เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

นครราชสีมา ร้องเรียนผลกระทบเหมืองแร่โปแตช ประชุมคณะทำงานแก้ปัญหานัดแรกล่ม ตัวแทนชาวบ้านไม่เข้าร่วม ผู้ว่าโคราช ตั้งทีมนักวิจัย ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตรวจสารปนเปื้อนเทียบเหมือง

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

24 ส.ค. 65 – รายงานความคืบหน้า กรณีได้มีกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดด่านขุนทด และชาวบ้านในพื้นที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เคลื่อนไหวร้องเรียนจากรับผลกระทบจากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่และเกลือหิน บริษัทไทยคาลิ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

โดย เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบกว่า 50 ครัวเรือน ได้รวมตัวเดินขบวนมาที่ลานอนุสาวรีย์ เพื่อแสดงพลังให้เห็นถึงความเดือดร้อน พร้อมกับเคลื่อนขบวนไปที่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

โดยยื่นหนังสือต่อ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่โปแตช ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง มานานกว่า 5 ปี

ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบ พร้อมกับมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและประเมินผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตชอย่างเร่งด่วนนั้น

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าฯ นครราชสีมา เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยตนเอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่โปแตช บริษัทไทยคาลิ จำกัด ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

ได้มอบหมายให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด เสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและประเมินผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช ร่วมกัน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนชุมชน และผู้ประกอบการเหมืองแร่โปแตช

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

ซึ่งเมื่อช่วงวันที่ 23 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ได้มีการเรียกประชุมคณะทำงานศึกษาและประเมินผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตชครั้งแรก ที่ห้องประชุมท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

ปรากฏว่า ตัวแทนชาวบ้านไม่ได้มาร่วมประชุม จึงเป็นอันสรุปไม่ได้ ทำให้ต้องนัดประชุมกันอีกรอบในสัปดาห์หน้า โดยครั้งต่อไปจะประชุมเฉพาะ 2 ฝ่าย คือตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กับผู้เชี่ยวชาญวิชาการที่เกี่ยวข้องก่อน

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

โดยเฉพาะครั้งนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิชัยแสงซินโครตรอน มาร่วมเป็นคณะทำงานด้วย เพื่อที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เข้ามาพิสูจน์ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์ ว่าสารปนเปื้อนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อชาวบ้าน เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่รั่วไหลออกมาจากเหมืองแร่โปแตชดังกล่าวหรือไม่

เพื่อที่จะนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้นจึงเชิญตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และตัวแทนเหมืองแร่โปแตช มาพูดคุยหาข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

สภาพที่ดินรกร้าง ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยคราบสีน้ำตาลคล้ายสนิม ใน ต.หนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา แทบจะไม่เหลือร่องรอยที่บ่งบอกว่า หลายปีก่อนพื้นที่บริเวณนี้เคยทำการเกษตรได้ จากสภาพดินที่ยังพอมีน้ำขัง อธิบายได้ว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากความแห้งแล้ง

ชาวบ้านอ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงนี้ เกิดขึ้นกับพื้นที่ทำกินรอบ ๆ เหมืองแร่โปแตช รวมถึงแหล่งน้ำสาธารณะที่เคยใช้น้ำทำประปาหมู่บ้าน ทุกวันนี้ต้องดึงน้ำจากนอกพื้นที่ ระยะทางหลายกิโลเมตรมาใช้แทน “อิทธิพลความเค็ม” ยังส่งผลให้กำแพงบ้านหลายหลังถูกกัดกร่อน

ปี 2558 บริษัทเอกชนรายหนึ่ง ได้ประทานบัตรทำเหมืองเเร่โปแตซ เเละเริ่มดำเนินการ

ปี 2562 ชาวบ้านรวมตัวกันร้องเรียน ให้ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำที่มีค่าความเค็ม โดยเฉพาะบริเวณนาข้าวตรงข้ามเหมือง ที่พบค่าความเค็มเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้ไม่สามารถปลูกข้าวได้ และพืชในพื้นที่ค่อยๆ ทยอยตายลงไป ดินมีสภาพเสื่อมโทรม

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

ปี 2563 บริษัทเเจ้งว่า หยุดดำเนินการชั่วคราวจากอุบัติเหตุน้ำท่วมในอุโมงค์เหมืองเเร่ใต้ดิน แต่ผ่านมา2 ปี ค่าความเค็มในดินบริเวณนี้ก็ยังคงสูง พืชไม่สามารถเติบโตได้

ผ่านมา 3 ปี ยังไม่มีบทสรุปแหล่งกำเนิดค่าความเค็มปริศนา ล่าสุดข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำ ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 พบว่า

(1) จุดที่น้ำรั่วซึมในบริเวณวัดหนองไทร ติดกับขอบบ่อพักน้ำของเหมืองมีค่าความเค็มอยู่ที่ 46.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 67,200 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 43,600 มิลลิกรัมต่อลิตร

(2) น้ำในบ่อของวัดหนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 29.3 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 44,800 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 29,100 มิลลิกรัมต่อลิตร

(3) บริเวณน้ำหลากในที่นาประชาชนก่อนไหลลงห้วยลำหลอด ที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.8 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 3,470 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 2,250 มิลลิกรัมต่อลิตร

(4) น้ำในห้วยลำหลอด หรือห้วยลำมะหลอด บริเวณท้ายน้ำที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 2,660 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 1,733 มิลลิกรัมต่อลิตร

เหมืองแร่ โป แต่ ช ด่านขุนทด

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ปกติแหล่งน้ำจะเริ่มมีรสเค็มที่ระดับความเค็มประมาณ 0.5 ppt ซึ่งเริ่มไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการประปา ขณะที่ความเค็มประมาณ 1 ppt ไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการชลประทาน นอกจากนี้ ค่าความเค็มมีค่าเกินกว่า 7 ppt จะไม่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืด