โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

          ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะของแพลตฟอร์ม

          ซึ่งขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการที่ทำงานอยู่บนฮาร์ดแวร์นั้นๆ ได้แก่

1.1 โปรแกรมประยุกต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Microsoft Word, iWork Pages, OpenOffice Writer, LibreOffice Text Document

1.2 โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์พกพา เช่น Office 365, Google Docs

1.3 โปแรกรมประยุกต์บนเว็บโดยใช้งานผ่านเบราเซอร์ เช่น Office 365, Google Docs

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะการใช้งาน

          2.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานทั่วไป

ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกต์ ความสามารถ ตัวอย่าง
ประมวลผลคำ สร้าง ตกแต่งเอกสาร Microsoft Word, iWork Pages, OpenOffice Writer, LibreOffice Text Document, Google Docs
ตารางคำนวณ สร้างตารางงานเพื่อใช้ในการคำนวณ Microsoft Excel, iWork Numbers, OpenOffice Calc, LibreOffice Spreadsheet, Google Sheets
นำเสนองาน สร้าง ตกแต่งสไลด์นำเสนอ Microsoft PowerPoint, iWork Keynote, OpenOffice Impress, LibreOffice Presentation, Google Slides
คอมพิวเตอร์กราฟิก สร้าง ตกแต่งภาพ Adobe Photoshop, Paint, GIMP

          2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับสื่อสารและทำงานร่วมกัน

ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกต์ ความสามารถ ตัวอย่าง
รับ-ส่งข้อความ ผู้ใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสามารถรับ-ส่งข้อความซึ่งกันและกันได้ Facebook Messenger, Line
รับ-ส่งอีเมล ผู้ใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสามารถรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกันได้ Outlook, Gmail
จัดเก็บ/แบ่งปัน ข้อมูลออนไลน์ ให้บริการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสามารถแบ่งปันแก่สมาชิกได้ Google Drive, Microsoft OneDrive, iCloud, DropBox

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป

*************************************************

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

หน่วยที่ 2

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

2.1 ความหมายของซอฟต์แวร์ประยุุุุุกต์ (application software)

              ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมกาคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


 2.2 ประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟแวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

         1. ซอฟแวร์สำเร็จรูป

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

         1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
        2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
          3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
        4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
        5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

      2. ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป

ในประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้

            1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชีได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน

            2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่ายได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย

            3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต

            4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) อาจกล่าวได้ว่าเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้ (end user software) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน

          ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน (basic application) หรือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์อเนกประสงค์ (general-purpose application) เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในทุกสาขาอาชีพ ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ เบราว์เซอร์ (browser) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับนำทาง สำรวจ และค้นหาสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต เบราว์เซอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome และ Safari

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

         ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (specialized application) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะสาขาอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิก (graphic) เสียงและวิดีโอ (audio and video) มัลติมีเดีย (multimedia) การพัฒนาเว็บ (web authoring) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

2.3 วิธีการเลือกใช้ซอฟต์แวร์

          ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ในกลุ่มซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นเครื่องมือที่

จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกดังนี้

          1. ความสามารถในการทำงาน
              ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกดูในความสามารถของซอฟต์แวร์นั้นๆ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งสามารถ

ตอบสนองต่อการทำงาน ช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด

          2. การติดต่อกับผู้ใช้
              ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในปัจจุบันจะติดต่อกับผู้ใช้ในโหมดกราฟิก เนื่องจากระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่

สนับสนุนการทำงานในโหมดนี้ ซึ่งทำให้สะดวกต่อการใช้งาน สามารถเข้าใจได้ง่าย

          3. ความเข้ากันได้
              ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ อย่างเหมาะสม 

เพราะอาจจะส่งผลต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อคำนึง 2 ส่วน ดังนี้

              3.1. ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์
              3.2. ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์
          4. การติดตั้งและการดูแลรักษา
              การติดตั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปโดยทั่วไปจะต้องติดตั้งได้ง่าย มการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ
          5. กลุ่มผู้ใช้งาน
              ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากหรือได้รับความนิยมมาก จะเป็นการรับรองคุณภาพของประสิทธิภาพ
ในการใช้งาน

2.4 ตัวอย่างซอฟแวร์ประยุกต์ช่วยทำงานในด้านธุรกิจ

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application   software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทางานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ การทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกหาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการ นั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน นำเสนองาน จัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ ออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น  นอกจากนั้นอาจต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ด้วยว่ามีเพียงพอ หรือไม่เพียงใด ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น  2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general  purpose  software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ใช้จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับ ลักษณะงาน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การสร้างตารางทำงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น

1) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ    (word processing  software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการจัดทาเอกสารทุกชนิด  เช่น  รายงาน  จดหมายเวียน  หนังสือ  ใบปลิวส่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น  สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเก็บ เป็นแฟ้มข้อมูล  และสามารถนำมาแก้ไขใหม่ได้  ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PageMaker, Corel Draw เป็นต้น

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการ คำนวณ วิเคราะห์ตัวเลข เพื่อใช้งานในด้านการเงิน บัญชี สถิติ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานประกอบด้วยตารางขนาดใหญ่สำหรับใส่ตัวเลข ข้อความ สูตรการคำนวณ ซึ่งมีเครื่องคำนวณเตรียมไว้สำเร็จ สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่ กำหนด ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel, Open Office Calcในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database  management  software) การใช้ งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง คือ การใช้เก็บ ข้อมูลและจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น เรียกว่า ฐานข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ จัดการฐานข้อมูล เพื่อช่วยในการจัดเก็บเรียก ค้นทำงาน และสรุปผลข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase, Paradox, FoxBASE, MicrosoftAccess เป็นต้น

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นโปรแกรมที่ใช้นำเสนอ ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรรูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว โดยแสดงออกมาทีละรายการ รวมทั้งยังสามารถใส่เสียงประกอบการนำเสนอได้ สามารถกำหนด ระยะเวลาการแสดงและกำหนดจุดเชื่อมโยงไปยังหน้าที่ต้องการได้ เพื่อใช้ประกอบการบรรยายและการเสนอผลงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอที่นิยมใช้ เช่น Microsoft PowerPoint  Open Office Impress,Pladao Office เป็นต้น 

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

5)  ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย  (graphics  and  multimedia software) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาข้นสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดียมีความสามารถเสมือนเป็นผู้ช่วยในการออกแบบชิ้นงานเกี่ยวกับการตกแต่งภาพ   วาดภาพปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์  ซอฟต์แวร์ทาง ด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย   เช่น  Adobe  InDesign, Adobe  Illustrator, Adobe  Photoshop Macromedia Dreamweaver เป็นต้น

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

6)  ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (web site and communications software) การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น มีทั้งการตรวจเช็คอีเมล์ เข้าเว็บไซต์การจัดการและดูแลเว็บไซต์ส่งข้อความติดต่อส่อสาร รวมไปถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์ และการติดต่อสื่อ1สาร เช่น Microsoft Outlook, Microsoft Net meeting, MSN Messenger/Windows Messengerเป็นต้น 

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน

                ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน    (application software for specific purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างข้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรืออาจพัฒนาโดยนักเขียนโปรแกรมของ องค์กร โดยผ่านการวิเคราะห์  ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ ถูกต้องก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร   โปรแกรมบันทึก เวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน โปรแกรมเงินเดือน  ซึ่งต้องมีการออกแบบโครงสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ

ซอฟต์แวร์สาหรับงานธุรกิจ(business software) การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สาหรับงานธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป  แต่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างได้ เช่น กิจการธนาคาร  มีการฝาก-ถอนเงิน  งานทางด้านบัญชี  หรือ ในห้างสรรพสินค้ามีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ สำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษา รูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธรกิจนั้น  แล้วจึงจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ทีมี หลายส่วนทำงานร่วมกัน  ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงาน

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

2) ซอฟต์แวร์อื่นๆ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับ งานธุรกิจแล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกเช่น โปรแกรมช่วยค้นหาคำศัพท์ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เป็นต้นค้าคงคลัง ระบบงานบริหารการเงิน เป็นต้น

โปรแกรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานทั่วไป

ที่มา :

https://www.youtube.com/watch?v=EL7uf3fiak4

           http://thn229344.blogspot.com/2014/02/application-software.html

ข้อใดคือโปรแกรมประยุกต์เพื่องานทั่วไป

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายใน ...

โปรแกรมในข้อใดเป็นโปรแกรมประยุกต์

โปรแกรมประยุกต์ (อังกฤษ: application program) หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน (อังกฤษ: application software) ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชัน หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชันได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ ( ...