จิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

ไหนใครกำลังรอ “คณะจิตวิทยา” กันอยู่บ้างเอ่ย ยกมือขึ้น!   พี่เชื่อว่าจะต้องมีน้องๆหลายคนที่กำลังให้ความสนใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับคณะนี้กันอยู่ใช่ไหมล่ะคะ  เพราะนี่ก็เป็นหนึ่งในคณะยอดฮิตที่ขอกันเข้ามาเยอะมากเลย

วันนี้พี่เอิธ SMP NEWS จะพาน้องๆ ไปเจาะลึกความรู้ และล้วงความลับสุดพิเศษ จากรุ่นพี่จิตวิทยา จุฬาฯ คนเก่งของเรา  ที่จะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับคณะนี้ ผ่านประสบการณ์ตรงที่พบเจอมา ตั้งแต่การวางแผนการเรียน การเตรียมตัวสอบ ไปจนถึงชีวิตการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยกันเลยนะคะ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ^_^

จิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

สวัสดีครับน้องๆทุกคน พี่ชื่อ “คอปเตอร์” นะครับ ตอนมัธยมปลายเรียนสายวิทย์ – คณิต ปัจจุบันพี่เรียนจบจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบัณฑิตหน้าใหม่เลยครับ

ยาวไป...เลือกอ่าน

  • จิตวิทยา คืออะไร? เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
  • คณะจิตวิทยา มีกี่สาขา?
  • คณะจิตวิทยา แต่ละปี เรียนอะไรบ้าง?
  • เรียนจิตวิทยา เน้นวิชาอะไร?
  • ใช้คะแนนเท่าไหร่? เกณฑ์อะไรบ้าง?
  • จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? เงินเดือนดีไหม?
  • ค้นหาตัวเองเจอได้ยังไง? 
  • เทคนิคการเตรียมตัว สอบเข้ามหาวิทยาลัย
  • วิธีจัดการความเครียด ช่วงเตรียมตัวสอบ
  • อยากฝากอะไรถึงน้องๆ ที่กำลังสนใจคณะนี้บ้าง?

จิตวิทยา คืออะไร? เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

คณะจิตวิทยา เรียนเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เป็นหลัก เปรียบเหมือนการที่เราจะต้องพยายามเข้าใจและเข้าถึงคนๆหนึ่ง ซึ่งก็จะมีการเรียนเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ทั้งภายในและภายนอกเลยครับ เช่น ภายนอก วิชาชีวะ(Biology) ก็จะมีการเรียนเรื่องสมอง หรือสีหน้าท่าทาง พฤติกรรมที่เราแสดงออกมา เช่น สมองส่วนหน้าทำงานเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือสมองส่วนไหนทำงานเกี่ยวกับเรื่องความจำ  ส่วนภายใน เราก็จะเรียนเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความเชื่อ ประมาณนี้ครับ

คณะจิตวิทยา มีกี่สาขา?

พี่ต้องบอกก่อนว่า มหาวิทยาลัยบางแห่งอาจจะเป็นการเลือกสาขาตั้งแต่แรกเข้าเลย เช่น จิตวิทยาคลินิก  จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาศึกษา เป็นต้น แต่ของคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ไม่ได้มีการแบ่งสาขาที่ชัดเจนขนาดนั้นนะครับ เพราะจะเป็นการเรียนในสาขาจิตวิทยาทั่วไป โดยการเรียนรวมกันก่อน

ซึ่งก็จะมีการแตกแขนงสาขาหลักๆที่เปิดให้เรียน ดังนี้

1) จิตวิทยาการปรึกษา : อันนี้ตรงตัวเลยว่า เรียนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาผู้อื่นครับ

2) จิตวิทยาสังคม : เป็นการเรียนเกี่ยวกับ Daily Life ต่างๆ ที่เราอาจจะคุ้นหูว่า Stereotype การเหมารวม อคติต่อกลุ่ม หรือการแบ่งแยกกันนั่นเอง

3) จิตวิทยาพัฒนาการ : เราจะเรียนในเรื่องของการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

4) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ : เรียนในด้านการทำงานสำหรับการอยู่ร่วมกัน

และสำหรับพี่ ที่ได้เรียนแบบการเรียนรวม ของจุฬาฯ พี่มองว่ามันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกับการเลือกเรียนตามสาขาวิชานะครับ

ข้อดี : เราจะได้เรียนภาพรวมทั้งหมดเลย ทำให้เราได้เข้าใจมากขึ้น อาจจะเหมาะกับคนที่ไม่มีพื้นฐานในด้านจิตวิทยามากนัก เช่นตัวพี่เอง><

แต่พี่ก็มีสาขาที่สนใจนะ ก็คือ จิตวิทยาการศึกษา เพราะเป็นสาขาที่เวลาเรียนแล้วพี่รู้สึกชอบ แต่ก็ทำให้รู้ว่า ตัวเราเองก็ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพขนาดนั้น พี่ว่าการเรียนรวมมันดีกับตัวเราตรงนี้แหละ ทำให้เราชัดเจนกับตัวเองได้มากขึ้น ว่าจะไปทางไหนดี

ข้อเสีย : ไม่ได้มีการเรียนและการฝึกฝนที่ชัดเจนว่า เราจะไปในสาขาไหน แม้ในบางสาขาวิชาจะมีการเปิดวิชาเพิ่มเติม แต่ก็ค่อนข้างน้อยและไม่ได้ลงลึกมากเท่ากับการแยกสาขาไปตั้งแต่ต้นเลย

ดังนั้น พี่อยากให้น้องๆที่สนใจลองไปศึกษาข้อมูล เพื่อทำการเปรียบเทียบดูก่อนว่า เราอยากที่จะเรียนในรูปแบบไหนมากกว่ากัน อย่าพึ่งรีบตัดสินใจเลือกไปก่อนนะครับ

จิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

คณะจิตวิทยา แต่ละปี เรียนอะไรบ้าง?

ปีที่ 1-2 : เรียนพื้นฐานทั้งหมด เช่น จิตวิทยาทั่วไป รวมถึงการเรียนวิชาต่างๆในขั้นต้น เช่น Intro to  Counselling , Intro to Developement , Biology และ Physiology  รวมถึงการเรียน Reserch  ซึ่งปีที่ 2 จะเรียนเยอะกว่า ปีที่ 1 หน่อยครับ

ปีที่ 3-4 : เราจะมีอิสระมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเลือกได้ว่า เราสนใจสาขาไหนเป็นพิเศษ  โดยช่วงก่อนขึ้นปีที่ 4 ก็จะมีการฝึกงาน เพื่อให้ได้สัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงมากยิ่งขึ้น และเมื่อขึ้นปีที่ 4 เราก็จะต้องไปโฟกัสกับการทำโปรเจกต์เป็นหลัก

และพี่ขอเสริมเพิ่มเติมว่า คณะจิตวิทยา ไม่ว่าน้องๆจะจบมากจากสายวิทย์หรือสายศิลป์ ก็สามารถเรียนได้เหมือนกันนะครับ พี่มองว่า ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความชื่นชอบมากกว่าครับ

เรียนจิตวิทยา เน้นวิชาอะไร?

หลักๆพี่คิดว่า ภาษาอังกฤษ นะครับ เพราะเป็นเหมือน Material ต่างๆที่เราต้องเรียน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยล่ะครับ เช่น สไลด์เรียน Text หรือ Reserch ต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมดเลย แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะตอนเรียนอาจารย์จะสอนเป็นภาษาไทยปกติ ส่วนวิชาที่เน้นคือ การวิจัย ทำให้เราจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาอังกฤษค่อนข้างเยอะเลยครับ

ในส่วนของวิชาคณิตศาสตร์ก็จะเน้นที่สถิติเป็นหลัก เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยต่างๆ เพราะการรู้เรื่องสถิติ ก็จะช่วยให้เราเข้าใจขั้นตอนการทำวิจัยได้ดียิ่งขึ้น  แต่น้องๆคนไหนที่ไม่เก่งเลขก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะไม่ได้เน้นเท่า Biology และ Physiology  อยู่แล้ว

ใช้คะแนนเท่าไหร่? เกณฑ์อะไรบ้าง?

พี่ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างแล้วนะครับ แต่รุ่นของพี่ Dek61 ก็จะมีแค่รอบ Admission อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีรับรอบตรงเลย แต่ถ้าโครงการพิเศษก็จะมี โควตานักกีฬาต่างๆ เป็นต้น โดยมีการใช้เกณฑ์การคัดเลือกที่เหมือนกันคือ คะแนน O-NET และ G-PAX รวมเป็น 50%  ส่วนที่เหลืออีก 50% ก็จะมีทั้งหมด 3 รูปแบบให้เลือกด้วยกันคือ GAT ล้วน , GAT+PAT1 และ GAT+PAT2 ครับ

สำหรับน้องๆรุ่นปัจจุบันที่ได้เข้ามาอ่านบทความนี้ พี่เอิธ SMP NEWS อยากแนะนำให้น้องๆศึกษาระเบียบและเกณฑ์การรับเข้าของปีนั้นๆให้ละเอียดอีกครั้งนึงนะคะ เพราะมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเกือบทุกปี น้องๆสามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้ ที่นี่ เลย

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง? เงินเดือนดีไหม?

คำถามนี้เรียกได้ว่า เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากเลยครับ พี่ต้องบอกเลยว่า จิตวิทยา มันสามารถทำงานได้หลากหลายและกว้างมาก แต่จะไม่ได้มีสายงานที่ตายตัวขนาดนั้น  สามารถแบ่งอาชีพคร่าวๆ ตาม 4 สาขาหลัก ดังนี้

1) จิตวิทยาศึกษา : นักจิตวิทยา ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาต่างๆ สามารถทำได้ทั้งในโรงพยาบาล บริษัทเอกชน หรือโรงเรียนก็ได้

2) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ : HR , HRD หรือ HR Consultant ก็ได้เหมือนกัน

3) จิตวิทยาพัฒนาการ : นักกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ได้ทั้งเด็กธรรมดาหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งก็สามารถดูแลได้ถึงวัยผู้ใหญ่ และวัยชราได้เหมือนกันนะครับ แต่วัยกลางคนอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก เพราะไม่มีปัญหาอะไรที่ทำให้เราต้องช่วยเหลือขนาดนั้น

4) จิตวิทยาสังคม : นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักวิจัย

แต่ก็อย่างที่พี่บอกตอนต้นเลยว่า การเรียนคณะนี้ จบมาแล้วทำงานได้เยอะมากๆ เพราะหลักๆเราเน้นที่การทำงานเกี่ยวกับคน พี่มองว่า ‘ถ้าที่ไหนมีคน ที่นั่นก็มีงานสำหรับเรา’ เพียงแค่อาศัยการเรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเท่านั้นเอง เพราะหลักๆแล้ว เราเรียนเกี่ยวกับการเข้าใจมนุษย์ ถ้าเราอยากที่พัฒนาหรือนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ เราก็อาจจะต้องเรียนเพิ่มเติมอีกครับ

ส่วนที่ถามว่าเงินเดือนดีไหม อันนี้พี่ว่า ขึ้นอยู่กับงานที่เลือกเลยนะ เพราะอย่างที่บอกว่า สามารถทำงานได้กว้างมากๆ ดังนั้นฐานเงินเดือนก็จะหลากหลายตามสายอาชีพที่แตกต่างกันเลยครับ ซึ่งก็มีรุ่นพี่ของพี่หลายคน ที่ไม่ได้ทำงานตรงสายเหมือนกันนะ เช่น Data Analysis , Digital Marketing หรือสายสื่อสารบันเทิง เป็นต้น

จิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

ค้นหาตัวเองเจอได้ยังไง? 

ส่วนตัวพี่เองรู้ตัวว่า อยากเข้าคณะอะไร ค่อนข้างช้าเลยครับ มารู้ตัวอีกทีก็ช่วง ม.6 แล้ว ซึ่งพี่เริ่มจากการสังเกตตัวเองและสิ่งรอบข้างก่อนว่า เราถนัดอะไร หรือเรื่องอะไรที่คนชอบมาขอความช่วยเหลือจากเรา และสิ่งที่เห็นคือ คนชอบมาขอคำปรึกษา เรื่องชีวิต หรืออาจจะเป็นเรื่องความรักในวัยเรียน รวมถึงเรื่องอื่นๆจากเราอีกเยอะแยะเลย

หลังจากนั้นเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลว่า มีคณะ/สาขาไหนที่เรียนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้บ้าง ก็ลิสต์ออกมาเยอะๆก่อน แล้วค่อยๆตัดตัวเลือก จนเป็นคณะจิตวิทยาในที่สุดครับ และพี่ก็คิดอีกอย่างหนึ่งว่า หากอนาคตเราเรียนไปแล้วไม่ได้ทำงานด้านนี้ อย่างน้อยเราก็มีความเข้าใจในมนุษย์มากยิ่งขึ้น เราก็สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้อีกด้วยครับ

เพราะในการเรียนจิตวิทยา ส่วนตัวพี่มองว่า ทำให้เราได้เข้าใจคนมากขึ้น เข้าใจทั้งคนรอบข้าง รวมถึงตัวเราเองด้วย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่พี่ได้จากการเรียนคณะนี้คือ เราจะไม่ด่วนตัดสินใครก่อน เพราะเราเข้าใจได้ว่า แต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทั้งชีวิตครอบครัว บริบททางสังคมต่างๆที่ต้องพบเจอ ทำให้เราสามารถเปิดใจมองและเรียนรู้ทุกคนได้อย่างเต็มที่ ไม่ปิดกั้นตัวเองและผู้อื่นนั่นเองครับ พี่ชอบตรงนี้มากๆเลย เช่น เวลาที่ครอบครัวพี่มีปัญหาเล็กๆน้อยๆระหว่างกัน พี่ก็จะกลายเป็นคนกลางที่คอยช่วยไกล่เกลี่ยปัญหานั้นให้ดีขึ้นได้นั่นเอง

เทคนิคการเตรียมตัว สอบเข้ามหาวิทยาลัย

อย่างที่พี่บอกเนอะว่า พี่รู้ตัวช้าถึง ม.6 เลย ทำให้การเตรียมตัวสอบต้องเร่งนิดนึง ซึ่งการเตรียมตัวหลักๆก็คือ การเรียนในห้องเรียน เพราะตอนนั้นพี่ต้องใช้คะแนน GPAX ก็เลยต้องตั้งใจเรียนมากขึ้น เพื่อเก็บเกรดดีๆในการยื่นมหาวิทยาลัยนั่นเอง ส่วน GAT เชื่อมโยง พี่ก็ได้ซื้อหนังสือแบบฝึกหัดมาฝึกฝนทำเองครับ และส่วนของ GAT ภาษาอังกฤษ โชคดีที่พี่ได้มีการปูพื้นฐานมาระดับหนึ่ง จากการลงเรียนพิเศษตั้งแต่ช่วง ม.5 แล้ว   เพราะตอนนั้นยังไม่รู้ว่า จะเข้าคณะไหน เรียนอะไรดี เลยคิดแค่ว่า เรียนภาษอังกฤษไว้ก่อนแล้วกัน ยังก็ต้องได้ใช้ อีกอย่างภาษาอังกฤษคือสิ่งที่พี่ต้องการการฝึกฝนอยู่แล้ว การเจอบ่อยๆจะทำให้เราซึมซับและพัฒนาอยู่เสมอ ดังนั้น พี่ก็อยากแนะนำน้องๆว่า การเรียนวิชาไหนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีนะครับ

และอีกวิชาที่พี่ต้องเตรียมตัวเหมือนกันเลยคือ คณิตศาสตร์ ส่วนตัวพี่เรียนกับ พี่ปั้น SmartMathPro ครับ จริงๆเรียนไม่ถึงสองเดือนด้วยซ้ำ พี่เริ่มเรียนจากคอร์สพื้นฐานก่อน แล้วตามด้วยคอร์ส PAT1 รู้น้อยแต่ร้อยอัป เพราะปีของพี่สามารถสอบ PAT1 ได้ถึง 2 รอบด้วยกัน รอบแรกที่สอบ พี่ยังไม่ได้เรียนกับพี่ปั้นนะ ได้ 48 คะแนน แต่พอมาเรียนกับพี่ปั้น รอบที่ 2 พี่สอบได้ 106 คะแนน อาจจะไม่ใช่คะแนนที่สูงมากนะครับ แต่ได้เท่านี้พี่ก็พอใจแล้ว เพราะเมื่อนำไปบวกกับคะแนนส่วนอื่นๆ ก็สามารถสอบติดได้แล้วครับ

สิ่งสุดท้ายที่พี่อยากแชร์คือ สำหรับน้องๆคนไหนที่ไม่มี Self Control ที่ดีขนาดนั้น หรือไม่สามารถควบคุมการอ่านหนังสือของตนเองได้  พี่แนะนำให้ลองใช้เพื่อนและสภาพแวดล้อมช่วยดูนะ เช่น การพาตัวเองไปนั่งอ่านหนังสือกับเพื่อน หรือไปนั่งอ่านหนังสือข้างนอก เพราะเพื่อนก็จะคอยช่วยกระตุ้นหรือคอยเตือนกัน แต่ถ้าไม่สะดวกไปข้างนอกจริงๆ ก็ลองจัดสภาพแวดล้อมในห้องของเราให้สบายตาและน่าอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น เช่น เอาโทรศัพท์ไปแอบไกลๆ ให้พ้นสายตา พี่เองก็ใช้เหล่าวิธีนี้เหมือนกันนะ เห็นผลดีเลยครับ

วิธีจัดการความเครียด ช่วงเตรียมตัวสอบ

พี่ใช้วิธีปรับทุกข์กับเพื่อนครับ เพราะพี่มองว่า ณ ตอนนั้น เพื่อนก็คือคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังเผชิญสิ่งเดียวกับเราอยู่ จริงๆพี่ชาย หรือพ่อแม่ของพี่เองก็อาจจะเคยผ่านจุดนี้มา แต่ต่างสถานการณ์กันและด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน ก็อาจจะไม่ได้เข้าใจเราทั้งหมด ดังนั้น สิ่งที่ทำให้พี่ดีขึ้นได้ก็คือ เพื่อน ครับ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้สึกซึ่งกันและกัน เพราะการบ่น ระบาย พูดคุยกัน จะช่วยให้เราสามารถบรรเทาความเครียดลงได้

จริงๆตรงนี้ก็เหมือนเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งเลยครับ ที่เรียกว่า Counselling การที่มีคนรับฟังก็จะช่วยให้จิตใจเราดีขึ้น คลายความเครียด และความกังวลได้ดีมากยิ่งขึ้นครับ

และอีกหนึ่งวิธีคือ การใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเราชอบ เช่น ดูหนัง พักผ่อน หรือไปกินอะไรอร่อยๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนเลยครับ ห้ามมองว่า การพักผ่อนเป็นเรื่องที่เสียเวลา เพราะการพักผ่อนคือ วิธีคลายเครียดที่ดีมากๆ และยังเป็นการช่วยผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย

“เรียนหนักได้ ตั้งใจได้เต็มที่เลย แต่เรื่องการพักผ่อนก็ต้องเต็มที่เหมือนกันนะครับ”

จิตวิทยา ใช้คะแนนอะไรบ้าง 65

อยากฝากอะไรถึงน้องๆ ที่กำลังสนใจคณะนี้บ้าง?

ก่อนอื่นเลยต้องขอบคุณน้องๆมากเลยนะครับ ที่สนใจคณะจิตวิทยานี้ หรือสำหรับน้องๆบางคนที่อาจจะสนใจแค่เรื่องของจิตวิทยาเฉยๆด้วยนะครับ ที่พี่อยากขอบคุณ เพราะพี่คิดว่า “โลกนี้น่าจะดีขึ้น ถ้ามีคนสนใจจิตวิทยามากยิ่งขึ้น” สนใจในเรื่องของการดูแลความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้น หรือสนใจความรู้สึกของตัวเองมากขึ้นด้วยนะครับ สิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้เกิดเรื่องราวดีๆขึ้นบนโลกได้อีกมากมายเลย

ในส่วนของการให้กำลังใจ สิ่งที่สำคัญมากๆคือ การหากำลังใจจากคนรอบข้าง และการให้กำลังใจตัวเองเยอะๆนะครับ พี่อยากให้น้องๆให้รางวัลกับตัวเองบ้าง ชมตัวเองบ้าง จากการที่เราเรียนมาเหนื่อยๆ อ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบมาอย่างหนัก หรือว่าทำอะไรก็แล้วแต่ที่เราใช้ทั้งแรงกายและแรงใจ ก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วย เพราะถ้าหากเราไปสุดทางเลย จนตัวเราเหนื่อยมากๆ ก็อาจจะเกิดการ Breakdown หรือ Burn out ก็ได้นะครับ

สุดท้ายนี้ พี่คอปเตอร์อยากบอกน้องๆว่า ทำให้เต็มที่ พักผ่อนให้เต็มที่ เราเชื่อว่า น้องๆสามารถติดคณะจิตวิทยาได้แน่นอน หากน้องๆตั้งใจให้เต็มที่ และใช้เวลาในการเตรียมตัวสอบให้มากๆ ยังไงก็ไม่ไกลเกินฝันแน่นอนครับ สู้ๆนะทุกคน พี่เป็นกำลังใจให้ครับ ^_^

คณะจิตวิทยา สอบอะไรบ้าง 65

GAT 45% + PAT5 45% + ภาษาอังกฤษ 10% (ใช้ GAT/PAT ปี 65 เท่านั้น) กศ.บ. เอกจิตวิทยาและการแนะแนว (เอกคู่) GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75. GAT 45% + PAT5 45% + ภาษาอังกฤษ 10% (ใช้ GAT/PAT ปี 65 เท่านั้น).
GAT 60% + PAT1 40%.
GAT 60% + PAT2 40%.
GAT 100%.

จิตวิทยา ใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง

กลุ่มคณะจิตวิทยา วิชา GAT/PATที่ต้องสอบ : GAT (บางมหาวิทยาลัยใช้ PAT1 , PAT7) วิชาสามัญที่ต้องสอบ : ภาษาไทย / สังคม / คณิตศาสตร์ 1 / ภาษาอังกฤษ / ฟิสิกส์ / เคมี /ชีววิทยา

คณะจิตวิทยา จุฬา ใช้อะไรบ้าง

👏จิตวิทยา จุฬาฯ เปิดรับ 3 รูปแบบ👏 . รูปแบบที่ 1 : ใช้คะแนนสอบ GAT 60% , PAT1 40% รูปแบบที่ 2 : ใช้คะแนนสอบ GAT 40% , PAT2 60%

เข้าจิตวิทยา ต้องสอบอะไรบ้าง 66

คณะจิตวิทยา.
คณิตประยุกต์สามัญ.
ฟิสิกส์สามัญ.
เคมีสามัญ.
ชีวะสามัญ.
ภาษาอังกฤษสามัญ หรือ TGAT..