ป สาน ในสมัยสุโขทัยมีความสำคัญ ต่อ ระบบ เศรษฐกิจ อย่างไร

ตลาดปสาน

ป สาน ในสมัยสุโขทัยมีความสำคัญ ต่อ ระบบ เศรษฐกิจ อย่างไร

ประวัติความเป็นมาของตลาดปสาน
        

           พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช ได้สนับสนุนให้ชาวสุโขทัยประกอบอาชีพค้าขายอย่างอิสระ ได้ทรงตั้งศูนย์การค้าประจำเมืองขึ้น เรียกว่า ตลาดปสานหรือ บาซาร์ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และมีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึงตลาดแห่งนี้ในจารึกของพระองค์ว่า " เบื้องตีนนอนสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ  มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่นา มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก" ซึ่งแสดงถึงว่าตลาด มีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณแล้ว สำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อและผู้ขาย ตลาดปสานจึงเป็นแหล่งซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งของชาวสุโขทัยและชาวต่างประเทศที่สนใจเข้ามาทำการค้าขายมากขึ้น มีผลทำให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น และชาวสุโขทัยยังได้รู้จักการติดต่อกับคนต่างเมืองต่างภาษา  ได้มีการเลือกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน การค้าขายในกรุงสุโขทัยตามปกติ นิยมซื้อขายแบบเลือกเปลี่ยนสินค้าตามความพอใจ โดยจะตกลงต่อรองราคาสินค้ากันเอง และนำระบบเงินตราเข้ามาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยน คือ เงินพดด้วงซึ่งนับเป็นเงินตราไทยโดยแท้ มีลักษณะเป็นก้อนกลม  ทำด้วยโลหะเงิน นอกจากนั้นก็ยังมีตลาดที่มีลักษณะการค้าเป็นแหล่งๆไปในตัวเมืองสุโขทัย ดังนั้นลักษณะทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญจึงขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฏร

ลักษณะของตลาดปสาน

เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งของชาวเมืองสุโขทัยและชาวเมืองใกล้เคียง ตลาดปสานนั้นตั้ง อยู่ทางตอนเหนือของเมืองสุโขทัยโดยตลาดปสานนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง จึงมีการสันนิษฐานว่าตลาดแห่งนี้ตั้งมาก่อนสร้างกำแพงเมืองในสมัยสุโขทัย (เป็นตลาดใหญ่ตั้งแต่สมัยขอมครองเมือง)ในศิลาจารึกระบุไว้ว่า สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดปสานมีหลายประเภท ตั้งแต่ผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และสัตว์ที่ใช้เป็นแรงงานเป็นพาหนะ เช่น วัวและม้า ลักษณะของตลาดเป็นลานกว้างๆ เหมาะสำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อและผู้ขาย รูปแบบของตลาดเช่นนี้อาจจะเรียกได้ว่า ตลาดบก เพราะมีทำเลที่ตั้งค้าขายอยู่บนบก ตัวอย่างตลาดในสมัยสุโขทัยที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก เช่น ตลาดป่าตองขายใบตอง ตลาดป่าพร้าวขายมะพร้าว ตลาดป่าตะกั่วขายโลหะตะกั่ว จะเห็นได้ว่าตลาดมีลักษณะการขายสินค้าเป็นแหล่งๆไปแสดงให้เห็นว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมชน เพราะปรากฎข้อความในจารึกว่ามีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจำแล้ว เชื่อว่าคงมีตลาดชนิดที่เรียกว่า ตลาดนัด ด้วย สำหรับการซื้อขายประจำวันโดยปกติคงทำกันที่ตลาดปสาน โดยพ่อค้าแม่ค้ามีร้านขายสินค้าอยู่ในตลาดนั้น ประชาชนต้องการสิ่งของอะไรก็ไปที่ร้านขายของตลาดปสานซื้อหาได้ทันที

ป สาน ในสมัยสุโขทัยมีความสำคัญ ต่อ ระบบ เศรษฐกิจ อย่างไร

การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1763 - พ.ศ. 1893)

ป สาน ในสมัยสุโขทัยมีความสำคัญ ต่อ ระบบ เศรษฐกิจ อย่างไร

ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะพระองค์เป็นทั้งนักรบและนักปราชญ์ ทรงปกครองประเทศชาติได้เป็นปึกแผ่นและมีการขยายการค้าไปทั่วราชอาณาจักรและไปถึงต่างประเทศ จากความเจริญรุ่งเรืองและมีการประกอบการค้าทั้งในและนอกราชอาณาจักรในยุตสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยดังที่กล่าวมาข้างต้นปรากฏในศิลาจารึกซึ่งแสดงหลักฐานว่า มีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนยุคพ่อขุนรามคำแหง คือข้อความตอนหนึ่งที่ว่า

เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง   เมืองสุโขทัยนี้ดี

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว   เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง

เพื่อนจองวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย

ใครจักค้าช้างค้า   ใครจักค้าม้าค้า

ป สาน ในสมัยสุโขทัยมีความสำคัญ ต่อ ระบบ เศรษฐกิจ อย่างไร

จากข้อความที่ว่าแต่เดิมมีการจัดเก็บจังกอบ จำกอบ หรือจกอบนี้ เป็นค่าเดียวกัน เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของสินค้าไปเพื่อขายในที่ต่างๆ หรือหมายถึงภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นตัวเงินเสมอไป คือเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงินก็ได้แล้วแต่จะเก็บอย่างใดได้สะดวก เพราะในสมัยนั้นวัตถุที่ใช้แทนเงินตรายังไม่สมบูรณ์ ในยุคสมัยนั้น ในการจัดเก็บจังกอบ รัฐบาลจะตั้งเป็นสถานที่คอยดักเก็บในสถานที่ที่สะดวก เช่นถ้าเป็นทางบก ก็จะไปตั้งที่ปากทางหรือทางที่จะเข้าเมือง ถ้าเป็นทางน้ำ ก็จะตั้งใกล้ท่าแม่น้ำหรือเป็นทางร่วมสายน้ำ โดยสถานที่เก็บจังกอบ เรียกว่า ขนอน ทั้งนี้ขนอนจะเป็นที่คอยเก็บจังกอบสินค้าทั่วไป ไม่เฉพาะเพียงการนำเข้าและขนออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้น เพราะมีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ขนอนชั้นนอก ขนอนชั้นใน และ ขนอนตลาด เป็นต้น การจัดเก็บจังกอบเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนยุคสุโขทัย และได้ยกเว้นไม่เก็บจังกอบจากราษฎรเลยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในภายหลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีหลักฐานว่า ในยุคสุโขทัยได้มีการจัดเก็บจังกอบจากราษฎรอีกหรือไม่

ที่มา :: หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร 2 กันยายน 2540