คัตเอาต์ชนิดฟิวส์แบบเปิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คัตเอาต์ชนิดฟิวส์แบบเปิด

สะพานไฟ, คัตเอาต์ (อังกฤษ: cut-out) หรือ ตัวตัดวงจร, เซอร์กิตเบรกเกอร์ (อังกฤษ: circuit breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟฟ้าออกจากวงจรไฟฟ้า เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้

สะพานไฟแบบคันโยก[แก้]

สะพานไฟจะตัดการจ่ายไฟเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านมากเกินกว่าที่กำหนดหรือเกิดการลัดวงจรภายในวงจรไฟฟ้า โดยใช้ฟิวส์ที่ติดดยู่ในสะพานไฟ เป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้า โดยสะพานไฟมีส่วนประกอบหลัก คือ

  1. คันโยก สำหรับเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า
  2. ฟิวส์
  3. ฉนวนกระเบื้อง เป็นฉนวนไว้ป้องกันกระแสใหลผ่านในส่วนที่มีฟิวส์ติดอยู่ (ส่วนนี้จะติดกับผนัง)
  4. ฉนวนพลาสติก (ฝาครอบ)
  5. สายไฟ
  6. แผ่นทองแดง สำหรับเป็นตัวนำไฟฟ้าเข้าสู่ตัวบ้าน และเป็นขั้วระหว่างคันโยกกับตัวนำไฟฟ้าที่ส่งเข้าสู่บ้าน

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์[แก้]

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟฟ้า เพื่อจำกัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านตัวมันเกินพิกัด โดยทั่วไปจะใช้เป็นตัวหลัก (Main) สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Over Current) กระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เมื่อเกิดความผิดปรกติของวงจรมันจะทำหน้าที่ปลดวงจร (Open Circuit) โดยอัตโนมัติ และสามารถเปิดใช้งานใหม่ได้เมื่อวงจรไฟฟ้าเป็นปรกติ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์นำไปใช้ในอาคาร สถานที่ที่มีการใช้กำลังไฟฟ้ามาก ๆ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อาคารสูง มีขนาดตามพิกัด เช่น 800, 1000, 1250, 1600, 2000, 2500, 3200, 4000 แอมแปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์จะต้องสามารถทนกระแสฉับพลัน (Interrupting Current) มีหน่วยเป็น กิโล-แอมแปร์ (Kilo-Ampere) หรือ KA. ซึ่งเป็นตัวกำหนดพิกัดของแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์อีกค่าหนึ่งด้วย เช่น 42,65,100 กิโล-แอมแปร์ (1 Kilo-Ampere = 1000 Ampere)

อ้างอิง[แก้]

  • ข้อมูลเกี่ยวกับสะพานไฟ เก็บถาวร 2009-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

คัตเอาต์ชนิดฟิวส์แบบเปิด

สะพานไฟ คัทเอาท์ตราช้าง 60A  2 สาย สำหรับป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน

160 ฿

8858765203141 คัทเอาท์ 2 สาย 60A ช้าง

  • รายละเอียด

รายละเอียด

สะพานไฟ คัทเอาท์ตราช้าง 60A  2 สาย สำหรับป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน

สะพานไฟ คัทเอาท์ตราช้าง 60A  2 สาย สำหรับป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน

การใช้งานสะพานไฟ

สำหรับครัวเรือนทั่วไปที่มีไฟฟ้าใช้งานเมื่อยุคหลายสิบปีก่อน ในยุคนั้นเบรกเกอร์ยังไม่แพร่หลายเท่าทุกวันนี้ ก็มักจะใช้อุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าที่เป็นสะพานไฟหรือคัทเอาท์ และฟิวส์กระเบื้อง เป็นอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกนำมาประกอบติดตั้งไว้บนแผงไม้ อยู่ในรูปของแผงสวิทช์นั่นเอง

และในยุคต่อมา เนื่องจากเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ทำให้เบรกเกอร์เริ่มเข้ามาแทนที่สะพานไฟ และเบรกเกอร์ก็ได้กลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานของบ้านเรือนยุคปัจจุบันไปในที่สุด แต่ในปัจจุบันสะพานไฟก็ยังมีหลงเหลือให้เห็น และยังมีใช้งานอยู่บ้าง ตามบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในยุคก่อนๆ และโดยเฉพาะตามบ้านเรือนในต่างจังหวัด

หน้าที่หลักของสะพานไฟ

สะพานไฟ มีหน้าที่เป็นสวิทช์ที่ใช้สำหรับปลดสับวงจรไฟฟ้า และโดยพื้นฐานนั้น สะพานไฟจะมีจุดต่อที่ออกแบบสำหรับใส่ฟิวส์ เพื่อที่ว่าหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด ฟิวส์ที่ใส่อยู่ในสะพานไฟ จะหลอมละลายและตัดวงจรไฟฟ้าออกก่อนที่จะเกิดอัคคีภัย

ส่วนประกอบของสะพานไฟ

ส่วนประกอบหลักๆที่อยู่ในสะพานไฟแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ตัวนำ, ฉนวน และฟิวส์

ตัวนำ ของสะพานไฟ มักจะใช้เป็นโลหะจำพวกทองแดงหรือทองเหลือง

ฉนวน ที่ใช้บนสะพานไฟนั้นทำจากวัสดุ 2 ชนิดด้วยกัน อย่างแรกคือกระเบื้องที่ใช้เป็นฉนวนส่วนมือจับและยังใช้เป็นฐานรองของสะพานไฟ ฉนวนอีกชนิดจะทำจากพลาสติก ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นฝาครอบของสะพานไฟนั่นเอง

ฟิวส์ แบบที่ใช้งานกับสะพานไฟได้แก่ ฟิวส์ก้ามปู และ ฟิวส์แบบเส้นลวด โดยที่ฟิวส์แบบเส้นลวดจะเป็นแบบดั้งเดิมที่ถูกใช้มาตั้งแต่แรก แต่ฟิวส์แบบก้ามปูเพิ่งถูกผลิตขึ้นมาใช้ในช่วงยุคหลัง

ความปลอดภัยของสะพานไฟ

สะพานไฟหรือคัทเอาท์แบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปตามอาคารบ้านเรือนในยุคก่อนๆ ด้านความปลอดภัยในการใช้งานเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ในกลุ่ม เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ก็เห็นได้ชัดว่าสะพานไฟมีความปลอดภัยที่น้อยกว่า ซึ่งยังไม่นับเรื่องความไม่สะดวกในการใช้งาน ที่ต้องคอยเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้งที่ฟิวส์ขาด และการใช้งานสะพานไฟหากปลดสับสะพานไฟขณะที่มีโหลดที่กินกระแสสูงๆต่อใช้งานอยู่ ก็จะเกิดประกายไฟอาร์คบริเวณหน้าสัมผัส ความรุนแรงมากน้อยก็ขึ้นกับปริมาณกระแสที่ใช้งานในขณะนั้น ซึ่งค่อนข้างจะน่ากลัวสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

บทเรียนจากเพลิงไหม้ที่ผ่านมา

สะพานไฟหรือคัทเอาท์ (Cut Out) เป็นส่วนหนึ่งของเหตุเพลิงไหม้ในอดีตที่ผ่านมา เนื่องด้วยในอดีตจะนิยมนำมาใช้เป็นเมนสวิทช์ควบคุมระบบไฟฟ้าของบ้านทั้งหลัง เหตุการณ์เพลิงไหม้หลายๆครั้งที่เกิดขึ้นต้นตอของการเกิดเพลิงไหม้ที่แท้จริง จากการตรวจสอบหลักฐานและจากปากคำของผู้เห็นเหตุการณ์ มีหลายกรณีในอดีต ที่ต้นเพลิงเกิดจากสะพานไฟหรือคัทเอาท์ ที่ติดอยู่บนแผงสวิทช์ของบ้าน

การเกิดเพลิงไหม้โดยที่สาเหตุต้นเพลิงมาจากสะพานไฟ อันดับแรกคือเกิดจากการใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์ ทำให้ไม่มีการป้องกันจากฟิวส์

และนอกจากนั้นเพลิงไหม้อาจจะเกิดจากอีกสาเหตุหนึ่ง คือเกิดความร้อนสะสมตามจุดต่อและหน้าสัมผัสของสะพานไฟ เนื่องจากโลหะตัวนำไฟฟ้าที่นำมาใช้ทำสะพานไฟ ส่วนใหญ่คุณภาพจะไม่ค่อยบริสุทธิ์เท่าที่ควร และเมื่อโลหะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตลอดเวลาประกอบกับการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้โลหะเกิดการอ๊อกไซด์ที่ผิว(เหมือนการที่เหล็กเกิดสนิม) ผิวของโลหะที่เป็นส่วนของตัวนำและหน้าสัมผัส จึงมีคราบสกปรกและคราบอ๊อกไซด์ติดอยู่ คราบเหล่านี้เป็นตัวขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้า เกิดความต้านทานที่จุดนั้นขึ้น และเกิดเป็นความร้อนสะสม รวมถึงยังมีปัญหาหน้าสัมผัสไม่แน่น หลังจากใช้งานไปนานๆ เพราะเกิดการกัดกร่อนและโลหะเสียรูป ตลอดจนเรื่องการต่อสายที่ไม่แน่น เนื่องจากสกรูของจุดต่อสายไฟหลวม และขาดการตรวจสอบบำรุงรักษา

ด้วยปัจจัยที่ว่ามานี้ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้เกิดความร้อนสูงสะสมอยู่ จนท้ายที่สุดก็จะเกิดการอาร์คและเกิดประกายไฟขึ้น นำมาสู่การลุกไหม้ฝาครอบพลาสติกของสะพานไฟเพราะพลาสติกที่ใช้ส่วนใหญ่ไม่ใช่เกรดที่ทนไฟ หากไม่มีใครมาพบเห็นหรือแก้ไขได้ทัน มันก็จะลุกไหม้กับเชื้อไฟที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งก็ได้แก่แผงไม้ที่ติดตั้ง นำมาสู่อัคคีภัยเผาพลาญอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะในสมัยก่อนที่บ้านเรือนปลูกสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ยิ่งหากเป็นห้องแถวไม้ที่อยู่ในตลาดก็จะกลายเป็นอัคคีภัยครั้งใหญ่ ที่เกิดจากสะพานไฟในบ้านต้นเพลิงเพียงหลังเดียว

หากในตอนนี้ที่บ้านของท่านยังคงมีสะพานไฟติดตั้งใช้งานอยู่อีก ก็ควรตรวจสอบสะพานไฟให้อยู่ในสภาพที่ดี คันโยกต้องสามารถปลดสับได้แน่นพอดีไม่ฝืดจนเกินไป รวมไปถึงสกรูของจุดที่เป็นขั้วต่อสายไฟจะต้องขันไว้ให้แน่น และที่สำคัญห้ามใช้ลวดทองแดงหรือโลหะอื่นๆแทนฟิวส์เด็ดขาด

หรือทางที่ดีสุด หากสะพานไฟที่มีใช้อยู่ ถูกติดตั้งบนแผงไม้ และใช้งานมานานเกินสิบปี เป็นไปได้ก็ควรจะเปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์แทน หรือไม่ก็เปลี่ยนทั้งแผงมาใช้เป็นตู้ควบคุมไฟฟ้าแบบสมัยใหม่ อย่างเช่นตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตหรือตู้โหลอดเซ็นเตอร์ จะเป็นการดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อแบบขนาน ซึ่งเป็นการต่อวงจรทำให้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดอยู่คนละวงจร ซึ่งถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติเพราะไม่ได้อยู่ในวงจรเดียวกัน ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ การส่งพลังงานไฟฟ้าเข้าบ้านจะใช้สายไฟ 2 เส้น คือ
1. สายกลาง หรือสาย N มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์
2. สายไฟ หรือสาย L มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 220 โวลต์
โดยปกติสาย L และสาย N ที่ต่อเข้าบ้านจะต่อเข้ากับแผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านอย่างมีระบบ บนแผงควบคุมไฟฟ้ามักจะประกอบด้วย ฟิวส์รวม สะพานไฟรวม และสะพานไฟย่อย โดยสะพานไฟย่อยมีไว้เพื่อแยกและควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้าย่อย ตามส่วนต่างๆ ของบ้านเรือน เช่น วงจรชั้งล่าง วงจรชั้นบน วงจรในครัว เป็นต้น

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟฟ้า เพื่อจำกัดกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านตัวมันเกินพิกัด โดยทั่วไปจะใช้เป็นตัวหลัก (Main) สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Over Current) กระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เมื่อเกิดความผิดปรกติของวงจรมันจะทำหน้าที่ปลดวงจร (Open Circuit) โดยอัตโนมัติ และสามารถเปิดใช้งานใหม่ได้เมื่อวงจรไฟฟ้าเป็นปรกติ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์นำไปใช้ในอาคาร สถานที่ที่มีการใช้กำลังไฟฟ้ามาก ๆ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อาคารสูง มีขนาดตามพิกัด เช่น 800, 1000, 1250, 1600, 2000, 2500, 3200, 4000 แอมแปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์จะต้องสามารถทนกระแสฉับพลัน (Interrupting Current) มีหน่วยเป็น กิโล-แอมแปร์ (Kilo-Ampere) หรือ KA. ซึ่งเป็นตัวกำหนดพิกัดของแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์อีกค่าหนึ่งด้วย เช่น 42,65,100 กิโล-แอมแปร์ (1 Kilo-Ampere = 1000 Ampere)

สะพานไฟ (Cut Out) กับภัยเงียบที่ซ่อนเร้น

บทความฉบับนี้ขอหยิบยกเอาเรื่องของ สะพานไฟ หรือคัทเอาท์ (Cut Out) ที่ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพื้นฐานพบเห็นได้ทั่วไป และยังอยู่ใกล้ตัวผู้ใช้มาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน แม้ว่าในบางที่อาจกลายเป็นของล้าสมัยที่เลิกใช้งานไปแล้วก็ตาม แต่สะพานไฟที่ดูผิวเผินแล้วอาจจะเห็นว่าดูธรรมดาๆ ก็อาจจะมีความไม่ธรรมดาแฝงอยู่

สำหรับ สะพานไฟหรือคัทเอาท์ (Cut Out) หลายท่านก็คงจะนึกภาพออก ซึ่งมันก็คืออุปกรณ์ปลดสับวงจรไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่เคยได้รับความนิยมและพบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านเรือนยุคก่อน แต่เพราะการใช้สะพานไฟดูจะไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ประกอบกับเรามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าคือการใช้เบรกเกอร์ จึงทำให้ความนิยมในปัจจุบันค่อยๆลดลงไป

สะพานไฟใช้งานกันในบ้านเราจะมีอยู่สองรูปแบบลักษณะ คือแบบที่มีช่องสำหรับใส่ฟิวส์ และอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่มีช่องสำหรับให้ใส่ฟิวส์ ใช้เป็นสวิทช์เลือกสับสองทางบางที่อาจจะเรียกว่า “สวิทช์ใบมีดสับ 2 ทาง”

แต่ในบ้านเรือนทั่วไปนิยมใช้สะพานไฟแบบที่มีช่องสำหรับใส่ฟิวส์ ซึ่งเราคุ้นเคยกันดีในชื่อ “คัทเอาท์”

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ป้องกันความปลอดภัย ในกรณีที่การทำงานของไฟฟ้าเกิดความขัดข้อง โดยสามารถเปิด-ปิดวงจรโดยแบบไม่อัตโนมัติและสามารถเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ได้ ที่สำคัญยังสามารถปิดหรือต่อวงโคจรได้ทันที หลังแก้ปัญหาที่พบได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

เซอร์กิตเบรกเกอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Miniature Circuit Breaker (MCBs) เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่มักใช้ติดตั้งร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย หรือแผงจ่ายไฟในห้องพักอาศัยทั่วไป ซึ่งเบรกเกอร์ชนิดนี้จะไม่สามารถปรับตั้งค่าการตัดวงจรไฟฟ้าได้ แต่อาศัยการปลดวงจรแบบ thermal และmagnetic เหมาะสำหรับใช้ในบ้านหรืออาคารที่มีกระแสไฟฟ้าที่ไม่เกิน 100Aมี 1-4 Pole โดยสามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้าเฟส 1 เฟส 2 และเฟส 3 ส่วนที่นิยมใช้กันคือ Plug-on และ Din-rail

2. Resident Current Devices (RCDs) เป็นเบรกเกอร์ที่สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีที่เกิดไฟรั่ว ไฟดูดและไฟช๊อต โดยอัตโนมัติตามตำแหน่งที่ตั้งไว้ มีการติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิทและตู้ควบคุมไฟฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

Residual Current Circuit Breakers (RCCBs) เป็นแบบที่จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดการรั่วไหลเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้ตัดการลัดวงจรของกระแสไฟได้ ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเบรกเกอร์ขนาดเล็ก
Residual Current Circuit Breakers with Overload protection (RCBOs) เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันไฟดูดหรือไฟช๊อตพร้อมเบรกเกอร์ในตัว ด้วยคุณสมบัติที่จะช่วยตัดไฟได้ในเวลาที่มีไฟรั่วหรือมีกระแสลัดวงจร
3. Moulded Case Circuit Breaker (MCCB) นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีคุณสมบัติที่ทนกระแสลัดวงจร และยังสามารถรองรับกระแสที่สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อยได้ โดยจะใช้ได้ตั้งแต่กระแสไฟ 100-2300A การเลือกใช้ MCBกับMCCB ต้องดูที่ค่าพิกัดกระแสลัดวงจรสูงสุดที่ปลอดภัยของเบรกเกอร์ตัวนั้นๆ เป็นสำคัญ

4. Air Circuit Breaker (ACB) เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำโดยสามารถป้องกันสายเมน ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าแรงสูง มีลักษณะโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อให้รองรับกระแสไฟได้ โครงสร้างทำด้วยเหล็กซึ่งจะมีช่อง Arcing chamber มีการตรวจจับและวัดค่ากระแสไฟด้วยอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ทนทานต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงถึง 6300A มีราคาแพง ถูกติดตั้งไว้ในตู้ MDA โดยมีทั้งที่ติดตั้งอยู่กับที่และแบบถอดออกได้ เป็นชนิดที่สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมเข้าไปได้ตามความต้องการ

การใช้เบรกเกอร์เซอร์กิต ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับอาคารหรือสถานที่ต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะเลือกเบรกเกอร์ที่ได้รับรองตามมาตรฐานสากลอีกด้วย อาคารหรือสถานที่นั้นๆ จึงจะมีความปลอดภัยจากกระแสไฟลัดวงจร ไฟดูด หรือไฟช๊อตได้


ขนาดสะพานไฟ  สะพานไฟ (Cut out)  สะพานไฟในขนาดต่าง ๆ  สะพานไฟ หรือคัทเอาท์ (Cut Out)    การติดตั้งคัตเอาต์ (Cut Out)  สะพานไฟ ราคา  สะพานไฟ คัทเอาท์ตราช้าง

ฟิวส์ชนิดใดต้องใช้กับคัตเอาต์

ฟิวส์ แบบที่ใช้งานกับสะพานไฟได้แก่ ฟิวส์ก้ามปู และ ฟิวส์แบบเส้นลวด โดยที่ฟิวส์แบบเส้นลวดจะเป็นแบบดั้งเดิมที่ถูกใช้มาตั้งแต่แรก แต่ฟิวส์แบบก้ามปูเพิ่งถูกผลิตขึ้นมาใช้ในช่วงยุคหลัง ความปลอดภัยของสะพานไฟ

สะพานไฟต่อแบบไหน

วิธีใช้สะพานไฟ ถ้าต้องการต่อวงจรให้ใช้กระแสไฟฟ้าได้ตามปกติต้องดันคันโยกขึ้น แต่ถ้าดันคันโยกลงมาจะตัดวงจรไฟฟ้า เช่น เมื่อต้องการซ่อมแซมหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า การดันคันโยกขึ้นต้องสับคันโยกของสะพานไฟให้แน่นสนิทกับที่รองรับ หากสัมผัสกันไม่แน่นสนิทจะเกิดความร้อน ตรงจุดสัมผัส ทำให้ฟิวส์ขาดกระแสไฟฟ้าไม่ไหลในวงจรไฟฟ้า

คัทเอาท์คืออะไร

(ไฟฟ้า) อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้าออกจากวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าสูงเกินค่าที่กำหนดไว้ ต่อกับระบบวงจรไฟฟ้าใหญ่ของบ้านหรือของสถานที่นั้น ๆ เวลาจะต่อไฟในบ้านอย่าลืมยกคัตเอ๊าต์ตัดกระแสไฟก่อน

ฟิวส์ชนิดใดใช้ติดตั้งบนแผงจ่ายร่วมกับคัทเอาท์

ข. ปลั๊กฟิวส์(Plug fuse) ใช้ติดตั้งร่วมกับคัตเอาต์หรือสะพานไฟดังภาพที่ 4.6.