าวและเหตุการณ์ประจำวัน

      ข.    เหตุการณ์สำคัญต่างๆ     

      ค.    สารคดี

      ง.    บทความ    

8.  การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับข้อใดน้อยที่สุด

     ก.  การสังเคราะห์

      ข.  การวิเคราะห์ 

      ค.  การวิจารณ์                                                 

    ง.   การอ่าน

9.  การเขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดที่จะต้องใช้ความ

     ระมัดระวังมากที่สุด

     ก.  การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์

         สิ่งแวดล้อมโลก

     ข.  การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของ

         ชาวชนบท

     ค.  การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านศาสนา

     ง.  การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวไทย

10. ข้อใดสำคัญที่สุดในการเขียนแสดงความคิดเห็น

     ก.  แสดงข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

     ข.  ชี้แจงสาเหตุที่เกิดข้อดี ข้อด้อยอย่างชัดเจน                

     ค.  มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขข้อด้อย

     ง.  บอกข้อดี ข้อด้อย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดคือมารยาทสำคัญในการพูดสนทนา

    ก.  พูดเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน

    ข.  ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป 

     ค.  เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

     ง.  พูดตรงประเด็น

2.  ข้อใดไม่ได้แสดงว่าเป็นผู้มีความสำรวม

     ก.    รอถามเมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม                

     ข.  มีใจจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง

     ค.  มีอาการสงบ

     ง.  นั่งตัวตรง

3.  ข้อใดเป็นการใช้ภาษาพูดให้ผู้อื่นเข้าใจจุดประสงค์

     ก.  ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด และเหตุผลประกอบกัน

     ข.  ใช้ภาษาที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจได้ถูกต้องรวดเร็ว

     ค.  หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาซึ่งตีความหลายแง่หลายมุม

     ง.  ใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน

4.  ข้อใดเป็นการฟังหรือดูเพื่อให้ได้ข้อคิด

    ก.  นายรอบรู้ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

     ข.  นายริเริ่มดูรายการแนะนำการทำอาหารของหมึกแดง

      ค.  นายดำริดูรายการท่องเที่ยวไทยไม่ไปไม่รู้

     ง.  นายดำรงดูรายการพระธรรมเทศนา

5.  การใช้คำพูดข้อใดที่ทำให้ผู้ฟังมีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้นได้ 

     ก.  ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม

     ข.  พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด

     ค.  ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง

     ง.  ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ

6.  ถ้าจำเป็นต้องออกจากสถานที่ที่ไปฟังการพูดก่อนเวลา

      ควรทำอย่างไร

     ก.  แจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงความจำเป็น

     ข.  บันทึกขออนุญาตออกก่อน

     ค.  นั่งใกล้ทางออก       

     ง.  นั่งแถวหลังสุด

7.  การพูดดีหมายความว่าอย่างไร

     ก.  พูดอ่อนหวาน         

     ข.  พูดมีเหตุผล

     ค.  พูดให้ผู้อื่นชื่นชม

     ง.  พูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้อง

8.  ข้อใดแสดงว่าผู้ฟังและผู้ดูไม่มีลักษณะของผู้ฟังและผู้ดูที่ดี

     ก.  เด็กหญิงดาวมีความสามารถในการจับใจความ

     ข.  เด็กหญิงเพ็ญเชื่อข้อมูลจากสารที่ได้รับฟัง

     ค.  เด็กหญิงจันทร์ไม่มีอคติต่อผู้ส่งสาร

     ง.  เด็กหญิงเดือนมีความสนใจในสาร

9.  ข้อใดไม่ใช่ผลดีของการมีมารยาทในการฟังและการดู

        ก.  ทำให้เป็นผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำแก่สังคมได้

       ข.  ทำให้เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี

     ค.  ทำให้เป็นที่ยกย่องของสังคม

     ง.  ทำให้เป็นผู้นำในสังคม

    10. เหตุใดต้องรักษามารยาทการพูดในที่สาธารณะมากกว่า

        การพูดระหว่างบุคคล

     ก. เพราะเป็นการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในกลุ่มมวลชน

         ตามที่ต้องการ

     ข.  เพราะเป็นเรื่องที่อาจจะมีการฟ้องร้องเป็นคดีความได้

     ค.  เพราะมีผู้ฟังซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย

     ง.  เพราะเป็นเรื่องที่สังคมมีความสนใจ

การฟัง การดู และการพูดในชีวิตประจำวัน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดคือจุดประสงค์ของการพูดแสดงความคิดเห็น เชิงสร้างสรรค์

     ก.  ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

     ข.  ต้องการให้มีความคิดคล้อยตามกับผู้พูด

     ค.   ต้องการให้มีการยอมรับในข้อผิดพลาด

     ง.  ต้องการให้เกิดความเชื่อถือ

2.   การพูดประเภทใดที่ใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด

     ก.   พูดสรุปใจความสำคัญของเรื่อง

     ข.   พูดรายงานทางวิชาการ

     ค.  พูดแสดงความคิดเห็น

     ง.  พูดเล่าเรื่อง

3.  “เป็นการพูดที่มีพลัง ให้คติเตือนใจ สอนใจที่ควรนำมาเป็น แง่คิดในการสร้างสรรค์ให้ชีวิตดีขึ้น ข้อความนี้กล่าวถึง การพูดประเภทใด

     ก.  การพูดแสดงความคิดเห็น

     ข.   การพูดให้กำลังใจ

     ค.  การพูดรายงาน

     ง.  การพูดติชม  

4.   ข้อใดเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นเฉพาะตัว

     ก.  อันแก้วดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ

     ข.   รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทะนุบำรุงให้รุ่งเรือง

     ค.  หน้าร้อนฉันชอบไปเที่ยวจังหวัดที่มีชายทะเล

     ง.  ปีหน้าอาจจะมีน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง   

5.  บุคคลในข้อใดเป็นนักเล่าเรื่อง

     ก.   นายบูมพูดเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาความ แตกแยกในสังคม

    ข.   นายบอสแสดงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของผู้ที่ตนสนใจ

     ค.  นายบอยถ่ายทอดประสบการณ์ของตนให้ผู้อื่นฟัง

     ง.   นายเบสพูดแต่ประเด็นสำคัญของเรื่องที่อยากพูด

6.  การปรึกษาหารือกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวในวงกว้างข้อความนี้กล่าวถึงการพูดเชิงวิชาการประเภทใด

    ก.   การพูดรายงาน        ข.  การอภิปราย   

     ค.   การสัมมนา            ง.  การประชุม 

    7.  ภาษาที่ใช้ในการพูดรายงานมีลักษณะอย่างไร

     ก. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีความหมายตรงตัว

 ข.  ใช้ภาษาพูดที่กระชับ เข้าใจง่าย สุภาพ    

     ค.  ใช้ถ้อยคำตามข้อมูลที่ค้นคว้ามา

     ง.   ใช้ศัพท์วิชาการ

8.  ถ้านักเรียนต้องการเล่าเรื่องให้เด็กนักเรียนระดับชั้น

    ประถมศึกษาปีที่ 4 ฟังโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนอบรม  ให้มีความสามัคคีกัน ควรเลือกเล่าเรื่องประเภทใด

     ก.  สารคดีส่งเสริมการท่องเที่ยว

     ข.  บทความเชิงวิชาการ

     ค.  นิทานคุณธรรม

     ง.   เรื่องสั้น

9.  การจับใจความสำคัญของสิ่งที่ฟังและดู ควรปฏิบัติสิ่งใดเป็นอันดับแรก

     ก.  พิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้จากการฟังและดู

     ข.  เลือกฟังและดูสื่อที่ดีมีคุณภาพ

     ค.  มีมารยาทในการฟังและดู

      ง.  ฟังและดูสื่อให้ตลอดเรื่อง

10.  การเรียบเรียงจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังและดูเพื่อนำมาพูดควรใช้ภาษาที่มีลักษณะอย่างไร 

     ก.  ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย

     ข.  ภาษาที่สวยงามสละสลวย

     ค.  ภาษาที่มีความลึกซึ้งกินใจ

     ง.  ภาษาที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ

เสียงในภาษาไทย และการสร้างคำ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  คำใดที่มีวิธีการสร้างคำเหมือนกันทุกคำ

     ก.  จิตแพทย์  ราชการ  วาทศิลป์

     ข.  เสื่อสาด  บ้านเรือน  ห่างไกล

     ค.  เรียงเบอร์  ข้าวต้ม  ที่นอน

     ง.  ดีชั่ว  หมอฟัน  ตกใจ

2.  สระมีกี่รูปและกี่เสียง

     ก.  18 รูป 24 เสียง

     ข.  21 รูป 18 เสียง

     ค.  21 รูป 24 เสียง

     ง.  24 รูป 21 เสียง

3.  ข้อใดกล่าวถึงวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง  

     ก.   เมื่อมีการออกเสียงคำไทยทุกคำจะปรากฏเสียง

          วรรณยุกต์กำกับด้วยเสมอ

     ข.  ราม บาท พูด นก หนี เป็นคำที่มีเสียงวรรณยุกต์

         ครบทุกเสียง 

     ค.   วรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายแสดงระดับเสียงสูงต่ำ ในภาษา

     ง.   วรรณยุกต์มี 5 รูป 5 เสียง

4.  ข้อใดเป็นคำซ้อนเพื่อเสียงทุกคำ       

     ก.   เสื่อสาด  ราบคาบ  มาดหมาย

     ข.   จิ้มลิ้ม  คัดเลือก  เกรงกลัว

     ค.   ท้อแท้  รวบรวม  อ้างว้าง

     ง.   ซุบซิบ  แนะนำ  ได้เสีย

5.  อวัยวะในข้อใดที่ช่วยในการออกเสียงสระ                 

     ก.   ลิ้นกับริมฝีปาก

     ข.    ลิ้นกับเพดาน

     ค.  ปากกับจมูก

     ง.   ลิ้นกับฟัน

6.  เพราะเหตุใด รูป อำ ไอ ใอ เอา จึงไม่นับเป็นเสียงสระ

     ก.  เพราะเป็นเสียงสระประสม

     ข.  เพราะใช้รูปแทนเสียงสระ

     ค.  เพราะมีเสียงพยัญชนะ

     ง.  เพราะมีเสียงสระแท้

7.  คำประสมในข้อใดไม่มีความหมายเปรียบเทียบ

     ก.  มือสะอาด  ตีนกา

     ข.  กันสาด  เป็นต่อ

     ค.  หมาวัด  ไข่แดง

     ง.  หัวสูง  ลูกช้าง

8.  สระแท้มีกี่เสียง           

     ก.  6 เสียง

     ข.  9 เสียง

     ค. 18 เสียง

     ง.  21 เสียง

9.  พยัญชนะมีกี่รูปและกี่เสียง  

           ก.  44 รูป 18 เสียง

     ข.  44 รูป 21 เสียง

     ค.  44 รูป 24 เสียง

     ง.  44 รูป 44 เสียง

10. ข้อใดกล่าวถึงพยัญชนะไทยถูกต้องที่สุด

    ก.  ร ล ว เป็นพยัญชนะเสียงเบาขณะที่ออกเสียงไม่มี

   กลุ่มลมพุ่งตามมา

    ข.  ฐานกรณ์ คือ จุดเริ่มต้นในการออกเสียงพยัญชนะต้นเสียง

    ค. เสียงพยัญชนะเกิดจากลมที่ถูกขับออกมาจากช่องท้อง

    ง.  เสียงพยัญชนะไทยมี 21 เสียง

ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค 

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  คำสันธานในข้อใดต่างจากข้ออื่น

     ก.   แม่ทำงานเหนื่อยทั้งวันแต่แม่ก็ไม่บ่น                 

     ข.   ฉันกับเพื่อนจะไปเล่นฟุตบอล     

     ค.   หนูจะซื้อการ์ตูนหรือแผ่นซีดี

     ง.   นกเป็นคนกินเก่งแต่ไม่อ้วน    

2.  คำในข้อใดที่ใช้ลักษณนามเหมือนกันทุกคำ 

    ก.   อุทยาน น้ำตก สะพาน

     ข.   เณร ชี พระพุทธรูป

     ค.   เกวียน พาย ดาบ

     ง.   ปิ่น เบ็ด สาก

 3. ประโยคในข้อใดเป็นประโยคความรวม

      ก.   วันหยุดฉันกับพี่จะไปขายของที่ตลาด

      ข.   แม่ของฉันไปตลาดกับคุณป้าข้างบ้าน

      ค.   เขาชอบดูการ์ตูนเรื่องราพันเซลมาก

      ง.   ขนมที่ฉันชอบกินมากคือฝอยทอง

4.  คำนามข้อใดมีหน้าที่ต่างจากข้ออื่น

     ก.   นายกรัฐมนตรีประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล

     ข.   แม่ให้ตุ๊กตาหมีแก่น้องในวันเกิด   

     ค.   คุณปู่ชอบเล่านิทานพื้นบ้าน

     ง.   มานีชอบดูละครตอนเย็น

5.  คำใดที่มีส่วนสำคัญในประโยคมากที่สุด 

     ก.   คำสรรพนาม

     ข.   คำสันธาน

     ค.   คำกริยา

     ง.   คำนาม

6.  ประโยคในข้อใดใช้คำอุทานได้เหมาะสม                 

     ก.   พุทโธ่! ทำงานมาทั้งวัน เหนื่อยจังเลย!

     ข.   ตายจริง! ฉันลืมเอาการบ้านมา

     ค.   อุ๊ย! รีบทำการบ้านเข้าสิ

     ง.   นี่ๆ เสื้อตัวนี้สวยจัง!

7.  คำใดเป็นคำนาม

     ก.   สวยงาม                            ข. เปรี้ยว

     ค.   ความคิด                           ง.  ทำบุญ

8. ข้อใดกล่าวถูกต้อง

    ก.  คำที่ประสมแล้วมีความหมายเรียกว่า พยางค์

     ข.   คำเกิดจากการนำเสียงพยัญชนะและเสียงสระประสมกัน

     ค.   คำหนึ่งคำมีพยางค์เดียวหรือมีหลายพยางค์ และอาจ

          ไม่มีความหมายก็ได้

     ง.   กลุ่มคำเกิดจากการนำคำหลายๆ คำมาเรียงกัน

          แต่ยังมีความหมายไม่บริบูรณ์

9. คำที่ช่วยขยายคำอื่นในประโยค เรียกคำชนิดใด         

     ก.   คำวิเศษณ์

     ข.   คำสันธาน

     ค.   คำอุทาน

     ง.  คำกริยา

10. ข้อใดมีคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ

     ก.   วันๆ ไม่ทำอะไรเลยเอาแต่เล่นเกม

     ข.   คุณย่าขา หนูอยากกินน้ำพริกค่ะ

     ค.   นักเรียนคนนี้ตั้งใจเรียนมาก

     ง.     ฉันชอบภาพล้อเลียนภาพนี้

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่ใช้ในภาษาเขียน

     ก.  ข้อมูลที่ใช้ในการเขียน

     ข.  กลวิธีในการนำเสนอ

     ค.  รูปแบบการเขียน

     ง.  อักษร

2.   ภาษาเขียนมีความสำคัญอย่างไร

     ก.  เป็นที่รวมของระเบียบข้อบังคับต่างๆ 

     ข.  เป็นหลักฐานในการบันทึกข้อความ

     ค.  เป็นอาชีพสำคัญในปัจจุบัน

     ง.    เป็นที่รวมของความบันเทิง

3.  ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของภาษาพูด

     ก.  ใช้สำนวนสุภาษิต คำพังเพยประกอบ     

     ข.  ใช้คำย่อเพื่อความรวดเร็วในการพูด

     ค.   มีคำลงท้ายเรียกขานหรือขานรับ

     ง.  ใช้ประโยคความเดียวในการพูด

4.  การพูดกับผู้ที่ไม่คุ้นเคยเราควรใช้ภาษาระดับใด  

     ก.  ภาษาที่ใช้ในพิธีการ

     ข.  ภาษากึ่งแบบแผน 

       ค.  ภาษาแบบแผน

     ง.  ภาษาปาก

5.  การใช้ภาษาพูดกับผู้ที่ไม่คุ้นเคย แต่ต้องติดต่องานกัน

     ตามมารยาททางสังคมให้ใช้ภาษาระดับใด

     ก.  ภาษาระดับทางการ           

     ข.  ภาษาระดับกันเอง  

     ค.  ภาษาระดับพิธีการ            

     ง.  ภาษาระดับกึ่งทางการ

6.   ข้อใดใช้ภาษาระดับเดียวกับภาษาในการเขียนโฆษณา

     ก.  การเขียนอัตชีวประวัติ    

     ข.  การเขียนร้อยกรอง

     ค.  การเขียนกฎหมาย         

     ง.  การเขียนนวนิยาย

7.  การเขียนในข้อใดเป็นการกำหนดแนวทางให้บุคคลปฏิบัติ

         เพื่อให้สังคมสงบสุข      

     ก. การเขียนแสดงภูมิปัญญาต่างๆ ในสังคม

     ข.  การเขียนบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

     ค.  การเขียนบันทึกความรู้ ความคิด

      ง.  การเขียนกฎหมาย

8.  ข้อใดเป็นการเขียนอย่างไม่เป็นทางการ

     ก.  เขียนบันทึกประจำวัน      

     ข.  แต่งคำประพันธ์

     ค.  เขียนเรียงความ               

     ง.  เขียนย่อความ

9.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาพูด

     ก.  สามารถขัดเกลาให้สละสลวยได้

     ข.  ไม่เคร่งครัดในระเบียบของภาษา

     ค.  มุ่งเน้นการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน

     ง.  หวังให้บรรลุผลตามที่ผู้พูดต้องการ

10. บุคคลในข้อใดพูดไม่สอดคล้องกับการพูดในสิ่งที่เป็นมงคล

     ก.  ชมพู พูดในสิ่งที่เป็นความจริง และแสดงความแข็งกร้าว

     ข.  เขียว มีสำเนียงอ่อนหวานท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน

     ค.  ดำ พูดในเชิงสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ

     ง.  แดง พูดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์

สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ข้อใดกล่าวถึงสุภาษิตไม่ถูกต้อง 

        ก.  ถ้อยคำที่แสดงหลักความจริงมุ่งแนะนำสั่งสอน

      ข.  คำที่มีลักษณะเป็นปรัชญา มีความหมายลึกซึ้ง

       ค.  คำพูดที่เป็นคติชวนฟัง

      ง.   คำที่กล่าวดี

2.  ข้อใดคือลักษณะเด่นของสำนวน

     ก.  มีความหมายไม่ตรงตัวอักษรมีความหมายแฝง

     ข.  ข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน

     ค.  ข้อความที่เรียบเรียงให้ต้องตีความ

          ง.  ถ้อยคำที่เรียบเรียง

3.  ข้อใดเป็นสำนวน

        ก.  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

       ข.  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  

     ค.  ลูบหน้าปะจมูก

     ง.   น้ำขึ้นให้รีบตัก

4.   ข้อใดเป็นสุภาษิต

        ก.    คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย

     ข.  ตบหัวที่ศาลา มาขอขมาที่บ้าน

     ค.  สอนหนังสือสังฆราช

     ง.  กบเลือกนาย

5.  น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา ข้อความนี้มีลักษณะ       ตรงกับข้อใด

     ก.  สำนวน                           ข.  สุภาษิต

     ค.  คำพังเพย                        ง.   คำขวัญ คำคม

6.  สำนวนข้อใดที่มีความหมายว่าทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีราคา       

     ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นของดี

ก.      ปั้นหน้า                        ข.  กินตามน้ำ

     ค.  ย้อมแมวขาย                  ง.  เกี่ยวแฝกมามุงป่า

7.  ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมา โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความให้เข้ากับเรื่อง เป็นลักษณะของข้อใด

     ก.  สุภาษิต                       ข.   สำนวน

     ค.  คำพังเพย                     ง.   คำขวัญ คำคม

8.  “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มักจะใช้เปรียบเปรยในลักษณะใด 

      ก.  การใช้ชีวิตที่เสี่ยงอันตรายมากเกินไป

      ข.   ความมีน้ำใจของคนในสังคมไทย

     ค.  การเตือนสติให้รู้จักประมาณตน   

     ง.   การลงทุนที่ไม่คุ้มค่า       

9.  ข้อใดเป็นคำพูดประชดประชัน หรือใช้เปรียบเปรยกับหญิง

     ที่มีราคี      

     ก.  ตีนเท่าฝาหอย                

     ข.  ใส่ตะกร้าล้างน้ำ 

     ค.  ขนหน้าแข้งไม่ร่วง            

     ง.  อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

10.หากต้องการเตือนสติเพื่อนให้ไม่ประมาท ควรให้สติอย่างไร

     ก.  สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง      

     ข.  ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  

     ค.  ก้นหม้อไม่ทันดำ                       

     ง.   ขว้างงูไม่พ้นคอ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.   กาพย์ยานี 11 นิยมแต่งในโอกาสใด

     ก.  บรรยายความยิ่งใหญ่อลังการ

     ข.  บรรยายความรู้สึกที่ลึกซึ้งกินใจ    

     ค.  บรรยายความงามของธรรมชาติ  

     ง.  บรรยายพิธีการที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์

2.  ข้อใดสำคัญที่สุดสำหรับการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์

     ก.  โวหาร                             

     ข.  ภาพพจน์

     ค.  ลีลาของกาพย์     

     ง.   ลักษณะฉันทลักษณ์    
    

3.  ข้อใดเป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง 16

     ก.  เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่

         ตัวเดียวมาไร้คู่ เหมือนพี่อยู่เพียงเดียวดาย

     ข.  วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร

     ค.  เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ

         พระแสงสำอางข้างเคียง         

     ง.   พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต

          ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง              ที่อยู่หลังก็จะแลชะแง้คอย

4.  ข้อใดเป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี 11

     ก.  เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่  

         ตัวเดียวมาไร้คู่ เหมือนพี่อยู่เพียงเดียวดาย

     ข.  วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้าในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร

     ค.  เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ

         พระแสงสำอางข้างเคียง         

     ง.   พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิตให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรังที่อยู่หลังก็จะแลชะแง้คอย

5.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะข้อบังคับของบทร้อยกรองประเภทกาพย์

     ก.  คณะ

     ข.  เสียง

     ค. สัมผัส

     ง.  คำเอก-คำโท

6.  สิ่งใดที่กำหนดจำนวนคำในแต่ละบทของคำประพันธ์ประเภทกาพย์

     ก.  จำนวนพยางค์ในแต่ละวรรค

     ข.  จำนวนตัวเลขท้ายชื่อกาพย์

     ค. จำนวนคำในแต่ละบาท

     ง.    จำนวนคำในแต่ละวรรค

7.  ข้อใดเป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ 28

     ก.  เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่

         ตัวเดียวมาไร้คู่ เหมือนพี่อยู่เพียงเดียวดาย

     ข.  วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้าในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร

     ค.  เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ

         พระแสงสำอางข้างเคียง         

     ง.   พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต

          ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง              ที่อยู่หลังก็จะแลชะแง้คอย 

8.   มะม่วงพลวงพลองช้องนาง หล่นเกลื่อนเถื่อนทาง กินพลาง

     เดินพลางหว่างเนิน จากข้อความนี้เป็นคำประพันธ์ชนิดใด

     ก.  กาพย์ห่อโคลง

     ข.  กาพย์ยานี 11

     ค. กาพย์ฉบัง 16

     ง.    กาพย์สุรางคนางค์ 28

9.  ลิงค่างครางโครกครอก ฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน ชะนีวิเวกวอน

      นกหกร่อนนอนรังเรียง ลูกนกยกปีกป้อง อ้าปากร้อง

      ซ้องแซ่เสียง แม่นกปกปีกเคียง เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร       ข้อความนี้เป็นคำประพันธ์  ชนิดใด

     ก.  กาพย์ยานี 11

     ข. กาพย์ฉบัง 16        

       ค.  กาพย์ห่อโคลง

       ง.  กาพย์สุรางคนางค์ 28

10.เพราะเหตุใด ฉันทลักษณ์จึงมีความสำคัญในการแต่งคำ 

      ประพันธ์

     ก.  เพราะฉันทลักษณ์กำหนดเสียงระหว่างบทช่วยให้                     คำประพันธ์มีความไพเราะยิ่งขึ้น

     ข.  เพราะฉันทลักษณ์กำหนดการใช้สำนวนภาษาให้มีความ

          สละสลวย

     ค.  เพราะฉันทลักษณ์กำหนดวิธีเลือกใช้คำในการแต่งคำ   

         ประพันธ์

     ง.  เพราะฉันทลักษณ์กำหนดรูปแบบของคำประพันธ์

การอ่านเนื้อความสั่งสอนควรใช้น้ำเสียงแบบใด

ใช้น้ำเสียงปานกลาง ไม่เบา ไม่ดังเกินไป เน้นเสียงที่คำสอน แต่ไม่ห้วน น้ำเสียงต่ำ เน้นบาง สะบัดเสียงบ้าง ความหมายของวรรณคดี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ คือ หนังสือทั่ว ๆ ไป ทุกประเภท

การอ่านได้ที่มีเนื้อความบรรยายการรบการต่อสู้จะต้องอ่านด้วยน้ำเสียงแบบใด

เนื้อความบรรยายการรบการต่อสู้ น ้าเสียงดัง หนักแน่น ห้วน กระชับ ● เนื้อความตัดพ้อต่อว่า น ้าเสียงต ่า เน้นบ้าง สะบัดเสียงบ้าง ● เนื้อความสั่งสอน น ้าเสียงปานกลางไม่เบาไม่ดังเกินไป เน้นเสียงที่ ค าสอนแต่ไม่ห้วน ๔. การอ่านตอนจบของร่ายทุกชนิด ผู้อ่านต้องทอดเสียงให้ยาวนานกว่าการ ทอดเสียงท้ายวรรคอื่นๆ เพื่อให้ผู้ฟังทราบว่า ...

การอ่านออกเสียงที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

1. อ่านออกเสียงให้ชัดเจนและถูกต้องตามอักขรวิธี 2. อ่านเว้นจังหวะวรรคตอนให้ถูกต้องตามลักษณะของบทร้อยกรองแต่ละประเภท รู้จักทอดจังหวะ เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง 3. น้ำเสียงไพเราะชัดเจน นุ่มนวลน่าฟัง เสียงไม่เบาหรือดังมากจนเกินไป 4. เน้นเสียงแสดงอารมณ์ให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น รัก ร่าเริง โกรธ เศร้า โดยใช้น้ำเสียงให้เข้า ...

ข้อใดเป็นข้อระวังสำหรับการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทร่าย

ร่ายแต่ละประเภทมีทำนองเหมือนกัน คือ อ่านด้วยเสียงระดับเดียวกัน และต้อง ทอดเสียงท้ายวรรคทุกวรรค เมื่ออ่านถึงคำรับสัมผัส ให้เน้นเสียงหรือทอดเสียง เมื่อพบคำ ที่มีเสียงสูงท้ายวรรคนิยมอ่านขึ้นเสียง หากเป็นร่ายสุภาพ ช่วงที่จบด้วยโคลงสองสุภาพ