ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา

ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา
ประเภทวารสาร
รูปแบบวารสารข่าวราชการ
เจ้าของรัฐบาลไทย
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ก่อตั้งเมื่อ15 มีนาคม พ.ศ. 2401 (164 ปี)
ภาษาไทย
สำนักงานใหญ่ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เมือง
ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา
 
กรุงเทพมหานคร
ประเทศ
ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา
 
ไทย
เว็บไซต์ratchakitcha2.soc.go.th

ราชกิจจานุเบกษา (อังกฤษ: Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ (บางกอกรีคอเดอ)[1] เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด[2] โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่

ประเภทของราชกิจจานุเบกษา[แก้]

  1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษาของศาลปกครอง
  2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก
  3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน
  4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1". www.orst.go.th. p. 108. สืบค้นเมื่อ 25 Jun 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ไทม์ไลน์นิตยสารไทย
  3. ความหมายของราชกิจจานุเบกษา ประเภท ก-ง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา
ผู้ ลงนามในราชกิจจานุเบกษา
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

ใครเป็นผู้ออกราชกิจจานุเบกษา

ตอบ ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

หน่วยงานใดดูแลเอกสารราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา” หมายความว่า หนังสือของทางราชการซึ่งสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีจัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อการเผยแพร่เกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เรื่องที่ต้องประกาศตามกฎหมาย

การประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้เวลากี่วัน

กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๖๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถ้ากฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๑ (ดูจากหัวกระดาษมุมบนขวา) จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๑ ไปจนครบ ๖๐ วัน ซึ่งจะครบ ๖๐ วัน ในวันที่ ๒๙ ก.พ. ๒๕๕๑ กฎหมายให้ใช้บังคับเมื่อพ้น ๖๐ วัน ดังนั้น จึงเริ่มมีผล ...

กฎหมายใดต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

คำตอบ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายระดับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ , พ.ร.บ., พ.ร.ก. และอนุบัญญัติชั้น พ.ร.ฎ. และกฎกระทรวงทุกฉบับ ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำหรับอนุบัญญัติอื่น ๆ จะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาในกรณี ดังต่อไปนี้