ความก้าวหน้าของอารยธรรมจีนโบราณ

หลังอารยธรรมกรีกเสื่อมสลายลง ความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ได้หยุดชะงักลงในโลกตะวันตก แล้วเจริญรุ่งเรืองในจีนแทน

ตั้งแต่การคำนวณเวลาไปจนถึงการเดินเรือในมหาสมุทร คณิตศาสตร์คือองค์ความรู้ที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างอารยธรรมโบราณของโลก

การเดินทางของคณิตศาสตร์เริ่มขึ้นในอาณาจักรโบราณของอียิปต์, เมโสโปเตเมีย และกรีซ แต่หลังจากอารยธรรมเหล่านี้เสื่อมสลายลง ความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ก็ได้หยุดชะงักลงในดินแดนตะวันตก

ส่วนทางฝั่งตะวันออกนั้น คณิตศาสตร์กลับเจริญรุ่งเรืองแตะระดับสูงสุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ในยุคโบราณของจีน คณิตศาสตร์คือกุญแจสำคัญในการคำนวณการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ที่ได้กลายเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ของโลกซึ่งกินระยะทางหลายหมื่นกิโลเมตร

นอกจากนี้ ตัวเลขยังมีความสำคัญยิ่งในการบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ภายในราชสำนักจีนด้วย

จัดสรร "ตารางรัก" ของจักรพรรดิ

ปฏิทิน และการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่าง ๆ มีอิทธพลต่อการตัดสินใจทั้งหมดของจักรพรรดิจีน ไม่เว้นแม้แต่การวางแผนกิจกรรมที่จะทำทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งต้องเป็นไปตามฤกษ์ยามที่เหมาะสม

คำบรรยายภาพ,

คณิตศาสตร์ถูกนำมาช่วยในการผลิตองค์รัชทายาทที่ดีที่สุดที่จะสืบทอดราชวงศ์จีน

ที่ปรึกษาในราชสำนักจีนโบราณได้คิดค้นระบบเพื่อให้แน่ใจว่าองค์จักรพรรดิจะสามารถ "เข้าหอ" กับเหล่านางสนมกำนัลจำนวนมากที่ถวายตัวรับใช้พระองค์ได้ครบทุกคน

ระบบที่ว่านี้มีพื้นฐานจากแนวคิดทางด้านคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า การก้าวหน้าเรขาคณิต หรือ ลำดับเรขาคณิต (geometric progression) โดยมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่าในช่วงเวลา 15 คืน จักรพรรดิจีนจะต้องหลับนอนกับสตรี 121 คน ประกอบไปด้วย:

  • พระจักรพรรดินี ซึ่งเป็นพระอัครมเหสี 1 คน

  • พระสนมขั้นที่ 3-5 จำนวน 27 คน

  • พระสนมขั้นที่ 6-8 (นางข้าหลวง-นางกำนัล) จำนวน 81 คน

สตรีแต่ละกลุ่มจะมีจำนวนเป็น 3 เท่าของกลุ่มก่อนหน้า เพื่อที่นักคณิตศาสตร์จะสามารถจัดตารางให้ พระจักรพรรดิสามารถเข้าหอกับเหล่าพระมเหสีนางสนมกำนัลได้ครบทุกคนภายในช่วงเวลา 15 คืน

คำบรรยายภาพ,

ตำนานจีนระบุว่า จักรพรรดิเหลือง ทรงขอให้หนึ่งในเทพเจ้าของพระองค์สร้างคณิตศาสตร์ขึ้นเมื่อ 2,800 ปีก่อนคริสตกาล

การจัดตารางดังกล่าวนั้น ในคืนแรกจะสงวนไว้ให้พระจักรพรรดินี คืนต่อ ๆ ไปจะเป็นของพระชายาเอก 3 คน ตามด้วยพระสนมเอก 9 คน และพระสนมขั้นที่ 3-5 จำนวน 27 คน ซึ่งจะมีการเลือกให้เข้าถวายงานด้วยวิธีการหมุนเวียน คืนละ 9 คน

ส่วน 9 คืนสุดท้ายนั้น จะเป็นเวลาของพระสนมขั้นที่ 6-8 จำนวน 81 คน ที่เข้าถวายงานเป็นกลุ่มคืนละ 9 คน

ตารางนี้ช่วยให้องค์จักรพรรดิสามารถหลับนอนกับสตรีสูงศักดิ์ที่สุดในช่วงที่ใกล้กับวันพระจันทร์เต็มดวงได้มากที่สุด ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่พลังงานหยิน ซึ่งเป็นพลังของอิสตรีแตะระดับสูงสุด และเข้าคู่กับพลังหยางขององค์จักรพรรดินั่นเอง

การเป็นผู้ปกครองแผ่นดินนั้นจะต้องอาศัยความแข็งแกร่ง แต่เป้าหมายของกรณีนี้มีความชัดเจน นั่นคือการผลิตองค์รัชทายาทที่ดีที่สุดที่จะสืบทอดราชวงศ์ต่อไป

จักรวรรดิจีนโบราณเป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่ไพศาลและกำลังเติบโต โดยมีตัวบทกฎหมายที่เข้มงวด มีการเรียกเก็บภาษีอย่างแพร่หลาย ตลอดจนมีระบบชั่งตวงน้ำหนัก มาตรวัดต่าง ๆ และเงินตรา

นอกจากนี้ จีนยังมีการใช้ระบบเลขทศนิยมมานานราว 1,000 ปี ก่อนที่โลกตะวันตกจะเริ่มใช้ และมีการใช้สมการในแบบที่ไม่ปรากฏในโลกตะวันตกจนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 19

คำบรรยายภาพ,

ชาวจีนโบราณชื่นชอบตารางลวดลายที่เป็นตัวเลข และเชื่อว่าตัวเลขส่งผลต่อจักรวาล

ตำนานจีนระบุว่า หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลือง ทรงขอให้หนึ่งในเทพเจ้าของพระองค์สร้างคณิตศาสตร์ขึ้นเมื่อ 2,800 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าตัวเลขส่งผลต่อจักรวาล

จนถึงทุกวันนี้ ชาวจีนยังเชื่อในอำนาจวิเศษของตัวเลข โดยเชื่อว่า เลขคี่ เป็นตัวแทนของบุรุษเพศ ส่วนเลขคู่ เป็นตัวแทนของสตรีเพศ เลข 4 คือตัวเลขอาถรรพ์ที่ต้องหลีกเลี่ยงทุกกรณี ส่วนเลข 8 เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาให้

ชาวจีนโบราณชื่นชอบตารางที่เป็นตัวเลข และพัฒนาเกม "ซูโดกุ" ยุคแรกในแบบของตัวเองขึ้น

กระทั่ง คริสต์ศักราชที่ 6 มีการใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder theorem) ของจีนในด้านดาราศาสตร์ เพื่อวัดการเคลื่อนที่ของดวงดาว และในปัจจุบันยังคงมีการใช้งานจริง เช่น การเข้ารหัสลับทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

มีอำนาจเด็ดขาด แต่พระมหากษัตริย์ที่ไม่อาจปกครองให้เกิดความสงบสุข เที่ยงธรรม ก็อาจมีการยึด อำนาจเปลี่ยนผู้ปกครองได้
2. ระบบศักดินาเริ่มต้นใน ราชวงศ์โจว จักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ แต่ตอบแทนขุนนางด้วยการมอบที่ดินให้แต่ขุนนางต้องนำผลผลิตมาถวายกษัตริย์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดสงคราม
3. สมัยจักรวรรดิเริ่มต้นใน ราชวงศ์ฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงรวบรวมจีนเป็นจักรวรรดิมีอำนาจเด็ดขาดควบคุมดูแลดินแดนโดยตรง แต่ปกครองด้วยการยึดหลักกฎหมาย
4. ระบบสาธารณรัฐชาติตะวันตกต้องการขยายอิทธิพลในจีน ทำให้เกิด ความกดดันการเมืองภายในการเกิดสงครามฝิ่น ระหว่างจีนกับอังกฤษ จีนแพ้ต้องทำ สนธิสัญญานานกิง จีนต้องเปิดเมืองท่าให้ชาวต่างชาติเข้าอยู่อาศัยและทำการค้า จีนต้องยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษทำการเช่า และยังเกิดปัญหามากมาย ดร.ซุนยัตเซ็น ก่อการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู จัดตั้ง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยให้ ยวน ซีไข ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดย เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย ก้าวกระโดดไกล ผู้นำคนต่อมาคือ เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบายพัฒนาประเทศ ที่เรียกว่า นโยบายสี่ทันสมัย ซึ่งจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น         

 ด้านเศรษฐกิจ

1. พื้นฐานเศรษฐกิจจีนโบราณ เป็นเกษตรกรรม
2. สมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้เกิด เส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากจีน ไปอินเดีย อียิปต์ และโรม
3. คริสต์ศตวรรษที่ 19 เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย ก้าวกระโดดไกล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
4. ยุค เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบาย สี่ทันสมัยคือ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใน ประเทศ มีลักษณะผ่อนปรนมากขึ้นทำให้จีนเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว         

ด้านสังคมวัฒนธรรม

1.สังคมจีน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแยกเป็นชนชั้น ดังนี้

* ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมีคุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นภาษี มีชีวิตสะดวกสบาย
* ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม สมัยราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร
* ชนชั้นพ่อค้าและทหารตามความคิดของขงจื๊อชนชั้นนี้ไม่น่ายกย่องเพราะมิใช่เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัย

2. ครอบครัวจีน          สังคมจีนยุคแรกสร้างอารยธรรม ถือว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด ผู้นำครอบครัว คือ บิดา ผู้นำครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัว และรับผิดชอบต่อราชการ เช่นการเกณฑ์ทหาร การเสียภาษี คนในครอบครัวจึงต้องให้ความเคารพยำเกรงผู้นำครอบครัว นอกจากนี้คนในครอบครัวผู้น้อยต้องเคารพผู้อาวุโส

3. ประเพณีและความเชื่อ คนจีนแต่โบราณจะเคารพบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนในตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าธรรมชาติ ในสมัยราชวงศ์ชาง มีประเพณีการใช้ กระดูกเสี่ยงทาย โดยการเขียนตัวอักษรบนกระดูกวัวหรือสัตว์ชนิดอื่น หรือบนกระดองเต่า เพื่อทำนายเกี่ยวกับการสร้างเมือง การสงคราม และเรื่องอื่น ๆขงจื๊อ ได้วางหลักปฏิบัติต่อครอบครัว พิธีกรรม ปรัชญาและจริยศาสตร์ เช่น การใฝ่หาความรู้ ความกตัญญู ความจงรักภักดี คุณธรรมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างลึกซึ้ง

4. ศิลปะและหัตถกรรม  ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
ช่างจีน มีฝีมือในการแกะสลักหยก

5. ภาษาและวรรณกรรม     การพบกระดูกเสี่ยงทายที่มีตัวอักษรจารึก ทำให้ทราบว่าในสมัยราชวงศ์ชางมีภาษาเขียนใช้แล้ว เรียกว่าอักษรภาพ วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยสื่อหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
อารยธรรมจีนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห คือที่ราบตอนปลายของแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง อารยธรรมจีนเจริญโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยเพราะทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกและทิศเหนือเป็นทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขา จีนถือว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นแหล่งกำเนิดความเจริญ แหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่พบมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลที่ตำบล ยางเชา เรียกวัฒนธรรมยางเชา มณฑลเฮอหนาน และวัฒนธรรมลุงชาน ที่เมือง ลุงชาน มณฑลชานตุง พบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา กระดูกวัว กระดองเต่าเสี่ยงทาย
จีนเป็นชาติที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีอารยธรรมเก่าแก่จนได้ชื่อว่าเป็นอู่อารยธรรมของชาติตะวันตก (ชนชาติในทวีปเอเชีย) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีนได้ ดังนี้
1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
(1) ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือ มนุษย์หยวนโหม่ว (yuanmou man) มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
(2) ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี – 6,000 ปีล่วงมาแล้วใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
(3) ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 ปี – 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
(4) ยุคโลหะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆเช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสวยงาม มากโดยเฉพาะสมัยราชวงค์ชาง และ ราชวงค์โจว

2.  สมัยประวัติศาสตร์ แหล่งอารยธรรมของจีนถือกำเนิดในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ทั้งนี้จีนเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” ในสมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) ระหว่าง 1,776-1,112 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือรูปภาพ เขียนบนกระดูกสัตว์หรือกระดองเต่า
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (หรือสมัยคลาสสิก) เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) และสิ้นสุดในสมัยราชวงค์โจว (Chou Dynasty) ประมาณ 1,776 -221 ปีก่อนคริสต์ศักราช จีนมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านปรัชญา เช่น ลัทธิขงจื้อ (Confucianism) ลัทธิเต๋า (Taoism)
(2) ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น (Chin Dynasty) เมื่อประมาณ 221 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งถึงตอนปลายของสมัยราชวงศ์ชิง หรือเช็ง (Ching Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของจีน ในปี ค.ศ. 1912 เป็นช่วงเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นยุคที่จีนผนวกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลให้รวมอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน
(3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ตอนปลายสมัยราชวงศ์เช็ง( Ching Dynasty ) เป็นต้นมาเป็นยุคที่จีนเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์เช็ง และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ เป็นยุคที่จีนตกต่ำบ้านเมืองระส่ำระสายจนเกิดการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมในปี ค.ศ.1949ในที่สุด
(4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน

ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมจีนมีอะไรบ้าง

ชาวจีนในสมัยโบราณได้พัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ ที่เป็นรากฐานของอารยธรรมจีน ความเจริญที่สำคัญ ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรจีน วิชาดาราศาสตร์ ปรัชญา การก่อสร้าง

อารยธรรมจีนแบ่งตามยุคสมัย มีอะไรบ้าง

1. ยุคสมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ซางจนถึงราชวงศ์โจว 2. ยุคสมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่ สมัยราชวงศ์ฉินจนถึงปลาย ราชวงศ์ชิง 3. ยุคสมัยใหม่ เริ่มจากปลายราชวงศ์ชิงจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม

พื้นที่บริเวณใดเป็นที่เกิดและความรุ่งเรืองของอารยธรรม จีน

1 สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด บริเวณลุ่มแม่น้ำหวางเหอ (ฮวงโห) เป็นที่กำเนิดของอารยธรรมจีนหรืออารยธรรมตะวันออก และเป็นแหล่งมรดกโลกที่มีอิทธิพลต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในด้านภาษา ลัทธิทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม

ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปววัฒนธรรมของจีนเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ใด

- ถังไท่จงฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์ - มีนครหลวงฉางอาน (เมืองซีอานในมณฑลส่านซีในปัจจุบัน) - มีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก อาณาจักรกว้างใหญ่ - ฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ “อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็กเทียน) - สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุกประเภท - ถือว่าเป็นยุคทองของวัฒนธรรมจีนทางกวี จิตรกรรม - ฝีมือของช่าง ...