ข้อสอบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ pdf

81312

หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์

แบบประเมินผลก่อนและหลังเรียน

(เตรียมซ่อม 8 สิงหาคม 2553 เวลา 11.45-14.15 น.)

.............................................................................................................................

หน่วยที่ 1

1. รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ(PUBLIC ADMINISTRATION) แยกพิจาณาได้เป็น 2 แนวทาง

-           ในแง่ของวิชาการ เป็นศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวกับการบริหารของภาครัฐ

-          ในแง่ของการปฏิบัติการ จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการบริหารของภาครัฐ

2.       รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ รัฐกิจ หมายถึง(พจนานุกรม วิกีพีเดีย)

-         การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร

-          มีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบิการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งในการบริหารจัดการภาครัฐ

-          เป็นการเน้นให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ

-          และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม

3.       รัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวข้องกับข้อใด

-          เกี่ยวข้องกับวิชาบริหารรัฐกิจ

-          การบริหารที่เกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐ เช่น ความมั่นคง การต่างประเทศ การยุติธรรม เป็นต้น

4.       ขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์ คือข้อใด

-          ขอบเขตด้านนโยบายสาธารณะ

-          ขอบเขตด้านองค์การ และ พฤติกรรมองค์การ

-          ขอบเขตด้านการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารพัฒนา

-          ขอบเขตด้านการบริหารภาครัฐแนวใหม่

5.       รัฐประศาสนศาสตร์ได้ให้ความสำคัญกับ สิ่งใด

-          คน

-          กลุ่ม

-          องค์การ

-          และสภาพสิ่งแวดล้อม

6.       พัฒนาการของ รัฐประศาสนศาสตร์สามารถแบ่งออกได้คร่าวๆเป็น 3 ยุค ได้แก่

-          ยุดที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

-          ยุคที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง ค.ศ.1970

-          ยุคที่ 3 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970-2008

7.       การบริหารภาครัฐแนวใหม่เกิดขึ้นในสมัยใด

-          ปลายทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990

8.       การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อใด

-          หลังสงครามโลกครั้งที่  2

-          มีกรอบแนวคิดที่พัฒนามาตั้งแต่ปลาย ค.ศ. ที่ 18

9.       เป้าประสงค์สำคัญของการบริหารภาครัฐในขณะนี้ คือ

-          ประโยชน์สุขของประชาชน

10.    กลไกการบริหารภาครัฐที่สำคัญได้แก่

-          ส่วนราชการ

-          รัฐวิสาหกิจ

-          องค์การมหาชน

-          องค์กรปกครองส่วนท้องสิ่น

11.    พฤติกรรมการบริหารภาครัฐเกี่ยวข้องกับ

-          ฝ่ายการเมือง

-          ฝ่ายบุคลากรประจำ

-          ฝ่ายประชาชนเป็นสำคัญ

12.    การบริหารโดยยึดหลัก พหุนิยม(ADMINISTRATION PLURAISM) คือ

-          การบริหารที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มที่หลากหลายในสังคม

-          จะคำนึงถึงนโยบายที่ได้รับมาจากกลุ่มประโยชน์ต่างๆ

-          เมื่อภาครัฐตัดสินใจก็ต้องคำนึงถึงความหลากหลายความต้องการของกลุ่มต่างๆ

13.    ศาสตร์การบริหาร (ADMINTRATIVE SCIENCE) หมายถึง

-          ให้ความสำคัญกับการพัฒนาลักษณะวิชาที่เน้นนักบริหารสามารถนกความรู้ไปใช้ได้ในวงกว้าง

14.    กรอบเค้าโครงความคิดเบ็ดเสร็จหมายถึง

-          กรอบคิดว่าการบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง และ

-          กรอบคิดว่า การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์การบริหารมารวมกัน

15.    แมก เวเบอร์ (MAX WEBER)

-          นักวิชาการที่เสนอเกี่ยวกับ ระบบราชการในอุดมคติ

16.    แฟรงค์ กูดนาว (FRANK GOODNOW) คือ

-          นักวิชาการด้านกฏหมายปกครอง ชาวอเมริกัน

-          เริ่มสอนวิชาที่มีสาระคล้ายกับรัฐประศาสนศาสตร์

-          ผลงานชื่อ “POLITICS AND ADMINITRATION”

17.    โรเบิร์ต ดาห์ล

-          นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่สนใจในการ ศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

18.    วู๊ดโรว์ วิลสัน

-          เขียนบทความเรื่อง “THE STUDY OF MINISTRSTION”ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

19.    ประเทศสำคัญที่เป็นผู้บุกเบิก การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ได้แก่

-         ประเทศเยอรมันนี

20.    แนวคิดที่อยู่ใน ยุคพฤติกรรมนิยม ได้แก่

-         แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์

21.    เฟรด ริกซ์

-         นักวิชาการที่สนใจ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมกับการบริหาร

-         และ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ได้แก่

* วิธีการทำงานที่ดีที่สุด

*  และ การค้นหาหลักการทำงานที่ก่อให้เกิดการกลมกลืน

19. แม็คซีแลนด์ (MC CLELAND)

-         ให้จุดริ่มต้นของ การศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในเรื่อง สมรรถนะ

20. เป้าประสงค์สำคัญของ การบริหารภาครัฐ ในอดีตคือ

-         การรักษาความมั่นคงของรัฐ

ในปัจจุบันคือ ประโยชน์สุขของประชาชน

21.    ประเทศไทยนำเอา แนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในรัฐบาล

-         รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร

22.    วิชาที่เป็นพื้นฐานของ ทฤษฎีองค์การ คือ

-         สังคมวิทยา

-         จิตวิทยาสังคม

-         มานุษยวิทยา

23.    ทฤษฎีองค์การ สามารถแยกออกได้เป็น 3 ทฤษฎีหลัก ได้แก่

-         ทฤษฎีที่อาศัยการใช้หลักเหตุผล     ใช้โครงสร้างและการมีเหตุผลเป็นหลัก

-         ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน     ให้ความสำคัญกับคนมากกว่าตัวแปรอื่น

-         ทฤษฎีระบบเปิด   ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

24.    กระบวนการนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วย

-         การริเริ่มนโยบาย

-         การกำหนดประเด็นนโยบาย

-         การกำหนดทางเลือกนโยบาย

-         การประเมินทางเลือก และการเลือกนโยบาย

-         การประกาสนโยบาย

-         การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

25.    การศึกษานโยบายสาธารณะมีหลายแนวทางศึกษาที่สำคุญๆ เช่น

-         การศึกษาที่มาของนโยบาย

-         การศึกษากระบวนการตัดสินใจของนโยบาย

-         การศึกษาผลลัพธ์ของนโยบาย

-         การศึกษานโยบายสาธารณะเปรียบเทียบ

23. ในปลายทศวรรษที่ 1990 และต้นทศวรรษที่ 2000 ผู้ที่เสนอเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ๆและถูกนำมาใช้บริหารภาครัฐ คือ

-           แคพแลน (KAPLAN) เรียกว่า BALANCED SCORECARD)

24. องค์ประกอบหนึ่งของ POSDCORB คือ

-         การรายงาน(REPORTING)

P. PLANNING                  การวางแผน

O. ORGANIZATION           การจัดองค์การ

S.  STAFFING              การจัดการบุคคล

D. DIRECTING     การอำนวยการ
Co.COORDINATING
        การประสานงาน
R.REPORTING
    การรายงาน
B. BUDGETING   
การงบประมาณ

25. แนวคิดเกี่ยวกับ องค์กรที่มีสมรรถนะสูงเกิดขึ้นในยุคใดของการ ศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

-         ยุคหลังพฤติกรรมนิยม

26. ข้อใดที่มีการกำหนดเกี่ยวกับการยึดหลัก ประโยชน์สุขของประชาชน

-         พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534(แก้ไขเพิ่มเติม)

26.    เป้าประสงค์ของ การบริหารภาครัฐยุคใหม่ คือ

-         ประโยชน์สุขของประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด

27.    การบริหารสาธารณะ (PUBLIC SERVICE) หมายถึง

-         บริหารที่รัฐจัดให้แก่พลเมืองของตนในสังคมทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของประชาชน

28.    ประเภทของบริการสาธารณะ

-         บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางการปกครอง(SERVICE PUBLICS ADMINISTRATION)

-         บริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม(SERVICE PUBLICS INDUSTRIES ET COMMERCIAUX)

29.    หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดทำบริการสาธารณะ

-         หลักว่าด้วยความเสมอภาค

-         หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง

-         หลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

30.    องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารบริการสาธารณะ แยกเป็น 2 ฝ่ายคือ

-         ฝ่ายภาครัฐ (องค์กรบริหารบริการสาธารณะโดยรัฐ)

-         ฝ่ายภาคเอกชน(องค์กรบริหารบริการสาธารณะโดยเอกชน)

.............................................................................................................................................................หน่วยที่ 2

1.       วิชารัฐประศาสนศาสตร์กำเนิดมาจากงานเขียนข้อใด

-          THE STUDY OF ADMINISTRATION

2.       กระบวนทัศน์ใดที่ส่งผลให้เกิดวิชา รัฐประศาสนศาสตร์

-          การแยกการบริหารออกจากการเมือง

3.       ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ คือ

-          การเมืองและนโยบายสาธารณะ

-          ทฤษฎีองค์การ

-          เทคนิคการบริหาร

4.       รัฐประศาสนศาสตร์ ยุคโครงสร้าง-หน้าที่ คือ

-          การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

-          หลักการบริหาร

5.       ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y  เป็นแนวคิดของผู้ใด

-          ดักกลาส แมกเกรเกอร์

6.       กระบวนทัศน์ของ เอลตัน เมโย  คือ

-          มนุษย์สัมพันธ์

7.       รัฐประศาสนศาสตร์

-          ไม่ได้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

-          เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์

-          เป็นกึ่งวิชาชีพ

-          เป็นสหวิทยาการ

8.       อัตลักษณ์ของรัฐประศาสนศาสตร์ คือ

-          การบริหารรัฐกิจ และ สาธารณกิจ

9.       รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องใด

-          ความเสมอภาคทางสังคม

10.    ข้อที่แสดงว่า รัฐศาสตร์ กับรัฐประศาสนศาสตร์ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ

-          การเมืองกับการบริหาร

-          การกำหนดนโยบายกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ

-          ระบบบริหารเป็นระบบย่อยของระบบการเมือง

-          มหภาคกับจุลภาค

.............................................................................................................................................................หน่วยที่ 3

1. วิธีการแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่สังคมศาสตร์แนววิทยาศาสตร์นำมาใช้จะแยกทฤษฎีว่าด้วยความรู้ออกเป็นสองกระบวนการใหญ่ๆคือ ตรรกะ ของการค้นพบหรือการแสวงหาแบบวิทยาศาสตร์กับข้อใด

-          ตรรกะของการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์

* ข้อนี้หากถาม พิสูจน์ ให้ตอบ ค้นพบ

หากถามค้นพบ ให้ตอบ พิสูจน์ ลงท้ายว่า  แบบวิทยาศาสตร์

2.       การเมืองหรืออำนาจไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการ คือ เงื่อนไขหรือบริบทของการผลิตหรือสร้างความรู้ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรม-สังคมเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ของนักทฤษฎีและ

-          ความรู้คือผลลัพธ์ของวาทกรรม

* เงื่อนไขหรือ บริบท ของการผลิตหรือสร้างความรู้ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรม-สังคม เป็นเรื่องของเอกลักษณ์ของนักทฤษฎี และความรู้คือผลลัพธ์ทางวาทกรรม จัดเป็นเหตุผลหลัก 3 ประการของเรื่องใด

                        - ญาณวิทยากับการเมือง/อำนาจแยกกันไม่ออก

3.       การบำบัดเป็นมากกว่าการสื่อสารธรรมดา แต่อัดแน่นไปด้วยเรื่องของอำนาจผลประโยชน์ และความเหนือกว่าจัดเป็นการมองญาณวิทยา แบบใด

-          การให้ความสำคัญของฐานคติของวิธีการแสวงหาความรู้แต่ละแบบ

4.       ข้อใดกล่าวถูกต้อง

-          สำนักประจักษนิยมและสำนักปฏิฐานนิยมทางตรรกวิทยา ต่างไม่มีที่ว่างให้กับการตีความ

-          เพราะต่างเห็นว่าภาษามีความชัดเจนและมี ตรรกะของตัวเอง

5.       สำนักปฏิฐานนิยม เชิง ตรรกะ มองข้ามเรื่องใด

-          การตีความ

6.       สำนักใดที่มองว่า ภาษาเป็นกลาง

-          สำนักประจักษนิยม

7.       ความหลากเลื่อน(DIFFERENCE)ตามแนวคิดของ ฌาร์ค แดร์ริดา เกี่ยวกับโครงสร้างเรื่องใด

-          การเขียน

-          เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถจัดวางไว้ในกรอบของมโนทัศน์เรื่องการสื่อสารในแบบของปฏิฐานนิยมได้

8.       ออสติน แยกความหมายการพูด

-          ILLOCUTIONARY ACTES หมายถึง

·            การพูดในฐานะที่เป็นการกระทำ/การแสดงแบบหนึ่งที่มีความหมายขึ้นกับจารีตปฏิบัติทางสังคมในเรื่องนั้น เช่น ผมสัญญาว่าจะไม่มาสาย

-          LOCUTIONARY ACTS หมายถึง

·            การพูดโดยทั่วๆไป เป็นการพูดเพื่อจะบอกหรือกล่าวอะไรบางอย่างเพื่อให้รู้ว่าเป็นการพูดถึงเรื่องนี้/สิ่งนี้ มิใช่เรื่องนั้นสิ่งนั้น เช่น เขาบอก/เขากล่าวกับผมว่า....

-          PERLOCUTIONARY ACTS หมายถึง

·            การพูดเพื่อต้องการให้เกิดผลลัพธ์บางอย่าง เช่นการพูดหว่านล้อม ชักชวน ข่มขู่ เช่น เขาข่มขู่ /หว่านล้อมผมให้.........

การพูดทั้ง 3 แบบนี้ถือเป็นการกระทำทั้งสิ้น นั่นคือ การพูดทุกครั้ง(LOCUTIONARY ACTS) ถือเป็นการกระทำไปพร้อมๆกันด้วย การพูดทุกครั้งเป็นการพูดเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่นการพูดเพื่อถามหรือตอบคำถาม พูดเพื่อให้ข้อมูลให้ความมั่นใจเพื่อเตือน พูดเพื่อประกาศเจตนารมณ์ ความตั้งใจ พูดเพื่อบอกนัด วิพากษ์ วิจารณ์ หรือพูดเพื่อระบุถึงบางสิ่งบางอย่างเป็นต้น

9.       คลิฟฟอร์ด เกอร์ทซ์ ได้วิเคราะห์ตัวบทจากเรื่องใด

-          การตีไก่ ในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะตัวบท

10.    เฟรด เดอริกสัน นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ เรียกร้องในเรื่องใด

-          แยกการศึกษาระหว่าง PUBLIC ADMINISTRATION กับ PUBLIC GOVERNMENT

11.    โดนัลด์ เดวิดสัน เรียกทัศนะที่มีต่อภาษาว่า

-          ความบริสุทธิ์ผุดผ่องทางปรัชญา

12.    ตัวตั้งที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงจากการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพสู่การบริหารจัดการความแตกต่างที่หลายหลายคือเรื่องใด

-          สังคม

13.    การให้ความสำคัญกับ คนชายขอบ ให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวจากการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพสู่การบริหารจัดการแบบใด

-          ความแตกต่างหลากหลาย

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หน่วยที่ 4

ความแตกต่างระหว่าง องค์การสาธารณะ กับ องค์การภาคเอกชน คือ

-          การทำงานขององค์การสาธารณะถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมทางราชการ

-          องค์การสาธารณะอาจมีเป้าหมายในการดำเนินกิจการให้เกิดผลกำไรได้เช่นเดียวกับองค์การภาคเอกชน

-          ที่มาของแหล่งเงินทุนขององค์การสาธารณะมาจากภาษีประชาชนและบางส่วนอาจมาจากภาคเอกชน

-          องค์การสาธารณะจะถูกตรวจสอบจากฝ่ายการเมือง ภาคประชาชน สื่อมวลชน มากกว่าองค์การภาคเอกชน

การอธิบาย ความหมายขององค์การ หมายถึง

-          กลุ่มคนที่ซึ่งมีความสนใจร่วมกันในการอยู่รอดในสังคมและมีพันธะในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันโดยใช้โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ

-          เป็นการอธิบายความหมายภายใต้ กรอบแนวคิดเหตุผลนิยม

องค์การสาธารณะ ที่ทำหน้าที่ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ

-          องค์การบริหารส่วนตำบล

-          เทศบาล

-          องค์การบริหารส่วนจังหวัด

-          กรุงเทพมหานคร/เมืองพัทยา

ข้อความใด อธิบายความหมายของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ(SERVICE DELIVERY UNIT=SDU)

-          เป็นหน่วยงานที่ให้บริการภายในระบบราชการเป็นอันดับแรก

-          อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดกระทรวง หรือ อธิบดี

-          มีรูปแบบการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ(BUSINESS-LIKE APPROACH)

-          การก่อตั้งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ความหมายของ องค์การมหาชน”(AUTONOMOUS PUBLIC ORGANIZATION:APO) คือ

-          มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในทางกฎหมายมหาชน

ตัวแบบการตัดสินใจ ที่มีฐานคติว่าผู้ตัดสินใจมีทรัพยากรและข้อมูลข่าวสารและที่จะต้องใช้ในการตัดสินใจเพียงพอ(PERFECT INFORMATION)ที่จะใช้ในการตัดสินใจ และมีเป้าหมายในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด(UTILIZATION OR PROFIT MAXIMIZATION)

-          ตัวแบบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล(RATIONALCOMPREHENSIVE DECISION MAKING)

สาระสำคัญของกระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่(NEW PUBLIC MANAGEMENT:NPM) คือ

-          นำเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการของภาคเอกชามาปรับใช้ในการบริหารราชการ

-          ปฏิบัติต่อประชาชนผู้รับบริการโดยถือเสมอเหมือนเป็นลูกค้าของหน่วยงาน

-          เน้นภาระรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน(ACCOUNTABILITY FOR RESULT)

-          ประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้างและการแข่งขันประมูลงาน(COMPETITIVE TENDERING)

ข้อใดอธิบายข้อจำกัดของ ตัวแบบการตัดสินใจแบบมีเหตุผลอย่างจำกัด”(BOUNDED-RATIONALITY) ได้ถูกต้องที่สุด

-          ขาดการพิจารณาโดยใช้เหตุผลครบถ้วนสมบูรณ์

สาระสำคัญของ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่”(NEW PUBLIC MANAGEMENT=NPM)

-          วิธีการบริหารจัดการไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการบริหารธุรกิจและการบริหารสาธารณะ

-          มีการถ่ายโอนอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง เพื่อเพิ่มอิสระและความคล่องตัว

-          มุ่งปรับโครงสร้างของหน่วยราชการให้มีขนาดเล็กลง เพิ่มความคล่องตัวมากขึ้น

-          การแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็น เอกชน และการจ้างเหมางานภายนอก

ทฤษฎีการบริหารร่วมสมัยต่างๆเหล่านี้อาศัยแนวคิดระบบเปิด(OPEN SYSTEM)ในการอธิบายองค์การ คือ

-          ทฤษฎีพึ่งพาทรัพยากร(RESOURCE DEPENDENCY THEORY)

-          ทฤษฎีเชิงสถาบัน(INSTITUTIONAL THEORY)

-          ทฤษฎีโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์(STRUCTURAL CONTINGENCY THEORY)

-          ทฤษฎีต้นทุนการแลกเปลี่ยน(TRANSACTIONAL COST THEORY)

ยกเว้น ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์(HUMAN RELATIONS THEOERY)

การอธิบายองค์การภายใต้ แนวคิดระบบเปิด คือ

-          องค์การเป็นระบบที่มีปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต

-          องค์การมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

-          องค์การมีระบบการหยุดความเสื่อมภายใน(NEGATIVE ENTROPY)

-          องค์การเป็นระบบที่มีลำดับชั้น(HIERARCHICAL SYSTEM)

ตามแนวคิด ตัวแบบองค์การระบบเปิด(OPEN SYSTEM) คำว่า “EQUIFINALITY” หมายถึง

-          วิธีการบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพหลายแนวทาง

แนวคิดการบรรลุเป้าหมายองค์การด้วยวิธีการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว”(ONE BEST WAY)มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ใดมากที่สุด

-          การสร้างความเป็นทางการและความเป็นมาตรฐานเดียวกันในระบบ

การจัดโครงสร้างองค์การ แบบใบไม้สามแฉก”(SHAMROCK ORGANIZATION) ของชารล์ส แฮนดี้(CHARLES HANDY)สามารถเทียบเคียงได้กับโครงสร้างองค์การแบบใด ในทัศนะของเฮนรี่ มินซ์เบริก์ (HENRY MINTZBERG)

-          โครงสร้างแบบเฉพาะกิจ(ADHOCRACY)

·       สร้างนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ

·       นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่สู่ตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งเสมอ

·       ประกอบด้วยผู้ชำนาญการที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการสร้างสินค้า

·       มีประสิทธิภาพสูงสุดในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก

·       องค์การประเภทนี้ได้แก่ องค์การเกี่ยวกับแฟชั่น ความบันเทิง เทคโนโลยีล้ำสมัย

ตัวย่อ SDU” หมายถึง

-          หน่วยงานที่มีรูปแบบการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ

-          จะมีลักษณะการบริหารในแบบกระจายอำนาจ

-          การจัดโครงสร้างแยกส่วนออกมาเป็นหน่วยงานเอกเทศ หรือที่เรียกว่า ศูนย์รับผิดชอบ

-          สามารถดูแลรับผิดชอบการดำเนินการบริหารทรัพยากรและส่งมอบผลผลิตของตนเองในลักษณะเดียวกับ ศูนย์กำไร”(PROFIT CENTER)ของบริษัทเอกชนทั่วไป

การจัดโครงสร้างองค์ประกอบที่มีส่วนประกอบหลักคือ ผู้บริหารและพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยแบ่งกลุ่มคนทำงานในองค์การออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

-          กลุ่มมืออาชีพ (THE PROFESSION)

-          กลุ่มคู่สัญญาจากภายนอก(THE OUTSOURCES)

-          กลุ่มพนักงานชั่วคราว(PART-TIME HELPERS)

มีชื่อเรียกว่า “SHARMROCK OGANIZATION” หรือ องค์การแบบใบไม้สามแฉก ของ ชารล์ส แฮนดี้(CHARLES HANDY)

นักรัฐประศาสนศาตร์ ชื่อ WALLACE S.SAYRE ได้กล่าวไว้ว่า

-          ภาคธุรกิจเอกชนกับภาครัฐมีความคล้ายกันเฉพาะในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญ

ความหมายของประโยชน์ หมายถึง

-          องค์การภาครัฐ มีภารกิจบริหารสาธารณะในบริบทของการเมือง และ การปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในชาติ

.............................................................................................................................................................

หน่วยที่ 5

ข้อใดเป็น แนวคิดองค์การลักษณะเครื่องจักรกล

-          แนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการ และ แนวคิดหลักการบริหาร

ข้อใดเป็น จุดอ่อนของแนวคิด องค์การแบบสิ่งมีชีวิต

-          เน้นเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีชีวิตรอด

องค์การร้านอาหารจานด่วน แมคโดนัลด์มีลักษณะการบริหารจัดการ แบบเครื่องจักรกลอย่างไร

-          สร้างระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ

ข้อใดเป็นแนวคิดองค์การ ลักษณะสิ่งมีชีวิต

-          แนวคิดองค์การชีวิตขององค์การ แนวคิดองค์การแบบมนุษยสัมพันธ์ และแนวคิดเชิงระบบ

องค์การ ลักษณะสิ่งที่เรียนรู้ได้มีลักษณะอย่างไร

-          บุคลากรอุทิศตัวในการทำงานให้องค์การ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน

องค์การ แบบสิ่งมีชีวิตควรนำไปประยุกต์ใช้ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร

-          ผู้ปฏิบัติกล้าแสดงออกและต้องการมีส่วนร่วม

ข้อใด เป็นศาสตร์ที่ได้นำมาใช้ในการศึกษา ทฤษฎีองค์การ

-          จิตวิทยา-เศรษฐศาสาตร์-มนุษยศาสตร์

ข้อใดเรียงลำดับ พัฒนาการของทฤษฎีองค์การได้อย่างถูกต้อง

-          สำนักระบบเปิด-สำนักเหตุผลนิยม-สำนักธรรมชาตินิยม

ข้อใดแสดงถึง ทฤษฎีองค์การที่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิด วิทยาศาสตร์ ได้ถูกต้อง

-          แนวคิดทฤษฎีระบบขององค์การได้รับอิทธพลจาก ชีววิทยา

ข้อใด อธิบายความเหมือนหรือความแตกต่างของ องค์การลักษณะสิ่งที่เรียนรู้ได้ กับองค์การลักษณะสิ่งมีชีวิตได้ถูกต้อง

-          องค์การลักษณะสิ่งที่เรียนรู้ได้ต่างกับองค์การลักษณะสิ่งมีชีวิตในแง่ที่องค์การลักษณะสิ่งมีชีวิต เน้นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่องค์การลักษณะสิ่งที่เรียนรู้ได้ เน้นการปรับตัวหรือเอาชนะสิ่งแวดล้อม

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หน่วยที่ 6

แนวคิดการบริหารจัดการ ภาคสาธารณะแนวใหม่ คือ

-          การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

จุดเน้นของการบริหารจัดการภาคสาธารณะแนวใหม่ คือ

-          การบริการ

การปกครองตนเองจัดอยู่ในแนวคิดใด ที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการภาคสาธารณะแนวใหม่

-          ประชาธิปไตย

แนวคิดใดให้ความสำคัญต่อ การยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นสำคัญ คือ

-          ชุมชนนิยม

แนวคิดยุคโลกาภิวัตน์ยกเว้น ข้อใด

-          รัฐควบคุมกำกับเอกชนมากขึ้น

ที่ไม่ยกเว้น คือ

-          ลูกค้า คือ ปัจจัยสำคัญที่สุด

-          คิดทั่วโลก กระทำท้องถิ่น

-          ต้องการความเป็นอิสระทางการเมืองและวัฒนธรรม

-          ท่องเที่ยวจะเป็นตัวแปรสำคัญในเศรษฐกิจโลก

ข้อใด มิใช่อนาคตของสังคมไทย

-          ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง

ที่ใช่คือ

-           คอมพิวเตอร์จะทำงานแทนคนมากขึ้น

-          คนจะเปลี่ยนงานหลายครั้ง

-          อาคารชุดและอาคารสูงมากขึ้น

-          การประเมินผลจะเปิดเผยมากขึ้น

-          ระบบความสามารถถูกนำมาใช้มากขึ้น

ข้อใด คือ การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต

-          E-COMMERSE

ข้อใดคือ ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่

-          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

·       เทคโนโลยีสารสนเทศ

·       เทคโนโลยีชีวภาพ

แนวคิดการปฏิรูประบบราชการใหม่(REINVENTING GOVERNMENT) ยกเว้น ข้อใด

-          มุ่งเน้นลูกค้า                    ที่ถูกต้อง คือ

-          มุ่งเน้นพันธกิจ              การกระจายอำนาจ

-          มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  วิสาหกิจ

-          มุ่งเน้นกลไกตลาดคาดการณ์ล่วงหน้า และ ส่งเสริมกำกับ

ข้อใดคือ จุดเริ่มต้นของวิธีการสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี

-          ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ขั้นตอนสุดท้าย คือ

-         การประเมินผลและปรับแก้ที่ถูกต้อง

ข้อใดคือ บทบาทภาคประชาสังคมในการบริหารภาครัฐ

-          การมีส่วนร่วมบริหารจัดการ

-          การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

-          การพัฒนาชุมชนและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชุมชน

จุดเริ่มต้นของภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐ คือ

-         ร่วมคิด ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์

ข้อใด หมายถึง การบริหารจัดการที่ดี

-          สุประศาสนการ(GOOD GOVERNANCE)

-          ธรรมาภิบาล      การบริหารงานที่เป็นธรรม

-          ธรรมรัฐ  รัฐที่มีการบริหารบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม

-          สุประศาสนการ   การบริหารจัดการที่ดี

-          ธรรมราษฎร์      การกำกับดูแลที่ดี

การคาดคะเนความเสี่ยงและการบริหารความขัดแย้งจัดเป็นตัวชี้วัดในหลักการข้อใดของ ทศธรรมในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

-          หลักการบริหารจัดการ

* หลักการบริหารจัดการสาธารณะแนวใหม่ในทศธรรมในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือ

-         หลักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

.............................................................................................................................................................หน่วยที่ 7

คำว่า พันธกิจ(MISSION) มีความหมายตรงกับ

-          กรอบ ขอบเขต การดำเนินงานของหน่วยงาน

แผนยุทธศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งใด

-          งานตามประเด็นยุทธศาสตร์

เอกสารแผนยุทธศาสตร์ต้องมีองค์ประกอบหลักใดบ้าง

-          วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ประเด็นยุทธศาสตร์-เป้าประสงค์-ตัวชี้วัด-เป้าหมายยุทธศาสตร์

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ SWOT

-          จุดแข็ง-จุดอ่อน             เป็นปัจจัยภายใน

-          โอกาส-ภัยอุปสรรค         เป็นปัจจัยภายนอก

การใช้ยุทธศาสตร์ การพัฒนา เหมาะสมกับสถานการณ์ข้อใด

-          WO = จุดอ่อน-โอกาส

ยุทธศาสตร์ ป้องกันตัว”(DEFENSIVE)ควรใช้สถานการณ์ใด

-          โอกาสน้อยกว่าภัยคุกคาม จุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน

BSC หรือ BALANCED SCORECARD เป็นเครื่องมือใช้ทำอะไร

-          การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

-          ตัวแบบคะแนนสมดุล

ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(BLUEPRINT FOR CHANGE) ที่ผู้บริหารตัดสินใจปรับองค์การให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์

-          โครงสร้างองค์การ-กระบวนงาน-เทคโนโลยี-การเงินงบประมาณ และ ทรัพยากรมนุษย์

งานวิเคราะห์ปัจจัยภายในเพื่อหา SWOT อาศัยตัวแบบใด

-          ตัวแบบ 7-S

แผนยุทธศาสตร์ คือการเชื่อมโยง

-          เป้าประสงค์

แผนยุทธศาสตร์ คือ

-          ยุทธศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงในลักษณะแผนที่ที่แสดงเส้นทางของความสัมพันธ์ในเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

-          จัดทำได้จากการสร้างความสัมพันธ์ของเป้าประสงค์ตามมุมมองตัวแบบบัตรคะแนนสมดุล

องค์ประกอบในการเขียนแบบ โครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์ คือ

-          สาระสำคัญโดยสรุป

-          แหล่งอ้างอิง/เจ้าภาพ

-          ฐานคติที่สำคัญ

มุมมองตามหลัก คะแนนสมดุล”(BALANCED SCORECARD)

-          มุมมองด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์

-          มุมมองด้านคุณภาพการบริการ

-          มุมมองด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ

หลักข้อใด ใช้สำหรับการกำหนดและเขียนดัชนีชี้วัดให้มีความชัดเจน

-          หลัก 2O 2T (QUALITY,QUANTITY,TARGET AND TIME)

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ(TURNAROUND) ควรใช้สถานการณ์ใด

-          โอกาสมากกว่าภัยคุกคาม และจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน

การงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน หรือ PBB(PERFORMANCE BASED BUDGETING) คือ

-          การจัดทำงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน หรือถือเอาผลงานเป็นตัวตั้ง เน้นพวงผลและการตั้งเป้าหมายแล้วกำหนดงบประมาณให้สอดคล้องตามผลงานที่ระบุไว้ในแผน

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เพื่อหา SWOT อาศัยตัวแบบใด

-          ตัวแบบ SYSTEM

องค์ประกอบสำคัญของดัชนีชี้วัด คือ

-          เป้าหมาย

-          เวลา

-          กำไร

.............................................................................................................................................................

หน่วยที่ 8

1.       หน้าที่ทางการคลังที่ สำคัญที่สุด ของรัฐบาลคือ

-          รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-          เก็บรักษาเงินของรัฐบาล

2.       ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอีเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ในการบริหารการเบิกจ่ายเงินของไทยคือระบบ ใด

-          GFMIS(GOVERNMENT FISCAL MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM)

-          ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอีเล็กทรอนิกส์

3.       ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ หรือ ชะลอตัว รัฐบาลควรตัดสินใจเลือกใช้นโยบายการคลังแบบใด

-          แบบขยายตัว

4.       ในภาวะเศรษฐฏิจของประเทศมีการขยายตัวมากเกินไป รัฐบาสลควรตัดสินใจเลือกใช้นโยบายคลังแบบใด

-          แบบหดตัว

5.       รายได้จากภาษีอากร ภาษีทางตรง คือ

-          ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

-          ภาษีเงินได้นิติบุคคล

-          ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

* ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีการค้า-ภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจจำเพาะ-ภาษีสินค้าเข้า-ออก

6.       รายรับของรัฐบาล คือ

-          เงินภาษีอากร

-          รายได้ของรัฐบาล

-          เงินกู้ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ

-          เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

-          เงินที่ได้รับมาจากการนำเงินคงคลังมาใช้

7.       ข้อใดจัดอยู่ในประเภทรายจ่ายการลงทุน

-          ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

·       รายจ่ายประจำคือ

-          ค่าวัสดุสำนักงาน

-          ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

-          ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า

-          เงินเดือนและค่าจ้าง

8.       ตามกระบวนการงบประมาณของไทย ขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร

-          รัฐสภา/ฝ่ายนิติบัญญัติ

9.       ระบบงบประมาณของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือระบบใด

-          ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

10.    แนวคิดสำคัญประการหนึ่งของของนักเศรษฐศาสตร์ สำนักเคนส์ คือ

-          การก่อหนี้เป็นสิ่งจำเป็น

·       สำนักเสรีนิยม มีแนวคิดว่า

-          การก่อหนี้เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน

11.    สถานการณ์ หนี้สาธารณะของไทย คือ

-          หนี้ในประเทศมีจำนวนมากว่าหนี้ต่างประเทศ

12.    หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมงบประมาณโดยการตรวจหลังจ่าย(POST-AUDIT)  คือ

-          ผู้ตรวจการแผ่นดิน

13.    ผลจากการกู้เงินมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในปัจจุบัน คือ

-          จะเป็นภาระแก่คนรุ่นลูกหลาน

14.    ผลของการกู้เงินมาใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระยะยาว คือ

-          ไม่ถือว่าเป็นภาระของคนรุ่นลูกหลาน

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หน่วยที่ 9

การจัดการบุคคล(PERSONEL MANAGEMENT)เน้นในเรื่อง

-          มนุษย์สัมพันธ์และมนุษย์นิยมตามแนวทางพฤติกรรมศาสตร์

-          การจัดข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลากร การทำงานตามเวลาที่กำหนด การลากิจ ลาป่วย

-          การจัดประโยชน์และบริการ การฝึกอบรมและการเน้นบุคคลากรเฉพาะเป็นรายบุคคล

-          การดำเนินกิจกรรม การดำเนินการทั้งระบบนับตั้งแต่การสรรหาสู่การพ้นสภาพพนักงานขององค์การ

การบริหารทุนมนุษย์(HUMAN CAPITAL MANAGEMENT)เน้นในเรื่อง

-          การลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างมู,ค่าเพิ่มให้แก่ผลสำเร็จขององค์การ

-          การยืดหยุ่นหลากหลาย การจัดการผลการปฏิบัติงาน การใช้คนน้อยที่ให้ประสิทธิภาพมาก

-          การเพิ่มคุณค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ ทั้งการยึดหลักสมรรถนะและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

-          การบริหารเทคโนโลยี ความรู้ทักษะ สมรรถนะที่ติดตัวคนในองค์การ และมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน

ฮูโก มันสเตอร์เบอร์ก (HUGO MUNSTERBERG)

-          นักวิชาการที่เสนอวิธี การปรับปรุงวิธีการทดสอบบุคคลเพื่อการจ้างงาน การฝึกอบรม การประเมินผลการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงาน

แมรี่ ปาร์กเกอร์ ฟอลเลต(MARY PARKER FOLLET)

-          นักวิชาการคนใดที่เสนอแนวคิด องค์การที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและให้ความสำคัญกับกลุ่มมากกว่าบุคคลการนำเสนอแนวคิดการทำงานเป็นกลุ่มและความผูกพันระว่างบุคคลในกลุ่ม

เอลตัน เมโย(ELTON MAYO)

-          นักวิชาการที่ทำการศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพการทำงาน

-          โดยเน้นพฤติกรรมกลุ่มจากการทดลอง ฮอร์ธอร์น”(HAWTHORNE STUDY)

-          และกลายเป็นที่มาของขบวนการมนุษยสัมพันธ์(HUMAN RELATION MOVEMENT)

สังคมแห่งการเรียนรู้(KNOWLEDGE-BASE SOCEITY)มีความเกี่ยวพันกับเรื่องต่างๆ คือ

-          การคิดรวบยอด

-          การคิดแบบวิเคราะห์

-          การคิดแบบโครงสร้าง

-          การคิดอย่างเป็นระบบ

กระบวนการ แผนยุทธศาสตร์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เริ่มต้นจาก

-          การกำหนดพันธกิจองค์การ

การนำกรอบหรือ ตัวแบบการสมรรถนะมาใช้สำหรับการดำเนินการและการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นความหมายของ

-          การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยยึดสมรรถนะ

องค์การเสมือนจริงมีความเกี่ยวข้องกับ

-          กระแสโลกาภิวัตน์

ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแผนยุทธศาสตร์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

-          การเปรียบเทียบอุปสงค์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และอุปทานทางด้านทรัพยากรมนุษย์

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยยึด สมรรถนะ”(COMPETENCY BASE HRM.)หมายถึง

-          การนำกรอบหรือตัวแบบการสมรรถนะมาใช้สำหรับการดำเนินการและการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

บุคคลที่มีหน้าที่ริเริ่มการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ

-          ผู้บริหารระดับสูง

การให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์ถึงการใช้ความรู้ ความชำนาญ และขีดความสามารถของพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การแต่ละระดับหรือแต่ละตำแหน่ง จัดเป็นแนวทางการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบใด

-          การวางแผนจากล่างขึ้นบนและการวางแผนแบบผสม

การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์(MANAGEMENT BY OBJECTIVE :MBO)เป็นเทคนิควิธีการที่ใช้ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์แนวทางใด

-          การวางแผนแบบผสม

การสรรหา วิธีใดที่เป็น แนวทางเชิงรุก

-          การเสาะแสวงหาโดยตรง

การสรรหาวิธีใดที่มีหลักสามประการ คือการประกาศต้องเป็นการดึงดูด(ASTTRACTIVE)ต้องการและทั่วถึง(COMPREHENSIVE)และการกำหนดระยะเวลาให้ยาวนานพอสมควร

-          การโฆษณา

การเปลี่ยนตำแหน่งจากตำแหน่งเดิมไปสู่ตำแหน่งใหม่ที่มีลักษณะเปลี่ยนสังกัด จัดเป็นความหมายข้อใด

-          การโอน

การย้าย หมายถึง

-          การเปลี่ยนจากตำแหน่งเดิมไปสู่ตำแหน่งใหม่ในสังกัดเดียวกัน

ตัวแบบ RLBR MODEL มุ่งอธิบายกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องใด

-          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

มุ่งเน้น

·       ปฏิกริยา

·       การเรียนรู้

·       พฤติกรรม

·       ผลลัพท์

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””หน่วยที่ 10

ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศ(INFORMATION TECHNOLOGY)คือ

-          เทคโนโลยี 2 ด้านหลักที่ประกอบด้วย

·        เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์

·        เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน

เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษรและตัวเลขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

การประมวลผล(PROCESSING) คือการเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งอาจได้แก่ การคำนวณ การสรุป หรือการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลประมวลผลประกอบด้วย องค์ประกอบย่อยดังนี้

-          บุคลากร

-          กระบวนการ

-          ฮาร์ดแวร์

-          ซอฟต์แวร์

KNOWLEDGE-BASED SOCEITY ตามแนวของ ALVIN TOFFLER คือสังคมใด

-          สังคมคลื่นลูกที่ 3

-          อุตสาหกรรมแนวใหม่ๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งอารยธรรมในช่วงที่ 2

-          ซึ่งเป็นยุคแห่งโรงงานและอุตสาหรรม

คลื่นลูกที่ 1 คือ

-          การปฏิวัติด้านการเกษตรกรรมประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว

-          อำนาจจะอยู่ที่กำลังผู้ปกครอง ประชาชนคอยรับคำสั่งเท่านั้น

-          เป็นการปกครองแบบเผด็จการ

คลื่นลูกที่ 2 คือ

-          การเปลี่ยนแปลงสำคัญทางสังคมและเทคโนโลยี

-          ช่วงต้นแห่ง ทศวรรษที่ 1950-1959

-          เป็นต้นกำเนิดของพรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนตัวแทนของกลุ่มต่างๆ

-          ที่มีความขัดแย้งกันเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตน

-          ดุลแห่งอำนาจจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่ กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง

คลื่นลูกที่สาม (THIRD WAVE) หมายถึง อุตสาหกรรมแนวใหม่ อันเป็นยุคเริ่มต้นแห่งอารยธรรมในช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นยุคแห่งโรงงานและอุตสาหกรรมการเปลี่ยนแปลงต่างๆมีหลายประการ คือ

-          การพัฒนาเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์(COMPUTERS)

-          การพัฒนาดด้านอิเล็กทรอนิกส์(ELECTRONIC)

-          การพัฒนาเทคโนโลยีข่าวสาร(INFORMATION)

-          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ(BIOTECHNOLOGY)

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร คือ

-          MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM : MIS

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งเป็นยุคได้ดังนี้

-          ยุคก่อนเครื่องจักร(PREMACHANICAL)

-          ยุคเครื่องจักรกล(MACHANICAL)

-          ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์(ELECTROMECHANICAL)

-          ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์(ELECTRONIC)

ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขนาด ดังนี้

-          ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

-          เมนเฟรมคอมพิวเตอร์

-          มินิคอมพิวเตอร์

-          ไมโครคอมพิวเตอร์

TRANSLATION PROGRAM เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรม หรือ ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือ ภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ คือ

-          ASSEMBLY

CIO คือตำแหน่งใด

-          ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง

INFORMATION TECHNOLOGY SECURITY คือ

-          การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

.............................................................................................................................หน่วยที่ 11

1.       การค้นแสวงหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์นโยบายที่ถูกต้อง คือ

-          สิ่งที่รัฐทำหรือดำเนินการ

2.       ในแง่ของหลักการการวิเคราะห์นโยบาย โดยทั่วไปเป็นการพยายามค้นแสวงหาสิ่งใด

-          สิ่งที่รัฐทำหรือดำเนนการ

-          พยายามค้นหาเหตุผลว่าที่รัฐบาลทำ ทำไมรัฐบาลจึงทำ

3.       ประเด็นของการวิเคราะห์นโยบายที่รัฐประศาสนศาสตร์ให้ความสนใจ คือ

-          ปัญหาของนโยบาย

-          ประเด็นเชิงปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม

4.       ตัวอย่างของนักรัฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ ให้ความสนใจทฤษฎีหรือ ตัวแบบชนชั้นนำที่ถูกต้อง

-          VILFREDO PARETO

-          GASTANO MOSCA

-          ROBERT MICHELS

-          HAROLD D.LASSWELL

-          C.WRIGHT MILLS

ที่ไม่ใช่คือ

- THOMAS R.DYE

5.       ตามตัวแบบ ทฤษฎีกลุ่ม บทบาทหน้าที่ของระบบการเมืองที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ คือ

-          การสร้างกติกาต่อสู้ระหว่างกลุ่ม

-          การประนีประนอมและจัดสรรผลประโยชน์กับกลุ่มต่างๆ

6.       ตามตัวแบบทฤษฎีระบบ ปัจจัยนำเข้า หรือ INPUT คือ

-          การสนับสนุนต่อระบบการเมือง

ตามตัวแบบทฤษฎีระบบ ปัจจัยนำออก(OUTPUTS) คือ

-          การตัดสินใจหรือนโยบาย

7.       ตามตัวแบบสถาบันใหม่ ในแง่ของหลักการถือกันว่าเป็นตัวแบบที่ให้ความสำคัญกับสถาบันทางการเมืองโดยมุ่งไปในประเด็นใด

-          การทำนายเชิงทฤษฎีรวมทั้งประเภทหรือชนิดของนโยบาย

8.       JOHN W.KINGDON

-          จากการศึกษาได้สังเกตว่า มี 3 กระแสหลัก ที่ต่างเป็นอิสระต่อกันที่ทำให้เป็นที่มาของ กระบวนการนโยบาย  คือ

·       กระแสปัญหา

·       กระแสการเมือง

·       กระแสนโยบาย

9.       ตัวแบบ กระแสหน้าต่างนโยบายพัฒนาขึ้นมาโดยใคร

-          JOHN W.KINGDON

10.    ตามตัวแบบเหตุผล เวลาที่มีการเลือกนโยบายที่มีเหตุผล ผู้กำหนดนโยบายโดยทั่วไปจะต้องรู้และ/หรือจะต้อสามารถในเรื่องใด

-          ทางเลือกของนโยบายทุกทางเลือก

-          ผลของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือก

-          เลือกทางเลือกนโยบายที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดได้

-          คำนวณหาอัตราส่วนผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่เสียไปในแต่ละทางเลือก

11.    ตามทฤษฎีเกม องค์ประกอบของเกมที่ถูกต้อง คือ

-          ต้องมีทรัพยากร อาทิ ทรัพย์สินเงินทอง

-          ต้องมียุทธวิธี

-          ต้องมีเป้าหมายที่ผู้เล่นแต่ละคนพึงมี

-          ต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน 2 กลุ่ม 2 ฝ่าย

12.    ใครคือบุคคลแรกที่ให้ความสนใจกับ การวางแผนกลยุทธ์

-          ALEVED CHANDLERS,Jr

13.    ใครคือผุ้เสนอตัวแบบเพิ่มเติม หรือตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป

-          CHARLES E.LINBLOM

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หน่วยที่ 12

สาเหตุหลักที่ผลักดันให้กระแสการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ

-          ภาครัฐยุคใหม่ต้องปรับลดบทบาทจากผู้ปกครองเป็นผู้ให้บริการ

-          ภาครัฐไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว รุนแรง เปิดกว้างและมีการแข่งขันสูง

-          ภาครัฐมีความอ่อนแอล้าสมัยไม่สามารถบริหารจัดการประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศตกต่ำ เกิดภาวะหนี้ท่วมท้น

-          สังคมเสื่อมศรัทธาในภาครัฐทั้งในเรื่องของการบริหารและการทุตจริตประพฤติมิชอบ

ความหมายของการบริหาร มุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ

-          การบริหารโดยมุ่งผลลัพท์ที่เกิดกับประชาชน หรือ ผู้รับบริการ

-          ปรับปรุงงานบริการให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการ

-          รายงานผลงานให้สาธารณธทราบ

การที่ประเทศมี ธรรมาภิบาล ควรประกอบด้วย

-          เป็นสังคมที่มีกลไกกติกาการบริหารจัดการที่ดีเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคประชาชนเข้าด้วยกัน

-          มีกลไกแกนในการสร้างความสมดุลระหว่างองค์ประกอบต่างๆของสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

-          สังคมมีเสถียรภาพ และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวบ่งชี้วัดผลงานตามแนวทาง การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จะประกอบด้วยตัวบ่งชี้สำคัญต่อไปนี้

-          ตัวบ่งชี้กระบวนการ(PROCESS INDICATORES)

ตัวบ่งชี้ สารสนเทศเชิงอธิบาย “EXPLANATORYINFORMATION)เป็นตัวบ่งชี้วัดผลงานตามแนวทางหลักการใด

-          การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ มีหลายประเภท คือ

-          ทฤษฎีพรรณนา

-          ทฤษฎีปทัสถาน

-          ทฤษฎีว่าด้วยสันนิษฐาน

-          ทฤษฎีว่าด้วยวิธีการ

การเกิดขึ้นของการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ควบคู่ ไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการบริหารที่สำคัญๆ กล่าวคือ

-          ความพยายามที่จะลดหรือชะลอการเจริญเติบโตของรัฐบาลที่มีการใช้จ่ายเงินที่เกินตัว และใช้กำลังคนมากเกินความจำเป็น

-          การปรับเปลี่ยนไปให้ความสำคัญในการแปรรูปกิจการของรัฐ ไปเป็นกิจการของภาคเอกชนหรือกึ่งเอกชน

-          พัฒนาการของระบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนในเรื่องการผลิตและการส่งมอบบริการ

-          พัฒนาการของการบริหารที่เป็นสากลมากขึ้น เช่น การให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการภาครัฐ การกำหนดนโยบายรูปแบบการตัดสินใจและการร่วมมือระหว่างรัฐบาล

รูปแบบของการแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่เอกชน ในข้อใดที่มีการดำเนินการอย่างกว้างขวางมากที่สุด

-          การให้สัมปทาน(FRANCHISING)

*น้อยที่สุด คือ

การให้สิทธิบัตร

ข้อควรพิจารณาในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยวิธีการว่าจ้างเอกชนจัดทำบริการสาธารณะมีดังนี้

-          มีการใช้งบประมาณน้อยลงเมื่อมีการว่าจ้างเอกชนจัดทำบริการสาธารณะ

-          ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของผู้รับจ้างภาคเอกชนจะต้องเกี่ยวกับประสิทธิภาพเชิงเทคนิคในการให้บริการตามสัญญาจ้าง

-          ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของเอกชนผู้รับจ้าง จะต้องทำให้เกิดผลต่อประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ว่าจ้างนั้นด้วย

การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPPs) จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องดำเนินการตามข้อใดสำคัญที่สุด

-          กำหนดนโยบายด้านการประเมินผลและการตรวจสอบการดำเนินการ

ที่ต้องดำเนินการเป็นขึ้นตอนแรก คือ

กำหนดนโยบายและการวางแผน

รัฐวิสาหกิจแรกของไทย ที่ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วย ทุนรัฐวิสาหกิจ คือหน่วยงานใด

-          การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย

-          แปรรูปจากรัฐวิสาหกิจไปสู่ความเป็นบริษัทมหาชนในปี พ.ศ.2544

-          มีทุนจดทะเบียนทั้งหมด 28,500 ล้านหุ้น

-          นำหุ้นออกมาขายจำนวน 220 ล้านหุ้นหมดในเวลา 1.25 นาที

กฏหมายฉบับหนึ่งที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการ แปลงทุน ของรัฐวิสาหกิจให้เป็น หุ้นเพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อไป คือ

-          พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542

ประเทศไทยนำรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีโครงการนำร่องในข้อใด

-          โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(บางปะอิน-โคราช)

-          ระยะทาง 199 กิโลเมตร อยู่ในแผนการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

-          เร่งด่วนระยะ 10 ปี (พ.ศ.2550-2560)

-          โครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่

-          โครงการบริหารจัดการอุทยาน

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

หน่วยที่ 13

1.       นักวิชาการที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ คลื่นการปฏิวัติของโลก คือใคร

-          เอลวิท ท๊อฟเลอร์

คลื่นลูกแรก เป็นการปฏิวัติทางเกษตรกรรม

คลื่นลูกที่ 2 เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ช่วง ค.ศ.ที่ 17

คลื่นลูกที่ 3 เป็นการปฏิวัติทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์

2.       แนวคิดเกี่ยวกับ REINVENTING GOVERNMENT เกิดขึ้นในประเทศใด

-          สหรัฐอเมริกา

-          เสนอโดยประธานาธิบดี บิล คลินตัน ในปี ค.ศ.1993

-          ให้รัฐปรับบทบาทจากการทำเอง(ROW) มาเป็นการกำกับทิศทาง(STEER)

-          เพิ่มอำนาจให้ชุมชนในการแก้ไขปัญหาของตนเองมากกว่าเพียงเป็นผู้ให้บริการสาธารณะเท่านั้น

-          ส่งเสริมให้มีการแข่งขันแทนการผูกขาด

-          ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์มากกว่าปัจจัยนำเข้า

3.       ผู้ที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ราชาปราชญ์(PHILOSOPHY KING)คือใคร

-          เพลโต(PLATO)

-          เป็นผู้ปกครองที่มีความรู้ มีคุณธรรม

ส่วนอริสโตเติล (ARISTOTLE) เห็นคล้ายคลึงว่า

-          รูปแบบการปกครองแบบราชาปราชญ์เป็นการปกครองที่ดีที่สุด

-          ส่วนรูปแบบการปกครองที่ เลวที่สุด คือ รูปแบบประชาธิปไตยเนื่องจากเป็นการปกครองของคนหมู่มากที่ไม่มีความรู้

ฮอบบ์ (HOPPES)

-          มนุษย์มารวมกันอยู่ในสังคมและมอบสิทธิที่มีอยู๋ตามธรรมชาติให้แก้ผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนกับความคุ้มครองที่ผู้ปกครองจะให้แก่คนในสังคมนั้น

ล็อค (LOCK)

-          แม้ว่า มนุษย์จะมอบสิทธิตามธรรมชาติที่มีอยู่แต่เดิมให้กับผู้ปกครองก็ตาม แต่หากผู้ปกครองปกครองโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่สามารถให้ความคุ้มครองคนในสังคมได้ ประชาชนก็สามารถถอดผู้ปกครองออกได้

4.       การบริหารราชการส่วนกลาง เป็นการบริหารราชการแบบใด

-          แบบรวมอำนาจ(CENTRALIZATION)

-          แบ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารราชการแบบใด

-          แบบมอบอำนาจ(DECONCENTRATION)

-          แบ่งเป็น จังหวัด อำเภอ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการแบบใด

-          แบบแบ่งอำนาจ หรือ กระจายอำนาจ

-          แบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล การปกครองรูปแบบพิเศษ

5.       กฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดินไทย ขณะนี้คือ

-          พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2550

6.       ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ฉบับแรกเริ่มต้นใน พ.ศ.ใด

-          พ.ศ.2547

ฉบับที่ 1 พ.ศ.2546-2550

ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551-2555

7.       ในระดับจังหวัด มีองค์กรใดทำหน้าที่ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด

-          คณะกรรมการจังหวัด

ประกอบด้วย

-          ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

-          รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าฯมอบหมาย 1 คน

-          ปลัดจังหวัด

-          อัยการจังหวัด ซึ่งหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด

-          ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด

-          หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงกรมต่างๆ

-          เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยที่ประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวงหรือทบวงละ 1 คน เป็นกรรมการจังหวัดและหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการจังหวัดและเลขานุการ

8.       ระบบผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลใด

-          รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

9.       การปกครองท้องถิ่นไทย มีจุดเริ่มต้นในข้อใด

-          การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม

10.    องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดตั้งเทื่อใด

-          พ.ศ. 2498

11.    หน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ หมายถึง

-          หน่วยงานที่มีสถานะเป็นหน่วยงานให้บริการภายในระบบราชการ

-          มีลักษณะกึ่งอิสระแต่ไม่มีสถานะเป็น นิติบุคคล

-          ถือเป็นส่วนหนึ่งของ กระทรวง หรือ กรม อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ปลัดกระทรวง หรือ อธิบดี ได้แก่

·       สำนักงานกษาปณ์

·       กรมธนารักษ์

·       สถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

·       สำนักงาน ก.พ.ร.

12.    การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศต่างๆจะมีระเบียบบริหารที่อาจมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

-          รูปแบบของรัฐ

-          รูปแบบการบริหารงานของรัฐ

13.    การจัดการบริหารภาครัฐ ขณะนี้ใช้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่เน้น

-          ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีส่วนร่วม

-          ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้เป็นนามธรรม

14.    การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น อยู่บนพื้นฐานของหลักการ

-          การรวมอำนาจ

-          การมอบอำนาจ

-          การแบ่งอำนาจ

15.    ในสังคมโลกาภิวัตน์ บทบาทรัฐได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากบทบาทหลักในการบริหารประเทศในเกือบทุกด้านเปลี่ยนมาเป็นบทบาทกำกับ ดูแล และสนับสนุนส่งเสริมโดยจะทำภารกิจสำคัญๆที่จำเป็น ได้แก่

-          การป้องกันประเทศ

-          การต่างประเทศ

-          การยุติธรรม

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””หน่วยที่ 14

แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในทาง รัฐประศาสนศาสตร์ มาจากรากฐานหรือ ปรัชญา ของใคร

-          โธมัส เจฟเฟอร์สัน(THOMAS JEFFERSON)

-          ที่มองว่าภาครัฐ ควรมีบทบาทให้น้อย และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองมากยิ่งขึ้น

องค์กร INTERNATIONAL ASSOCIATION FOR PUBLIC PARTICIPATION (IAP2) ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ส่งเสริมและพัฒนาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนมองว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นระดับการเข้ามามีส่วนร่วมที่น้อยที่สุด

-          การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน(TO INFORM)

แนวคิดและทฤษฎีทาง พฤติกรรมศาสตร์อยู่บนความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องใด

-          พฤติกรรมเกิดจากแรงจูงใจ

กระบวนการที่สร้างความตื่นตัวในการพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชน โดยอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมในสังคมและการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเรื่องใด

-          แนวคิดการพัฒนาชุมชน

ฐานคติ...ที่สำคัญของแนวคิดเรื่อง ทางเลือกสาธารณะ คือ

-          มองว่าปัจเจกบุคคลโดยธรรมชาติ ยึดประโยชน์ตนเองเป็นหลัก มีเหตุมีผล และต้องการมีทางเลือก

-          วิธีการดำเนินการบริหารต้องปรับให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการสาธารณธแต่ละประเภท

-          พิจารณาว่าการถ่วงดุลและการแข่งขันเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น

-          รูปแบบของการบริหารควรมีลักษณะที่ส่งเสริมให้แต่ละองค์การต้องทำการตัดสินใจในรูปของหลักเหตุผล และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด

ESCAP มองว่า หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย กี่หลักการ

-          8 หลักการ

แนวคิดชุมชนนิยม (COMMUNITARIANISM) เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิด

-          การยอมรับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการคงอยู๋ร่วมกันในสังคม ที่เน้นให้ความสำคัญต่อการสร้างศีลธรรมและคุณธรรม

การหยิบยกประเด็นหัวข้อในเรื่องเรื่องหนึ่งขึ้นมาทำการสนทนาร่วมกัน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาของสังคมหรือข้อกังวลใจต่างๆ มาปรึกษาหารือหาทางออกโดยไม่ได้ เน้นนำมาใช้ในการตัดสินใจ เรียกวิธีการแบบนี้ว่า

-          การจัดเสวนาหาทางออก

ตัวบ่งชี้ ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลสัมฤทธิ์ ที่เกิดขึ้นจากการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เรียกตัวบ่งชี้  นี้ว่า

-          KPI

การนำตัวชี้วัด มาใช้ในการประเมินความสำเร็จของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน จะต้องเริ่มต้นขั้นตอนแรกคือ

-          การกำหนดวัตถุประสงค์

.............................................................................................................................................................

หน่วยที่ 15

องค์ประกอบของ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มี 6 ประการ คือ

-          หลักนิติธรรม

-          หลักคุณธรรม

-          หลักความโปร่งใส

-          หลักการมีส่วนร่วม

-          หลักความรับผิดชอบ

-          หลักความคุ้มค่า

ที่ไม่ใช่คือ

-หลักประสิทธิภาพ

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นการปฏิบัติราชการที่มีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมาย 7 ประการ คือ

-          เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

-          เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

-          มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

-          ไม่มีขั้นตอนปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

-          มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์

-          ประชาชนได้รับความสะดวกและได้รับการตอบแทนสนองความต้องการ

-          มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

แนวคิดการบริหาร แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์”(RESULTBASED MANAGEMENT) เป็นแนวคิดที่มุ่งหวังให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารภาครัฐในเรื่อง

-          เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

นักวิชาการสำนัก นีโอคลาสสิกมีจุดเน้นสำคัญอยู่ที่เรื่องใด

-          การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐลง

ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์  ที่มองว่า พฤติกรรมของมนุษย์สามารถอธิบายได้ในรูปแบบของพันธสัญญา(CONTRACTS)โดยที่บุคคลฝ่ายหนึ่งจะเข้ามาทำการตกลงแลกเปลี่ยน(EXCHANGE)กับอีกฝ่ายหนุ่งหรือผู้รับจ้าง

-          ทฤษฎีผู้ว่าจ้างและตัวแทน

มาตรการในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมี ทางเลือกและร้องเรียนได้ คือ

-          การเพิ่มช่องทางให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณะให้หลากหลายมากขึ้น

BUSINESS-LIKE APPROACH หมายความว่า

-          ภาครัฐมองว่าสามารถนำเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้อยู่ในภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ในภาครัฐได้เช่นกัน

ในการบริหารภาครัฐโดยภาครัฐของไทยที่เรียกว่า การบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ได้มีการนำเครื่องการบริหารใดมาใช้

-          BALANCED SCORECARD หรือ การบริหารงานแบบมุ่งสมดุล

-          โดยได้ประยุกต์ 4 มิติที่ใช้ในภาคธุรกิจมาเป็น 4 มิติที่ประกอบด้วย

·        มิติประสิทธิภาพ

·        มิติคุณภาพการบริการ

·        มิติประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ

·        มิติการพัฒนาองค์กร

นักวิชาการที่สำคัญ เออร์วิน และ สแตนบูรี่ (IRVIN AND STANSBURY)เห็นว่าเงื่อนไขการจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานภาครัฐ มีเครื่องชี้วัดที่สำคัญ 2 ประการที่สำคัญ คือ

-          เครื่องชี้วัดค่าใช้จ่ายต่ำ และเครื่องชี้วัดผลประโยชน์สูง

ข้อใดเป็นค่านิยมของ กระแสแนวคิดทางรัฐศาสตร์

-          TRANSPARENCY

กระแสแนวคิดอื่นๆ คือ

-          EFFECTIVENESS   กระแสแนวคิดการจัดการนิยม

-          RULE OF LAW                 กระแสแนวคิดทางนิติศาสตร์

-          EFFECIENCY                  กระแสแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์

“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””