โครงงาน เรื่อง วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ

โครงงานเรื่อง วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ

โครงงาน เรื่อง วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ

1.เด็กชายชนพัฒน์ มีโส ม.3/4 เลขที่4
2.เด็กชายวสุพล ศักดี ม.3/4 เลขที่12
3.เด็กหญิงอาจารี โพธิ์แก้ว ม.3/4 เลขที่36

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

โครงงาน เรื่อง วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ
 กันยายน 15, 2013
โครงงาน เรื่อง วัสดุกันกระแทกจากธรรมชาติ
 newkittipong

หมวดหมู่: Uncategorized

      วัสดุจากธรรมชาติอย่างสุดท้าย ที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทย ที่มีการนำผักตบชวา ที่เป็นดั่งวัชพืชที่มีแต่คนไม่เห็นค่าที่ลอยไปลอยมาในคลอง ปัจจุบัน เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งในการนำมาเป็นวัสดุกันกระแทก โดยนำมาเข้าสู่กระบวนการทำให้แห้ง แล้วส่งต่อไปตัดให้เป็นท่อนๆ จนกลายมาเป็นผักตบชวากันกระแทก ที่สามารถนำไปใช้ทดแทนพลาสติกกันกระแทก หรือ แอร์บับเบิ้ลได้เลย หากสนใจสามารถเข้าไปติดตามกันได้ที่ TOBCHAWA

ในปัจจุบันปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดอย่างสิ้นเปลืองเป็นเหตุให้ทรัพยากร ธรรมชาติปัจจุบันมีปริมาณที่น้อยลงจนอาจทำให้หมดได้ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า จึงทำให้คณะผู้จัดทำตระหนักเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นหาวัตถุดิบที่สามารถนำมาดัดแปลง พัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือใช้ อย่างเช่น ขุยมะพร้าว โดยคณะผู้จัดทำได้ทำโครงงานขึ้นมาเพื่อศึกษาปริมาณขุยมะพร้าวที่มีผลต่อการรับแรงกระแทก โดยนำมาทำเป็นแผงไข่ แบ่งเป็น 3 สูตร แต่ละสูตรใช้ขุยมะพร้าวปริมาณ 50 กรัม 100 กรัม และ150 กรัมตามลำดับ และใช้กาวลาแท็ก 200 กรัม กาวผง 65 กรัมและน้ำ 65 มิลลิลิตร ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ทดสอบและเปรียบเทียบความแข็งแรงของวัสดุกันกระแทกจากขุยมะพร้าวแต่ละสูตร จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สูตรที่ 1 มีความแข็งแรงในการรับแรงกระแทกได้ดีที่สุด คณะผู้จัดทำจึงนำวัสดุกันกระแทกจากขุยมะพร้าวสูตรที่ดีที่สุด มาเปรียบเทียบ กับ วัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด วิธีทดสอบแรงกระแทก โดย ปล่อยวัสดุกันกระแทกที่มีไข่เบอร์ 3 จำนวน 2 ฟอง วางไว้บนวัสดุกันกระแทก ปล่อยจากที่สูงระยะ 1 เมตร ไข่ที่อยู่ในวัสดุกันกระแทกจากขุยมะพร้าว คงสภาพเดิม ส่วนไข่ที่อยู่ในวัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด เกิดการร้าวเล็กน้อย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดอย่างสิ้นเปลืองเป็นเหตุให้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมีปริมาณที่น้อยลงจนอาจทำให้หมดได้ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า อีกทั้งยังมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์ ส่งผลให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้เกิดวิกฤตภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming อย่างที่เห็นได้ในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือเกิดการละลายจนทำให้สัตว์ต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดความเดือดร้อนอันเป็นสาเหตุให้เกิดการล้มตายของสัตว์เป็นจำนวนมาก จึงทำให้คณะผู้จัดทำตระหนักเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากร-ธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นหาวัตถุดิบที่สามารถนำมาดัดแปลง พัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือใช้ อย่างเช่น ขุยมะพร้าว ที่เป็นทรัพยากร ธรรมชาติที่เหลือใช้จากการทำเส้นใยมะพร้าว ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในท้องถิ่นของคณะผู้จัดทำ ขุยมะพร้าวนั้น คือ เปลือกมะพร้าวที่ถูกปั่นเอาใยออกหรือปั่นให้ใยละเอียดเป็นขุยๆ ประมาณเม็ดทรายแห้งสนิท มีคุณสมบัติ เบา อุ้มน้ำได้ดีและสามารถช่วยเก็บความชื้นไว้ได้นาน คณะผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญของขุยมะพร้าวและทำให้เกิดแนวคิดในการนำขุยมะพร้าวมาพัฒนาและแปรรูปเป็นตาข่ายกันกระแทกจากขุยมะพร้าวแทนการใช้โฟมซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนดังที่อธิบายไว้ข้างต้นและยังช่วยลดเวลาในการย่อยสลาย เพราะหากเราใช้โฟมในการผลิตจะทำให้โลกต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลายให้หมดไป แต่หากเราใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาแทนนั้นจะทำให้ลดเวลาในการย่อยสลายและลดอัตราเร่งในการเกิดภาวะโลกร้อน หากผลิตภัณฑ์นี้ผลิตออกมาสามารถใช้งานได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ที่ได้รับการทดลองใช้ คณะผู้จัดทำจะสามารถมาพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป และสามารถนำมาประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ได้อีกทางหนึ่ง

จุดมุ่งหมาย

1.เพื่อศึกษาปริมาณขุยมะพร้าวที่มีผลต่อการรับแรงกระแทก

สมมติฐาน

1.ปริมาณของขุยมะพร้าว 100 กรัม มีผลต่อการรับแรงกระแทกได้ดีที่สุด

ขอบเขตการศึกษา

ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออกกหรือปั่นใยให้ละเอียดเป็นเศษที่เหลือจากโรงงานทำเส้นใยมะพร้าว

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น: ปริมาณขุยมะพร้าว

ตัวแปรตาม: ความแข็งแรงของวัสดุกันกระแทก (แรงดึง แรงกด แรงอัด และแรงกระทบกระแทก)

ตัวแปรควบคุม : ชนิดของมะพร้าว ปริมาณกาว

ระยะเวลาการดำเนินการงาน : เดือนพฤศจิกายน 2556– เดือนมีนาคม 2557

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ขุยมะพร้าวทำเป็นวัสดุกันกระแทกได้

2.ปริมาณของขุยมะพร้าวมีผลต่อการรับแรงกระแทก

3.สามารถจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด

นิยามเชิงปฏิบัติการ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์และวิธีทำ

วัสดุอุปกรณ์

1.ขุยมะพร้าว ปริมาณ 600 กรัม

2.กาวลาเท็ก ปริมาณ 1200 กรัม

3.กาวผง ปริมาณ 480 กรัม

4.น้ำ ปริมาณ 390 มิลลิลิตร

5.แผงไข่พลาสติก จำนวน 3 ใบ

6.กะละมัง จำนวน 3 ใบ


การดำเนินการทดลอง

ตอนที่ 1 ขั้นเลือกหาวัสดุต่างๆ และอัตราส่วนที่เหมาะสม ของวัสดุเหล่านั้นเพื่อเป็นส่วนผสมในการทำวัสดุกันกระแทก โดยแบ่งเป็น 3 สูตร

1.นำขุยมะพร้าวใส่กะละมัง 3 ใบ โดยใบที่ 1 ใส่ในปริมาณ 50 กรัม ใบที่ 2 ใส่ปริมาณ 100 กรัม ใบที่ 3 ใส่ปริมาณ 150 กรัม

2.เทกาวลาเท็กลงไปในกะละมัง 3 ใบ ปริมาณใบละ 200 กรัม

3.ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน ใส่กาวผงลงไป ปริมาณใบละ 65 กรัม ผสมอีกรอบให้เป็นเนื้อเดียวกัน

4.เทน้ำลงในปริมาณ 65 มิลลิลิตร ในกะละมังทั้ง 3 ใบ เท่ากัน ผสมและคนจนเป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง

5.นำขุยมะพร้าวที่ผสมในกะละมังแต่ละใบ เทวางลงแม่แบบโดยแบ่งเป็น 3 สูตร

6.นำไปตากแดดจนแห้งและลอกออก

7.นำผลงานทั้ง 3 ชิ้น มาทดลองเพื่อเปรียบเทียบการรับแรงกระแทกแต่ละสูตร


ตอนที่ 2 ขั้นทดสอบและเปรียบเทียบ วัสดุกันกระแทกจากขุยมะพร้าวแต่ละสูตร โดยเป็นหัวข้อทดสอบ 4 หัวข้อ

1.การทดสอบความแข็งแรงต่อแรงดึง

ชิ้นทดสอบที่ใช้จะถูกแรงดึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งชิ้นทดสอบขาดวัดค่าจากระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด

2.การทดสอบความแข็งแรงต่อแรงกด

ใช้แรงกดอยู่กับที่และเพิ่มขนาดของแรงอย่างช้า ๆ จนกระทั่งชิ้นงานที่ทดสอบแตกหักหรือขาดออกจากกันเช่นเดียวกับแรงดัด แต่ชิ้นทดสอบที่รองรับแรงที่มากระทำจะอยู่บนพื้นราบ วัดค่าจากระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด
3.การทดสอบความแข็งแรงต่อแรงอัด

วางชิ้นทดสอบให้อยู่กึ่งกลางของตัวกดอัด วัสดุที่นำมาทดสอบหากเป็นวัสดุที่มีความเหนียวจะเกิดรอยร้าวและพองออกด้านข้าง หากวัสดุมีความอ่อนจะถูกอัดแบนโดยไม่แตกหัก วัดค่าจากความยาวที่เปลี่ยนแปลง(ซม.)หรือแตกหัก

4.การทดสอบความแข็งแรงต่อแรงกระทบกระแทก

ชิ้นทดสอบจะอยู่สูงจากพื้นเป็นระยะ 1 เมตร โดยมีไข่เบอร์ 3 จำนวน 2 ฟองอยู่ภายในเมื่อปล่อยลงมาสู่พื้นสังเกตความเสียหายของไข่แต่ละสูตรสูตรไหนเกิดความเสียหายน้อยที่สุด


ตอนที่ 3 วีธีการเปรียบเทียบการรับแรงกระแทกของวัสดุกันกระแทกที่ทำจากขุยมะพร้าวแต่ละสูตร กับ วัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด

วัสดุอุปกรณ์

1.วัสดุกันกระแทกที่ทำจากขุยมะพร้าวสูตรที่ไข่เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

2.วัสดุกันกระแทกที่มาจากท้องตลาด

3.ไข่ไก่เบอร์ 3 จำนวน 4 ฟอง

วิธีการเปรียบเทียบการรับแรงกระแทก

1.วางไข่ไก่จำนวน 2 ฟอง บนวัสดุกันกระแทกที่ทำจากขุยมะพร้าว สูตรที่ดีที่สุด

2. นำวัสดุกันกระแทกที่มีไข่จำนวน 2 ฟอง อยู่ข้างใน แต่ละสูตร ปล่อยลงจากความสูง 2 ฟุต พร้อมกัน สังเกตุความเสียหายของไข่เมื่อได้รับการกระแทกของแต่ละสูตร

3. สรุปและเปรียบเทียบการทดลองของแต่ละสูตรว่าวัสดุกันกระแทกสูตรใด ไข่มีความเสียหายน้อยสุด

4. นำสูตรที่ไข่เกิดความเสียหายน้อยที่สุด นำมาเปรียบเทียบการรับแรงกระแทกกับวัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง

1. ขุยมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็น วัสดุกันกระแทก ได้

2. วัสดุกันกระแทกที่ทำจากขุยมะพร้าว ที่มีอัตรา 50 กรัม (สูตรที่ 1) มีคุณสมบัติในการลดแรงกระแทกได้ดีที่สุด

3. ปริมาณขุยมะพร้าวสามารถลดกระแทกได้ และมีประสิทธิภาพดีกว่า วัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด

อภิปรายผลการทดลอง

1. ขุยมะพร้าวนำมาทำเป็น วัสดุกระแทกได้ สามารถ อภิปรายได้ดังนี้ จากการศึกษา พบว่า วัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ ในท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติในการรับแรงกระแทก ยืดหยุ่น และกาวผง เป็นกาวที่ส่วนใหญ่ใช้ในการต่อเรือ มีคุณสมบัติ กันน้ำ เหนียวติดแน่น เมื่อผสมกับน้ำ และกาวลาเท็กซ์ ช่วยเพิ่มความยึดเหนี่ยว

2. วัสดุกันกระแทกที่ทำจากขุยมะพร้าว ที่มีอัตรา 50 กรัม (สูตรที่ 1) มีคุณสมบัติในการลดแรงกระแทกได้ดีที่สุด สามารถ อภิปรายได้ดังนี้ ปริมาณขุยมะพร้าวมีความเหมาะสมกับส่วนผสมอื่นๆ ทำให้สามารถรองรับแรงกระแทกของไข่ได้เป็นอย่างดี วัสดุกันกระแทก จะมีความยืดหยุ่นดี และปกป้องไข่ ให้ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด ในปริมาณขุยมะพร้าวที่พอเหมาะ คือ ขุยมะพร้าว 50 กรัม กาวผง 65 กรัม กาวลาเท็กซ์ 200 กรัม น้ำที่ใช้ 65 มิลลิลิตร วัดความแข็งแรงเป็น แรงดึง 20 นิวตัน แรงกด 18.5 นิวตัน แรงอัด 1.25 ซม. และแรงกระแทกไข่คงสภาพเดิม

3. ปริมาณขุยมะพร้าวสามารถลดกระแทกได้ และมีประสิทธิภาพดีกว่า วัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด สามารถอภิปราย ได้ดังนี้ เมื่อทดสอบโดยปล่อยไข่ของวัสดุกันกระแทกจากขุยมะพร้าว จากที่สูง ระยะ 1 เมตร ไข่สภาพคงเดิม ไม่เกิดความเสียหาย เมื่อ เปรียบเทียบ คุณสมบัติ ของ ขุยมะพร้าว กับ วัสดุที่ใช้ทำวัสดุกันกระแทกตามท้องตลาด ขุยมะพร้าวจะมีคุณสมบัติในการ อุ้มน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้นาน นุ่ม ลดแรงกระแทก ซึ่งสอดคล้องกับ คุณสมบัติที่ดีของวัสดุกันกระแทก และหาได้ทั่วไปและยังเป็น วัสดุที่เหลือใช้จากธรรมชาติอีกด้วย

ปัญหาและข้อเสนอแนะ

1.การใช้กาวผง และกาวลาเท็กซ์ ซึ่งเป็นตัวผสานให้ ขุยมะพร้าวจับตัวเป็นก้อนง่ายต่อการขึ้นรูป ควรใส่ในปริมาณที่เหมาะสมกับขุยมะพร้าว อย่ามากจนเกินไป เพราะ ขุยมะพร้าวมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ