สํานักงานสถิติแห่งชาติ ผู้สูงอายุ 2563

นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่าจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และปี 2574 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด เพราะจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจประชากรไทย 67.6 ล้านคน ในปี 2560 แบ่งเป็นชาย 33 ล้านคน หญิง 34.6 ล้านคน และเป็นมีผู้สูงอายุทำงาน 3.9 ล้านคน หรือร้อยละ 35.1 ของผู้สูงอายทั้งหมด ส่วนใหญ่ประกอบธุรกจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง

สำหรับ 5 อาชีพที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำ ได้แก่ การเกษตร งานบริการและจำหน่ายสินค้า อาชีพขั้นพื้นฐาน ช่างฝีมือ และด้านเครื่องจักรและประกอบชิ้นส่วน โดยผู้สูงอายุที่ทำงานอยู่ให้เหตุผลว่า สุขภาพยังแข็งแรง มีแรงทำงาน ต้องหาเลี้ยงครอบครัวหรือตนเอง และเป็นอาชีพประจำไม่มีผู้ดูแลแทน ส่วนแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.7 มาจากบุตรมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 31 มาจากการทำงานของผู้สูงอายุ และได้รับเบี้ยยังชีพจากราชการ ซึ่งยังพบว่าเฉลี่ยผู้สูงอายุชายมีรายได้ต่อปีกว่าผู้สูงอายุหญิง ขณะที่ผู้สูงอายุไทยยังคงได้รับสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลถึงร้อยละ 99.2 มาจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์ข้าราชการหรือข้าราชการบำนาญ และสิทธิ์ประกันสังคมหรือกองทุนเงินทดแทน มีเพียงร้อยละ 0.8 ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล

นอกจากนี้ ในปี 2560 จากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุไทยอยู่ลำพังคนเดียวสูงขึ้นร้อยละ 10.8 รวมถึงหากพิจารณาอัตราการพึ่งพิงปี 2560 ประชากรวัยทำงาน 100 คน ต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็กถึง 51 คน และคาดว่าปี 2570 จะเพิ่มเป็น 64 คน โดยสังคมไทยควรจะต้องเตรียมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว เช่น ผู้สูงอายุต้องมีการดูแลสุขภาพและการกิน ส่งเสริมอาชีพและกิจกรรมทางสังคม ปรับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยและบริการสาธารณะที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ รวมถึงขยายอายุการทำงานให้มากกว่า 60 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแนะนำผู้ที่มีอายุ 50 - 59 ปี ควรเตรียมความพร้อมก่อนเป็นผู้สูงวัยในอนาคต เพื่อไม่เป็นภาระกับลูกหลาน

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร

ข้อมูลสถิติประชากร

จำนวนประชากรทั้งประเทศ 66.17 ล้านคน (ปี 2564)
แยกตามช่วงอายุ (ปี) (2564)
0-14 ปี (ชาย 5,612,711/หญิง 5,302,116) 16.49%
15-24 ปี (ชาย 4,311,507/หญิง 4,111,057) 12.73%
25-54 ปี (ชาย 14,760,947/หญิง 15,079,981) 45.10%
55-64 ปี (ชาย 4,042,250/หญิง 4,636,216) 13.12%
65 ปีขึ้นไป (ชาย 3,611,703/หญิง 4,702,951) 12.57%
อายุมัธยฐาน 39 ปี (ปี 2563 ประมาณการ)
อัตราการเพิ่มของประชากร 0.26% (ปี 2564 ประมาณการ)
อัตราการเกิด (ต่อประชากรพันคน) 10.25 (ปี 2564 ประมาณการ)
อัตราการตาย (ต่อประชากรพันคน) 7.66 (ปี 2564 ประมาณการ)
อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตต่อไปอีกกี่ปี) (ปี 2564 ประมาณการ)
ชาย 74.39 ปี
หญิง 80.6 ปี
จำนวนประชากรแยกตามที่อยู่อาศัยในเขตเมือง (2564)
กรุงเทพมหานคร 5.53 ล้านคน
นครราชสีมา 2.63 ล้านคน
ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน (เดือนธันวาคม 2564) 39.77 ล้านคน
อัตราการว่างงาน 1.4%

ปิรามิดประชากร - ประเทศไทย พ.ศ. 2563

สํานักงานสถิติแห่งชาติ ผู้สูงอายุ 2563

แหล่งที่มา : ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_61.pdf), สำนักงานสถิติแห่งชาติ (http://popcensus.nso.go.th/quick_stat1.php?rg=1) and Central Intelligence Agency, the United States of America (https://www.cia.gov/library/publications/resources/the-world-factbook/geos/th.html)

ด้านแรงงงาน

จำนวนแรงงานในประเทศไทยคือ 39.77 ล้านคน (ไตรมาส 2/2565) โดยแรงงานหลักมีอายุต่ำกว่า 35 ปี แต่ละปีมีแรงงานเพิ่มขึ้นราว 800,000 คน มีแนวปฏิบัติด้านแรงงานมาตรฐาน รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยบังคับและการจ่ายเงินล่วงเวลา

ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยในปัจจุบันคือ 313 บาทต่อวัน แม้ว่าจะไม่ใช่ตลาดแรงงานที่มีราคาถูกที่สุดในภูมิภาค แรงงานในประเทศไทยเป็นแรงงานที่คุ้มค่าที่สุดในโลก เนื่องจากมีชื่อเสียงด้านความขยันและการปรับตัว

ค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ

ตารางแสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน)เขตท้องที่บังคับใช้
354 บาท (3 จังหวัด) ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต
353 บาท (6 จังหวัด) กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
345 บาท (1 จังหวัด) ฉะเชิงเทรา
343 บาท (1 จังหวัด) พระนครศรีอยุธยา
340 บาท (14 จังหวัด) ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
338 บาท (6 จังหวัด) มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก
335 บาท (19 จังหวัด) เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยาสุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
332 บาท (22 จังหวัด) อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร
328 บาท (5 จังหวัด) ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี

การรู้หนังสือ

อัตราการรู้หนังสือในประเทศไทยค่อนข้างสูง และในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเน้นการศึกษาเพิ่มขึ้น การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศไทยเป็นภารกิจสำคัญสูงสุด

คำจำกัดความ อายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านและเขียนได้ (ปี 2561)
ประชากรรวม 93.8%
ชาย 95.2%
หญิง 92.4%

ข้อมูลพื้นฐาน

ภาษาที่เป็นทางการ ไทย
เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร
GDP : 505.5 พันล้านดอลลาร์ (2564)
GDP ต่อหัว : 7,254.3 ดอลลาร์ (2564)
สกุลเงิน บาท (THB)
เขตเวลา UTC+7
อินเทอร์เน็ต TLD th
รหัสประเทศ +66

ข้อมูลเพิ่มเติม

พื้นที่รวม 513,120 ตารางกิโลเมตร
น้ำ : 2,230 ตารางกิโลเมตร
ที่ดิน : 510,890 ตารางกิโลเมตร
ท่าอากาศยาน : 38 แห่ง (ท่าอากาศยานนานาชาติ 7 แห่ง)
ทางรถไฟ : 4,429 กิโลเมตร
ถนน : 390,026 กิโลเมตร

แหล่งที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ CIA World Fact Book กระทรวงแรงงาน บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปรับปรุงล่าสุด : วันที่ 16 กันยายน 2565

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader