การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ยุคนี้ผู้คนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ทำให้หลายคนแทบไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเอง ทั้งที่การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะหากร่างกายหรือสภาพจิตใจเสียสมดุล โรคภัยและอาการเจ็บป่วยอาจมาเยือนได้ ซึ่งการดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หนทางที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและจิตใจ และนี่คือ 6 วิธีดูแลสุขภาพเบื้องต้นที่ทุกคนควรทำ 

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

1. เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร

อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อร่างกายอย่างมาก การจะมีสุขภาพที่ดีควรเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านั้นไปซ่อมแซมและดูแลสุขภาพภายใน ดังนั้น ในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ลดอาหารประเภทที่มีน้ำตาลและไขมันสูง หรือสำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นอยากดูแลสุขภาพหรือควบคุมน้ำหนัก อาจลองเปลี่ยนมาทานอาหารคลีนหรือเมนูมังสวิรัติ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย 

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทั้งช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า สำหรับใครที่เป็นคนดื่มน้ำน้อย แนะนำว่าให้ลองกรอกน้ำใส่ขวดน้ำพกติดตัวไว้ตลอดเวลา และตั้งเป้าหมายในการดื่มน้ำให้หมดขวดในแต่ละวัน ค่อยๆ เพิ่มจนครบปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันคือประมาณ 2 ลิตร เพื่อให้ร่างกายปรับตัว แบบนี้ก็ช่วยให้เราดื่มน้ำได้เยอะขึ้น

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

3. หาเวลาดูแลตัวเองบ้าง

หลายครั้งที่หักโหมทำงานอย่างหนัก มาส่องกระจกอีกทีเพิ่งรู้ตัวว่าโทรมลงไปมาก ดังนั้นการหาเวลาเพื่อดูแลตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง โดยอาจเริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเองง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น แช่อ่างน้ำ, ทำสปาผิวเองที่บ้าน นวดผ่อนคลาย หรือทำเล็บเจลสวยๆ รวมไปถึงการให้เวลากับตัวเองเพื่อคลายเครียด เช่น การดูซีรีส์เรื่องโปรดหรือฟังเพลงที่ชอบ 

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

4. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่สำหรับใครที่ไม่มีเวลาไปฟิตเนส ก็มีวิธีออกกำลังกายได้ง่ายๆ ที่บ้านมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ฮูลาฮูป กระโดดเชือก คาร์ดิโอ หรือโยคะ เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเสริมสร้างร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียด และช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

5. พักสายตาจากโซเชียล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้โซเชียลได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตอย่างมาก ซึ่งการจ้องจอเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดปัญหาตาล้า ตาแห้ง และนำไปสู่ปัญหาสายตาได้ รวมถึงการรับข่าวสารที่มากเกินไปยังทำให้เสพติดโซเชียลเกินความจำเป็น และอาจเกิดอาการ Toxic ซึ่งอาจทำร้ายสุขภาพจิตใจเราได้ ดังนั้น ควรพักสายตาจากโซเชียลบ้าง เวลาว่างจากที่เคยหยิบโทรศัพท์มาเล่น ให้เปลี่ยนมาอ่านหนังสือแทน หรือเลือกทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ตัวเองชื่นชอบ

การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

6. พักผ่อนให้เพียงพอ

อย่างสุดท้ายคือการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูและซ่อมแซมได้อย่างเต็มที่ โดยควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยให้ได้ 6-8 ชั่วโมง สำหรับใครที่มีปัญหาการนอนหลับยาก อาจจะลองหาเครื่องพ่นไอน้ำอโรมาหรือหาเทียนหอมกลิ่นที่ชอบมาจุด เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายและทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่ไม่ค่อยได้ดูแลสุขภาพ และอยากที่จะเริ่มต้นเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ อาจค่อยๆ ลองปรับที่ละอย่างไปเรื่อยๆ เข้าใจว่าช่วงแรกอาจจะยังรู้สึกฝืนเล็กน้อย แต่หากทำเป็นประจำและปรับให้ร่างกายเคยชิน ก็จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีในที่สุด

การจัดการกับความโกรธเป็นหนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพจิตที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากอารมณ์โกรธนั้นเกิดขึ้นได้ค่อนข้างง่าย และมักทำให้ขาดสติ นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิด ๆ พูดจาทำร้ายจิตใจผู้อื่น ทำให้คนรอบข้างเสียความรู้สึก ข้าวของเสียหาย หรือเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุซึ่งอันตรายถึงชีวิต อาจลองใช้วิธีเหล่านี้เพื่อช่วยระงับความโกรธ เช่น

  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้จิตใจผ่องใส ร่างกายสดชื่น และยังช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความโกรธ ผู้ที่มีความเครียดสะสม เมื่อมีสิ่งเร้าเพียงเล็กน้อยก็สามารถโกรธหรือบันดาลโทสะได้
  • มองหาต้นเหตุของความโกรธ ความโกรธอาจเกิดขึ้นได้ และอาจยับยั้งความโกรธได้ลำบาก แต่การค้นหาสาเหตุของความโกรธจะช่วยให้เกิดการทบทวนและเรียนรู้ และสามารถรับมือกับปัญหาที่เป็นต้นเหตุของความโกรธได้ดีขึ้น
  • เรียนรู้ที่จะให้อภัย ความโกรธอาจเกิดจากโกรธตัวเองหรือโกรธคนรอบข้าง การรู้จักให้อภัยว่าทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้อาจช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น ปล่อยวางความโกรธได้ง่าย ให้อภัยผู้อื่น และอาจทำให้สามารถกลับไปสานสันพันธ์กับคนที่เคยทำให้โกรธได้
  • เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายบ้าง การให้เวลาตัวเองได้พักผ่อน อยู่ในมุมสงบ หลบหนีจากความวุ่นวายอาจช่วยให้มีสติและใจเย็นลง ทั้งนี้อาจทำได้ด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ ฟังเพลง ออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ
  • มองหาตัวช่วย เมื่อรู้สึกว่าความโกรธรุนแรงเกินควบคุม ควรมองหาตัวช่วยหรือเดินหนีออกไปจากสถานการณ์ที่ทำให้โกรธก่อน เพราะหากยังโกรธอยู่อาจขาดสติจนพูดหรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนัั้นอาจเลือกออกไปสูดอากาศนอกห้อง พูดระบายหรือปรึกษากับคนที่ไว้ใจหรืออยู่ด้วยแล้วสบายใจ อาจทำให้ลดอารมณ์โกรธลงและทำให้รู้สึกดีขึ้น

รับมือกับความเครียด

ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อาจเกิดจากปัญหาเรื่องงาน ความรัก ภาวะสุขภาพ หรือการสูญเสียบุคคลใกล้ตัว วิธีจัดการกับความเครียดมีหลายรูปแบบ เช่น

  • ปรับทัศนคติของตนเอง ด้วยการทำใจยอมรับความจริง มองโลกด้วยทัศนคติบวก รวมทั้งการทำความเข้าใจว่าไม่มีใครสามารถควบคุมสถานการณ์ไปตามที่ต้องการได้ทุกอย่าง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เพราะนอกจากจะช่วยลดความเครียดได้โดยตรงแล้ว ยังทำให้นอนหลับสบาย ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ อันเป็นผลพวงจากความเครียดสะสม
  • พบเจอเพื่อนฝูง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือทำกิจกรรมใหม่ ๆ ให้สมองได้ผ่อนคลายอีกทั้งการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระบายความรู้สึกรวมทั้งรับฟังปัญหาของเพื่อนบางคนอาจช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้นและมองเห็นความเครียดเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องพบเจอ
  • ปรับพฤติกรรม หากพบว่าตนเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ควรหาทางแก้ไข ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง หรือหาทางปรับความเข้าใจกับคนที่ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งไม่ควรกดดันตัวเอง หรือไม่ควรรับปากที่จะทำอะไรให้ผู้อื่นหากเป็นสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง

ต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า คือ ความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยมักรู้สึกเศร้า ไร้ค่า หมดหวัง หรือขาดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ นอกเหนือจากการไปพบคุณหมอเพื่อขอรับการรักษาและรับยามากิน ผู้มีภาวะซึมเศร้า อาจสามารถปฏิบัติตัวดังนี้

  • มีตารางชีวิตที่ชัดเจน เนื่องจากภาวะซึมเศร้าอาจมีผลต่อการนอน รวมถึงกิจวัตรประจำวันแต่เดิม การมีตารางชีวิตที่ชัดเจนจะช่วยให้ชีวิตประจำวันของผู้มีภาวะซึมเศร้ายังดำเนินไปได้อย่างเป็นระบบ
  • เลือกรับประทานอาหาร ในบางกรณี ผู้มีภาวะโรคซึมเศร้ามักเลือกรับประทานอาหารปริมาณมากเพื่อให้ตัวเองมีความสุข แต่จริง ๆ แล้วควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผักใบเขียวหรือผลไม้ เพราะหากตกอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน อาจยิ่งทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้ามากขึ้น
  • ท้าทายความคิดแง่ลบ บ่อยครั้งที่ผู้มีภาวะซึมเศร้ามักมีความคิดว่าตัวเองไร้ค่า ในการรับมือกับความคิดเช่นนี้ ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าอาจลองถามตัวเองว่าจริงหรือเปล่า หรือมีอะไรเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าตัวเองไร้ค่า อย่าปล่อยให้ตนเองคิดเลื่อนลอยและฟุ้งซ่านโดยไม่มีเหตุผลประกอบ และลองถามตัวเองว่า ตนเองทำอะไรได้ดี มีความสามารถด้านใด เพื่อฝึกตนเองในการมองให้ชีวิตมีค่ามากขึ้น
  • หาอะไรใหม่ ๆ ทำ การรู้สึกหมดความสนุกกับสิ่งรอบตัวเป็นอาการหนึ่งของภาวะซึมเศร้า ผู้มีภาวะซึมเศร้าอาจลองหาอะไรใหม่ ๆ ทำ เพราะอาจเปิดโลกใหม่ ๆ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และดึงความสนใจออกไปจากการครุ่นคิดถึงแต่ภาวะซึมเศร้าของตนเอง หากไม่สามารถทำได้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการบำบัดต่อไป

การเข้าสังคมและรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

การเข้าสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนหรือคนรอบตัว สามารถสร้างความสุขให้เกิดขึ้นได้ เพราะการได้รับการยอมรับจากผู้อื่นจะช่วยส่งเสริมความมั่นใจและทำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นที่รักและเป็นที่ต้องการ เพิ่มคุณค่าในตัวเอง ในขณะเดียวกันการเข้าสังคมทำให้มีคนคอยรับฟังปัญหาต่าง ๆ ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดหรือคลายความไม่สบายใจลงไปการเข้าสังคมและรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบตัวอาจดีขึ้น หากปฏิบัติดังนี้