สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office

สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน
ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการเรียนรู้
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบรายงานการรับนักเรียน
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบสารสนเทศการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์
งานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มแผนและงบประมาณ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา
CATAS System Care And Trace Addiction in School System
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
การรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษา
NISPA การรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
การแข่งขันทางวิชาการนานาชาติ
โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนสู่สากล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบนายทะเบียนภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบบริหารงานบุคคล (HRMS)
สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านคุณภาพมัธยมศึกษา
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) Data Management Center
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (School MIS)
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
งานทะเบียน-วัดผล (SGS)
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
B-OBEC ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบกำหนดรหัสประจำตัวผู้เรียนเพื่อเข้ารับบริการการศึกษาสำหรับผู้ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร
กลุ่มระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบควบคุมข้อมูลอุปกรณ์อ่านบัตร
ระบบ Stock Smartcard Reader กรมการปกครอง
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบรายงานผลการบริหารงบประมาณ (สนผ.)
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบเบิกจ่ายและจัดการข้อมูลใบเสร็จรับเงิน สพฐ. (สคส.)
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง สพฐ. (สคส.)
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ฐานข้อมูลบัญชีกำหนดสื่อการเรียนรู้สำหรับเลือกใช้ในสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบรายงานการจ่ายเงินเดือน (e-SLIP)
สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ e-office
ระบบยื่นคำร้องขอเทียบวุฒิทางการศึกษาออนไลน์ สพฐ.

http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                   วันนี้ (13 กันยายน 2565)  เวลา 09.00 น.  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

                   1.       เรื่อง     ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                   2.       เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม
                   4.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   6.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....
                   7.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
                   8.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอื่นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี  พ.ศ. ....
                     9.       เรื่อง     ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ
                   10.      เรื่อง     ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   11.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 – 2566 ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง
                   12.      เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
                   13.      เรื่อง     ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
                   14.      เรื่อง     กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565
                   15.      เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาวัคซีนต้นแบบตั้งแต่ต้นน้ำและเตรียมความพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียม ความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
                   16.      เรื่อง     ภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2565
                   17.      เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560-2564 ประจำปี พ.ศ. 2564
                   18.      เรื่อง     การออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity: CI) ของทางการเมียนมา  ให้แก่แรงงานเมียนมาที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                   19.      เรื่อง     มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ ราคาพลังงาน
                   20.      เรื่อง     ขออนุมัติงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565  เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563
                   21.      เรื่อง     โครงการช่วยเหลือความเดือดร้อนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและค่าใช้จ่ายการให้บริการประชาชน เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                   22.      เรื่อง     ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2565                    23.      เรื่อง     เอกสาร “การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน”
                   24.      เรื่อง     แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE)
                   25.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลกของไทยที่จะผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน
                   26.      เรื่อง     การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม ปี ค.ศ. 2022 (ITU Plenipotentiary Conference 2022: PP-22) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
                   27.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 77
                   28.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT - GT)
                   29.      เรื่อง     ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
                   30.      เรื่อง     ร่างข้อตกลงการรับทุน (Grant Agreement) โครงการความร่วมมือ Phuket Smart City Technical Assistant Package ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และองค์การการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S Trade and Development Agency : USTDA)
                   31.      เรื่อง     ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 40 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                   32.      เรื่อง     การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 7
                   33.      เรื่อง     การร่วมรับรองต่อร่างเอกสารหลักการทั่วไป (Guiding Principles) และประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)
                   34.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาครั้งที่ 11 (AMMSWD ครั้งที่ 11) และร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ครั้งที่ 7 (AMMSED+3 ครั้งที่ 7)
                     35.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   36.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
                   37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
                   38.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   39.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                   40.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                   41.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                   42.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                   43.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                   44.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


  1. เรื่อง ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. รับไปพิจารณาปรับปรุงในรายละเอียด แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป
                   ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                   1. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 75 (8) บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองเพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมาตรา 7 บัญญัติให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองที่คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติจัดทำตามมาตรา 75 (8) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน
                   2. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ยกร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง มีสาระสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง (2) นิยามศัพท์ (3) ส่วนสาระสำคัญรายหมวด จำนวน 26 ข้อ ประกอบด้วย หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย จำนวน 7 ข้อ หมวด 2 หลักการพื้นฐาน จำนวน 14 ข้อ และหมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ จำนวน 5 ข้อ และนำไปรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
                   3. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามข้อ 2 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างธรรมนูญฯ
                   1. ส่วนที่ 1 : ส่วนนำ ได้แก่ บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแม่บทในการพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เป็นดัชนีชี้วัดเช่นเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก โดยขาดมาตรการรองรับเพื่อการถ่วงดุลระหว่างภาคส่วนของสังคมที่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหากับประเทศหลายประการ ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม เช่น การใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ระบบการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่ขาดสมดุล ผลกระทบจากภัยพิบัติสาธารณะ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่เมืองกับชนบท ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ให้จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้ “การผังเมือง” เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้น ๆ อีกทั้งได้กำหนดให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองต้องดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular - Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                   2. ส่วนที่ 2 : นิยามศัพท์ เช่น
                   “การวางผังเมือง” หมายความว่า กระบวนการให้ได้มาซึ่งผังเมือง ประกอบด้วย ผังนโยบายระดับประเทศ ผังนโยบายระดับภาค ผังนโยบายระดับจังหวัด ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
                   “เมืองอัจฉริยะ” หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประซากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัยให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน
                   3. ส่วนที่ 3 : ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งจำแนกเป็น 3 หมวด ได้แก่
                             3.1 หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย ได้แก่ รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ
                             3.2 หมวด 2 หลักการพื้นฐาน ได้แก่ การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                             3.3 หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ ได้แก่ การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์ การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน รายละเอียดดังนี้
                   1. ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง
                             1.1 ด้านกายภาพ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนพื้นที่ควรแก่การอนุรักษ์ ส่งผลให้เกิดการแผ่ขยายของเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ
                             1.2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำผู้ที่มีรายได้สูงจำนวนเพียงร้อยละสิบ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ในเกณฑ์ระดับต่ำ มีการสร้างงานเพิ่มขึ้นในเขตเมืองทำให้ประชากรวัยแรงงานในภาคชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่แหล่งงานในเมือง การขยายตัวของเมืองไร้ทิศทาง การจราจรแออัด ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเมือง
                             1.3 ด้านสังคม เกิดการอพยพของประชากรวัยแรงงานจากภาคชนบทเข้าสู่เมือง โดยทอดทิ้งให้ประชากรสูงอายุอยู่โดยลำพัง สร้างปัญหาครอบครัว
                             1.4 ด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมนำมาซึ่งปัญหาและภัยพิบัติสาธารณะที่ต้องประสบเป็นประจำทุกปี มลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดการสะสมของปัญหาต่อทุนทางธรรมชาติ เกิดความขัดแย้งที่แย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มคนในสังคมที่ครอบครองทรัพยากรไม่เท่าเทียมกัน การบริโภคที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบวินัยและกฎกติการ่วมกัน แปรเปลี่ยนสภาพสังคมไทยที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน กลายเป็นสังคมที่แก่งแย่งเพื่อความอยู่รอด ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                             1.5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ดังนี้ “จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่” อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้ “การผังเมือง” เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้น
                   2. ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
                             2.1 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน (มาตรา 7 และมาตรา 75 (8))
                             2.2 รัฐบาลได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้พื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีการกำหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองให้มีหน่วยงานระดับชาติกำกับดูแล และทำงานควบคู่ไปกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้มีกฎหมายเฉพาะเหมือนเป็นธรรมนูญการผังเมืองในการกำกับกฎหมายอื่น ๆ
                             2.3 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้
                                      2.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2015 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยเป้าหมายที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ยั่งยืน การลงทุนด้านการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียว การปรับปรุงการวางผังเมือง และการบริหารจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม
                                      2.3.2 วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (Habitat III) ได้มาซึ่งหลักการและแนวปฏิบัติที่ผ่านการทดลองแล้วเพื่อเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันของประชาคมโลก ในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และควรเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดอนาคตของเมือง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                                      2.3.3 ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านผังเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                                      2.3.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง คือ (1) ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และ (3) ด้านการพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
                                      2.3.5 โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular – Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
                   3. กำหนดให้มีนิยามศัพท์  ทั้งสิ้น 19 คำนิยาม เช่น “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล” “การวางผังเมือง” “พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม” “เมืองอัจฉริยะ” “อัตลักษณ์” เป็นต้น
                   4. กำหนดสาระรายหมวด ประกอบด้วยธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองหมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย
(ข้อ 1 - 7)หมวด 2 หลักการพื้นฐาน
(ข้อ 8 - 21)หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่
(ข้อ 22 - 26)ข้อ 1 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมือง
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ 2 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีผลผูกพันนำไปสู่การปฏิบัติ
ข้อ 3 รัฐพึงใช้ผังเมืองเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศและดำเนินการหรือสนับสนุนการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามที่ผังเมืองแต่ละระดับ
กำหนด
ข้อ 4 หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ
ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการให้เป็นไปตาม                   ผังเมืองที่กำหนด
ข้อ 6 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านผังเมือง
ทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมด้วยหลักสูตรต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 7 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับการดำเนินการในการจัดทำและปฏิบัติทางผังเมืองข้อ 8 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง
ประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก
ข้อ 9 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง
ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสาธารณประโยชน์
ข้อ 10 การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น
ข้อ 11 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการป้องกันสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อ 12 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจาก
การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ข้อ 13 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการสร้างความเชื่อมโยงในการคมนาคมและการขนส่งให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ข้อ 14 การวางและปฏิบัติตามผังเมืองต้องยึดมั่นในหลักวิชาการทางผังเมือง
ข้อ 15 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงความสำคัญในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
ข้อ 16 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการวางแผนการตั้ง                  ถิ่นฐานให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ลดความเสี่ยง     และความเสียหายจากการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบจากสาธารณภัย
ข้อ 17 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ข้อ 18 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดหาบริการขั้นพื้นฐานและพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอและเหมาะสมให้แก่ประชาชน
ข้อ 19 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอและ
เหมาะสม
ข้อ 20 การวางผังเมืองต้องสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต
ข้อ 21 การวางผังเมืองต้องออกแบบวางผังพื้นที่ กลุ่มอาคารสิ่งก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน
ที่มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมข้อ 22 การวางผังเมืองต้องกำหนดเขตสงวน เขตอนุรักษ์ เขตพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ข้อ 23 การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์
ข้อ 24 การวางผังเมืองต้องกำหนดพื้นที่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ข้อ 25 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ต้องคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ                   ที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
ข้อ 26 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน
2. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างระเบียบฯ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีการแก้ไขบทนิยาม คำว่า “ยาเสพติด” “ผลิต” “จำหน่าย” “รัฐมนตรี” “ป.ป.ส.” “คดียาเสพติดรายสำคัญ” และเพิ่มติมคำว่า “คณะกรรมการ ป.ป.ส.” ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุทั้งในส่วนของบทนิยามคำว่า “ผลิต” และยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ซึ่งเดิมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุต้องรับโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานผลิต แต่ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีแนวคิดว่าการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุเป็นขั้นตอนหนึ่งของการอำนวยความสะดวกในการนำไปจำหน่าย การแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุจึงไม่ต้องรับโทษเช่นเดียวกับความผิดฐานผลิตเหมือนกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มตามฐานความผิดในคดียาเสพติด โดยตัดข้อหา “ครอบครองเพื่อจำหน่าย” ออก และไม่จ่ายเงินเพิ่มในข้อหา “ครอบครองเพื่อจำหน่าย” เนื่องจากประมวลกฎหมายยาเสพติดได้แบ่งฐานความผิดใหม่โดยแยกเป็นแต่ละพฤติการณ์เพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง เป็นต้น และแก้ไขเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติด เช่น ยกเลิกสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งงดการสอบสวน กำหนดให้ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นกรณีฐานผลิตยาเสพติด เป็นต้น
                   สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                   แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีการแก้ไขบทนิยาม ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในคดียาเสพติดโดยไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุและไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย และแก้ไขเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินค่าตอบแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้หลักเกณฑ์ที่เสนอแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. 2561ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ที่เสนอขอแก้ไขแก้ไขบทนิยาม- “ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและให้หมายความรวมถึงสารเคมีหรือวัตถุที่ควบคุมเพื่อป้องกันการผลิตยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วย
การควบคุมโภคภัณฑ์
- “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย
- “จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้

- “รัฐมนตรี” รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- “ป.ป.ส.” หมายความว่า คณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- “คดียาเสพติดรายสำคัญ”
   (2) คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งอนุมัติให้จับกุมข้อหาสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและนำไปสู่การขยายผลริบทรัพย์สินตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่ง โดยมีมูลค่าทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท

- “ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและหมายความรวมถึงสารเคมีหรือวัตถุที่ควบคุมเพื่อป้องกันการผลิตยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโภคภัณฑ์
- “ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป
สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

- “จำหน่าย” หมายความว่า ขายแลกเปลี่ยน จ่าย แจก หรือให้โดยมี
สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์อย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่าย
- “รัฐมนตรี” หมายความว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

- “คณะกรรมการ ป.ป.ส.”หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

- “คดียาเสพติดรายสำคัญ”
   (2) คดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดที่เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือพนักงานอัยการมีคำสั่งอนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ หรือสนับสนุน ช่วยเหลือตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและนำไปสู่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับ                 ยาเสพติดชั่วคราวตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่ง โดยมีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป

ยกเลิกความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และปรับปรุงการจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในคดียาเสพติดข้อ 21 (1) ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาจำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ หรือสมคบ คดีหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท
ข้อ 22 ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มสำหรับกรณีการปฏิบัติการทำลายแหล่งผลิต หรือโรงงานผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 และวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 หรือประเภท 2 พื้นที่ละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ปฏิบัติการและปริมาณยาเสพติด ทั้งนี้ แหล่งผลิตหรือโรงงานผลิตไม่รวมถึงแหล่งแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุข้อ 21 (1) ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาจำหน่าย หรือสมคบ คดีหนึ่ง ไม่เกิน 5,000 บาท

ข้อ 22 ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มสำหรับกรณีการปฏิบัติการทำลายแหล่งผลิตหรือโรงงานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 พื้นที่ละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ปฏิบัติการและปริมาณยาเสพติด

แก้ไขเอกสารหลักฐาน             ที่ผู้ขอรับเงินฯ ต้องยื่นพร้อมกับคำขอข้อ 26 การขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับให้ยื่นคำขอพร้อมกับคำขอรับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

   (5) สำเนาคำฟ้องพนักงานอัยการหรือสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งงดการสอบสวน สั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติคดี

(6) รายงานการสอบสวนคดียาเสพติดที่ทำการสอบสวนขยายผล พร้อมสำเนาบันทึกจับกุมผู้ต้องหาจากการขยายผล และสำเนาคำฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่มีการขยายผล หรือสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีการริบทรัพย์สิน

ข้อ 26 วรรคสอง กรณียึดได้เฉพาะยาเสพติดของกลาง ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (2) รายงานการสืบสวน (ถ้ามี)
 

ข้อ 26 การขอรับเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับให้ยื่นคำขอพร้อมกับ
คำขอรับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
   (5) สำเนาคำฟ้องพนักงานอัยการ
หรือสำเนาคำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง หรือสั่งยุติคดี หรือสำเนาหมายจับผู้กระทำความผิดและสำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่                 เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดชั่วคราวซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป
   (6) รายงานการสอบสวนคดียาเสพติดที่ทำการสอบสวนขยายผล สำเนาบันทึกจับกุมผู้ต้องหาจากการขยายผลสำเนาคำฟ้องของพนักงานอัยการในคดีที่มีการขยายผล สำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือพนักงานอัยการ อนุมัติแจ้งข้อหาสมคบ หรือสนับสนุน ช่วยเหลือ และสำเนาคำสั่งเลขาธิการ ป.ป.ส. ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดชั่วคราวซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาท     ขึ้นไปในกรณีการขอรับเงินค่าตอบแทนการขยายผล
    (10/1) สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในกรณีศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยฐานผลิตยาเสพติด
ข้อ 26 วรรคสอง กรณียึดได้เฉพาะยาเสพติดของกลาง ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (2) รายงานการสืบสวน หรือรายงานการสอบสวนที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับบุคคลตามหมายจับ
   ข้อ 26 วรรคสาม กรณีมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็กหรือเยาวชนในหมู่บ้าน ชุมชน ให้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติม ดังนี้
   (1) รายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ปรากฏพฤติการณ์และการกล่าวอ้างถึงคำให้การของผู้เกี่ยวข้องว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็กหรือเยาวชน
   (2) รายงานการสืบสวนถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่ามีการจำหน่ายยาเสพติดให้แก่เด็ก                     หรือเยาวชน
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า กรมป่าไม้ในฐานะหน่วยงานที่มีกระบวนการอนุมัติ อนุญาต ที่ต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียม ได้พิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ แล้วเห็นว่า ทส. ได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม เพื่อกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยปัจจุบันอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการเรียกเก็บสำหรับการอนุมัติและอนุญาตตามกฎกระทรวงดังกล่าวบางประเภทมีอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการจัดเก็บ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต ในบางประเภท ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการจัดเก็บ
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียม จำนวน 11 รายการ ดังนี้รายการอัตราค่าธรรมเนียม1. แบบพิมพ์คำขอฉบับละ 25 สตางค์2. ใบอนุญาตทำไม้เพื่อการค้าฉบับละ 20 บาท3. ใบอนุญาตเก็บหาของป่าหวงห้ามฉบับละ 10 บาท4. ใบอนุญาตค้าของป่าหวงห้ามหรือใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามฉบับละ 20 บาท5. ใบอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยฉบับละ 10 บาท6. ใบอนุญาตมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองฉบับละ 20 บาท7. ใบอนุญาตอื่น ๆฉบับละ 5 บาท8. ใบแทนใบอนุญาต เว้นแต่ใบอนุญาตใดมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า 10 บาท ให้คิดเท่าค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนั้นฉบับละ 10 บาท9. ใบแทนใบอนุญาตผูกขาดฉบับละ 25 บาท10. ใบเบิกทาง
          (1) ไม้สัก
          (2) ไม้ชนิดอื่น ๆ
          (3) ของป่า
ฉบับละ 50 บาท
ฉบับละ 20 บาท
ฉบับละ 5 บาท11. ใบคู่มือคนงาน หรือผู้รับจ้าง หรือใบแทนฉบับละ 1 บาท
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                   เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ในการไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กำหนดการให้ความช่วยเหลือในการถูกดำเนินคดีที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดให้มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงาน ป.ป.ท. กำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด กำหนดเหตุลดโทษและยกเว้นโทษกรณีผู้ถูกกล่าวหากระทำการโดยสุจริต และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ และกำหนดความผิดและโทษเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ รายละเอียดดังนี้
                   1. แก้ไขปรับปรุงบทนิยาม เช่น คำว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” เพื่อรองรับคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทน “ประพฤติมิชอบ” เพื่อแยกคดีประพฤติมิชอบซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ออกจากคดีทุจริตต่อหน้าที่ และ “ไต่สวน” เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ
                   2. กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ช. ไม่สามารถมอบหมายการเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ เพื่อให้การเป็นกรรมการเป็นการเฉพาะตัวและมอบอำนาจไม่ได้
                   3. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (เดิมกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าลงมา และกระทำการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งกระทำการทุจริตในภาครัฐ หมายถึงการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ) ดังนี้
                             3.1 ไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลตามพระราชบัญญัตินี้ และกำกับดูแลการไต่สวนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบสำนวนการไต่สวนดังกล่าว
                             3.2 พิจารณาวินิจฉัยชี้มูลเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามสำนวนการไต่สวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้ความเห็นชอบแล้ว หรือสำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไต่สวนเอง
                             3.3 ไต่สวนและวินิจฉัยชี้มูลเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่ต้องดำเนินการแทนคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามที่มอบหมาย และในการไต่สวนดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจมอบหมายให้พนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนแล้วเสนอสำนวนเพื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาต่อไป
                             3.4 ดำเนินการสรุปสำนวนตามข้อ 3.2 และข้อ 3.3 พร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญากับผู้กระทำความผิดต่อไป
                   4. กำหนดวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (คดีทุจริตต่อหน้าที่) ให้ดำเนินการแต่ละกรณี ดังนี้
                             4.1 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทนโดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือลักษณะไว้เป็นการทั่วไป โดยเมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ว่ามีผู้กระทำความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการต่อไปได้ และให้เริ่มนับระยะเวลาการไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยชี้มูลตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับเรื่อง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติจะดำเนินการเรื่องนั้นเอง ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการไต่สวนเท่าที่มีอยู่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยให้คัดสำนวนดังกล่าวเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานด้วย
                             4.2 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทนโดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือลักษณะไว้เป็นรายกรณี เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการแทน ให้เริ่มนับระยะเวลาการไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยชี้มูลตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ หากเรื่องดังกล่าวได้ล่วงพ้นเวลาที่จะดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ถูกร้องหรือผู้ถูกกล่าวหาแล้ว และไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องคืนคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเร็วซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
                   5. กำหนดวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับคดีประพฤติมิชอบ ดังนี้
                             5.1 กำหนดให้ในกรณีที่ปรากฏว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีลักษณะเป็นการทุจริตต่อหน้าที่รวมอยู่ด้วย และมิได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่งเรื่องทั้งหมดนั้นให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
                             5.2 กำหนดให้ในกรณีที่เป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัตินี้ และมิใช่เป็นกรณีตามข้อ 5.1 เมื่อเลขาธิการสั่งให้ดำเนินการต่อไปแล้ว ให้พนักงาน ป.ป.ท. มีอำนาจดำเนินการไต่สวนให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
                   6. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใดมิให้เปิดเผยข้อมูลซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลเฉพาะของบุคคลบรรดาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ การเปิดเผยข้อมูลอื่นใดเพื่อให้สาธารณชนได้ทราบ และแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย สามารถดำเนินการ จับ ควบคุม และปล่อยชั่วคราว ผู้ถูกกล่าวหาเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติวินิจฉัยชี้มูลว่าผู้นั้นกระทำความผิด
                   7. กำหนดให้สำนักงาน ป.ป.ท. ให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีไม่ว่าเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีปกครอง แก่คณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และกำหนดให้กรรมการในคณะกรรมการ ป.ป.ท. สามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ได้
                   8. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อหมวด 2 จากเดิม “การไต่สวนข้อเท็จจริง” เป็น “การไต่สวน” และปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการไต่สวน ดังนี้
                             8.1 กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ต้องเริ่มดำเนินการไต่สวนภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. และต้องไต่สวนและพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับเรื่องหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจขยายระยะเวลาการไต่สวนออกไปตามที่จำเป็นได้แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่เรื่องที่จำเป็นต้องไต่สวนในต่างประเทศอาจขยายระยะเวลาออกไปเท่าที่จำเป็นแต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 5 ปี
                             8.2 กำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ไต่สวนก่อนเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มี 2 กรณี ได้แก่ (1) การไต่สวนของพนักงาน ป.ป.ท. ที่ดำเนินการในลักษณะองค์คณะ ๆ ไม่น้อยกว่า 2 คนตามที่เลขาธิการ ป.ป.ท. แต่งตั้ง โดยจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ด้วยก็ได้ และ (2) การไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวน สำหรับเรื่องที่จำเป็นและซับซ้อน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการ ป.ป.ท. สำหรับการไต่สวนเบื้องต้นก่อนการรับเรื่องไว้พิจารณา เลขาธิการ ป.ป.ท. จะมอบหมายให้พนักงาน ป.ป.ท. คนหนึ่งดำเนินการก็ได้ นอกจากนี้ ได้กำหนดห้ามผู้มีส่วนได้เสียในคดีทำหน้าที่ในการไต่สวน เพื่อให้การไต่สวนของผู้ไต่สวนเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                             8.3 กำหนดขั้นตอนและกระบวนการไต่สวน
                                      8.3.1 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการรับเรื่องและการจำหน่ายเรื่อง โดยกำหนดเรื่องที่ต้องห้ามรับไว้พิจารณา และเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีดุลยพินิจในการที่จะไม่รับหรือสั่งจำหน่ายเรื่อง และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. สามารถยุติการดำเนินการไต่สวนในกรณีเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดวินัยร้ายแรง หรือกรณีการประพฤติมิชอบที่ไม่ใช่ความผิดวินัยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง โดยให้เลขาธิการส่งเรื่องที่ยุตินั้นให้หน่วยงานดำเนินการและรายงานผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ
                                      8.3.2 กำหนดให้กรณีข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้แจ้งผู้ถูกกล่าวหาทราบไม่ช้ากว่า 15 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ แต่หากกรณีที่ข้อกล่าวหานั้นมีพยานหลักฐานเพียงพอ ให้มีการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือและส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีจัดหาทนายความให้กับผู้ถูกกล่าวหา และกำหนดรายการที่จำเป็นในหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ถูกกล่าวหา
                                      8.3.3 กำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาส่งคำชี้แจงและพยานหลักฐานมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาประกอบการดำเนินการก่อนมีมติชี้มูลความผิด และกำหนดให้มีการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ กำหนดห้ามจูงใจโดยมิชอบเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำในการไต่สวน รวมทั้งกำหนดวิธีการสอบปากคำและการรับฟังพยานหลักฐานจากต่างประเทศ เพื่อให้การไต่สวนเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
                             8.4 กำหนดวิธีการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิด
                                      8.4.1 กำหนดให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้น และให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก และให้ถือว่ามติและรายงานการไต่สวนนั้นเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลที่ใช้บังคับกับผู้ถูกกล่าวหานั้น ทั้งนี้ ได้แยกการดำเนินการลงโทษทางวินัยไว้ 2 กรณี ได้แก่ กรณีประพฤติมิชอบและกรณีทุจริตต่อหน้าที่
                                      8.4.2 กำหนดให้ในกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนสามารถขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทบทวนมติที่ชี้มูลความผิดทางวินัยผู้ถูกกล่าวหาได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรมการ ป.ป.ท.
                                      8.4.3 กำหนดให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ได้ หาก ก.พ.ค. ยกอุทธรณ์ ให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย แต่หาก ก.พ.ค. วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นให้ส่งคำวินิจฉัยนั้นไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อพิจารณาทบทวน แล้วแจ้งผลการทบทวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่เห็นด้วยกับผลการทบทวนดังกล่าวให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้
                                      8.4.4 แก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดทางวินัย เป็นความผิดทางอาญาให้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดี โดยให้ถือว่าการดำเนินการและสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับความผิดอันยอมความได้และหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสียหาย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในศาลทหาร ให้การดำเนินคดีอาญาเป็นหน้าที่และอำนาจของอัยการทหารและให้อำนาจอัยการสูงสุด เป็นอำนาจของเจ้ากรมพระธรรมนูญ
                                      8.4.5 แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการกระทำความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลนั้นก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นกรณีออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการหาตัวผู้รับผิดชดใช้ความเสียหายหรือพิจารณาเพิกถอนเอกสารสิทธิหรือสิทธิดังกล่าวแล้วแต่กรณีโดยเร็ว แล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ
                   9. กำหนดให้มีตำแหน่งหัวหน้าพนักงาน ป.ป.ท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไต่สวนเช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. และกำหนดเหตุยกเว้นโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และได้มีการโต้แย้งการกระทำความผิดหรือได้แจ้งข้อมูลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
                   10. กำหนดเหตุลดโทษและยกเว้นโทษ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกชี้มูลว่ากระทำความผิด เมื่อเป็นการกระทำโดยสุจริตและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
                   11. กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. กรรมการ อนุกรรมการไต่สวน พนักงาน ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใดที่ได้เปิดเผยข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่การกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปีและปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท
                   12. กำหนดให้บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติที่ออกตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แต่ให้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือออกใหม่ เพื่อรองรับให้บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                   1. กค. ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท พ.ศ. 2558 ซึ่งออกตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำนาญ การจ่ายเงินดำรงชีพ การจ่ายเงินกรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย การจ่ายเงินกรณีสมาชิกทุพพลภาพ การจ่ายเงินกรณีสมาชิกลาออกการจ่ายเงินกรณีสมาชิกสิ้นสภาพ และการจ่ายเงินกรณีผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตาย
                   2. โดยที่ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้มากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับสมาชิก กอช. ในการรับเงินบำนาญและเงินดำรงชีพ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่สมาชิก ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุน ลดขั้นตอนและภาระของประชาชน ตลอดจนเป็นการสนับสนุนมาตรการของภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 ตุลาคม 2561 กค. พิจารณาแล้วเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้หรือทายาท พ.ศ. 2558
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจ่ายเงินบำนาญและเงินดำรงชีพ ของ กอช. ดังนี้

ประเด็นที่แก้ไขร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกฯ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....1. เพิ่มเติมวิธีการให้กองทุนแจ้งสมาชิกทราบก่อนสิ้นสมาชิกภาพสามเดือนและวิธีการรับเงินบำนาญหรือเงินดำรงชีพที่สมาชิกได้เลือกไว้ (ร่างข้อ 1)
- เดิม กำหนดให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีเลือกวิธีการรับเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งสมาชิกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยยกเลิกการยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ แต่ยังคงต้องยื่นสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร กรณีเลือกวิธีการรับเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. เพิ่มเติมวิธีการให้สมาชิกแจ้งกองทุนทราบสำหรับการเลือกวิธีการรับเงินบำนาญหรือเงินดำรงชีพ (ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สมาชิกได้รับหนังสือแจ้ง) (ร่างข้อ 1)
- เดิม ไม่ได้กำหนด

- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งกองทุนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

3. ลดภาระเอกสารและหลักฐานในการยื่นคำขอรับเงินจากกองทุนกรณีสมาชิกสิ้นสภาพเพราะความตายหรือลาออก/ผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตาย/สมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (ร่างข้อ 2 - ข้อ 4)
- เดิม กำหนดให้ยื่น (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิได้รับเงิน/ทายาท/สมาชิกหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ (2) สำเนาใบมรณบัตร (3) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นคู่สมรสของสมาชิก) และ (4) สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนที่รับรองว่าเป็นบุตรหรือสำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นบุตรของสมาชิก)

- ยกเลิกการยื่น (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิได้รับเงิน/ทายาท/สมาชิกหรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ (2) สำเนาใบมรณบัตร (3) สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นคู่สมรสของสมาชิก) และ (4) สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนที่รับรองว่าเป็นบุตรหรือสำเนาคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้น กรณีที่สมาชิกมิได้แสดงเจตนาไว้) (กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินเป็นบุตรของสมาชิก)

4. เพิ่มเติมวิธีการให้กองทุนแจ้งผู้ยื่นคำขอรับเงินเพื่อให้แก้ไขหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมและวิธีการในการยื่นเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ยื่นคำขอรับเงินให้กองทุน (ร่างข้อ 5)
- เดิม ไม่ได้กำหนด

- กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการ กอช. กำหนดวิธีการแจ้งผู้ยื่นคำขอรับเงินและวิธีการยื่นเอกสารหรือหลักฐานให้กองทุนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า คณะกรรมการคดีพิเศษในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเสนอ ดังนี้
                   1. “ให้คง” คดีความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาแล้วให้ยกเลิกคดีความผิดตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย
                             (1) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
                             (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
                             (3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
เนื่องจากพบว่ามีการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ยา และอาหาร เป็นการกระทำความผิดที่เกิดโดยการปลอมผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค มีการนำวัตถุที่ต้องห้ามมาใช้เป็นส่วนผสม มีการใช้สถานที่ผลิตที่ไม่มีมาตรฐาน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลและใช้สื่อดิจิทัลในการกระทำความผิดในช่องทางต่าง ๆ อีกทั้งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ยา และอาหารให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากลทั้งในเรื่องการผลิต การนำเข้า หรือการขาย ส่งผลให้คดีความผิดในกลุ่มนี้มีจำนวนผู้เสียหายเป็นวงกว้าง และส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น อาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศหรือระบบเศรษฐกิจ หรือการคลังของประเทศ ลักษณะของการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นพิเศษ
                   2. “ให้เพิ่มเติม” คดีความผิดทางอาญา จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย
                             (1) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เนื่องจากคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเรื่องการปราบปรามยาเสพติด และ ยธ. ได้มอบนโยบายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีบทบาทในการปราบปรามยาเสพติด และใช้มาตรการในการริบทรัพย์สินเครือข่ายการค้ายาเสพติดให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
                             (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เนื่องจากปัญหาหนี้นอกระบบซึ่งเป็นปัญหาอันนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมประเภทอื่น ๆ โดยผู้ให้กู้ยืมเงินไม่ใช่สถาบันทางการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายและไม่มีการติดตามหรือควบคุมจากทางราชการ แต่มักเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีการแบ่งหน้าที่กันทำ และมักใช้วิธีการทวงหนี้ ข่มขู่ บังคับ หรือใช้วิธีความรุนแรง บางครั้งอาจรวมกลุ่มกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จึงทำให้มีลักษณะการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อน
                             (3) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก เนื่องจากปัญหาสื่อลามกอนาจารเด็กที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ทำให้เด็กสามารถรับรู้ เข้าถึง และเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อันอาจส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง ทำให้เด็กถูกล่อลวงหรือชักจูงให้ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเป็นอาชญากรรมต่อเด็กรูปแบบใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและมีพฤติการณ์ที่สลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ และการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กมีส่วนสัมพันธ์กันกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในรูปแบบอื่น อาทิ การกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร
                             จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การกระทำความผิดในเรื่องยาเสพติด หนี้นอกระบบ และสื่อลามกอนาจารเด็ก ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญ หรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม หรือผู้ทรงอิทธิพลสำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรืออาจมีพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ต้องสงสัย หรือมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิด จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นพิเศษ
                   3. “ให้ยกเลิก” คดีความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษที่ปรากฏในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เนื่องจากได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย
                             (1) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
                             (2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
                   4. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 และกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ โดยปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี (3 ธันวาคม 2562) โดยกำหนดให้คดีความผิดทางอาญาเป็นคดีพิเศษเพิ่มเติมจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 รวม 20 ฉบับ ดังนี้
                   1. คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 3 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
                   2. เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 3 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก
                   3. ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม 2 ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบคดีความผิดอาญาตามกฎกระทรวงฯ
ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว
(ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 62)ี่ สคกผิดอาญาตามกฎกระทรวงญิดตามกัตรา และคดีความผิดตามประมวลกอยและยากปกให้ และสำเนาสมุดบัน ตลอดจนเปคดีความผิดอาญาตามร่างกฎกระทรวงฯ
ที่ ยธ. เสนอ(1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(8) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง

(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(17) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(18) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(19) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน

(1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
- ยกเลิก -
- ยกเลิก -
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(8) คดีความผิดตามกฎมหายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง (คงไว้)
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอัตราย
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา (คงไว้)
(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (คงไว้)
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้ายการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(17) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(18) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก (เพิ่มเติม)
(19) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา (เพิ่มเติม)
(20) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (เพิ่มเติม)
7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่ มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด ศูนย์การค้าและการบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ  รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้เป็นเมืองน่าอยู่ ดำรงรักษาเมืองและรักษาพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตรระดับชุมชน โดยการจัดการด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมและขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                             1.1 ส่งเสริมให้ชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อเป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง การพาณิชยกรรม และการบริการในระดับอำเภอ
                             1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมบริการให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และการขยายตัวของชุมชน
                             1.3 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                             1.4 ส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทางศาสนา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน เพื่อดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
                             1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 10 ประเภท ดังนี้ประเภทวัตถุประสงค์1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)

2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)

3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)

4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)

5. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม              (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)

6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)

7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)

8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)

9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)

10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)

- เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภทและความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่การอยู่อาศัยประเภทอาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม หรืออาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหารหรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร หรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองและศูนย์กลางรองในกรณีเมืองมีพื้นที่กว้างจำเป็นต้องมีหลายศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยไม่มีการจำกัดความสูงและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอุปสรรคสำหรับการอยู่อาศัยที่ดี และการประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ได้แก่ การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ก่อปัญหาสุขอนามัยชุมชน คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมบริการ เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้า การซ่อมรถจักรยานยนต์ การแปรรูปอาหาร หรือคลังสินค้าระดับท้องถิ่น เป็นต้น

- เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม                   มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมควบคุมการขยายตัวของชุมชน และรักษาคุณค่าของพื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ และแม่น้ำ เป็นต้น และสามารถสร้างที่อาศัยได้เฉพาะบ้านเดี่ยว โดยมีข้อจำกัดเรื่องประเภท และความสูงของอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชย   กรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย เป็นต้น และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น การซ่อมรถยนต์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือคลังสินค้า เป็นต้น

- เป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพของดินเหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรม หรือพื้นที่สีเขียวเปิดโล่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรมให้มั่นคง การรักษาคุณค่าแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ชุ่มน้ำ และแม่น้ำ เป็นต้น และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังวัตถุระเบิดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัย การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายเศษวัสดุ สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ สุสาน ฌาปนสถาน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

- เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

- เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวนป่า สาธารณประโยชน์

- มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ และโรงเรียนศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดบ้านบุ่ง วัดป่าสันติธรรม วัดศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น

- มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ สำนักงานเทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ และการประปาเทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นต้น