ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า หมายถึง

เทศนาคำไทยให้เป็นทาน โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนยชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่าน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชายรักสั้นนั้นอย่าให้รู้อยู่เพียงสั้นรักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย แหงนดูฟ้าอย่าให้อายแก่เทวดาอย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อยน้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอนเห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน ตรองเสียก่อนจึงค่อยทำกรรมทั้งมวลค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้าใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือเพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่งส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชรของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้าใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังร้อนเกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่าใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอเป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอกคนโหยกเหยกรักษายากลำบากหนอ อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคันบ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้าเป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนักสูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้มจะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอาเดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัดไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลงเป็นผู้หญิงแม่ม่ายที่ไร้ผัวชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง ทำอวดเก่งกับขื่อคาว่ากระไร       อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุหญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ ที่ห่างปิดที่ชิดไชให้ทะลุ คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิกเอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอบนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก รักหยอกหยิกยั บทั้งตัวอย่ากลัวเล็บมิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำแต่หนามตำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ เมียรู้เก็บผัวรู้ทำพาจำเริญถึงรู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ ไม่ควรกล้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อยวาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายากถึงมีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย ผีเรือนตัวไม่ดีผีป่าพลอย พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี้ริ้วแต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะสีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้างล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้าแต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้ถ้าแม้ให้เสียทุกคนกลัวคนขอ พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ จบแล้วหนอเหมือนเปรตเหตุด้วยจนถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล บุญหาไม่แล้วอย่าหลงทะนงตน ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน

พออ่านชื่อบทเรียนนี้ครั้งแรก เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ บางคนน่าจะต้องกลับมาอ่านใหม่อีกรอบเพราะไม่แน่ใจว่าอ่านถูกไหม และไม่รู้ว่าความหมายของชื่อนี้เกี่ยวกับอะไรกันแน่ 

แต่ก่อนจะไปเรียนรู้กันแบบเต็มอิ่ม เราเลยขออธิบายคร่าว ๆ ก่อนว่า อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) กวีคนสำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) บวกกับคำว่า ภาษิตซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา นั่นเอง ส่วนเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไรและให้แง่คิดอะไรบ้าง ติดตามกันต่อได้ในบทความนี้เลย

หรือเพื่อน ๆ จะไปเรียนแบบเต็ม ๆ พร้อมแอนิเมชันสวย ๆ กับแอปพลิเคชัน StartDee ก็ได้นะ คลิกที่นี่ได้เลย

ที่มาของเรื่องอิศรญาณภาษิต

สำหรับที่มาของเรื่อง เกิดขึ้นจากความน้อยอกน้อยใจของผู้แต่งหลังถูกตำหนิว่าสติไม่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่กลอนเพลงยาวนี้จะมีเนื้อหาที่แฝงไปด้วยน้ำเสียงเหน็บแนม ประชดประชัน โดยจุดมุ่งหมายหลักของการแต่งอิศรญาณภาษิต คือการสั่งสอนและเตือนใจผู้อ่านเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีอำนาจมากกว่าหรือผู้อาวุโสกว่า

ลักษณะคำประพันธ์

อิศรญาณภาษิตแต่งด้วยกลอนเพลงยาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ แต่มีจุดที่แตกต่างออกไป 2 อย่างหลัก ๆ  ได้แก่ 

  1. กลอนเพลงยาวจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ (วรรคที่สอง) ดังนั้น บทแรกของกลอนเพลงยาวจึงมีเพียง 3 วรรค ขณะที่กลอนสุภาพหนึ่งบทจะมี 4 วรรค ดังตัวอย่าง

    อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร

    เทศนาคำไทยให้เป็นทาน       โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี 

  2. อิศรญาณภาษิตจะลงท้ายด้วยคำว่า เอย แต่กลอนสุภาพไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วยเอย

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า หมายถึง

แปลอิศรญาณภาษิต

เนื้อหาโดยรวมของอิศรญาณภาษิตเป็นการสอนและเตือนสติผู้อ่านเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ร่วมกับคนที่มีอำนาจมากกว่า หรือผู้ที่อาวุโสกว่า โดยไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน ทั้งเรื่องการวางตัว การมีสติ คิดไตร่ตรองก่อนลงมือทำ และการเคารพผู้ใหญ่ 

อย่างไรก็ตามการสอนเหล่านี้ อยู่ในบริบทของยุคสมัยรัชกาลที่ 4 บางอย่างอาจจะยังนำมาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบันได้เหมือนเดิม แต่บางอย่างเพื่อน ๆ อาจจะต้องพิจารณาบริบทในยุคปัจจุบันเพิ่มเติม ส่วนเนื้อหาฉบับเต็ม คำศัพท์ และการถอดความเรารวบรวมมาให้ครบทุกบทแล้ว ไปอ่านกันเลยดีกว่า

 

  • บทที่ ๑

อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร

เทศนาคำไทยให้เป็นทาน     โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ชาญ หมายถึง เชี่ยวชาญ
เทศนา หมายถึง สอน
ตำนาน หมายถึง คำโบราณ
ศุภอรรถ หมายถึง ถ้อยคำที่ดี

แปลความหมาย 

ท่อนนี้เป็นการเกริ่นว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณเชี่ยวชาญด้านการแต่งกลอน จึงได้นำคำสอนโบราณและถ้อยคำที่ดีมาประพันธ์เป็นคำสอนเตือนใจ มอบให้ไว้เป็นทาน

 

  • บทที่ ๒

สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา      ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี

ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี             สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เจือ หมายถึง ผสม
โมห์ หมายถึง ความลุ่มหลง
ม้ามโนมัย หมายถึง ม้าที่ขับขี่ได้รวดเร็วดั่งใจ (มาจากคำว่า มโน = ใจ และ มย = ความสำเร็จ)
ม้าอาชาไนย หมายถึง ม้าที่ได้รับการฝึกมาดี

แปลความหมาย

ในบทนี้เริ่มด้วยเรื่องการฝึกจิต โดยเปรียบเทียบม้า เหมือนพาหนะหรือหนทางฝึกจิตใจของคนเรา ซึ่งแปลความหมายได้ว่า คนที่มีความประพฤติโง่เขลา เพราะลุ่มหลงยึดติดกับกิเลสตัณหา (ในที่นี้เปรียบเหมือนซากผี) เลยต้องรู้จักหาวิธีฝึกจิตใจให้ทันกิเลสอย่างรวดเร็วเหมือนม้ามโนมัย เมื่อเท่าทันกิเลสแล้ว จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนแล้วนั้นเปรียบเสมือนม้าอาชาไนยที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี

 

  • บทที่ ๓

ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า    น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย

เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ                                   รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

อัชฌาสัย หมายถึง ความมีน้ำใจเกื้อกูลกัน

แปลความหมาย

โบราณกล่าวไว้ว่า ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือก หญิงเปรียบเสมือนข้าวสาร ซึ่งเป็นการสอนให้ผู้หญิงรู้จักรักนวลสงวนตัว เพราะผู้หญิงคล้ายกับข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก ขณะที่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งทั้งชายและหญิงต่างก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เหมือนกับสำนวน น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า และต้องนึกถึงใจเขาใจเรา รักกันไว้ก่อนจะดีกว่าการเกลียดชังกัน 

ในบทนี้ผู้เขียนคิดว่า การเปรียบเทียบดังกล่าวอาจสะท้อนแนวคิดชายเป็นใหญ่ที่กำหนดให้ผู้หญิงต้องเรียบร้อย รักนวลสงวนตัวเพื่อให้ไม่ให้บอบช้ำเสียหาย ขณะที่ฝ่ายชายไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันมีคนที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้เช่นกัน (ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน https://thematter.co/thinkers/patriarchy-in-thai-lesson/54111)

 

  • บทที่ ๔

ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ     ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ

สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล           เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

หักหาญ หมายถึง การบังคับโดยใช้กำลังหรืออำนาจ
อย่าเพ่อ หมายถึง ห้ามไม่ให้กระทำ

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงเรื่องการทำความดี คือ คนดีมาเราก็ดีตอบ แต่ถ้าร้ายมาเราไม่จำเป็นต้องร้ายตอบ แต่ควรให้อภัยกันและกันแทน ซึ่งการทำความดีนั้น ต่อให้ทำมาสิบครั้ง พอผิดครั้งเดียวคนก็ลืมความดีที่ทำมาทั้งหมดได้ ดังนั้น มนุษย์จึงไม่ควรประมาท และไม่ควรดูหมิ่นผู้อื่น

 

  • บทที่ ๕

รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น      รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย

มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย              แหงนดูฟ้าอย่าให้อายแก่เทวดา

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เยิ่น หมายถึง ยาว หรือ นานออกไป

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการทำให้ความรักความสัมพันธ์เป็นไปอย่างยาวนาน ต้องอาศัยการทำดีต่อกันอย่างสม่ำเสมอ และไม่ทำอะไรเกินขอบเขตกฎหมาย ยังไงเราทุกคนก็ต้องตาย ทำความดีไว้ก่อนดีกว่าจะได้ไม่อายเทวดาที่อยู่บนสวรรค์

 

  • บทที่ ๖

อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย      น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา

อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา     ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการทำบุญที่แม้จะทำเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอก็กลายเป็นกุศลผลบุญยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน คล้ายกับการปาดน้ำตาลที่แม้จะไหลออกมาเพียงเล็กน้อย แต่หากเวลาผ่านไป น้ำตาลก็สามารถจะเพิ่มจำนวนขึ้นมากเรื่อย ๆ ได้เช่นกัน 

ส่วนวรรคที่บอกว่า ‘อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา’ ไม่ได้หมายถึงการส่องกระจกเช็คหน้าผมแต่อย่างใด แต่สื่อถึงการสำรวจสภาพร่างกาย จิตใจ และการกระทำของตัวเองในแต่ละวัน คล้ายกับการเตือนใจให้ผู้คนมีสติหมั่นทบทวนตัวเองในทุก ๆ วันนั่นเอง

 

  • บทที่ ๗

เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่     พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน

เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน    ตรองเสียก่อนจึงค่อยทำกรรมทั้งมวล

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

พิเคราะห์ หมายถึง คิดพิจารณาอย่างรอบคอบ
ทึ้ง หมายถึง พยายามดึง
ปากบอน หมายถึง ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด
ตรอง หมายถึง คิดทบทวน

แปลความหมาย

เมื่อเห็นตอไม้ปักขวางทาง ก่อนที่จะลงมือถอนควรพิจารณาให้ดีก่อน เพราะหากถอนโดยไม่ดูให้ดีอาจได้รับความเดือดร้อนได้ เมื่อเราเห็นสิ่งใดก็อย่าเพิ่งพูด ควรคิดพิจารณาให้ดีเสียก่อนก่อนที่จะพูดหรือกระทำอะไร

 

  • บทที่ ๘

ค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้า      ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน

เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ   รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ดำเนิน หมายถึง เดิน
หลังตากแดด หมายถึง ก้มหน้าทำงานหนักแบบชาวนา ทำให้หลังถูกแดดตลอดเวลา
คิดคำนวณ หมายถึง คิดใคร่ครวญ
เมื่อปลายมือ หมายถึง ในภายหลัง

แปลความหมาย

บทนี้เล่าถึงการใช้ชีวิตและประพฤติตัวโดยมีผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง และไม่ควรอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ รวมทั้งมีความขยันอดทนเหมือนกับชาวนาที่ทำงานหนัก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสบายในวันข้างหน้า

 

  • บทที่ ๙

เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง     ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ

ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ               ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร

แปลความหมาย

การนำของมีค่าให้กับคนที่ไม่รู้ค่า ก็เหมือนกับการนำเพชรไปให้กับลิง ดังนั้นเราควรอยู่กับคนที่มองเห็นคุณค่าของเราเอง ซึ่งในที่นี้คือเรื่องสติปัญญา โดยวรรคที่บอกว่า ‘ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร’ หมายถึงให้คนร่ำลือว่าตนเองมีปัญญาราวกับมีเพชรมากพอที่จะอวดได้

 

  • บทที่ ๑๐

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า      ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ

จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ                            พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังร้อน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เจ้า หมายถึง เจ้านาย

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการเห็นดีเห็นงามตามเจ้านาย ต่อให้ไม่เห็นด้วยก็ต้องเก็บไว้ข้างใน เพื่อให้ไม่เดือดร้อนตนเองเพราะหากเดือดร้อนขึ้นมาต่อให้เป็นเรื่องเล็กเหมือนพริกไทยเม็ดเดียวก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้เช่นกัน  ซึ่งผู้เขียนมองว่าบทนี้สะท้อนให้เห็นการความสำคัญกับผู้มีอำนาจหรืออาวุโสกว่าตนมาก ๆ โดยเน้นหนักไปที่ความถูกใจมากกว่าความถูกต้อง และผู้คนยังไม่ได้มีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างเปิดกว้างและเท่าเทียมกัน

 

  • บทที่ ๑๑

เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า        ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน

อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร   ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ประนมกร หมายถึง ประนมมือ
ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ หมายถึง ไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

ความหมาย

การเกิดเป็นมนุษย์ต้องรู้จักเท่าทันของผู้อื่น เราควรหมั่นสอนใจตนเอง หากเราต้องการขอความช่วยเหลือจากเขา เราก็ควรมีความสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า หมายถึง

  • บทที่ ๑๒

เป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอก        คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหมอ

อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ    ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

บ้าจี้ หมายถึง บ้ายอ

คนโหยกเหยก หมายถึง คนที่ไม่ได้เรื่อง แก้ไขยาก

แปลความหมาย

บทนี้กล่าวถึงคนบ้ายอที่มักจะชอบให้คนอื่นชื่มชม คนประเภทนี้เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง หากนำไปรักษาก็สร้างความลำบากให้กับหมอ ซึ่งคนที่ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในยศศักดิ์ จะต้องคิดให้ดีว่าสิ่งที่เขายกย่องสรรเสริญเรานั้น มาจากความจริงใจมากน้อยแค่ไหน หรือแค่พูดให้เหมาะกับจริตของเราเท่านั้น 

 

  • บทที่ ๑๓

บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า     เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน

ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน                  คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ทำเป็นเจ้า หมายถึง ทำทีว่าเจ้าเข้าสิง

แปลความหมาย

บางคนทำตัวเหมือนเจ้าเข้าสิง ไม่มีใครคิดจับผิดว่าเป็นผีจริงหรือไม่ แต่ต่อให้เป็นผีจริงก็ปล่อยให้หลอกไป เพราะยังไงก็น่ากลัวน้อยกว่าคนที่มาหลอกกันเอง

 

  • บทที่ ๑๔

สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม    จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก                 ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

อย่าเปิดฝัก หมายถึง อย่าอวดรู้

คนสามขา หมายถึง คนแก่ ขาที่สามคือไม้เท้า

แปลความหมาย

ถ้าจะสร้างสิ่งไหนที่สูงเกินสมดุลของฐานก็อาจจะทำให้ล้มได้ เช่นเดียวกับการศึกษาหาความรู้ก็ต้องขยันหมั่นเพียรโดยไม่อวดรู้จนเกินไป และเราควรที่จะปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่เพราะเขามีประสบการณ์มาก่อนเรา หากสิ่งไหนที่ดีงามก็ควรจะจดจำและนำไปใช้

 

  • บทที่ ๑๕

เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด      ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา

ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา            นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

หาญ หมายถึง กล้า

ราญ หมายถึง รบ

แปลความหมาย

เราควรประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มาก่อน เหมือนกับสำนวน เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด และไม่ควรไปพูดขัดผู้อื่นเพราะอาจขัดใจเขาได้ นอกจากนี้ เราควรรู้จักยืดหยุ่น ถ้ามีคนหาเรื่องก่อนเราก็จะไม่หาเรื่องตอบ เพราะนักเลงที่แท้จริง (หรือจะเรียกว่า คนจริง แบบที่เราใช้กันในปัจจุบันก็ได้นะ) จะไม่หาเรื่องผู้อื่นก่อน

 

  • บทที่ ๑๖

เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ไร้ผัว      ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง

ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง       ทำอวดเก่งกับขื่อคาว่ากระไร

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ทำเลียบ หมายถึง พูดจาแทะโลม

คนที่จนเอง หมายถึง คนที่ทำตนเองให้ยากจน

ขื่อคา หมายถึง เครื่องจองจำนักโทษ แต่ในคำประพันธ์นี้ หมายถึง แสดงอำนาจท้าทายบทลงโทษ

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า หมายถึง

ภาพขื่อคา (ขอบคุณภาพจาก https://w2help.com/)

แปลความหมาย

ในยุคสมัยนั้นมีมุมมองว่า การเป็นหญิงหม้ายไม่มีสามีคอยปกป้อง มีโอกาสถูกชายอื่นพูดจาแทะโลมข่มเหง ส่วนไฟไหม้บ้านยังไม่ร้ายแรงเท่ากับคนที่ทำตนเองให้ยากจน (ในที่นี้หมายถึงการหมดเงินไปกับกิเลสตัณหาต่าง ๆ) และอย่าทำตัวท้าทายกฎหมาย และบทลงโทษ

  • บทที่ ๑๗

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก      ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว

จงฟังหูไว้หูคอยดูไป                                 เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ศอก หมายถึง มาตราวัด ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ

แปลความหมาย

เสาหินขนาด 8 ศอกถูกตอกลงบนพื้นดินอย่างมั่นคง เมื่อมีคนมาผลักเสาหินอยู่เสมอ เสาหินย่อมสั่นคลอน เหมือนกับคนหูเบาเชื่อคนง่ายมักจะคล้อยตามผู้อื่น ดังนั้นเราควรพิจารณาความคิดของผู้อื่นก่อนว่าเขาพูดด้วยความจริงใจหรือไม่แล้วค่อยตัดสินใจเชื่อ

 

  • บทที่ ๑๘

หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้      มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ

ที่ห่างปิดที่ชิดไชให้ทะลุ                               คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คนจักษุเหล่ หมายถึง คนตาเข หรือ คนตาเหล่

แปลความหมาย

บทนี้กล่าวถึงการใช้คำพูดเป็นหลัก ถ้าเราต้องการขอความช่วยเหลือก็ควรใช้คำพูดอ่อนหวานเพราะไม่มีใครชอบให้ใช้คำพูดห้วน ๆ หรือดุดัน และควรพูดจาให้รู้จักกาลเทศะ เช่น เมื่อเจอคนตาเหล่ก็ควรรู้จักเลี่ยงไม่พูดตรง ๆ เพื่อมิให้เสียน้ำใจ

 

  • บทที่ ๑๙

เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ      บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก

เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก           รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เสือก หมายถึง ทำให้เคลื่อนไปบนพื้นโดยแรง

กระดิก หมายถึง ทำปลายอวัยวะให้เคลื่อนไหว

แปลความหมาย

บทนี้เปรียบเทียบว่า เราควรเพียรพยายามแบบปลาหมอที่อยู่บนบกแล้วพยายามตะเกียกตะกายกลับไปในน้ำให้ได้ ส่วนการฆ่าควายแล้วอย่าเสียดายพริกนั้น หมายถึง หากจะทำการใหญ่ก็ไม่ควรกลัว แต่ควรทำให้เต็มที่ ส่วนวรรคสุดท้ายต้องการจะสื่อว่า หากเราอยากจะหยอกล้อผู้อื่น เราก็ควรไม่กลัวที่ผู้อื่นจะหยอกล้อเรากลับบ้าง

 

  • บทที่ ๒๐

มิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ      แต่หนามตำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ

อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ              เมียรู้เก็บผัวรู้ทำพาจำเริญ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เนื้อ หมายถึง เนื้อคู่

ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก

จำเริญ หมายถึง เจริญ

แปลความหมาย

ถ้าเราแต่งงานกับคนที่ไม่ใช่เนื้อคู่หรือเข้ากันไม่ได้จริง ๆ ต่อไปก็จะมีแต่ปัญหา แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็เจ็บปวดได้ เหมือนกับหนามตำเพียงนิดเดียวก็สร้างความเจ็บปวดได้ไม่น้อย นอกจากนี้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ควรตัดความโลภ บาป และตัณหา ฝ่ายสามีต้องขยันทำงานเลี้ยงครอบครัว ส่วนภรรยาต้องรู้จักเก็บหอมรอมริบจะทำให้ครอบครัวเจริญยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนมองว่าอิศรญาณภาษิตบทนี้สะท้อนค่านิยม “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า” ของคนในยุคสมัยก่อน ต่างจากปัจจุบันที่ชายหญิงสามารถทำงานหรือเป็นผู้นำครอบครัวได้ทั้งคู่ 

 

  • บทที่ ๒๑

ถึงรู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้       เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ

ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน      อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ไข หมายถึง บอก อธิบาย

ชัง หมายถึง เกลียด

แปลความหมาย

สะท้อนมุมมองของคนในยุคสมัยนั้นว่า การพูดถึงสิ่งที่ตนรู้นับเป็นการอวดรู้ และจะได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้น อย่าทำอะไรเกินหน้าเกินตาผู้อื่น เพราะจำนวนคนที่รักเราจะมีน้อยกว่าคนที่เกลียดเรา 

 

  • บทที่ ๒๒

วาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายาก       ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย

ผีเรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย                      พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี้ริ้ว

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

พูดพล่อยพล่อย หมายถึง พูดออกมาโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิด 

ปากขี้ริ้ว หมายถึง พูดจาไม่สุภาพ พูดไม่เหมาะสม

แปลความหมาย

ผู้มีอำนาจน้อยกว่าย่อมไม่สามารถเถียงผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าได้ ถึงแม้ว่าจะมีปากในการพูดแต่พูดไปไม่มีประโยชน์ หากไม่ระวังกายและใจของตนเองให้ดี ตัวเราจะประพฤติชั่วได้โดยง่าย การพูดพล่อยๆโดยไม่คิดให้ดีก่อนพูดเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

 

  • บทที่ ๒๓

แต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ      สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว

ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว                  แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

แขวะ หมายถึง เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง

ไม้ไผ่แขวะ หมายถึง ไม้ไผ่เจาะรู

สีแหยะแหยะ หมายถึง ถูกันเบา ๆ

ตะบัน หมายถึง แทงกดลงไป

แปลความหมาย

บทนี้สอนให้ไม่ประมาทเพราะบางอย่างอาจจะมีพิษภัยกว่าที่คิด อย่างไม้ไผ่อันที่ตันกับอีกอันที่เจาะเป็นรู เมื่อนำมาสีกันเบา ๆ ก็เกิดความร้อนได้เหมือนกัน และหากเราโดนช้างถีบหรือทำร้าย หากคิดจะแก้แค้นเอาคืน ควรพิจารณาตัวเองให้ดีก่อนว่ามีพละกำลังมากพอจะสู้กับช้างหรือไม่ 

 

  • บทที่ ๒๔

ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า       แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง

ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง      ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เบื้อง หมายถึง ข้าง ด้าน

ผาง หมายถึง เสียงดังอย่างเสียงเอามือตบสิ่งของ

แปลความหมาย

ถ้าเราจะล้อเล่นกับงูเห่า (สิ่งที่ดูอันตรายและเสี่ยงภัย) จะต้องมีใจที่กล้าหาญ คล่องแคล่ว ว่องไว ต้องรู้วิธีการจับงู ไม่จับงูเห่าข้างหาง และสามารถตบหัวงูเห่าให้ตายในครั้งเดียวได้ หากไม่สามารถทำได้งูเห่าจะย้อนกลับมากัดเราตายได้

 

  • บทที่ ๒๕

ถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้      ถ้าแม้ให้เสียทุกคนกลัวคนขอ

พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ                  จนแล้วหนอเหมือนเปรตเหตุด้วยจน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ปิดปกเป็นกกกอ หมายถึง โอบอุ้มทะนุถนอมไว้

แปลความหมาย

บทนี้สอนเรื่องการให้แต่พอดี สำหรับเพื่อนฝูงก็ให้ได้ตามปกติ แต่เราไม่สามารถให้ทุกคนที่เข้ามาขอได้ เพราะยังไงพ่อแม่ก็ดูแลทะนุถถนอมเรามาอย่างดี กว่าเราจะมีทุกสิ่งอย่างจนวันนี้ แต่ถ้าเราให้คนอื่นไปจนหมดตัว สุดท้ายแล้วเราจะกลายเป็นเหมือนเปรตที่ต้องไปขอส่วนบุญกับผู้อื่น

 

  • บทที่ ๒๖

ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้       ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล

บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน                ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ประกอบ หมายถึง ทำ

ทะนง หมายถึง ถือตัว หยิ่งในตนเอง

ปุถุชน หมายถึง สามัญชน

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงเรื่องการทำดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ยึดติดกับบุญเก่าที่เราทำมา โดยต้องเริ่มจากการคิดดีก่อน เพราะมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงความรู้สึกได้ง่าย คนที่เรารักอาจจะกลับมาเกลียดเรา ส่วนคนที่เกลียดเราอาจจะกลับมารักเราก็ได้

 

รู้จักสำนวนไทยในอิศรญาณภาษิต 

เพื่อน ๆ จะเห็นว่าอิศรญาณภาษิตมีสำนวนไทยหลายสำนวนที่เราคุ้นเคยสอดแทรกอยู่ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละสำนวนมีความหมายอย่างไรบ้าง

ศุภอรรถมีความหมายว่าอย่างไร

ศุภอรรถ หมายถึง ถ้อยคำและความหมายที่ดี สวัสดี หมายถึง ความดี ความงาม ถอดความได้ว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้ทรงเชี่ยวชาญในเชิงกลอนทรงนิพนธ์คำกลอนสุภาษิตโบราณ สั่งสอน เตือนใจไว้เพื่อเป็นทาน

วัวมอแปลว่าอะไร

วัวมอ หมายถึง วัวตัวผู้ ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ หมายถึง ไม่มีใครว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นเขาใช้งาน ถอดความได้ว่า เกิดเป็นคนต้องรู้เท่าทันใจของตนเอง คือต้องสอนใจตนเองหรือเตือนตนเองได้ และถ้าจะขอความช่วยเหลือจากผู้ใด เราต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

คำว่า “โมห์” มีความหมายว่าอย่างไร *

โมห์ หมายถึง ความลุ่มหลง ซากผี หมายถึง ร่างกายของคนที่ตายแล้ว อาชาไนย หมายถึง กำเนิดดี พันธุ์ หรือตระกูลดี ฝึกหัดมาดีแล้ว ม้ามโนมัย หมายถึง ในบทนี้หมายถึงใจที่รู้เท่าทันกิเลสจะได้เป็นพาหนะไปสู่ความสำเร็จ

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัยแปลว่าอะไร

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย จากบทประพันธ์ข้างต้นชี้ให้เห็นว่า การพึ่งพาอาศัยกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอด แม้กระทั่งธรรมชาติยังพึ่งพาอาศัยกันมนุษย์ก็ควรที่จะรู้จักการพึ่งพา รู้จักการ ให้อภัย ให้มีความรักและสามัคคีไว้ดีกว่าการเกลียดชังที่จะไม่สร้างผลดีให้แก่ฝ่ายใด