ครอบครองปรปักษ์ ที่ดิน ห้ามโอน

ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อจะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงจากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่ เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์
หากมีการซื้อขายที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามกฎหมายที่สามารถโอนให้แก่กันได้ จะมีผลทำให้การโอนที่ดินดังกล่าวตกเป็นโมฆะ แต่ผู้ซื้อที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามโอนอาจจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมาโดยระยะเวลาในการครอบครองที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาฎีกาที่ 6157/2558

ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2519 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ค. และเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ป.ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 ก่อนครบกำหนดห้ามโอน แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิที่ดินพิพาท ในปี 2540 โดยก่อนหน้านั้นผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. รวมทั้ง พ. ที่อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทแทนไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องสอดที่ 1 และทายาทของ ป. สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี นับแต่ระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายล่วงเลยไปแล้ว  และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน คือนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2529 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของ ป. และผู้ร้องสอดที่ 1 มีลักษณะเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และกรณีดังกล่าวโจทก์ที่ 1 มิได้ครอบครองแทน ป. หรือทายาทของ ป. จึงไม่จำต้องบอก

ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้

การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382


โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอน ให้โจทก์ทั้งสามเป็นผู้รื้อถอนโดยให้จำเลยออกเงินค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินพิพาท

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ให้โจทก์ทั้งสามแก้ไขจำนวนเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง หากโจทก์ทั้งสามไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้งสาม

โจทก์ทั้งสามให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินดังกล่าว ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเดือนละ 200 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 21 มิถุนายน 2542) จนกว่าจำเลยจะส่งมอบและออกไปจากที่ดิน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 1,200 บาท คำขออื่นให้ยก สำหรับฟ้องแย้งของจำเลยให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมเกี่ยวกับฟ้องแย้งในศาลชั้นต้นและค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับฟังมาว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ตำบลสังขะ (ปัจจุบันตำบลบ้านชบ) อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งทางราชการออกให้แก่นางมะนาว โดยระบุไว้ในโฉนดที่ดินว่า "ห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน นับแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2521" นางมะนาวขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเทา เมื่อปี 2532 และนายเทาขายต่อให้แก่โจทก์ทั้งสามเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 จำเลยปลูกกระท่อมพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทก่อนโจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินจากนายเทา ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2541 โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยไปพบเจ้าพนักงานตำรวจที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสังขะ โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท แต่จำเลยโต้แย้งว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2526 อ้างว่านายมรกตซื้อที่ดินพิพาทจากนางมะนาวแล้วมอบให้จำเลยเข้าครอบครองเป็นที่พักอาศัย ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ และการที่จำเลยโต้แย้งสิทธิกับโจทก์ทั้งสามจนมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสังขะจะถือได้หรือไม่ว่าจำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่นางมะนาวโดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้

ส่วนในเรื่องการโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งสามจนมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสังขะนั้น เห็นว่า การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสังขะยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ที่ดินมรดกครอบครองปรปักษ์ได้ไหม

– การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองที่ดินมรดกทั้งหมด ถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาททุกคน ต้องมีการบอกกล่าวต่อทายาทอื่น ๆ ก่อนว่าเจตนายึดถือเพื่อตนจึงจะเริ่มนับว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ได้ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2548)

ที่ดินประเภทใดถูกครอบครองปรปักษ์ได้

ที่ดินที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ ได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ถ้าหากที่ดินนั้นเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เช่น ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 น.ส. 3 ก., น.ส. 3 ข.) แม้ผู้นั้นจะครอบครองที่ดินดังกล่าว ...

การครอบครองปรปักษ์ที่ดินผู้อื่นกี่ปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 รวมไปถึงครอบครองโดยไม่ได้หลบซ่อนเร้น ปิดบัง หรืออำพรางใด ๆ ประกอบกับระยะเวลาที่ได้เข้ามาครอบครองที่ดินของผู้อื่นติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 10 ปี แล้วจึงสามารถจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ได้

ที่สปกครอบครองปรปักษ์ได้ไหม

แต่สำหรับที่ดินของ.ป.ก. นั้น ผู้ครอบครองเป็นเพียงผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรที่ดินเพื่อทำกินจาก .ป.ก. ไม่ได้มีสิทธิ หรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย เมื่อผู้ได้รับจัดสรรสละการครอบครองแล้ว สิทธิครอบครองก็ย่อมตกคืนไปแก่ บุคคลธรรมดาจึงไม่อาจแย่งการครอบครองกันได้ แม้ในทางปฏิบัติจะมีการซื้อขายด้วยการส่งมอบเงินและให้ผู้ได้รับจัดสรร ...