โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม

Show

โอนเงินหน้าเค้าเตอร์ เสียเงินเท่าไร ?

กระทู้คำถาม

ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ

พอดีจะโอนเงินหน้าเค้าเตอร์
ข้ามธนาคาร คับ เสียเท่าไรคับ ?

0

0

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม

สมาชิกหมายเลข 2064619


กำลังโหลดข้อมูล...

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

โอนเงินระหว่างเคาน์เตอร์-ATM ธนาคาร อันไหนจะเสียงเงินมากว่ากัน

คือกำลังจะโอนเงินธนาคารจากเชียงใหม่ไปเชียงรายอยากทราบว่าโอนเงินโดย ATM. หรือเคาน์เตอร์ธนาคารอันไหนจะ เสียค่าธรรมเนียมมากกว่ากัน. เหมือนจำได้ว่าโอนเคาน์เตอร์จะเสียมากกว่านะค่ะ. ไม่ทราบว่ามีใครพอทราบบ้า

มีความจริงใจมาให้

ธนาคาร

---โอนเงินที่ธนาคารเดียวกันเสียค่าบริการมั้ย---

คือเราจะไปโอนเงินครั้งแรกเลยแต่ไปที่ธนาคารแล้วที่ต้องโอนให้เป็นของไทยพาณิชย์เราจะเสียค่าบริการอะไรมั้ย

สมาชิกหมายเลข 1301404

การเงิน

ธนาคาร

โอนเงินต่างธนาคาร ค่าธรรมเนียมกี่บาทจ๊ะ

โอนเงินผ่านตู้ ATM นี่เสียค่าธรรมเนียมกี่บาทคะ แล้วโอนผ่านธนาคาร ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่คะ ธนาคารกรุงไทย โอนไป ธนาคารไทยพาณิชย์ ค่ะ ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะ พอดีว่าไม่เคยโอนอ่ะ ขอบคุณค่ะ

สมาชิกหมายเลข 968117

ธนาคาร

โอนเงินสดที่ ธ.กรุงไทย คิดค่าบริการ50บาทเลยนะเดี๋ยวนี้ แพงจริงๆ

วันนี้พอดีเราขับรถออกไปทำธุระข้างนอก พกเงินสดไปด้วยไม่กี่บาท อยู่ๆน้องโทรมา บอกว่าให้โอนเงินให้ด่วนซัก200-300ก็ได้ ตังหมด ไม่มีตังกินข้าว (เด็กมหาลัย อยู่หอ สิ้นเดือน เงินหมด) เราเลยหาธนาคารที่ใกล้

สมาชิกหมายเลข 837426

ธนาคาร

คุ้มครองผู้บริโภค

เขียนฝากเงินที่ธนาคารเลย ทำไมถึงเสียค่าธรรมเนียม

ใครพอมีความรู้เรื่องธนาคารบ้างคะ พอดีไปโอนเงินค่าเสื้อที่ซื้อไว้จากการทำบุญให้น้องแมว เจ้าของ บช. ใช้ธนาคารไทยพาณิชย์ ด้วยความที่เราใช้ ธ.กสิกร แต่ไม่อยากเสียค่าธรรมเนียม เลยถอนจาก กสิกร ไปเขียนฝากเลย

สมาชิกหมายเลข 798180

การเงิน

การออมเงิน

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคาร

ธนาคารกสิกรไทย

โอนเงินผิดบัญชี ต้นทางกสิกร ปลายทางกรุงไทยค่ะ

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมเราโอนเงินผิดบัญชีค่ะ จากกสิกรไปกรุงไทย จริงๆจะโอนเข้าบัญชีกรุงไทยของตัวเอง แต่กดเลขที่บัญชีผิดค่ะ ตอนนี้แจ้งเรื่องทุกอย่างกับทางกสิกรที่เป็นบัญชีต้นทางแล้ว กสิกรแจ้งว่าอยู่ในระหว

สมาชิกหมายเลข 3557545

ทำไมโอนจากบัญชีกสิกรไทย เข้าบัญชีกรุงไทยแล้วเงินไม่เข้าคะ?

เมื่อวานมีคนโอนเงินมาจากบัญชีกสิกรไทย โอเข้าบัญชีกรุงไทยโอนตั้งแต่เวลา13.55 น. จนถึงตอนนี้ข้ามมาอีกของวันหนึ่งเงินก็ไม่เข้าสักบาท สลิปก็มี สแกนคิวอาร์โค้ดก็ขึ้นว่าโอนมาแล้ว (แล้วต้องทำยังไงคะ ใครก็ได้

สมาชิกหมายเลข 7057666

ตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยปิดปรับปรุงระบบ เราสามารถกดเงินจากตู้ธนาคารอื่นได้ไหมครับ

ตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยปิดปรับปรุงระบบ เราสามารถกดเงินจากตู้ธนาคารอื่นได้ไหมครับ หรือ โอนเงินผ่าน ibangking สามารภทำได้ หรือ รอตอนเช้าครับ

สมาชิกหมายเลข 1675261

กสิกรไทยเปิดบัญชีส่วนตัวได้ตั้งแต่อายุเท่าไร เอกสารอะไรบ้าง

ตามหัวข้อกระทู้เลยค่ะ เรามีหลานชายอยู่ม.1 อายุ14ปี แม่น้องจะโอนเงินให้น้องใช้รายสัปดาห์ผ่านบัญชีของเรา เราอยู่ม.6 กำลังจะจบแล้วค่ะ เลยอยากจะพาน้องไปเปิดบัญชีส่วนตัว ที่ใช้ชื่อน้องได้เลยเพื่อความส่วนตั

สมาชิกหมายเลข 6438677

โอนเงินจากธนาคารกรุงเทพมากรุงไทย แต่เงินไม่เข้าธนาคารกรุงไทย

โอนเงินจากธ.กรุงเทพมาธ.กรุงไทยเงินยังไม่เข้า โทรไปหาคอลเซ็นเตอร์บอกรอถึงวันถัดไป 19.00น. จะใช้เงินต้องรอนานมากขนาดนี้เลยหรอคะ ถ้าไม่ได้รับเงินใครจะช่วยรับผิดชอบคะ

สมาชิกหมายเลข 7250147

อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ

​​​​​​​​​​​​​​​บริการโอนเงินมีหลากหลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งได้ตามลักษณะสำคัญ เช่น​บริการโอนเงินมีหลากหลายประเภท ซึ่งอาจแบ่งได้ตามลักษณะสำคัญ เช่น - จำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท1. การโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT) 2. การโอนเงินผ่านระบบบาทเนต (BAHTNET) ซึ่งไม่มีการกำหนดจำนวนเงินโอนสูงสุด- ปริมาณธุรกรรมการโอน แบ่งเป็น 2 ประเภท​1. การโอนเงินทีละรายการ (Single Payment) เช่น ORFT 2. การโอนเงินทีละหลายรายการ (Bulk Payment) ซึ่งมีปริมาณธุรกรรมมาก ความถี่แน่นอน และมีการทำข้อตกลงไว้ล่วงหน้า ได้แก่ การหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติ (Debit Transfer) และการนำเงินเข้าบัญชีอัตโนมัติ (Credit Transfer) - ที่อยู่ของผู้รับเงิน แบ่งเป็นการโอนภายในประเทศ และการโอนระหว่างประเทศ​​​ ​ 1. การโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร (ORFT: On-line Retail Funds Transfer) คืออะไร​เป็นบริการที่ผู้โอนเงินสามารถโอนเงินให้ผู้รับเงินที่มีบัญชีอยู่ต่างธนาคารได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ เครื่อง ATM เคาน์เตอร์สาขาธนาคาร หรือบริการ Internet banking โดยผู้รับเงินจะสามารถเบิกเงินในบัญชีได้ทันทีภายหลังจากที่ผู้โอนเงินทำรายการสำเร็จ ทั้งนี้ การโอนเงินผ่านบริการดังกล่าว จะใช้ได้เฉพาะในกลุ่มของธนาคารที่เป็นสมาชิกของแต่ละระบบเท่านั้น​​ 1.1 โอนผ่านเครื่อง ATM หรือเรียกว่า ATM ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินให้ผู้รับโอนเงินด้วยบัตร ATM ที่เครื่อง ATM ของธนาคารที่ผู้โอนเงินหรือผู้รับโอนเงินมีบัญชีอยู่ โดยระบุหมายเลขบัญชีผู้รับโอน และจำนวนเงินที่จะโอนซึ่งสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้ง แล้วผู้โอนจะได้ ATM Slip เก็บไว้เป็นหลักฐาน และบางธนาคารจะแจ้งผู้รับโอนทาง SMS ด้วย รายชื่อธนาคารที่​ให้บริ​การทั้งหมด  ​​ ​1.2 โอนผ่านเคาน์เตอร์สาขาของธนาคาร หรือเรียกว่า Counter ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคารที่เปิดให้บริการ โดยผู้โอนเงิน ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารนั้นก็ได้  ซึ่งโอนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้ง แล้ว​ ​ผู้โอนจะได้ใบบันทึกรายงานโอนเงิน (Pay-in Slip) เก็บไว้เป็นหลักฐานรายชื่อธนาคารที่ให้บริการทั้งหมด   1.3 โอนผ่าน Internet banking หรือ Internet ORFT ผู้โอนเงินสามารถทำรายการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้โอนเงินต้องเปิดบัญชีธนาคารไว้ ซึ่งโอนได้สูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง และยืนยันการทำรายการด้วยการระบุรหัส OTP (One-Time Password) ที่ธนาคารแจ้งทาง SMS ในแต่ละครั้ง  รายชื่อธนาคารที่ให้บริการทั้งหมด​​

ข้อดีของการใช้บริการโอนเงิน ORFTโอนเงิน ATM ORFT​ผู้โอนสามารถทำรายการจากเครื่อง ATM ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอ​คิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการเป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารค่าธรรมเนียมเท่ากันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินภายในจังหวัดเดียวกันหรือข้ามจังหวัด​โอนเงิน Counter ORFTผู้โอนเงินไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคาร โดยสามารถใช้บริการที่ธนาคารใดก็ได้ที่เป็นสมาชิกในระบบโอนเงิน  Internet ORFT​ผู้โอนสามารถทำรายการโอนได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากสถานที่ใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโอนเงินที่สาขาธนาคาร และไม่ต้องเสียเวลารอคิวหรือรอวัน/เวลาที่ธนาคารเปิดทำการ นอกจากนี้ ผู้โอนยังสามารถทำรายการเพื่อสั่งโอนล่วงหน้า หรือสั่งโอนที่มีความถี่เป็นประจำได้เป็นวิธีโอนเงินที่ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับการที่ต้องพกพาเงินสดไปที่ธนาคารเรียกดูประวัติและรายละเอียดการโอนย้อนหลังได้ข้อควรระวังในการใช้บริการโอนเงิน ORFT​​​ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีผู้รับเงิน ชื่อผู้รับเงิน และจำนวนเงินที่โอนให้ถูกต้องก่อนยืนยันการทำรายการ​ควรศึกษาเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้ต่อครั้ง และค่าธรรมเนียมในการใช้บริการผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ช่องทางได้อย่างเหมาะสม และประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากที่สุด เช่น ATM ORFT สามารถทำรายการโอนเงิน ครั้งละไม่เกิน 30,000 บาท กรณีต้องการโอนเงินเกินกว่า 30,000 บาท สามารถทำรายการหลาย ๆ ครั้งได้ (เช่น ต้องการโอนเงิน 60,000 บาท สามารถทำรายการ 2 ครั้ง มีค่าธรรมเนียมครั้งละ 35 บาท รวมเป็น 70 บาท) อย่างไรก็ดี บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตแต่ละใบมีการกำหนดจำนวนเงินโอนสูงสุดที่โอนได้ต่อวันแตกต่างกันไป​​กรณีใช้บริการการโอนผ่าน Internet Banking ควรตรวจสอบเลขที่บัญชีซึ่งปรากฎใน SMS ที่แจ้งรหัส OTP เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นหมายเลขบัญชีที่ต้องการโอน ก่อนทำรายการโอน รวมทั้งควรมีการอัพเดท Anti-virus software อยู่เสมอ​​​​ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการโอนเงิน ORFT​ ​ ​​ ​

2. การโอนเงินรายใหญ่ผ่านระบบบาทเนต (BAHTNET) คืออะไร

BAHTNET หรือ Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network เป็นเครือข่ายการโอนเงินมูลค่าสูงทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับผู้ใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ เปิดให้บริการทุกวันทำการธนาคารตั้งแต่เวลา 8.30 น. - 17.30 น. 

ธปท. ด้พัฒนาระบบบาทเนตขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงลดความเสี่ยงและต้นทุนในการโอนเงินของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ระบบบาทเนตให้บริการโอนเงินแก่บริษัทและบุคคลทั่วไปด้วย

​​ผู้เกี่ยวข้องกับระบบบาทเนตประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

สถาบันที่เป็นสมาชิกของระบบบาทเนต ซึ่งประกอบไปด้วย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และส่วนงานภายในของ ธปท.
ลูกค้าองค์กรและบุคคลทั่วไป ที่สั่งให้ธนาคารโอนเงินผ่านระบบบาทเนตหรือรับโอนเงิน
ธปท. มีฐานะเป็นเจ้าของและผู้ให้บริการระบบบาทเนตแก่ผู้ใช้บริการบาทเนต

​​

บริการโอนเงินบาทเนตประเภทต่าง ๆ

ที่ลูกค้าองค์กรและบุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการได้ ได้แก่ การโอนเงินระหว่างธนาคาร ​และการชำระราคาหลักทรัพย์​​

   

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม

2.1 การโอนเงินระหว่างธนาคาร (หรือที่เรียกว่าการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม)

เป็นการโอนเงินที่ผู้โอนสั่งให้ธนาคารของตน (ธนาคาร A) อนเงินผ่านระบบบาทเนตเข้าบัญชีผู้รับเงินซึ่งเป็นลูกค้าของอีกธนาคารหนึ่ง (ธนาคาร B) ซึ่งไม่มีการกำหนดจำนวนเงินโอนขั้นต่ำหรือสูงสุดที่สามารถโอนได้ในแต่ละครั้ง ขั้นตอนหลังจากผู้โอนสั่งโอนแล้ว คือ ธนาคาร A ส่งคำสั่งโอนเงินไปที่ ธปท. เพื่อให้ ธปท. ดำเนินการโอนเงินจากบัญชี A ไปบัญชี B และยืนยันการทำรายการทันที (realtime) หลังจากนั้น ธนาคาร B ก็จะโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับที่ฝากไว้กับธนาคาร B ต่อไป ทั้งนี้ ผู้รับเงินจะยังไม่ได้รับเงินจากธนาคาร B ในทันที แต่จะได้รับเงินโอนดังกล่าวภายในวันเดียวกัน ขึ้นกับระยะเวลาในการดำเนินการของธนาคารผู้โอนเงินและธนาคารผู้รับเงินซึ่งต่างกันสำหรับแต่ละธนาคาร

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
  

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

2.2 การชำระราคาหลักทรัพย์ 

เป็นบริการโอนเงินสำหรับองค์กร/บริษัท/บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะชำระราคาในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านหุ้นหรือมีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท โดยชำระราคาผ่านบริการของบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (Thailand Clearing House: TCH) ซึ่งมีระบบงานที่เชื่อมโยงกับระบบบาทเนต โดยมีขั้นตอนคือผู้ที่ตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ และต้องการจะชำระราคาผ่านระบบบาทเนต โดยแจ้งกับ Broker ของตนเพื่อจะได้ส่งข้อมูลไปให้ TCH ส่งคำสั่งโอนเงินไปที่ ธปท. โดยแจ้งให้โอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อที่ธนาคาร A ไปยังบัญชีผู้ขายที่ธนาคาร B เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ธปท. ก็จะโอนเงินจากบัญชีธนาคาร A ไปบัญชีธนาคาร B และยืนยันการทำรายการกับธนาคาร A และธนาคาร B

ข้อดีของการใช้บริการโอนเงินบาทเนต

เป็นระบบงานที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม

รองรับการโอนเงินมูลค่าสูง โดยไม่จำกัดจำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้

ค่าธรรมเนียมกรณีโอนเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตจะถูกกว่าการโอนเงินประเภทอื่น​

ข้อควรระวังในการใช้บริการโอนเงินบาทเนต

แม้ว่าขั้นตอนการโอนเงินผ่านระบบบาทเนตระหว่าง ธปท. กับธนาคารพาณิชย์จะมีผลสมบูรณ์ทันที (real time) แต่ขั้นตอนที่ธนาคารพาณิชย์โอนเงินเข้าบัญชีลูกค้านั้นอาจใช้เวลาในการดำเนินการอยู่บ้าง ผู้รับโอนจึงยังไม่ได้รับเงินในทันที แต่จะได้รับเงินภายในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับระยะเวลาในการดำเนินการของธนาคารผู้โอนเงินและธนาคารผู้รับเงินแต่ละแห่ง

ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการโอนเงินบาทเนต

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

3. การหักเงินจากบัญชีบุคคลอื่นอัตโนมัติ (Debit Transfer/Direct Debit) และการนำเงินเข้าบัญชีบุคคลอื่นอัตโนมัติ (Credit Transfer/Direct Credit) คืออะไร​

การหักเงินและนำเงินเข้าบัญชีบุคคลอื่นอัตโนมัติ เป็นระบบงานที่ธนาคารให้บริการแก่ลูกค้าในการโอนเงินให้กับบุคคลอื่น หรือเรียกเก็บเงินจากบุคคลอื่น ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ มีมูลค่าการโอนเงินไม่สูง แต่มีปริมาณรายการมาก ​และมีรอบการชำระเงินแน่นอน (Bulk Payment)

3.1 การหักเงินจากบัญชีบุคคลอื่นอัตโนมัติ (Debit Transfer/Direct Debit)

เป็นบริการสั่งโอนเงิน (เรียกเก็บเงิน) จากบัญชีผู้จ่ายเงินเข้าบัญชีลูกค้าของธนาคาร (ผู้รับชำระ) เพื่อรับชำระค่าซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต ค่าผ่อนชำระ ค่าซื้อหลักทรัพย์ ค่าสมาชิก ซึ่งในปัจจุบันมีเฉพาะบริการภายในธนาคารเดียวกัน (Inhouse Direct Dedit) เท่านั้น ยังไม่มีบริการระหว่างธนาคาร​

ขั้นตอนการใช้บริการ ผู้รับชำระเงิน (หรือเจ้าหนี้/Biller) ซึ่งเป็นผู้ส่งคำสั่งเรียกเก็บเงินจะต้องสมัครขอใช้บริการ Direct Debit กับธนาคาร และผู้จ่ายเงินก็ต้องสมัครและให้ความยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝาก เมื่อถึงรอบการชำระเงิน ผู้รับชำระเงินจะส่งข้อมูลการเรียกเก็บเงิน (เช่น จำนวนเงิน วันที่ครบกำหนดชำระเงิน) ให้แก่ธนาคาร และแจ้งผู้จ่ายเงินให้ทราบ เมื่อถึงวันที่ชำระเงิน ธนาคารก็จะหักเงินจากบัญชีผู้จ่ายเงินและนำเงินเข้าบัญชีของผู้รับชำระเงิน 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
​​

3.2 การนำเงินเข้าบัญชีอัตโนมัติ (Credit Transfer/Direct Credit)

​เป็นบริการสั่งโอนเงินจากบัญชีลูกค้าของธนาคารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท/ห้างร้าน (ผู้จ่าย) เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงิน ซึ่งอาจมีบัญชีอยู่ภายในธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคารกันก็ได้ เช่น เงินเดือนค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ เงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทบริการได้เป็น (1) บริการโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน (Inhouse Direct Credit) เป็นบริการโอนเงินที่ทั้งบัญชีผู้สั่งโอนและผู้รับโอนเป็นบัญชีของธนาคารเดียวกัน (2) บริการโอนเงินระหว่างธนาคาร หรือที่เรียกว่า Interbank Bulk Payment ซึ่งให้บริการระบบโดยบริษัท National ITMX เพื่อให้บริการโอนเงินกรณีที่ผู้โอนเงินและผู้รับเงินมีบัญชีอยู่กับคนละธนาคารกัน โดยปัจจุบันมีบริการ 2 ประเภท คือ เป็นการโอนเงินระหว่างธนาคารที่ผู้รับโอนจะได้รับเงินในวันเดียวกับที่ผู้โอนส่งคำสั่งโอนเงิน เป็นการโอนเงินระหว่างธนาคารที่ผู้รับโอนจะได้รับเงินในวันทำการถัดไปนับจากวันที่ผู้โอนส่งคำสั่งโอนเงิน • ITMX Bulk Payment Credit Transfer - Same Day • ITMX Bulk Payment Credit Transfer - Next Day

​ ​

ขั้นตอนการใช้บริการ ผู้จ่ายเงินซึ่งเป็นผู้ส่งคำสั่งโอนเงิน จะต้องสมัครขอใช้บริการนำเงินเข้าบัญชีอัตโนมัติ (Direct Credit) กับธนาคาร และตกลงจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้รับชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชี เมื่อถึงรอบการชำระเงิน ผู้จ่ายเงินจะส่งข้อมูลการโอนเงิน (เช่น เลขที่บัญชีและจำนวนเงินที่โอนให้ผู้รับชำระเงินแต่ละราย) ให้ธนาคารเพื่อให้หักเงินจากบัญชีผู้จ่ายเงินในวันครบกำหนดการชำระเงิน และนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากผู้รับชำระเงิน

เงื่อนไขการใช้บริการ Debit Transfer/Credit Transfer

บริษัท ห้างร้าน และประชาชนทั่วไป ที่ต้องการใช้บริการของระบบ จะต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน

กรณีโอนเงินระหว่างธนาคาร สามารถใช้บริการ โดยทำข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสมาชิกของระบบ Bulk Payment เท่านั้น

ช่วงเวลาการส่งข้อมูล อาจส่งข้อมูลล่วงหน้าหรือส่งข้อมูลในวันที่ถึงกำหนดเวลาการหักเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีแล้วแต่ประเภทบริการ 

รูปแบบของข้อมูล ผู้ส่งข้อมูลต้องจัดทำตามรูปแบบของแต่ละธนาคารซึ่งมีรูปแบบไม่เหมือนกัน

ข้อดีของการใช้บริการ Debit Transfer/Credit Transfer​

ผู้โอนสามารถจัดทำกระแสเงินสด (cash flow) ได้ง่าย เพราะทราบจำนวนเงินที่แน่นอนและกำหนดเวลาชำระเงินล่วงหน้า และสามารถตรวจสอบรายการหักบัญชีได้จากสมุดคู่ฝากหรือ Statement 

ลูกค้าสามารถใช้ข้อมูลจากธนาคารเพื่อนำไปตรวจสอบและบันทึกบัญชี

ไม่ต้องเสียเวลาในการเขียนเช็คหรือนำเงินสดไปชำระเงินที่เคาน์เตอร์ผู้ให้บริการ รับชำระเงิน (Bill Payment) เพิ่มความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย ​

ค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคารแบบ Bulk Payment ถูกกว่าการโอนเงินระหว่างธนาคารประเภทอื่น

ข้อควรระวังในการใช้บริการ Debit Transfer/Credit Transfer

ควรศึก​ษาเงื่อนไขการให้บริการของธนาคารแต่ละแห่ง เช่น ค่าธรรมเนียม ช่วงเวลาที่ตัดเงิน/ได้รับเงิน วิธีการส่งข้อมูลให้กับธนาคาร

กรณีที่ต้องการใช้บริการโอนเงินระหว่างธนาคาร ควรตรวจสอบว่าธนาคารของผู้โอนเงินและธนาคารผู้รับเงิน เป็นสมาชิกในระบบ Bulk Payment


ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน Direct Debit/Direct Credit (Bulk Payment)

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

4. การโอนเงินระหว่างประเทศ (Remittance) คืออะไร

การโอนเงินระหว่างประเทศ คือ ารโอนเงินจากคนหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่งที่อยู่คนละประเทศกัน ผ่านผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนผู้รับโอนเงิน เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบต่างประเทศ (เช่น Western Union, MoneyGram) เช่น การโอนเงินของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศกลับมาให้ครอบครัวในประเทศไทย รือการโอนเงินจากพ่อแม่ในประเทศไทยไปให้บุตรที่ศึกษาในต่างประเทศ

ขั้นตอนการใช้บริการ เริ่มจากลูกค้าสั่งโอนเงินและให้เงินผ่านตัวแทนผู้รับโอนเงิน (ตัวแทนฯ) ที่ตั้งอยู่ในประเทศต้นทาง จากนั้นตัวแทนฯ จะแจ้งเครือข่ายปลายทางของผู้รับโอนเงิน เพื่อให้เตรียมจ่ายเงินให้กับบุคคลที่ผู้โอนเงินแจ้งไว้ ทั้งนี้ ตัวแทน ฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศทั้งสองประเทศอาจเป็นธนาคารหรือบริษัทเอกชนก็ได้

ตัวอย่าง สมชายไปทำงานที่ประเทศอังกฤษ และต้องการส่งเงินให้สมศรีและลูกที่ประเทศไทย จำนวน 1,000 ปอนด์สเตอริง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1) สมชายติดต่อบริษัทรับโอนที่อยู่ในประเทศอังกฤษเพื่อใช้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ในอัตราแลกเปลี่ยนและค่าธรรมเนียมที่บริษัทกำหนดไว้ ดยสมชายจะได้รับหลักฐานการโอนเงินเก็บไว้
2) บริษัทที่รับโอนที่ประเทศอังกฤษทำการแจ้งแก่เครือข่ายสาขาของผู้โอนเงินในประเทศไทยทราบ
3) สมชายแจ้งแก่สมศรีว่าได้โอนเงินให้แล้ว
4) สมศรีจะต้องนำหลักฐานตามที่บริษัท ฯ กำหนด เช่น หมายเลขอ้างอิงการโอนเงิน บัตรประจำตัวประชาชนไปแสดง เพื่อรับเงินเป็นเงินบาทจำนวนเทียบเท่ากับ 1,000 ปอนด์สเตอริง​

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม

ข้อดีของการใช้บริการ Remittance

มีความสะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องมีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน และสามารถรับเงินได้รวดเร็วกว่าวิธีอื่น เช่น เช็คเดินทางต่างประเทศ ดราฟต์ 

ข้อควรระวังในการใช้บริการ Remittance

ผู้โอนต้องไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการรับเงินให้แก่คนอื่นนอกจากผู้รับโอน ช่น รหัสหรือหมายเลขกำกับการโอนเงิน ชื่อผู้โอน ชื่อผู้รับโอน จำนวนเงินที่โอน ประเทศที่โอน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสวมรอยไปรับเงินแทน

ผู้โอนควรโอนเงินให้แก่บุคคลที่รู้จักตัวตนเท่านั้น พื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพซึ่งหลอกให้โอนเงิน โดยอ้างเหตุต่างๆ ให้รู้สึกรัก โลภ หรือสงสาร เช่น โอนให้คนที่รู้จักกันทางแชทรูม (Chat Room) โอนไปลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ๆ หรือเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการรับเงินก้อนใหญ่ (รางวัลลอตเตอรี่หรือเงินมรดก) หรือโอนเงินตามที่ได้รับแจ้งทางอีเมลจากคนรู้จักที่ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน


ควรศึกษาค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ เนื่องจากค่าธรรมเนียมไม่ว่ากรณีรับเงิน (Inward Remittance) และส่งเงิน (Outward Remittance) อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสกุลเงิน จำนวนเงินที่โอนหรือรับโอน และช่องทางการใช้บริการ เช่น เคาน์เตอร์ Internet Banking  รวมทั้งอาจมีการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำด้วย

ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการโอนเงิน Ramittance

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

​​เรื่องที่น่าสนใจ 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ค่าธรรมเนียม
 

โอนเงินกสิกรมีค่าธรรมเนียมไหม

โอนให้ผู้รับที่มีบัญชีธนาคารอื่น ไม่เกิน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียม 25 บาท / รายการ 10,001 - 50,000 บาท ค่าธรรมเนียม 35 บาท / รายการ

โอนเงินต่างธนาคารค่าธรรมเนียมเท่าไร

โอนเข้าบัญชีธนาคารอื่นในประเทศ ไม่เกิน 10,000 บาท ค่าธรรมเนียม 50 บาท / รายการ 10,001-20,000 บาท ค่าธรรมเนียม 60 บาท / รายการ 20,001-30,000 บาท ค่าธรรมเนียม 70 บาท / รายการ 30,001-40,000 บาท ค่าธรรมเนียม 80 บาท / รายการ

ออมสินโอนเงินต่างธนาคารเสียค่าธรรมเนียมไหม

หมายเหตุ : พื้นที่ กทม. / ปริมณฑล หมายถึง สาขาธนาคารที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนครปฐม ค่าธรรมเนียมการโอนเงินต่างจังหวัดของธนาคารออมสิน คิดในอัตรา 1 บาท ต่อยอดเงินโอน 1,000 บาท เศษของพันนับเป็นหนึ่งพัน ทั้งนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมสูงสุด ไม่เกิน 750 บาทต่อ ...

โอนเงินธนาคารไหนไม่เสียค่าธรรมเนียม

สรุป "ฟรีค่าธรรมเนียม" ธุรกรรมออนไลน์ ธนาคารไหนฟรีอะไรบ้าง.
1. ธนาคารไทยพาณิชย์.
2. ธนาคารกสิกรไทย.
3. ธนาคารกรุงไทย.
4. ธนาคารกรุงเทพ.
5. ธนาคารทหารไทย.
6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.
7. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์.
8. ธนาคารเกียรตินาคิน.