คนพิการขึ้นเครื่องบินครึ่งราคา

เมื่อมีการลดราคาสำหรับผู้โดยสารที่มีความพิการทางร่างกายที่ขึ้นบนรถไฟกับผู้ดูแล ผู้ดูแลควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ซื้อประเภทตั๋ว โซนเดินทาง และระยะเวลาใช้งานเดียวกัน และขึ้นรถไฟขบวนเดียวกัน
นอกจากนี้จะมีการลดราคาค่าโดยสารกับผู้ดูแลหนึ่งคนต่อผู้โดยสารที่มีความพิการทางร่างกายหนึ่งคน

ตั๋วธรรมดา (ส่วนลดเพิ่ม 10 เยน)

ซื้อตั๋วธรรมดาสำหรับเด็กจากตู้ขายตั๋ว จากนั้นรับใบรับรองส่วนลดจากพนักงานคุมทางเข้าออกก่อนขึ้นรถไฟ นอกจากนี้เราอาจขอให้คุณแสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ)

เราขอให้เด็กและผู้โดยสารซื้อตั๋วที่สำนักงานสถานีหากต้องการซื้อตั๋วเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟใต้ดินสายอื่นๆ นอกจากนี้เราอาจขอให้คุณแสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ)

ตั๋วคูปอง (ส่วนลดเพิ่ม 10 เยน)

กรุณาปรึกษาพนักงานประจำสถานี
เราขอให้คุณแสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ) ก่อนขายตั๋วคูปอง

บัตรโดยสารประเภทพาส (ส่วนลดเพิ่ม 10 เยน)

กรุณาซื้อที่สำนักงานบัตรโดยสารประเภทพาสและรายละเอียดของบัตรของโตเกียวเมโทร นอกจากนี้เราอาจขอให้คุณแสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ) เมื่อทำการซื้อ

บัตร IC (ส่วนลดเพิ่ม 1 เยน)

เมื่อผู้โดยสารคนพิการประเภท 1 ที่มากับผู้ดูแลใช้บัตร IC สำหรับขึ้นรถไฟ จะมีการนำค่าโดยสารที่ลดราคา (ลด 50%) มาใช้โดยมีส่วนลดเพิ่ม 1 เยน
ผู้โดยสารคนพิการและผู้ดูแลจะใช้และทาบบัตร IC ลงบนประตูตรวจตั๋วอัตโนมัติตามลำดับที่ทางเข้าออก แต่ไม่ต้องทาบบัตรที่ปลายทางหรือสถานีชุมทาง โดยให้แสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ) แก่พนักงานคุมทางเข้าออก

  • หมายเหตุ: เราอาจขอให้คุณแสดงใบรับรอง (ใบรับรองความพิการทางร่างกาย ใบรับรองการฟื้นฟูสมรรถภาพ, Aino-techo ฯลฯ) เมื่อเราเห็นว่าจำเป็น

นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม เปิดเผยหลังนายกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ตัวแทนผู้พิการที่นั่งรถเข็น (วีลแชร์) เข้าพบว่า นายกฤษนะแจ้งว่าขณะนี้การเดินทางโดยสารเครื่องบินของผู้พิการ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้วีลแชร์ ไม่ได้รับความสะดวกในการขึ้น-ลงเครื่องบิน จึงเสนอแนวทาง 5 เรื่องให้กระทรวงช่วยดำเนินการ ได้แก่

1.ขอให้มีแผ่นพับทางลาด เพื่อใช้เชื่อมต่อระหว่างสะพานเทียบเครื่องบิน (งวงช้าง) และเครื่องบิน เพราะปัจจุบันระหว่าง 2 ส่วนนี้มีช่องว่างอยู่ หากมีแผ่นพับทางลาด จะสามารถเข็นรถวีลแชร์ขึ้นลงเครื่องบินได้

2.ขอให้จัดหาเคบินวีลแชร์ขนาดเล็ก ไว้ให้บริการที่สนามบิน เพื่อให้ใช้วีลแชร์เข้าไปยังภายในห้องโดยสารบนเครื่องบินได้ เพราะปัจจุบันสนามบิน มีให้บริการแต่วีลแชร์ขนาดใหญ่ ไม่สามารถใช้ภายในห้องโดยสารได้ เนื่องจากทางแคบมาก 3.ขอให้จัดทำห้องน้ำ สำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์บนเครื่องบิน 4.ขอให้ติดตั้งราวจับในตำแหน่งที่ถูกต้องกับลักษณะของผู้พิการ และได้มาตรฐานสากล ทั้งห้องน้ำภายในอาคารผู้โดยสาร และภายในตัวเครื่องบิน 5.ขอให้จัดหาลิฟต์ยกผู้ที่นั่งรถเข็น (วีลแชร์) ขึ้นเครื่องบิน กรณีที่ผู้พิการไม่ได้เดินทางโดยใช้งวงช้าง

“ผมได้กำกับดูแลงานของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จึงได้นำข้อเสนอดังกล่าวหารือกับ ทย. แล้ว เบื้องต้นจะใช้เงินจากกองทุนหมุนเวียน ทย. มาจัดซื้อแผ่นพับทางลาด รวมถึงเคบินวีลแชร์ขนาดเล็ก ส่วนเรื่องการใช้ลิฟต์ยก เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง จึงจะเปลี่ยนเป็นทางลาดลำเลียงผู้โดยสารทุพพลภาพเพื่อขึ้นลงเครื่องบินแทน โดยใช้งบประมาณปี 2563 ดำเนินการ และช่วงแรกนำร่อง 15 สนามบิน ในเดือน เม.ย.2563”

นอกจากนี้ ยังจะนำข้อเสนอเรื่องการจัดทำห้องน้ำสำหรับผู้ใช้วีลแชร์บนเครื่องบิน และการติดตั้งราวจับในห้องน้ำไปหารือกับสายการบินไทย, สายการบินไทยสมายล์ และสายการบินนกแอร์ด้วย โดยเครื่องบินลอตใหม่ของการบินไทยที่จะสั่งซื้อ 25 ลำ ต้องกำหนดสเปกให้จัดทำห้องน้ำให้ผู้พิการวีลแชร์ เพื่อใช้ร่วมกับคนทั่วไปได้ด้วย และขอความร่วมมือไปยังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ให้ออกกฎกติกาเพื่อบังคับให้สายการบิน และสนามบินอื่นๆ ดำเนินการสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารทุกคน รวมทั้งยังรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลหรือ Tourism for All ด้วย”.

การเดินทาง'โดยเครื่องบิน' ปัญหาของผู้พิการนั่งวีลแชร์

สัปดาห์นี้ไปดูปัญหาที่คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ “ผู้พิการ” เดินทางโดยเครื่องบินต้องเผชิญกับอะไรบ้าง แล้วทำไมแต่ละสายการบินมีข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างกัน? อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11.00 น.

คนพิการขึ้นเครื่องบินครึ่งราคา

การเดินทางโดยเครื่องบินสำหรับผู้พิการ คือ ความขมขื่น ความลำบากใจ แม้การเดินทางโดยวิธีนี้จะรวดเร็วและสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารในประเทศ ทุกสายการบินมีข้อกำหนดและเงื่อนไขให้คนพิการโดยเฉพาะ “ผู้ที่นั่งวีลแชร์” ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนการเดินทาง 48 ชม. หรือ 2 วันเพื่อให้สายการบินตั้งหลักเตรียมพร้อม

วีลแชร์ไฟฟ้าและแบบปกติต้องแจ้งชัดๆ เพราะวีลแชร์ไฟฟ้าถ้าใช้แบตเตอรี่เป็นลิเทียมไอออน หากกำลังวัตต์เกิน 240 วัตต์ โหลดใต้ท้องเครื่องบินไม่ได้เป็นเด็ดขาด ต้องยกขึ้นมาไว้กับที่นั่งบนห้องโดยสารฉะนั้นผู้พิการที่มีวีลแชร์ไฟฟ้าต้องตรวจสอบกำลังวัตต์ของแบตเตอรี่รถท่านให้ดี

ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่เมื่อจองตั๋วเครื่องบินจะแจ้งพนักงานว่า ขอที่นั่งด้านหน้า เพื่อความสะดวกในการไปห้องน้ำ หรือกรณีที่ต้องอาศัยผู้ช่วยอุ้มจากวีลแชร์ไปยังที่นั่ง แต่ในความเป็นจริงบางสายการบินพนักงานก็ไม่เข้าใจ มักจะจัดให้ไปอยู่กลางๆ เครื่อง หรือท้ายเครื่องเลยก็มี

คนพิการขึ้นเครื่องบินครึ่งราคา

คนไม่ใช่กระเป๋าแฮนด์แบ็ก...ประเด็นก็คือบางคนสภาพร่างกายพิการระดับสูง เมื่อต้องอุ้มต้องแบกในที่แคบพลุกพล่านคิดเอาละกันว่าทุกข์แค่ไหน ขนาดคนปกติยังลำบาก การเดินทางโดยเครื่องบินสำหรับผู้พิการจึงมากกว่าผู้โดยสารคนปกติเป็นหลายเท่า

คนพิการหนึ่งคนอย่างน้อยต้องมีผู้ติดตาม 1 คน การจองตั๋วต้องแจ้งรายละเอียดล่วงหน้า อย่างนั้นก็ตามหลายครั้งที่ไม่ได้เป็นอย่างที่แจ้ง การขึ้นเครื่องต้องขึ้นล่วงหน้าผู้โดยสารคนอื่นประมาณ 30 นาที การเช็คอินต้องใช้ช่องพิเศษ สิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้โดยสารวีลแชร์ที่จำเป็นต้องใช้ รถวีลแชร์เฉพาะของตัวเองเท่านั้น

ต้องเน้นย้ำกับสายการบินว่า จะใช้รถวีลแชร์ของตัวเองจนถึงประตูเครื่องบิน ถ้าเกรงใจเจ้าหน้าที่สายการบินใช้รถวีลแชร์ของสนามบินจะเกิดอุบัติเหตุกลิ้งตกรถได้ เพราะมีคนเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว วีลแชร์ที่ใช้ทุกสนามบิน “ไม่ใช่วีลแชร์” เป็นเพียงรถเข็นผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุธรรมดาเท่านั้น

คนพิการขึ้นเครื่องบินครึ่งราคา

รถ cabin wheelchair คือรถเข็นที่ใช้ในห้องโดยสารเครื่องบิน เมื่อผู้ที่นั่งวีลแชร์ของตัวเองมาถึงประตูเครื่องบินก็จะต้องเปลี่ยนไปนั่ง cabin wheelchair เพื่อนำผู้พิการไปยังที่นั่งโดยสาร สายการบินต้นทุนต่ำซึ่งหมายรวมถึงการบริการก็หย่อนตามด้วย ไม่รับผู้โดยสารพิการที่ต้องนั่งวีลแชร์ เพราะการลงทุนอุปกรณ์เสริมสำหรับผู้พิการนับเป็นต้นทุน

เครื่องบินต้นทุนต่ำทั้งหลายโดยเฉพาะสายการบินนกแอร์ ไทยสมายล์ นั้นมีนโยบายชัดเจนไม่รับผู้โดยสารพิการที่นั่งวีลแชร์ การบินไทยเป็นสายการบินที่มีบริการ cabin wheelchair ทว่าค่าโดยสารนับว่าสูงมาก โดยการบินไทยลดราคาตั๋วสำหรับคนพิการถึง 50% และให้ผู้ติดตาม 25% แต่เป็นการลดราคาจากหน้าตั๋วเมื่อเทียบกับราคาที่ขายให้เอเยนต์และนำมาจัดโปรโมชันยังมีราคาถูกกว่าราคาตั๋วที่ลดให้ผู้โดยสารพิการ

ในครั้งหน้าเราจะไปคุยกับ คุณภัทรพันธ์ กฤษณา เลขาธิการสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ถึงสิ่งจำเป็นในการเดินทางด้วยเครื่องบินของผู้พิการ ใคร หน่วยงานไหนต้องจับมือกัน อุปกรณ์สำหรับผู้พิการในการเดินทางโดยเครื่องบินมีราคาสูงมากจริงหรือไม่?

ครั้งหน้าเราจะไปค้นหาคำตอบและได้รู้กัน.
...................................
คอลัมน์ : ชำเลืองเมือง
โดย “แรมทาง”
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Pixabay

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    67%

  • ไม่เห็นด้วย

    33%

ความคิดเห็น

ข่าวล่าสุด