แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

  • บทความ
  • กฏหมาย
  • เลิกกิจการ ปิดบริษัท เลิกบริษัท เลิกหจก ต้องทำอย่างไร?
แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

เลิกกิจการ ปิดบริษัท เลิกบริษัท เลิกหจก ต้องทำอย่างไร?

เขียนเมื่อ 8 กรกฏาคม 2565 หมวดหมู่ กฏหมาย โดย Accounting Center

โควิด เงินเฟ้อ พิษเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กจำนวนไม่น้อย ที่แบกรับผลขาดทุนไม่ไหว จนอาจจะต้องปิดกิจการในที่สุดในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

ขั้นตอนการเลิกกิจการ เลิกบริษัท เลิกหจก ต้องทำอย่างไรบ้าง?

การเลิกกิจการนั้นไม่ง่ายเหมือนตอนเปิด  มีขั้นตอนการจดทะเบียนเลิก-การชำระบัญชีหลายขั้นตอน สำหรับนิติบุคลจะต้องดำเนินการเลิกกิจการให้ถูกต้อง จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต

การเลิกกิจการจะต้องไปดำเนินการทั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งก่อนจะไปแจ้งเลิกกับหน่วยงานต่างๆดังกล่าว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการดังนี้

1. การเลิก และขอจดทะเบียนเลิกบริษัท

ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จะเลิกกิจการ กรณีที่เกิดจากความประสงค์ของผู้ถือหุ้นเอง จะต้องดำเนินการตามกฎหมายกำหนด โดยจัดให้มีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติเลิกกิจการ จึงจะสามารถไปยื่นจดทะเบียนเลิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ขั้นตอนที่จะเลิกและการจดทะเบียนเลิกมีดังนี้

  • เมื่อผู้ถือหุ้นและกรรมการตกลงกันเลิกบริษัท ต้องออกหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติพิเศษในการเลิกบริษัท ซึ่งการออกหนังสือดังกล่าวจะต้องทำก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยจะต้องพิมพ์โฆษราในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราว และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  • จัดประจำผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นจะต้องมีมติพิเศษให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม และต้องมีการพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วย
  • หลังจากจัดประชุมเสร็จแล้วจะต้องประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท
  • แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี 
  • ผู้ชำระบัญชียื่นคำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติเลิกบริษัท

2. การชำระบัญชี และขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

เมื่อเลิกกิจการ อยู่ระหว่างชำระบัญชี บริษัทยังมีหน้าที่ดังนี้

  • จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก โดยให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นว่าถูกต้อง
  • นัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยืนยันตัวตนผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก  โดยต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 7 วันก่อนประชุมและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยในวันประชุมต้องมีมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการและอนุมัติการชำระบัญชี
  • ผู้ชำระบัญชีชำระสะสางทรัพย์สินและเป็นหนี้สินของบริษัทถ้ามีทรัพย์สินให้จำหน่าย  มีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินลูกหนี้  ชำระหนี้สิน  และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษ้ท หากมีเงินคงเหลือให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
  • ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
  • ผู้ชำระบัญชีจัดการทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับจากมีมติเสร็จการชำระบัญชี

แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

หน่วยงานที่ต้องไปติดต่อ มีดังนี้

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

มี 2 ขั้นตอน

  • จดทะเบียนเลิก ซึ่งจะจะได้รับหนังสือรับรองจดทะเบียนเลิกกิจการ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินการแจ้งเลิกอีก 2 หน่วยงานคือ กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม
  • จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี หากไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันเลิกให้ผู้ชำระบัญชียื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน

 2. กรมสรรพากร

หลังจดทะเบียนเลิกที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  หากบริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องไปดำเนินการแจ้งเลิกกิจการที่กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อคืนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักฐานอื่น และยื่นแบบภาษีต่างๆ ตลอดจนนำส่งงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการ ดังนี้

  • นำส่งแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการภายใน 150 วัน นับจากวันที่จดทะเบียนเลิก
  • นำส่งแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.3, 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่จดทะเบียนเลิกให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่าย ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
  • นำส่งแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40 ) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกในกรณีที่มีบัญชีดอกเบื้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยในงบการเงิน
  • ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร

3. สำนักงานประกันสังคม

กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการ นายจ้างต้องทำหนังสือแจ้งพนักงานที่จะเลิกจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง และจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานในอัตราที่กฎหมายกำหนด  และให้แจ้งเลิกกิจการโดยยื่นแบบการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ณ สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบตั้งอยู่

แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก มุมสรรพากร โดย คุณณัฏฐพัชร ธนากิจดุลยวัต เจ้าหน้าที่พนักงานสรรพากรชำนาญการ

แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน
แจ้ง เลิกกิจการ ประกันสังคม ภายใน กี่ วัน

การวิเคราะห์งบการเงิน (คอร์สอบรม CPD ฟรี! โดย กรมพัฒน์ฯ)

,

การวิเคราะห์งบการเงิน (ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย) (ผู้ทำบัญชี นับเป็นบัญชีได้ 7 ชั่วโมง, ผู้สอบ นับเป็นบัญชีได้ 5.30 ชั่วโมง)*** จำนวนชั่วโมง CPD ของผู้สอบ... [อ่านต่อ]

เลิกกิจการต้องแจ้งประกันสังคมไหม

กรุงเทพ--29 มิ.ย.--กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เตือนนายจ้างที่เลิกกิจการ อย่าลืมแจ้งประกันสังคมด้วย เพราะหากตรวจสอบแล้ว ยังไม่ยอมแจ้งระวังจะโดนเก็บเงินย้อนหลัง พร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมายอีกร้อยละ 2 ต่อเดือน

แจ้งออกจากงานกี่วันประกันสังคม

“ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น” อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม จังหวัดราชบุรี

แจ้งเข้าประกันสังคมกี่วันถึงเข้าระบบ

เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สปส 6

- แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส.6-15)