หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน

หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน

  •   การเดินทาง
  • EN  |  TH

   เกี่ยวกับเรา   

๑๔ พ.ย. ๒๕๖๕ ๐๓:๓๔

หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน

การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ริมกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบูรณะปรับปรุง และก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างอาคาร ๒ ชั้นเป็นแถวยาวเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๑๓ และพระราชทานนาม หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นที่ทำการกรมพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บริหารงานด้านการจัดเก็บระเบียบภาษีอากร ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของหน่วยงานอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน กองพระราชพิธี จากนั้นจึงว่างเว้นจากการใช้งาน

ในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ

กิจการภาษี หรือการศุลกากร มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจากหลักฐาน ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "จกอบ" ในสมัยสุโขทัยมีการ ค้าขายเป็นปัจจัย ในการสร้างความมั่งคั่งของรัฐ การเก็บภาษีนี้ในช่วง ระยะเวลาหนึ่งกรุงสุโขทัย ได้มี ประกาศยกเว้นแก่ผู้มาค้าขายดัง หลักฐาน ที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า "เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าวพ่อเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขายใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า"ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านตรวจเก็บภาษีขาเข้าขาออกเฉพาะเรียกว่า พระคลังสินค้า มีสถานที่สำหรับการภาษี เรียกว่า ขนอน เก็บภาษีจากระวางบรรทุกสินค้าและจาก สินค้าในสมัยกรุงธนบุรีบ้านเมืองอยู่ในยุคสงครามการค้าขายระหว่าง ประเทศไม่ปรากฏหลักฐาน ในทางประวัติศาสตร์

เมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ส่วนสถานที่เก็บภาษีเรียกว่า "โรงภาษี" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 การติดต่อ ค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาริ่งที่เกี่ยวกับ ศุลกากร คือ ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือเปลี่ยนมาเป็นเก็บ ภาษี สินค้าขาเข้า ที่เรียกว่า "ภาษีร้อยชักสาม" ส่วนสินค้าขาออกให้เก็บตามที่ระบุในท้ายสัญญา เป็นชนิดไป มีการตั้งโรงภาษี เรียกว่า ศุลกสถาน (Customs House) ขึ้นเป็นที่ทำการศุลกากร

ยุคใหม่ของศุลกากรไทยเริ่มในปี พ.ศ. 2417 เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรง จัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางใน การรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน งานศุลกากร ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกเป็นรายได้ของรัฐ อยู่ในความควบคุมดูแลของหอรัษฎากรพิพัฒน์ คือการก่อตั้งกรมศุลกากร งานศุลกากรได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วความเปลี่ยน แปลงของบ้านเมืองและสถานการณ์ของโลก ได้มีการ สร้างอาคารที่ทำการใหม่ให้เหมาะสม ขึ้นแทนที่ทำการศุลกากร ที่เรียกว่าศุลกสถาน เดิมในปี 2497 นั่นคือ สถานที่ตั้งกรมศุลกากร คลองเตย ในปัจจุบันในช่วงเวลาที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศซึ่งเดิม กรมศุลกากรมีภารกิจหลักคือจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อนำไปพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศและดูแลป้องกัน ปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากรเพื่อให้การจัดเก็บภาษีอากรเป็นไปตามเป้าหมายและเกิดความ เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่สุจริต

ในปัจจุบันกรมศุลกากร ได้รับบทบาทและหน้าที่จากเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกไป นอกราชอาณาจักรมาเป็นการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาส่งเสริมด้านการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกของไทยที่มีศักยภาพ ในการแข่งขันกับตลาดการค้าของโลกได้ ควบคู่กันนั้นกรมศุลกากร ได้พัฒนาระบบงานการจัดองค์กรการ นำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการบริหารงาน ตลอดจนพัฒนา ประสิทธิภาพของข้าราชการให้มีความสอดคล้องกับความเจริญ ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากการพัฒนาระบบงานต่างๆแล้ว กรมศุลกากรได้ปรับปรุงขยายหน่วยงานต่างๆ รองรับกับ ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น กรมศุลกากรได้จัดสร้างอาคารที่ทำการอีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เรียกว่า อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร ทำพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2539

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 7 พฤศจิกายน 2561 11:34:24
จำนวนผู้เข้าชม : 242,724

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักงานเลขานุการกรม (สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2667-7600
อีเมล์ :

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมศุลกากร

The Customs Department
หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน
หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 (148 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
งบประมาณประจำปี4,267.7016 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • พชร อนันต์ศิลป์, อธิบดี
  • สรศักดิ์ มีนะโตรี, รองอธิบดี
  • พันธ์ทอง ลอยกุลนันท์, รองอธิบดี

เว็บไซต์http://www.customs.go.th

กรมศุลกากร (อังกฤษ: The Customs Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"[2] มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ

ประวัติ[แก้]

หอรัษฎากรพิพัฒน์ได้พัฒนามาเป็นหน่วยงานใดในปัจจุบัน

กิจการศุลกากรในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเรียกว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า "พระคลังสินค้า"

ในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น "ภาษีร้อยชักสาม" โดยมีโรงเก็บภาษีเรียกว่า "ศุลกสถาน" ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกนอกประเทศ

หน่วยงานในสังกัด[แก้]

  • กองสืบสวนและปราบปราม
  • กองบริหารทรัพยากรบุคคล
  • กองตรวจสอบอากร
  • กองพิกัดอัตราศุลกากร
  • กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร
  • กองกฎหมาย
  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
  • สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
  • สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
  • สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • สำนักงานศุลกากรท่าอากาศดอนเมือง
  • สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง
  • สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด
  • สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
  • สำนักงานศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
  • งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1-5

ด่านศุลกากร[แก้]

ด่านศุลกากร ในสังกัดกรมศุลกากรมีจำนวนทั้งสิ้น 47 ด่าน[3] ดังนี้

  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ คลองใหญ่ จันทบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ แม่กลอง ระนอง สังขละบุรี และอรัญประเทศ
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 มีด่านศุลกากร จำนวน 10 ด่าน ได้แก่ ท่าลี่ เชียงคาน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ ช่องเม็ก ช่องสะงำ และช่องจอม
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากร จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน เชียงของ ทุ่งช้าง แม่สอด แม่สะเรียง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงดาว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 มีด่านศุลกากร จำนวน 12 ด่าน ได้แก่ วังประจัน สตูล ปาดังเบซาร์ สะเดา บ้านประกอบ เบตง บูเก๊ะดา สุไหงโก-ลก ตากใบ ปัตตานี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และสงขลา
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ บ้านดอน เกาะสมุย สิชล นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต และกันตัง

อธิบดีกรมศุลกากร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. "ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  3. ที่ตั้งสำนักงาน/ด่านศุลกากร กรมศุลกากร สืบค้นวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สโมสรฟุตบอลคัสตอม ยูไนเต็ด

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์กรมศุลกากร
  • งานราชการ ติดต่อกรมศุลกากร นำเข้า-ส่งออก