หนังสือประชาสัมพันธ์ ตัวอย่าง

ตัวอย่างหนังสือราชการ

1. หนังสือภายนอก

  • ตัวอย่างการขอเรียนเชิญผู้ว่าราชการฯ เป็นประธานเปิดสัมมนา
  • ตัวอย่างการขอบคุณวิทยากร
  • ตัวอย่างการขอบคุณวิทยากร
  • ตัวอย่างการขอเรียนเชิญเป็นวิทยากร
  • ตัวอย่างการขอเรียนเชิญเป็นวิทยากร
  • ตัวอย่างการขอความอนุเคราะห์ คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก
  • ตัวอย่างการขอบคุณผู้สนับสนุนงบประมาณ
2. หนังสือภายใน
  • ตัวอย่างการขอความอนุเคราะห์สอบถามข้อมูล
  • ตัวอย่างการขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม
  • ตัวอย่างการขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรม
  • ตัวอย่างการขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย QCC
  • ตัวอย่างการขอเชิญประชุม
  • ตัวอย่างการขอนำเสนอประเด็นเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำคณะ
  • ตัวอย่างการขออนุญาตใช้สนามซอฟท์บอลของมหาวิทยาลัย
  • ตัวอย่างการขออนุญาตส่งบุคลากรเข้าร่วมการอบรม
  • ตัวอย่างการขออนุญาตส่งบุคลากรเข้าร่วมงาน
  • ตัวอย่างการขออนุมัติจัดการฝึกอบรม
  • ตัวอย่างการขออนุมัติจัดโครงการ1
  • ตัวอย่างการขออนุมัติจัดโครงการ2
  • ตัวอย่างการขออนุมัติจ้างที่ปรึกษา
  • ตัวอย่างการปฏิเสธขอใช้รถยนต์คณะ
  • ตัวอย่างการเรียนเชิญเป็นที่ปรึกษา
  • ตัวอย่างการสรุปเรื่องเสนอเพื่อพิจารณาสั่งการ
  • ตัวอย่างการขอความอนุเคราะห์เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ตัวอย่างการขอความอนุเคราะห์แจกแบบสอบถาม
3. หนังสือสั่งการ
  • ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้ง (กรณีที่มีเนื้อหามากกว่า 1 หน้า)
  • ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  • ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ
  • ตัวอย่างคำสั่งกำหนดวันสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบการค้นคว้าแบบอิสระ
4. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
  • ตัวอย่างโครงการฝึกอบรม
  • ตัวอย่างโครงการฝึกอบรม
  • ตัวอย่างแบบตอบรับการเป็นอาจารย์พิเศษ
  • ตัวอย่างรายงานการประชุม 
5. รูปแบบหนังสือราชการ
  • รูปแบบหนังสือภายนอก
  •  รูปแบบหนังสือภายใน (บันทึกข้อความ)
  •  รูปแบบคำสั่ง
  •  รูปแบบประกาศ
  •  รูปแบบรายงานการประชุม
  • รูปแบบขออนุมัติจัดโครงการฝึกอบรม
  • รูปแบบบันทึกเสนอความคิดเห็น
  •  รูปแบบหนังสือรับรอง

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ AccBA

รูปแบบ ตัวอย่างหนังสือราชการ

หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน ในราชการ ได้แก่
1.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการ มีไปถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอก มีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการ จัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

หนังสือราชการ มี 6 ชนิด

  1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้ กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ
    หรือส่วนราชการมี ถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
  2. หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกขัอความ
  3. หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตรา แทนการลงชื่อ ของหนัวหน้าส่วนราชการระดับ กรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้า ส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบ ลงชื่อย่อกำกับตรา
    หนังสือ ประทับตรา ให้ใช้ได้ ทั้งระหว่างส่วนราชการ กับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการ กับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่ เรื่องสำคัญ ได้แก่
    3.1 การขอรายละเอียด เพิ่มเติม
    3.2 การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
    3.3 การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับ ราชการสำคัญ หรือการเงิน
    3.4 การแจ้งผลงาน ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
    3.5 การเตือนเรื่องที่ค้าง
    3.6 เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้น ไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา
  4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่
    คำสั่ง คือ บรรดาข้อความ ที่ผู้บังคับบัญชา สั่งการให้ปฏิบัติ โดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ
    ระเบียบ คือ บรรดาข้อความ ที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจ ของกฎหมาย หรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลัก ปฏิบัติงานเป็น
    การประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
    ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความ ที่ผู้มีอำนาจกำหนดให้ ใช้โดยอาศัย อำนาจของกฎหมาย ที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ
  5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่
    ประกาศ คือ บรรดาข้อความ ที่ทางราชการระกาศ หรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะนำแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
    แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลง เพื่อทำความเข้าใจ ในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใด ๆ
    ให้ทราบขัดเจน โดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ
    ข่าว คือ บรรดาข้อความ ที่ทางราชการ เห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
  6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน ในราชการ คือ หนังสือที่ทางราชการทำขึ้น นอกจากที่กล่าวมา แล้วข้างต้น หรือหนังสือที่หน่วยงาน อื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมี มากถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการมี 4 ชนิด คือ
    หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออก ให้เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์ อย่างหนึ่งอย่างใด ให้ปรากฎแก่บุคคลโดย
    ทั่วไป ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
    รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็น ของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของ ที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
    บันทึก คือ ข้อความ ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชา เสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำ
    กว่าส่วนราชการระดับกรม ติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
    หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใด ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบ บันทึกภาพด้วย หรือหนังสือ ของบุคคลภายนอก ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือ ของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวงทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฎหมาย เฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบแผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวน และสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น

รูปแบบ ตัวอย่างหนังสือราชการ