แรงจูงใจในการ ทำงาน ของฉัน

ชื่อเรื่อง:

แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน 

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Motivation toward work, organizational citizenship behavior and performance effectiveness of working people

ผู้แต่ง:

รวินท์พร สุวรรณรัตน์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บังอร โสฬส

ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานในองค์การของบุคลากรวัยทำงาน รวมทั้งศึกษาอำนาจในการทำนายประสิทธิผลการทำงานในองค์การของแรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบุคลากรวัยทำงาน ซึ่งเป็นพนักงานในองค์การต่างๆ ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาและอยู่ระหว่างการศึกษาจากคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคณะรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 401 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัด ได้แก่ แบบวัดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบวัด แบบวัดแรงจูงใจในการทำงาน แบบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และแบบวัดประสิทธิผลการทำงานในองค์การ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มทีละตัวแปร (Multiple Regression Analysis: Stepwise) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิผลการทำงานในองค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 2) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 3) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิผลการทำงานในองค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 4) แรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอำนาจร่วมกันทำนายประสิทธิผลการทำงานในองค์การได้ร้อยละ 51.6 ทั้งนี้โดยพบว่าบุคลากรวัยทำงานที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามีแรงจูงใจในการทำงาน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และมีประสิทธิผลการทำงานในองค์การสูงกว่าบุคลากรวัยทำงานที่อยู่ระหว่างการศึกษา ผลการวิจัยครั้งนี้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานในองค์การ และบ่งชี้ชัดเจนว่าบุคลากรวัยทำงานที่มีแรงจูงใจในการทำงานสูง มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานในองค์การมากพร้อมกันด้วย โดยบุคลากรวัยทำงานที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามีปัจจัยทั้ง 3 สูงกว่าบุคลากรวัยทำงานที่อยู่ระหว่างการศึกษา ทำให้เสนอแนะได้ว่าองค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานสูง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการเป็นthสมาthชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานในองค์การสูงตามไปด้วย 
The objectives of this research were to study the relationships among motivation toward work, organizational citizenship behavior and performance effectiveness of working people and investigate the predictive power of motivation toward work and organizational citizenship behavior on performance effectiveness. The sample of this research consisted of 401 working people who were newly graduate students and current students from School of Human Resource Development and School of Public Administration. Data were collected by questionnaires: personal information scale, motivation toward work scale, organizational citizenship behavior scale and performance effectiveness scale. Data analysis in the research utilized Pearson Correlation and Multiple Regression Analysis for testing hypotheses. The analyses showed that: 1) there were significant positive relationships between organizational citizenship behavior as a whole and each component and performance effectiveness in all and every component; 2) there were significant positive relationships between motivation toward work as a whole and each component and organizational citizenship behavior in all and every component; 3) there were significant positive relationships between motivation toward work as a whole and each component and performance effectiveness in all and every component; 4) motivation toward work, organizational citizenship behavior together could make 51.6 percent predictive power on performance effectiveness. Moreover, the analyse showed that the newly graduate employees indicated higher motivation toward work, organizational citizenship behavior and performance effectiveness than employees who were current students. The analyses of this research indicated positive relationships among motivation toward work, organizational citizenship behavior and performance effectiveness. It also clearly indicated that working people with high motivation toward work showed more of organizational citizenship behavior and performance effectiveness. The newly graduated employees declared higher level of the 3 variables as compared to the employees  who were current students. The analyses suggest that organizations should try to improve employees with high motivation toward work. These employees will later express high organizational citizenship behavior and performance effectiveness.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

แรงจูงใจ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
ประสิทธิผลการทำงานในองค์การ
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

138 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3791