การกระจายตัวของประชากร ทวีปเอเชีย

ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการกระจายของประชากรโลกมี 2 ประการ ดังนี้

        1. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ประชากรจะตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ของโลกซึ่งเป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์และเขตที่มีภูมิอากาศอบอุ่น เช่น บริเวณที่ราบใหญ่ภาคกลางของสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นต้น ที่เป็นเขตภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของมนุษย์

        นอกจากนั้นความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกระจายตัวของประชากร โดยประชากรจะตั้งถิ่นฐานหนาแน่นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เช่น พื้นที่ชายฝั่งของด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น

        2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคมวัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ  ประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แห่งประกอบทางธุรกิจซึ่งพบทั่วไปในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เช่น ในเขตประเทศสิงค์โปร์ หรือเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเขตเอเชียตะวันออกทั้งในจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นรวมถึงเขตอุตสาหกรรมในทวีปต่าง ๆ เป็นต้น

        นอกจากนั้นสภาพทางการเมืองการปกครองก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากร เช่น ในประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง รัฐบาลมีเสถียรภาพบ้านเมืองมีความสงบสุขและประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนให้มีการตั้งถิ่นฐานของประชาชนอย่างหนาแน่น ซึ่งประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรปและอเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลก

        บริเวณที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นจะเป็นเขตที่มีลักษณะภูมิอากาศไม่รุนแรงนัก เช่น เขตร้อนชื้นหรือเขตที่มีอากาศอบอุ่น และเป็นเขตที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ หรือเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดใจที่สำคัญให้มีประชากรอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ 

        ซึ่งในปัจจุบันประเทศที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนมากจะตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น บังกลาเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นรองลงมาคือ พื้นที่ของเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น และประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมทั้งในเขตยุโรปเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น โดยใช้เกณฑ์ประชากร 75 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

ทวีปเอเชีย

เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 44 ล้าน ตร.กม.เป็นทวีปที่มีพื้นที่กว้างที่สุดของโลก ตั้งอยู่ทางซีกตะวันออกของโลก ดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ยกเว้นบางส่วนของหมู่เกาะ   ในประเทศอินโดนีเซีย   ทวีปเอเชียตั้งอยู่ระหว่างละติจูด1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 77 องศา 41 ลิปดาเหนือและลองจิจูด 24 องศา 4 ลิปดาตะวันออกถึง 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5 เขตคือ

1. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตโครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า

3. เขตเทือกเขาสูงเป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ ตอนกลางประกอบไปด้วยที่ราบสูง และเทือกเขามากมาย เทือกเขาสูงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัวไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ปามีร์นอต หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก จากปามีร์นอตมีเทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้       เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือ มีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือ ได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้ง 2 นี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนว ในเขตประเทศตุรกี คือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาปอนติก และแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส

4. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย

5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงดังกล่าว ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากภูมิประเทศในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปซึ่งแบ่งเป็น 5 เขต แล้ว ทวีปเอเชียยังประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ ได้แก่ หมู่เกาะในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหมู่เกาะเหล่านี้มีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งทั้งที่ดับแล้วและบางลูกยังทรงพลังอยู่ซึ่งมีโอกาสที่จะระเบิดขึ้นมาได้อีก เช่น ภูเขาไฟหมู่เกาะญี่ปุ่นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ดินแดนดังกล่าว มักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อย ๆ และยังมีดินอันอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกอีกด้วย

การแบ่งภูมิภาคทวีปเอเชียทวีปเอเชียแบ่งออกเป็นภูมิภาคใหญ่ๆดังนี้ ได้แก่

1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น 11 ประเทศต่างๆ

 ไทย มาเลเชีย สิงค์โปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ติมอร์ตะวันออก

2. เอเชียตะวันออก ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 6 ประเทศและ 2 เกาะ ได้แก่

 จีน ไต้หวัน มองโกเลีย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เกาะฮ่องกง และ เกาะมาเก๊า

3. เอเชียใต้ ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 8 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน เนปาล ภูฎาน ศรีลังกา มัลดีฟส์

4. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 17 ประเทศ ได้แก่

 ซาอุดิอาระเบีย เยเมนเหนือ เยเมนใต้ โอมาน อาหรับ กาตาร์ คูเวต บาห์เรน

  อิรัก จอร์แดน  ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน ตุรกี ไซปรัส  

5.เอเชียกลาง ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 7 ประเทศ ได้แก่คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน

ประชากร

       ทวีปเอเชียได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ได้แก่ แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรทีส ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ  ในเอเชียใต้  และแหล่งอารยธรรมแถบลุ่มน้ำหวงเหอ  ในเอเชียตะวันออก  ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของประชากรในแต่ละภูมิภาคของทวีปเอเชียในปัจจุบันมีความแตกต่างกัน  แต่ก็มีลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ การยึดมั่นในด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  และต่างก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในดินแดนของตนให้เจริญก้าวหน้า

        1. จำนวนประชากร

      ทวีปเอเชียมีประชากรประมาณร้อยละ 60 ของโลก  สถิติใน พ.ศ. 2545  ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรประมาณ  3,766  ล้านคน  และประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดลำดับ  1  ของโลก  คือ  จีน  มีประชากรประมาณ  1,300  ล้านคน  และลำดับ  2  ของโลก  คือ  อินเดีย  มีประชากรประมาณ  1,000  ล้านคน

         2. เชื้อชาติ  

         ทวีปเอเชียมีเนื้อที่มากที่สุดและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก  ประชากรของทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์  จำแนกตามเชื้อชาติได้ ดังนี้

          1. เชื้อชาติมองโกลอยด์ (Mongoloid) คือ กลุ่มชนผิวเหลือง แบ่งได้ 2 พวก ดังนี้

               1.1 พวกมองโกลอยด์เหนือ  เป็นพวกผิวเหลืองที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย  ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของทวีป

               1.2 พวกมองโกลอยด์ใต้  เป็นพวกผิวเหลืองที่อยู่ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย  และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านคน  และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของอินโดนีเซียอีกหลายเผ่า               

          2. เชื้อชาติคอเคซอยด์  (Caucasold)  คือ  กลุ่มชนผิวขาว  หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรป  แต่ตาและผมสีดำ  ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  เอเชียกลาง  และทางภาคเหนือของประเทศปากีสถานและอินเดีย

          3. เชื้อชาตินิกรอยด์ (Negroid)  เป็นชาวเอเชียผิวดำ  มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก  ผมหยิก  ได้แก่  ชาวพื้นเมืองทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินเดียและเกาะศรีลังกา

         3. ภาษา

        ภาษาของประชากรในทวีปเอเชียมีมากนับจำนวนพันภาษา  อาจจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ได้  8  กลุ่ม  ดังนี้

              1. กลุ่มภาษาตุรกี  เป็นกลุ่มภาษาที่ใช้กันทางภาคใต้ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย  ได้แก่  ภาษาตุรกี  ภาษาอาเซอร์ไบจาน  ภาษาอุยกูร์  ภาษาตาตาร์  ภาษาอุซเบก  และภาษาเติร์กเมน

              2. กลุ่มภาษาสลาฟ  เป็นกลุ่มภาษาที่ใช้กันทางภาคกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศที่เคยเป็นบริวารของอดีตสหภาพโซเวียต  ได้แก่  ภาษารัสเซีย

              3. กลุ่มภาษาตุงกูส  เป็นภาษาที่ใช้พูดกันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน  ได้แก่  ภาษาตุงกูส  และภาษาแมนจู

              4.  กลุ่มภาษาจีน  เป็นกลุ่มภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียใช้พูดกัน  ได้แก่  ภาษาแมนดาริน  และภาษาจีนกลุ่มอื่นๆ  ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศจีน  เวียดนาม  เกาหลี  และญี่ปุ่น

              5.  กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน  เป็นกลุ่มภาษาในเอเชียใต้  ได้แก่  ภาษาที่ใช้กันในประเทศอินเดีย  ปากีสถาน  และศรีลังกา  เช่น  ภาษาฮินดี  ภาษาอูรดู  ภาษาเบงกาลี  ภาษาสิงหล  เป็นต้น

              6.  กลุ่มภาษาอิหร่าน  เป็นกลุ่มภาษาที่ใช้พูดกันในแถบที่ราบสูงอิหร่าน  ได้แก่  ภาษาที่ใช้ในประเทศอัฟกานิสถานและอิหร่าน  เช่น  ภาษาเปอร์เซีย  ภาษาเคิร์ด  ภาษาพัชโท  เป็นต้น

              7.  กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า  ได้แก่  ภาษาทิเบต  และภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  ภาษาไทย  ภาษาพม่า  ภาษาลาว  ภาษาเขมร  เป็นต้น

             8.  กลุ่มภาษามองโกล  ได้แก่  ภาษามองโกเลีย  และภาษาที่ใช้กันในไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซีย

        4. ศาสนา

          ศาสนาที่สำคัญของโลกทุกศาสนาต่างเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย  ซึ่งมีแหล่งกำเนิด  ดังนี้

             1.  เอเชียตะวันตกเฉียงใต้  เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนายูดาย  ศาสนาคริสต์  และอิสลาม

            ศาสนายูดาย  เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  และเป็นต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์

            ศาสนาคริสต์  เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุดในโลกในขณะนี้  โดยได้เผยแผ่จากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่ทวีปยุโรป  และซีกโลกตะวันตกอื่นๆ

            ศาสนาอิสลาม  เกิดภายหลังศาสนาคริสต์ประมาณ  600  ปี  เป็นศาสนาที่สำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

           2.  เอเชียใต้  เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา

          ศาสนาฮินดู  มีความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์  ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของโลกเมื่อประมาณ  5,000  ปีมาแล้ว  และเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวอินเดียมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

            พระพุทธศาสนา  เกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ  543  ปี  และถึงแม้พระพุทธศาสนา  จะเกิดขึ้นในประเทศอินเดียแต่ก็มีชาวอินเดียนับถือพระพุทธศาสนาน้อยมาก  ปัจจุบันมีประชากรในทวีปเอเชียนับถือศาสนานี้มาก  ได้แก่  ทิเบต  ศรีลังกา  พม่า  ไทย  ลาว  และกัมพูชา

             3.  เอเชียตะวันออก  เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื้อ  เต๋า  และชินโต  ซึ่งนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาประยุกต์และผสมผสานเข้ากันได้อย่างเหมาะสม

            ศาสนาที่มีประชากรในทวีปเอเชียนับถือกันมากในปัจจุบัน  เรียงตามลำดับ ดังนี้

            1.  ศาสนาอิสลาม  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  23  ของประชากรทั้งหมด  ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ปากีสถาน  บังกลาเทศ  ฯลฯ

            2.  ศาสนาฮินดู  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  22  ของประชากรของทวีปเอเชีย  ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู  ได้แก่  ประเทศอินเดีย  และเนปาล

            3.  ลัทธิความเชื่อของจีน  ได้แก่  ลัทธิขงจื้อและเต๋า  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  14  ของประชากรของทวีปเอเชีย  ประเทศที่มีประชากรนับถือความเชื่อตามลัทธินี้มาก  ได้แก่  ประเทศจีน

            4.  พระพุทธศาสนา  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  10  ของประชากรของทวีปเอเชีย  ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  ได้แก่  ประเทศไทย  ศรีลังกา  พม่า  ลาว  เวียดนาม  กัมพูชา  และภูฏาน

            5.  ศาสนาคริสต์  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  8  ของประชากรของทวีปเอเชีย  ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์  ได้แก่  ประเทศอาร์เมเนีย  ไซปรัส  จอร์เจีย  และฟิลิปปินส์

            6.  ศาสนาซิกข์   มีผู้นับถือประมาณร้อยละ  1  ของประชากรของทวีปเอเชีย  แหล่งที่มีประชากรนับถือศาสนาซิกข์  ได้แก่  บริเวณภาคเหนือของประเทศอินเดีย

            7.  ลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชนเผ่า  ได้แก่  ความเชื่อเรื่องภูตผี  วิญญาณ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ  

        5.  การกระจายของประชากร

             ทวีปเอเชียมีอัตราความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากรเฉลี่ยประมาณ  85  คนต่อเนื้อที่  1  ตารางกิโลเมตร  แต่การกระจายของประชากรย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ  กล่าวคือ  เขตภูมิอากาศแห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไป  เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก  เช่น  ในไซบีเรียที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นแบบขั้วโลกและกึ่งขั้วโลก  ภาคกลางของทวีปที่มีภูมิประเทศเป็น ภูเขาสูงสลับซับซ้อน  และเขตภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  ภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศจีน 

การเพิ่มของประชากรในทวีปเอเชียมีอัตราส่วนค่อนข้างสูง  เพราะอัตราการเกิดของประชากรในหลายประเทศมีสูงมาก  แต่อัตราการตายกลับลดต่ำลง  เนื่องจากความเจริญด้านการแพทย์และสาธารณสุข

อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2

การกระจายตัวของประชากรในทวีปเอเชียมีลักษณะอย่างไร

การกระจายของประชากร ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ กล่าวคือ บริเวณที่ประชากรเบาบางเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และหนาวเย็นเกินไป เช่น ในไซบีเรียและภาคกลางของทวีปหรือเป็นบริเวณที่เป็นภูเขาสูงสลับสับซ้อน ได้แก่ เขตทะเลทรายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณชายฝั่ง ...

ทวีปเอเชียแบ่งออกเป็นกี่ประเทศ

ทวีปเอเชีย.

ความโดดเด่นของทวีปเอเชียมีอะไรบ้าง

สิ่งน่าสนใจของทวีปเอเชีย คือ ที่มีลักษณะเด่น ๆ ที่ทวีปเอเชีย มีไม่เหมือนทวีป หรือดินแดนอื่น ๆ ในหลาย ๆ สิ่ง คือ มียอดภูเขาเอฟเวอร์เรสต์ ที่สูงที่สุดในโลก มี เหวลึกทะเลมาเรียนา ที่มีความลึกลึกที่สุดในโลก มีทะเลแคสเปียน ซึ่งจัดเป็นทะเลสาบ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริเวณใดของทวีปเอเชีย ที่มีประชากร เบาบางที่สุด เพราะเหตุใด

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีล าน ้าสาขาซึ่งเกิดจากการ ละลายของน ้าแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของ ทุกปี ล าน ้านี้จะแข็งตัวเป็นน ้าแข็ง การสัญจรทางน ้าหรือการคมนาคมทาง น ้าจึงไม่สะดวก ล าน ้าและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึง เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก