ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ ตัวอย่าง

ดนตรีในชีวิตประจำวัน

ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ ตัวอย่าง

ดนตรีเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มานาน ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า “ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน” วันนี้เรามาดุกันดีกว่าว่า ดนตรีที่อยู่ในชีวิตเรานั้นมีอะไรบ้าง

1. ดนตรี กับศาสนา และพิธีกรรม ♬ 👨‍👩‍👧👩‍👧‍👧

ในศาสนา และพิธีกรรมตามความเชื่อของ แต่ล่ะบุคคล ดนตรีได้ถูกนำมาใช้ เช่น ใช้ในบทสวด หรืออธิษฐานขอพร การบวงสรวง บูชา ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ใช้ทำสมาธิ และใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีการต่างๆ เช่น การเปิดงาน ปิดงาน

2. ดนตรี กับวัฒนธรรมประเพณี ♪ ♪

แต่ล่ะท้องถิ่น ก็จะมีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันไปดนตรีก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป สำหรับประเพณีไทยดนตรีจะถูกนำมาใช้ทั้งงานรื่นเริงและงานที่แสดงถึงความโศกเศร้า หรือแม้แต่ประเพณีที่เกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ก็ล้วนมีดนตรีมาเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

3. ดนตรี กับการศึกษา ♪ 👩‍🎓🧑‍✈️👩‍🏫

ในการเรียน การสอน ได้นำดนตรีมาใช้เป็นสื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เกิดความสนุกสนาน พัฒนาสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจในการเรียน ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ดนตรียังช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี นาฏศิลป์ และการขับร้องอีกด้วย

4. เรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ♬ ♪

ในปัจจุบันการหาสื่อต่าง ๆ ในการศึกษาในเรื่องดนตรีไม่ใช่เรื่องยากแล้ว มีผู้รู้ด้านดนตรีหลายท่านได้ทำรีวิว บทวิเคราะห์ดี ๆ ลงตามเว็บไซด์ ซึ่งผมขอแนะนำเลยว่าการฟังบทวิเคราะห์พวกนี้อาจทำให้เราเข้าใจเพลงคลาสสิคในแง่มุมที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อนเลยก็ได้

5. ดนตรีกับสุขภาพ ♬ 🧍‍♀️

ดนตรีมีผลต่อ สุภาพร่างกายของคนเรา ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยต่างๆ และยังลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกายได้ดีอีกด้วย

6. ดนตรีกับสังคมและสถาบันต่างๆ ♬ ♪ 🎬

ดนตรีช่วยให้เราเกิดความรัก ความสามัคคี มีความยึดมั่น เคารพเทิดทูนในสถาบันของตนเอง เป็นเครื่องบำรุงจิตใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ดี และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกัน อีกด้วย

7. ดนตรี กับจิตวิทยา ♪ 📖📚

ดนตรีมีผลอย่างมากต่อจิตใจของคนเราค่ะช่วยให้เราเปลี่ยนจากนิสัยที่ก้าวร้าว เป็นอ่อนโยนลงได้ ทำให้เรามีสติ มีสมาธิมากขึ้น ช่วยจรรโลงใจ ส่งเสริมสุขภาพจิตและช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น

8. ดนตรีกับอาชีพธุรกิจ ♬ 💇‍♂️👲🤠

ดนตรีช่วยให้เรา สามารถสื่อสารกับผู้รับได้ดี มากกว่าการสื่อสารโดยการพูด หรือการบรรยาย ช่วยให้ธุรกิจของเราเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ประกอบการประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณา ช่วยกระตุ้นให้ เราสามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เรามีโอกาสประสบผลสำเร็จ ในการประกอบอาชีพได้มากยิ่งขึ้น

9. ดนตรีกับกีฬา ♪ 👨‍🦯🏃‍♀️🏃

ดนตรีได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการเล่นกีฬา ต่างๆ เพราะทำให้เกิดความครึกครื้น สนุกสนาน สร้างความฮึกเหิม ในการแข่งขันสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทีมและช่วยให้ผู้เล่นมีกำลังใจ ในการแข่งขันมากขึ้น

ในวิถีชีวิตปัจจุบัน บุคคลไม่อาจหนีรอดจากอิทธิพลของเสียงดนตรีได้ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ เสียงดนตรีก็จะแวดล้อมอยู่เกือบทุกเวลาและทุกสถานที่ ดนตรีถูกสร้างขึ้นมาใช้เป็นพื้นหลังสนับสนุนการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ดนตรีช่วยจุดประกายแสงสว่างให้แก่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในชีวิตของบุคคล ทั้งในยามสุข และยามเศร้า รังสรรค์ให้บุคคลได้ถ่ายเทอารมณ์จากอารมณ์ตึงเครียดเป็นอารมณ์ผ่อนคลาย เสียงดนตรีสามารถเชิญชวนให้บุคคลลุกขึ้นเต้นรำ สามารถดลบันดาลให้บุคคลมีความภาคภูมิใจในความเป็นหมู่คณะและความเป็นชาติของตน ถ้าปราศจากเสียงดนตรีแล้วศิลปะการแสดงต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลไม่สามารถแยกตนเองออกจากสังคมได้ เพราะโดยธรรมชาตินั้นมนุษย์จะอยู่รวมกันเป็นสังคม ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นร่วมกันล่าสัตว์ ร่วมกันประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ร่วมเฉลิมฉลองในงานประเพณีทางศาสนาเป็นต้น การรวมตัวกันลักษณะนี้ช่วยให้ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสแสดงตัวตนต่อสังคม และแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดกับบุคคลอื่น โดยในทุกกิจกรรมจะมีการบรรเลงดนตรีหรือขับร้อง เพื่อช่วยสื่อสารความเข้าใจระหว่างกันและกันของสมาชิกในสังคมด้วยอนึ่ง ดนตรีคือศิลปะที่บุคคลในสังคมสร้างสรรค์ขึ้นมาใช้ร่วมกัน ในบางครั้งอาจจะมีการเต้นรำเพิ่มเติมเข้ามาอีก ซึ่งทุกคนล้วนต้องมีอารมณ์ร่วมกับเสียงดนตรีทั้งสิ้น ดนตรีจึงกลายเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของสังคมมนุษย์ และวัฒนธรรมดนตรีของแต่ละสังคมล้วนเป็นเครื่องช่วยชี้บอกลักษณะของขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมและชาติพันธุ์ที่กลุ่มบุคคลในสังคมนั้นๆ ปฏิบัติ   องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี 

ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ช่วยให้การประสานงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ความสามารถทางการเห็นและการได้ยินดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมสร้างสมาธิ ความจำ เชาว์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่นๆ ดนตรีกับการพัฒนาสติปัญญา

เป็นที่ทราบกันดีว่าการนำดนตรีเข้าไปบูรณาการในเนื้อหาวิชาต่างๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ง่ายขึ้น ครูประถมศึกษาในอเมริกาแต่งเพลงประกอบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ

ดนตรีกับการพัฒนากระบวนการคิดกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยลำดับขั้นตอน ต้องอาศัยทักษะขั้นพื้นฐานจากการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งนั้นบรุนเนอร์ (Bruner, 1965 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543) กล่าวว่า เด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำ ต่อไปจึงจะสามารถจินตนาการ หรือสร้างภาพในใจหรือในความคิดขึ้นได้ จากนั้นจึงจะถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ส่วน บลูม (Bloom, 1961 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543) ได้จำแนกการเรียนรู้ (Cognition) ออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้ ขั้นเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินคุณค่า กระบวนการคิดที่สำคัญ ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา การคิดตัดสินใจ เป็นต้น

คำพูดที่มักจะใช้แทนภาพพจน์ของนักดนตรีว่าเป็นผู้มี "อารมณ์อ่อนไหว" (น่าจะเป็น "อารมณ์สุนทรีย์" มากกว่า - ผู้เขียน) ซึ่งอาจจะเกิดทัศนคติในทางลบก็เป็นได้ เพราะโดยแท้จริงนักดนตรีจะเป็นผู้ที่มี "อารมณ์มั่นคง" ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ต่างๆ นักวิจัยได้ค้นพบว่า สมองของมนุษย์สามารถตอบสนองและจำแนกอารมณ์ทางดนตรี (Musical Moods) ว่าเป็นความสุข ความเศร้า ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ โดยการตรวจสอบคลื่นไฟฟ้าในสมอง และยังพบว่า การตอบสนองเกิดขึ้นในระบบประสาทอัตโนมัติด้วย เช่น ความเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย เป็นต้น

บทบาทของดนตรีที่มีต่อสังคม

ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ให้แก่ตน หรือเพื่อเป็นการบูชา แสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

โลกได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ดนตรีก็ได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาและ เพลงร้องโดยทั่วๆ ไปเป็นต้น

ประโยชน์ของดนตรี

ร่างกายของมนุษย์เราเจริญเติบโตได้ด้วยอาหาร นอกจากคนเราจะรับประทานอาหารทางปากแล้ว ยังต้องการอาหารทางหู ทางตา ทางใจ และทางสมองอีก ศิลปะการดนตรีและการละครเป็นอาหารของหูและตา วรรณคดีและศาสนาเป็นอาหารทางใจและสมอง อาหารเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างการ ศิลปะของการดนตรีและ ละครก็เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสเกิดความสามัคคี และเพื่อการพักผ่อนในเมื่อร่างกาย และสมองได้รับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงาน คนเราทุกคนมีความเป็นนักดนตรีอยู่ในตนเอง บางคนแม้ไม่สามารถ เล่นดนตรีหรือร้องเพลงได้ ก็ยังชอบฟังและชอบดูศิลปะการดนตรีและละครมีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะประเภทอื่น เป็นรากฐานแสดงถึงความเจริญของประเทศชาติทางหนึ่ง คือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องส่งเสริมให้ดำรงสืบต่อไป ศิลปะประเภทนี้ต้องใช้เวลาสั่งสอนอบรมกันมาก หากไม่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันอาจจะเสื่อมสูญไปได้ การดนตรีและละครของไทย เป็นสมบัติอันมีค่าของชาติ เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอของคนไทยได้ว่า คนไทยหรือชาติไทยเป็นชาติที่มีอารมณ์เบิกบาน มีความกรุณากล้าหาญอันจะสังเกตได้จากศิลปะการดนตรีและละคร ซึ่งดำเนินไปด้วยความอ่อนโยนและนิ่มนวล การที่เราได้ฟังเพลงเกิดความรู้สึกคึกคักร่าเริง จะเป็นเพลงชาติใดภาษาใดก็ตาม เหล่านี้เกิดจากศิลปะของการดนตรีทั้งสิ้น นักประพันธ์เพลงจะต้องถือกฎเกณฑ์อันเป็นระเบียบ มีวิธีแต่งและวิธีบรรเลงอย่างมี หลักเกณฑ์รวมทั้งฝีมือของผู้บรรเลงด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจและเกิดความชำนิชำนาญเสียก่อน ใน สมัยก่อน ความเจริญ และความเสื่อมของศิลปะ อยู่ที่ความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง ในเวลาบ้านเมืองสงบ ศิลปะทั้งปวงก็ เจริญรุ่งเรือง

ดนตรีกับการเคลื่อนไหวทางสังคม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยนั้น คำอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ชัดเจนมีหลาย ๆ ช่วงเวลา ดังเช่น สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ที่คณะผู้ก่อการพยายามสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นของประชาชน เพลงสรรเสริญพระบารมีที่มีอยู่แล้วเป็นเพลงของพระมหากษัตริย์ ซึ่งภาพสะท้อนดังกล่าวเป็นการสร้างความชอบธรรมให้เห็นความต่างที่ชัดเจนกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรืออีกปรากฏการณ์หนึ่งในยุคสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามประเทศมาเป็นประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๒ และได้ทำการปรับปรุงเพลงชาติเพื่อให้เข้ากับชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ รวมทั้งยุคดังกล่าวเป็นยุคของความพยายามสร้างชาติใหม่ ซึ่งมีหลายปัจจัยส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคมทุกระดับ เช่น การให้ประชาชนทุกคนทำความเคารพเพลงชาติในตอนเช้าเวลา ๘.๐๐ น. และเย็นเวลา ๑๘.๐๐ น. ซึ่งทุกคนจะต้องหยุดยืนตรง ซึ่งประชาชนบางคนก็มีความรู้สึกชื่นชมแต่บางคนก็รู้สึกขบขันต่อสิ่งที่ได้กระทำ จากนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดเอกลักษณ์ใหม่ของสังคมที่ปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่มีต่อสังคมนั้นมีบทบาทอยู่หลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การให้ความสนุกนานและผ่อนคลายความเครียดให้กับประชาชนในสังคม การใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการช่วยบำบัดผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งการใช้ดนตรีเพื่อเป็นสื่อเพื่อสร้างพลังบางอย่างให้กับกลุ่มชนต่าง ๆ เพื่อสร้างความสำนึกให้เกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติ ดังนั้นเราจะเห็นว่าดนตรีนั้นเปรียบเสมือนกับสถาบันหนึ่งในโครงสร้างทางสังคมที่สำคัญไม่แพ้กับสถาบันอื่นๆในสังคม

เพลงที่คนไทยควรควรรู้จัก

เพลงชาติไทย เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์

ในข้อบังคับทหารว่าด้วยการเคารพ มาตรา 3 การบรรเลงเพลงเคารพ ได้ระบุถึงการบรรเลงเพลงเคารพในส่วนของเพลงชาติไว้ว่า เพลงชาติจัดเป็นเพลงเคารพด้วยแตรวง ใช้บรรเลงแสดงความเคารพต่อธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาล ในขณะขึ้นลง และธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ในขณะทำพิธีธงขึ้นลง[11]

แนวปฏิบัติสำหรับธงชาติไทยโดยทั่วไป ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ได้ระบุไว้เช่นกันว่า เพลงชาตินับเนื่องเป็นหนึ่งอาณัติสัญญาณในการเคารพธงชาติ กล่าวคือ

1. เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ

2. ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง[12]

แนวปฏิบัติดังกล่าวนี้ ได้ริเริ่มให้มีขึ้นครั้งแรก จากการบรรเลงเพลงชาติ ตามสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในเวลา 08.00 น. โดยบัญชาของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ราวปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2[13]

ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวิดีทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวิดีทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวิดีทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

เพลงสรรเสริญพระบารมี

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่าฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคมพ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

วาระและโอกาสในการใช้

ระเบียบของสำนักพระราชวังกำหนดวาระในการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีไว้ดังนี้

1.พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ

2.พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับประมุขต่างประเทศ ให้บรรเลงเพลงชาติของประมุขต่างประเทศ ก่อน แล้วจึง บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จฯ เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จฯ กลับ หรือไปตามลำพัง ให้บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น เพื่อ ส่งเสด็จฯ

3.พิธีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ

4.พิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ

5.พิธีที่ผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนินต่างๆ

1.ถ้าผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ

2.ถ้าผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการเปิดงานและปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์กลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ

นอกจากนี้ ในการมหรสพต่างๆ ในประเทศไทย เช่น การฉายภาพยนตร์หรือการแสดงดนตรี ก็นิยมมีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนเริ่มทำการแสดงเสมอ สำหรับการกระจายเสียงของสถานีวิทยุและการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ เพลงสรรเสริญพระบารมีก็ได้ถูกในเป็นเพลงสำหรับแจ้งการยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย และใช้เป็นเพลงเริ่มต้นและยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวัน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย หรือในช่วงเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศไปสู่วันใหม่

เพลงมหาฤกษ์  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีสำคัญ สำหรับเชื้อพระวงศ์ที่ต่ำกว่าชั้นพระบรมวงศ์ลงมา ข้าราชการที่มีระดับต่ำกว่านายกรัฐมนตรี และทหารที่มียศต่ำกว่าจอมพลลงมา จนถึงสามัญชนทั่วไป ประพันธ์ทำนองโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากทำนองไทยของเดิม เพลงมหาฤกษ์นี้เป็นเพลงที่มีทำนองใช้สำหรับบรรเลงอย่างเดียวไม่มีบทร้อง เช่นเดียวกับเพลงมหาชัย

รัฐบาลไทยได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

เพลงมหาชัย การบรรเลงเพลงมหาชัยใช้เป็นเพลงเกียรติยศของพระบรมวงศ์ที่มีศักดิ์ต่ำกว่าสมเด็จพระบรมราชินี ซึ่งในปัจจุบันนี้ ได้แก่

§  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

§  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

§  สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

§  ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

§  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

§  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

§  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

§  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

§  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

§  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

§  พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายกรัฐมนตรี ยังได้รับสิทธิให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงคำนับด้วยเช่นกัน

เพลงมหาชัย ยังใช้บรรเลงเมื่อผู้เป็นประธานหรือแขกเกียรติยศสูงสุดของงานมาถึง และเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบ และใช้บรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต การดื่มอวยพรเลี้ยงคณะทูตเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างชาติ

ในพิธีการทางทหาร เพลงมหาชัยจะใช้บรรเลงเป็นเพลงเดินธง ในขณะที่ทำการเชิญธงชัยเฉลิมพลเข้าประจำที่หน้าพลับพลาที่ประทับ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ หมู่เชิญธงจะเดินในท่าเดินเปลี่ยนสูงระหว่างทำการเชิญธงจนกว่าหมู่เชิญธงที่เข้าร่วมพิธีดังกล่าวทุกหมู่จะเข้าประจำที่ทั้งหมด

เพลงมาร์ช ใช้เดินแถวสวนสนามของทหาร ปัจจุบันแพร่หลายทั่วไปตามโรงเรียน บรรเลงโดยวงโยธวาทิต (Military band)

วิดีโอ YouTube

ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์มีอะไรบ้าง

ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ช่วยให้การประสานงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ความสามารถทางการเห็นและการได้ยินดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมสร้างสมาธิ ความจำ เชาว์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่นๆ

ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์หมายถึงอย่างไร

ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาทางด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ช่วยให้การ ประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ความสามารถทางการเห็นและการได้ยินดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมสร้างสมาธิ ความจำ เชาว์ ปั ญญาความคิดสร้างสรรค์ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่น ๆ

ดนตรีส่งผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์อย่างไร

1) กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น 2) ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย และสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสามารถด้วยเช่นกัน 3) เป็นเสมือนแบบฝึกหัดที่เข้าใจง่าย แม้จะไม่รู้ภาษาก็ตาม 4) เสริมสร้างการรับรู้ที่มีความหมาย และมีความสนุกสนานไปพร้อมกัน

ดนตรีมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อย่างไร

เสียงดนตรีเป็นภาษาสากลที่ให้สื่อสารกันทั่วโลก สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความคุ้นเคยกับดนตรี ทั้งในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การแสดงออก การแสดงความสามารถชั้นสูงที่บุคคลพึงกระทำได้ กิจกรรมดนตรีช่วยระบายอารมณ์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดขณะทำงาน หรือเวลาว่าง กล่าวโดย ...