เจ็บท้อง ประจำเดือน แต่ ประจำเดือน ไม่มา

ปวดท้องน้อย เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่วๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่หากปวดเฉียบพลัน ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดบ่อยแบบไม่ทราบสาเหตุ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคทางนรีเวชได้


อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร?

อาการปวดท้องน้อย (pelvic pain) ในผู้หญิง เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว มีทั้งการปวดแบบเฉียบพลัน และการปวดแบบเรื้อรัง อาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนได้ แต่อาการปวดท้องอย่างไรที่ควรพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเพิ่มเติม

  • ปวดเฉียบพลัน ทันที และมีอาการรุนแรง
  • อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากทานยาแก้ปวด
  • อาการปวดที่เป็นนานเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเป็นมานานกว่า 6 เดือน
  • อาการปวดที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะแสบขัด มีประวัติมีบุตรยาก
  • ปวดท้องประจำเดือนมาก และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งสาเหตุของอาการปวดนั้นมีได้ทั้งจากโรคเกี่ยวกับลำไส้ ทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นมาจากโรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ ถุงน้ำ (cyst) รังไข่


โรคทางนรีเวชที่พบบ่อยและเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องน้อย

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการปวดท้องประจำเดือน โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติมีบุตรยาก ปวดเรื้องรังนานกว่า 6 เดือน ปวดหน่วงขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ระหว่างมีประจำเดือน กลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ยังรวมถึงโรค chocolate cyst อีกด้วย


เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

อาการปวดมักเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกใหญ่จนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง การบิดขั้วของเนื้องอกจะทำให้เกิดการปวดที่รุนแรง ปวดท้องประจำเดือน หรือ มีเนื้อตายภายในเนื้องอก


เนื้องอก หรือ ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian tumor)

อาจเกิดการบิดขั้ว แตก รั่ว ของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบเฉียบพลัน อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือ ติดเชื้อได้ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่มากจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง จุก เสียด ทานอาหารอิ่มง่ายได้


การตรวจและการวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การตรวจภายใน
  3. การตรวจด้วยอัลตราซาวด์
  4. การส่องกล้องเพื่อดูพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน

การรักษา

  1. การให้ยาแก้ปวด
  2. การรักษาด้วยฮอร์โมน
  3. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง

ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

ผ่าตัดส่องกล้อง

ข้อดี ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่มาก หรือมีการลุกลามอวัยวะข้างเคียง
  • ใช้ได้ดีในโรคเยื่อบุโพรงมดลุกเจริญผิดที่ เพราสามารถเห็นรอยโรคชัดเจน
  • แผลเล็ก
  • ฟื้นตัวเร็วระยะการนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นที่บ้านสั้น
  • เสียเลือดน้อย
  • ปวดหลังผ่าตัดน้อย
ข้อเสีย
  • เสียเลือดมากกว่า
  • เกิดพังผืดหลังการผ่าตัดมากกว่า
  • ไม่ใช้ในบางกรณี เช่น มีการติดเชื้อกระจายในช่องท้อง
  • ไม่สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีภาวะช็อค

อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นมา ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยคัดกรองโรคทางนรีเวชเหล่านี้ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ไว ก็จะช่วยให้คุณกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม

ประจำเดือนคืออะไร?

     ประจำเดือน (Menstruation) หมายถึง การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน เป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์  ประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมรอรับการฝังตัวของตัวอ่อน ในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง หากไม่มีการปฎิสนธิหรือไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้รอรับตัวอ่อนก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร?

  • ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) 
  • ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน
  • ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คืออะไร?

   ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หมายถึง ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี

2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

เจ็บท้อง ประจำเดือน แต่ ประจำเดือน ไม่มา

สาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ?

  1. ความเครียด
  2. ตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  3. วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกเลย
  4. น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  5. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด  ยารักษาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ทำเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง และสารเสพติดอื่น ๆ เป็นต้น
  6. ในบางรายอาจเกี่ยวข้องกับการที่อวัยวะสืบพันธุ์มีความผิดปกติ เช่น เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เป็นต้น

ประจำเดือนมาไม่ปกติ​บอกปัญหาอะไรได้?

   1. เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ : Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปี เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ อาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก

   2. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน

วิธีการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ?

  1. ลดภาวะเครียด
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

ประจำเดือนคืออะไร?

     ประจำเดือน (Menstruation) หมายถึง การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน เป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์  ประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมรอรับการฝังตัวของตัวอ่อน ในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง หากไม่มีการปฎิสนธิหรือไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้รอรับตัวอ่อนก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร?

  • ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) 
  • ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน
  • ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คืออะไร?

   ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หมายถึง ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี

2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

เจ็บท้อง ประจำเดือน แต่ ประจำเดือน ไม่มา

สาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ?

  1. ความเครียด
  2. ตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  3. วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกเลย
  4. น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  5. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด  ยารักษาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ทำเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง และสารเสพติดอื่น ๆ เป็นต้น
  6. ในบางรายอาจเกี่ยวข้องกับการที่อวัยวะสืบพันธุ์มีความผิดปกติ เช่น เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เป็นต้น

ประจำเดือนมาไม่ปกติ​บอกปัญหาอะไรได้?

   1. เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ : Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปี เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ อาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก

   2. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน

วิธีการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ?

  1. ลดภาวะเครียด
  2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
  3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
  4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

ประจําเดือนไม่มาเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ? ความเครียด ตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกเลย

อาการตั้งครรภ์กับประจําเดือนต่างกันอย่างไร

อาการปวดท้องประจำเดือน จะอยู่บริเวณหน้าท้อง และหลังส่วนล่าง จะมีอาการปวดท้องมากกว่า 1 วัน และรู้สึกปวดมาก อาการคนท้องระยะแรก จะปวดบริเวณท้องน้อย และหลังส่วนล่าง และจะเป็นอาการปวดท้องที่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามหากพบอาการปวดท้องในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะเป็นอาการปวดท้องในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และไม่มีอาการป่วย

ปวดท้องกี่วันก่อนมีประจำเดือน

ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) มีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อยและอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและ ...

ประจําเดือนไม่มากี่วันถึงจะตรวจ

คำแนะนำในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง