บ้านชั้นเดียว ใช้ เสาเข็ม กี่ ต้น

เสาเข็มต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? เพื่อความปลอดภัยและมั่นคง

หากจะกล่าวถึงการก่อสร้าง สิ่งที่สำคัญที่สุดและถือเป็นขั้นตอนแรกๆของการก่อสร้างเลยก็คือ การวางฐานราก หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า การลงเสาเข็มนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ทุกคนกังวลมากที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้ก็คงจะไม่หลุดไปจากเรื่องความยาวของเสาเข็ม จำเป็นต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? ถึงจะสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างข้างบนได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง วันนี้เข็มเหล็กมีคำตอบมาบอกให้ทุกคนได้กระจ่างกันครับ

บ้านชั้นเดียว ใช้ เสาเข็ม กี่ ต้น

บ้านชั้นเดียว ใช้ เสาเข็ม กี่ ต้น

โดยทั่วไปแล้วการลงเสาเข็มให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้นั้น ควรที่จะลงให้ลึกไปจนถึงชั้นดินดานหรือชั้นดินแข็ง เพื่อที่เสาเข็มจะได้รับแรงต้านจากทั้ง Skin Fiction (แรงเสียดทานจากพื้นผิวด้านข้าง) และ End Bearing (แรงเสียดทานจากปลายเสาเข็ม) ซึ่งหากเสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินดานแล้วนั้น ถ้าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินที่พึ่งถมได้ไม่นาน หรือเป็นดินเลน เคยเป็นบ่อน้ำเป็นบึงมาก่อน อาจส่งผลให้โครงสร้างเกิดการทรุดตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางกรณี บางพื้นที่มีดินชั้นบนที่แข็งมากจนไม่สามารถลงเสาเข็มไปได้ลึกกว่านี้อีกแล้ว ก็ยังสามารถใช้เสาเข็มแบบสั้นได้ แต่หากอยู่ในพื้นที่กรุงเทพอาจจะต้องใช้เสาเข็มแบบยาว เนื่องจากชั้นดินแข็งภายในพื้นที่กรุงเทพโดยปกติจะอยู่ลึกประมาณ 15 - 20 เมตร เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานมากพอที่จะไม่ทำให้โครงสร้างทรุดลงไปด้วย 

แต่หากจะพูดถึงการติดตั้งฐานรากเพื่อการต่อเติมนั้น คำถามที่คนส่วนมากจะสงสัยก็คือ ต้องใช้ฐานรากด้วยหรือ? ฐานรากต้องไปถึงดินดานด้วยหรือไม่? ซึ่งถ้าตอบตามจริงแล้ว การติดตั้งฐานรากลงไปให้ถึงชั้นดินแข็งอย่างไรก็ดีกว่าอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้างที่เชื่อมกับตัวบ้านซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของส่วนต่อเติม เนื่องจากไม่ได้ติดตั้งฐานรากหรืออาจติดตั้งฐานรากไปไม่ถึงชั้นดินแข็งหรือไม่ได้ระดับเดียวกับฐานรากของตัวบ้าน แต่ปัญหาที่หลายๆท่านต้องเจอก็คือ หากจะต้องติดตั้งฐานรากที่สามารถลงลึกไปถึงชั้นดินแข็งก็อาจจะต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อเข้าไปติดตั้งภายในหน้างาน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องพื้นที่ที่ต้องเข้าไปทำการก่อสร้างที่อาจจะมีไม่มากพอ ไหนจะต้องเคลียร์พื้นที่กันยกใหญ่ สนามหญ้าที่คุณรักก็อาจไม่เหลืออยู่เพราะจำเป็นต้องขุดดินเพื่อเตรียมการตอกเสาเข็ม แถมยังต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด มิหนำซ้ำแรงสั่นสะเทือนของการตอกเสาเข็มก็อาจจะสร้างความเสียหายและผลกระทบหลายๆอย่างกับตัวบ้านอีกด้วย

จะดีกว่าไหม? ถ้าวันนี้เข็มเหล็กจะขอเสนอทางออกที่ดีที่สุดให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่ถูกคิดค้นมาจากโจทย์ที่ลูกค้าถามเรามาตลอด เข็มเหล็กยาวกว่านี้ได้ไหม? ถึงดินดานไหม? จึงเกิดมาเป็น Kemrex Series D ฐานรากเข็มเหล็กที่ยาวที่สุดที่เคยมีมา รองรับน้ำหนักได้มากที่สุดกว่าที่เคยเป็น ลึกไปถึงดินดาน บวกกับการติดตั้งที่ไม่ก่อมลพิษ ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือน คุณจึงมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับฐานรากที่ตอบโจทย์คุณมากที่สุด เลือกฐานรากปลอดภัย มั่นใจ เลือกเข็มเหล็ก

ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณได้ที่ :

Facebook : m.me/Kemrexfanpage

Line@ : @Kemrex หรือคลิก! https://lin.ee/2ivBv5z

จากประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรรมมากกว่า 50 ปี ของ SUTEE GROUP ทำให้ทราบถึงปัญหาและความยุ่งยากของระบบฐ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ... อ่านเพิ่มเติม

สร้างบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น ต้องลงเสาเข็มขนาดเท่าไร และชนิดไหนถึงเหมาะสม เพื่อความแข็งแรงของบ้าน

บ้านชั้นเดียว ใช้ เสาเข็ม กี่ ต้น

สร้างบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น ต้องลงเสาเข็มขนาดเท่าไร และชนิดไหนถึงเหมาะสม เพื่อความแข็งแรงของบ้าน 

บ้านทรุด บ้านแตกร้าว โครงสร้างบ้านไม่แข็งแรง ถือเป็นปัญหายอดฮิตของคนสร้างบ้านและต่อเติมเลยทีเดียว หากไม่ต้องการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมก็ควรต้องตอกเสาเข็ม เพื่อรับน้ำหนักบ้านทั้งหลังไว้ ไม่ให้บ้านทรุดเสียหายในอนาคต แต่การจะเลือกใช้เสาเข็มให้เหมาะสมกับโครงสร้างบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องงานเลย ดังนั้นบทความนี้ Conventure จึงจะมามอบเกร็ดความรู้ในการเลือกเสาเข็มให้เหมาะกับการสร้างบ้านกัน ต้องการสร้างบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น ควรต้องเลือกเสาเข็มอะไร เพื่อที่จะได้บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง พร้อมแล้วมาเริ่มกันที่ทำความรู้จักกับประเภทเสาเข็มกันก่อนเลย

ประเภทของเสาเข็ม

  • เสาเข็มตอก

เสาเข็มคอนกรีตสำเร็จรูปในโรงงานที่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างบ้าน เป็นเสาเข็มที่มีวิธีการไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายไม่สูงจึงเป็นที่นิยมมาก แต่ข้อเสียคือจะเกิดแรงสั่นสะเทือนในการตอก และเคลื่อนที่ของดิน จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญบริการรับสร้างบ้านและทีมวิศวกรควบคุมการตอกเสาเข็มด้วย

  • เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ก่อนหน้า ตามด้วยการหล่อในที่หน้าบริเวณทำงาน เป็นวิธีการก่อสร้างบ้านที่ช่วยลดการเกิดแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม รวมถึงไม่เป็นการรบกวนอาคารหรือบ้านรอบข้างอีกด้วย ซึ่งการตอกเสาเข็มเจาะนั้นมีวิธีการตอกที่ค่อนข้างยุ่งยาก ต้องใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ลึกจนได้ขนาดความลึกและเส้นผ่าศูนย์กลางที่กำหนด จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญบริการรับสร้างบ้านและทีมวิศวกรควบคุมการตอกเสาเข็มด้วยเช่นกัน

  • เสาเข็มกลมเหวี่ยงอัดแรง

เสาเข็มที่ใช้วิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงจนทำให้เนื้อคอนกรีตความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยใช้วิธีธรรมดาทั่วไป มีโครงเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต ทำให้เสาเข็มประเภทนี้มีความแข็งแรงสูง รับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับสร้างอาคารขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสำหรับการก่อสร้างบ้าน

ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็ม

ก่อนที่จะตัดสินว่าควรเลือกใช้เสาเข็มแบบไหนดีในการสร้างบ้าน มาทำความเข้าใจถึงลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มให้ดีเสียก่อน โดยลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  1. การรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสของเสาเข็มกับดิน

เสาเข็มสั้นหรือเสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดิน โดยใช้แรงเสียดทานช่วยในการรองรับน้ำหนัก สำหรับการก่อสร้างบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่นิยมใช้ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มประเภทนี้ เนื่องจากสภาพดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นเป็นดินอ่อนนั่นเอง

  1. การรับน้ำหนักด้วยแรงกดลงถ่ายลงในชั้นดินแข็งหรือชั้นหิน

เสาเข็มยาว ซึ่งเป็นเสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคารลงในชั้นดิน ผ่านชั้นดินอ่อนและชั้นหินที่มีความแข็งแรง เพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเหมาะสำหรับการก่อสร้างบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัด

สร้างบ้าน 1 ชั้น และ 2 ชั้น เลือกเสาเข็มแบบไหนถึงเหมาะสม

โดยปกติแล้วการเลือกเสาเข็มในการสร้างบ้านนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือเรื่องของดินในจุดก่อสร้างบ้าน ดินมีความเหมาะสมกับเสาเข็มชนิดใด เนื่องจากดินแต่ละที่มีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่บริเวณใกล้เคียงกันก็ตาม อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วในกรณีที่สร้างบ้าน 1 ชั้น และ 2 ชั้น ผู้เชี่ยวชาญผู้ให้บริการรับสร้างบ้านส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้เป็นเสาเข็มคอนกรีตแบบเข็มตอก และเป็นเสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ ความยาวประมาณ 12 ถึง 16 เมตร ซึ่งเข็มในลักษณะนี้ส่วนมากจะอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวรองรับน้ำหนัก ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักของบ้านขนาดไม่เกิน 2 ชั้นอยู่แล้ว อีกทั้งเสาเข็มประเภทนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านให้กับเจ้าของบ้านได้ดีอีกด้วย

บ้านชั้นเดียว ใช้ เสาเข็ม กี่ ต้น

สร้างบ้าน 3 ชั้น เลือกเสาเข็มแบบไหนถึงบ้านถึงแข็งแรงไม่ทรุด

การสร้างบ้านขนาด 3 ชั้นขึ้นไป และอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก เช่น โกดัง และโรงงานผลิตสินค้า จำเป็นต้องเลือกใช้เสาเข็มที่รองรับน้ำหนักได้มาก เพื่อป้องกันการทรุดและเสาเข็มเกิดการ Fail ซึ่งเสาเข็มที่ผู้เชี่ยวชาญบริการรับสร้างบ้านเลือกใช้ก็มักจะเป็นเสาเข็มคอนกรีตแบบตอก และเป็นเสาเข็มรูปตัวไอเช่นเดียวกับการสร้างบ้านไม่เกิน 2 ชั้น เพียงแต่จะเป็นเสาเข็มที่มีความยาวขึ้น ประมาณ 18 ถึง 24 เมตร แล้วให้ทำการถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง เพื่อที่โครงสร้างของบ้านจะได้มีความมั่นคงแข็งแรง

เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงได้คำตอบกันแล้วใช่ไหมว่า หากต้องการสร้างบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น ควรต้องเลือกเสาเข็มแบบใด และความยาวประมาณเท่าไรในการก่อสร้างบ้าน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญนอกจากเสาเข็มแล้ว การพิจารณาเรื่องของดิน และสภาพแวดล้อมในการก่อสร้างบ้านเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยเลย หากต้องการให้บ้านมีโครงสร้างที่แข็งแรงมั่นคง ไม่ทรุดแน่นอน ควรเลือกขอคำแนะนำและเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญในการบริการรับสร้างบ้านจะดีที่สุด หากใครที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถปรึกษา Conventure บริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำของประเทศไทยได้