ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

การย้ายทะเบียนบ้าน เรื่องยุ่งยากที่ต้องเจอก่อนจะย้านเข้าบ้านหลังหรือคอนโดใหม่ที่เป็นความฝันของใครหลายคน รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย การจะเป็นเจ้าของบ้านใหม่สักหลังคุณต้องตั้งใจเลือกตั้งแต่โครงการและพื้นที่ที่คุณศึกษามาเป็นอย่างดี เพื่อให้คุ้มค่ากับมูลค่าของบ้านที่คุณจะต้องจ่าย ทำเลของบ้านดีๆ การออกแบบบ้านดีๆ โปรโมชั่นดีๆ เหมาะกับตัวคุณ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเป็นเจ้าของบ้านและผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อคุณตัดสินใจทำสัญญาซื้อขาย สัญญาจำนองกับธนาคารตลอดจน โอนบ้านที่สำนักงานที่ดินบ้านก็เป็นของคุณ ในส่วนของสิ่งที่เรากำลังจะบอกกับคุณต่อไปนี้เป็นสิทธิอีกหนึ่งสิทธิของคุณเจ้าของบ้านคนใหม่

Show

          เมื่อคุณซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการขนย้ายสิ่งของเข้าบ้าน คือ การย้ายทะเบียนบ้าน ให้ตรงกับที่อยู่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าบ้านและสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ เมื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านตรงกับที่อยู่ปัจจุบันของคุณ นอกจากนี้การย้ายทะเบียนบ้าน ให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพียงหลังเดียว จะส่งผลให้คุณไม่ต้องถูกตรวจสอบภาษีที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายรายปีที่คำนวณค่าร้อยละจากราคาของบ้านเป็นจำนวนเงินไม่น้อย เห็นข้อดีของการย้ายทะเบียนบ้านแล้ว เรามาศึกษาวิธีการย้ายทะเบียนบ้าน ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร 2551 (ฉบับที่2) และข้อมูลอ้างอิงจาก bora.dopa.go.th การย้ายทะเบียนบ้านซึ่งในยุคปัจจุบันสะดวกขึ้นมากตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร 2534 กล่าวถึงทะเบียนบ้านไว้ว่าทะเบียนประจำบ้านแสดงเลขประจำบ้านและรายการของผู้อยู่ในบ้าน เมื่อคุณซื้อบ้านใหม่หรือการย้ายบ้าน การย้ายทะเบียนบ้านสามารถทำได้หลายวิธี เราจะมาดูกันว่า การย้ายทะเบียนแบบไหนที่เหมาะกับเจ้าของบ้านคนใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของคุณ

ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง วิธีการที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ซื้อบ้าน

          การย้ายทะเบียนบ้านที่แสนสะดวกวิธีแรกที่จะพูดถึงเป็นการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ในชื่อของวิธีการนี้บอกอยู่แล้วว่า “ปลายทาง” การแจ้งย้ายปลายทาง หมายถึง ผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง เราจะบอกคุณว่ามีวิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางสามารถแจ้งย้ายในคราวเดียวกันได้ ครั้งละไม่เกินจำนวน 3 คน บุคคลที่จะย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ต้องไปแสดงตัวยืนยันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทะเบียนเท่านั้น เพื่อสอบถามสาเหตุในการย้ายที่อยู่ มีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้คือกรณีที่คุณมีที่อยู่เดิมและที่อยู่ใหม่ในเขตเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจง่ายขอยกตัวอย่างกรณีผู้ย้ายอยู่นอกพื้นที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านเดิม 

          เช่น ทะเบียนบ้านเดิมของคุณอยู่ที่จังหวัดน่าน แล้วคุณซื้อบ้านใหม่หรือมีบ้านที่กรุงเทพมหานคร แต่ถ้าหากว่า บ้านหลังเดิมและบ้านหลังใหม่อยู่ในเขตเดียวกันเช่น บ้านหลังเดิมของคุณอยู่ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานครและคุณซื้อบ้านใหม่ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร คุณจะไม่สามารถแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ คุณต้องให้เจ้าบ้านของทะเบียนบ้านเดิมแจ้งย้ายออกและและเจ้าบ้านหลังใหม่ออกหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้า โดยคุณต้องใช้ทั้งทะเบียนบ้านเดิมที่ย้ายออกและทะเบียนบ้านใหม่ที่ย้ายเข้าถ่ายสำเนาแสดงต่อนายทะเบียน การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางสะดวกมาก ใช้เวลาในที่ทำการเขตหรือเทศบาลพื้นที่ตามทะเบียนบ้านเพียง 10 นาที เพื่อไม่ให้การเดินทางไปติดต่อธุรกรรมเสียเที่ยว 

          สิ่งสำคัญคือเอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่คุณต้องเตรียมมีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านหลังที่จะย้ายเข้า
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย 
  3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายปลายทางเข้าอยู่ใหม่ ในกรณีที่เราไม่ใช่เจ้าบ้านเอง จำเป็นต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  4. หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
  5. หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ ในกรณีนี้ขอแนะนำเพื่อความสะดวกว่าผู้รับมอบควรเป็นญาติหรือคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

          เมื่อคุณเดินทางไปถึงที่ทำการเขตหรือเทศบาล ให้แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ว่าต้องการมาย้ายทะเบียนบ้าน เราจะได้รับบัตรคิวเหมือนกับการทำธุรกรรมในสถานที่ต่างๆ จากนั้นนั่งรอเรียกตามคิว มีค่าธรรมในการย้ายทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ ประมาณ 120 บาท อ้างอิงตามค่าธรรมเนียมดำเนินการสำนักงานเขต เท่านี้ก็สิ้นสุดขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านแบบการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ในกรณีที่ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่มีเจ้าบ้าน ผู้ย้ายจะเป็นเจ้าบ้านโดยปริยาย

ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางในกรณีที่บ้านหลังใหม่ แบบไม่มีเจ้าบ้าน

          ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่แต่เพียงผู้เดียวไม่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมการย้ายทะเบียนบ้านนอกจากการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ถือว่าเป็นการย้ายทะเบียนบ้านแบบไม่มีเจ้าบ้าน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนบ้านจะมีเจ้าบ้านได้เพียง 1 คน เจ้าของบ้านหรือผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สามารถทำหน้าที่แทนเจ้าบ้านได้เลย

การย้ายทะเบียนบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้าย + เจ้าของบ้าน

2. ทะเบียนบ้านหลังที่จะย้ายเข้า (แบบนี้เป็นการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง)

3. เอกสารสิทธิ์ อาทิ โฉนดที่ดิน ที่มีชื่อเจ้าของระบุชัดเจน ไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนว่าเราเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท หลังจากย้ายทะเบียนบ้านสำเร็จก็ทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท

          ถ้าหากว่าบ้านที่จะย้ายชื่อเข้ามีเจ้าของบ้านเป็นคนอื่น หรือ เราเป็นเจ้าของบ้านถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่นการย้ายทะเบียนบ้านก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแค่เพิ่มสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้านหรือถือกรรมสิทธิ์ร่วม และหนังสือยินยอม เช่นคุณย้ายทะเบียนปลายทางไม่มีเจ้าบ้าน แล้วบ้านเป็นของป้า คุณก็เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือยินยอมของป้าไปที่ทำการเขตหรืออำเภอเท่านี้คุณก็ดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่มีเจ้าบ้านได้สำเร็จ

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน , การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน ในทะเบียนบ้าน , การขอเป็นเจ้าบ้าน ในทะเบียนบ้าน

          ในกรณีที่คุณซื้อบ้านแล้ว หรือคุณโชคดีมากมีคนซื้อบ้านให้คุณ เมื่อคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก มีดังนี้

 1. สัญญาซื้อขายบ้านหรือโฉนดที่ดิน

2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

3. ทะเบียนบ้านเล่มจริง

4. ค่าธรรมเนียม 20 บาท

5. สำเนาทะเบียนบ้านเดิมพร้อมสำเนา หรือจะแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เตรียมสำเนาไว้ 2 ฉบับ

           ถ้าหากว่าบ้านที่คุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านเป็นบ้านที่คุณซื้อใหม่ ตามขั้นตอนการซื้อบ้านใหม่ พอโอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อย ทางโครงการก็จะส่งมอบทะเบียนบ้านเปล่าเล่มสีน้ำเงินเข้มหรือท.ร.6 ใหม่เอี่ยมให้คุณ 1 เล่ม หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วก็โฉนด หากคุณไม่ได้ซื้อบ้านเงินสด คุณจะได้รับสัญญาจำนองเป็นประกันมาแทนที่โฉนดตัวจริงเพื่อแสดงกรรมสิทธ์ เพียงคุณนำเอาเอกสารทั้งหมดไปที่ทำการเขตหรือเทศบาล พร้อมเอกสาร ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ฉบับ เผื่อการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านด้วย และทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่

2. ทะเบียนบ้านเดิมพร้อมสำเนา หรือจะแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เตรียมสำเนาไว้ 2 ฉบับ

3. สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมสำเนา

4. สัญญาซื้อขาย พร้อมสำเนา

5. สัญญาจำนอง พร้อมสำเนา

          ทั้งนี้เอกสารต่างๆที่ถ่ายสำเนา คุณต้องไม่ลืมว่าคุณจะต้องเซ็นชื่อรับรองให้ครบทุกรายการเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการดำเนินเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน แจ้งช้ามีค่าปรับ

          ในกรณีที่เราซื้อบ้านเองเมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าหรือการย้ายทะเบียนบ้านลูกบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกบ้านย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของคุณ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 พันบาท ในการดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านมีเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

          เพื่อไม่ให้คุณสับสนเราจะแบ่งกรณีการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน ตามสถานที่เดิมดังนี้

1. เมื่อบ้านของคุณอยู่เขต/อำเภอเดียวกัน ให้คุณเอาเล่มทะเบียนบ้านของที่บ้านเราอยู่ปัจจุบัน กับเล่มทะเบียนบ้านของบ้านใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนของตัวเอง ถ้าใครจะย้ายด้วยก็เอาไปด้วยกันถือบัตรประจำตัวประชาชนของตัวเองไปด้วยเลย ถ้าอยากเป็นเจ้าบ้านด้วยก็เอาสัญญาซื้อขายไปด้วย ถ่ายสำเนาใดๆให้เซ็นชื่อกำกับให้เรียบร้อย

2. เมื่อบ้านของคุณในกรณีอยู่คนละเขต คนละอำเภอ คนละจังหวัด ให้คุณนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวเอง ทะเบียนบ้านเล่มใหม่ สัญญาซื้อขายบ้าน แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าขอย้ายปลายทางมาเข้าบ้านใหม่ ขอเป็นเจ้าบ้านด้วย หากมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคุณต้องให้เขียนหนังสือแสดงความยินยอมให้เรียบร้อย

          ถ้ายังไม่ได้เล่มทะเบียน ก็เอาเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหรือแสดงกรรมสิทธิ์ เช่นโฉนด สัญญาซื้อขาย ไปที่ทำการเขตหรืออำเภอด้วยเพื่อคัดทะเบียนบ้านเล่มใหม่เพื่อจะย้ายเข้า

แต่ถ้าหากในกรณีที่สัญญาซื้อขาย โฉนด เป็นชื่อคนอื่น ให้เจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำหนังสือมอบอำนาจเนื้อความว่ายินยอมให้คุณย้ายเข้าและเป็นเจ้าบ้าน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปด้วย ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนก็ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์เซ็นชื่อรับรองสำเนาด้วย ซึ่งขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้าน

          เมื่อคุณย้ายจากบ้านเดิมไปบ้านหลังใหม่ต้องดำเนินการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านมีหลักเกณฑ์ว่า เมื่อมีผู้ย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้า อยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1.000 บาท เอกสารที่ใช้มีดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

 ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อเทศบาลและสำนักงานเขต

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

ย้ายทะเบียนบ้านเขตเดียวกัน กับ ย้ายทะเบียนบ้านไปต่างเขต มีวิธีที่ต่างกันอย่างไร?

          ถ้าหากว่าคุณจะย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน แล้วบ้านที่คุณซื้อใหม่อยู่ในเขตหรืออำเภอเดียวกัน คุณจะไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ คุณต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกก่อนแล้วจึงย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านหรือย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน ในส่วนของเอกสารที่ใช้ในการติดต่อ เมื่อผู้เป็นลูกบ้าน อยู่ในบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านทะเบียนบ้านหลังใหม่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายทะเบียนบ้านออกภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หลักฐาน ที่เจ้าบ้านต้องใช้แสดงต่อนายทะเบียนที่เทศบาลหรือสำนักงานเขตมีดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)

5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้าน ณ ที่เทศบาล หรือ สำนักงานเขต

1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้)

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด

3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป

ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกเกิดใหม่ หรือเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

          ในกรณีที่คุณย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านของลูกเกิดใหม่ หรือเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พ่อแม่ต้องเป็นผู้ดำเนินการย้ายทะเบียนบ้าน ถ้าหากเป็นลูกนอกสมรส สิทธิการดำเนินการจะอยู่ที่แม่ การย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านเจ้าบ้านจะต้องเป็นผู้ยินยอมทุกกรณี ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

          ทางเราช่วยคุณผู้ซื้อบ้านศึกษาพรบ.ทะเบียนราษร กฎหมาย และ แชร์ประสบการณ์ การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านของบ้านหลังใหม่ บทความนี้เป็นการบอกเล่าเก้าสิบเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้าน ซึ่งผู้เขียนเองก็ซื้อบ้านใหม่ร่วมกับคุณแม่และย้ายทะเบียนบ้านแบบปลายทาง เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยุ่งยากและใช้เวลาไม่นาน ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์ของ กรมการปกครอง พรบ.ทะเบียนราษฎร 2534 และพรบ.ทะเบียนราษฎร 2551( ฉบับที่2) ย้ายทะเบียนบ้านเรื่องรักษาสิทธิที่เราได้รู้ 

ย้ายเข้า ทะเบียนบ้าน ไม่มี เจ้าบ้าน

Q&A การย้ายทะเบียนบ้านของคนซื้อบ้านใหม่

1. การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เจ้าของบ้านใหม่แบบเราต้องพกโฉนดไปที่ทำการเขตหรือ

อำเภอหรือไม่ 

ตอบ เมื่อโอนบ้านเสร็จแล้ว นำโฉนดไปแสดงสิทธิ์ในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต่อนายทะเบียนด้วย 

2. คุณเอมม่าซื้อบ้านหลังใหม่ข้างๆบ้านหลังเดิมที่คุณแม่เป็นเจ้าบ้าน คุณเอมม่าสามารถย้าย

ทะเบียนบ้านปลายทางได้หรือไม่ 

ตอบ ไม่สามารถทำได้ คุณเอมม่าต้องให้คุณแม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้านออกแล้ว คุณเอมม่าแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านที่ซื้อใหม่ 

3. ถ้าคุณเอมม่าย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านแล้ว คุณเอมม่าจะย้ายทะเบียนบ้านลูกสาววัย4ขวบแบบย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นลูกบ้านได้หรือไม้ 

ตอบ ได้ เพราะว่าคุณเอมม่าทำการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นลูกบ้านให้ลูกได้ เพราะเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ 

4. ถ้าสามีคุณเอมม่าที่มีทะเบียนบ้านเดิมอยู่ต่างจังหวัดจะย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านในทะเบียนบ้านของคุณเอมม่าแบบย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้หรือไม่ 

ตอบ สามีคุณเอมม่าสามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ และต้องมีหนังสือยินยอมจากคุณเอมม่าซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ถ้าหากว่าไม่อยากเสียเวลา คุณลูก และสามี ของคุณเอมม่า สามารถย้ายทะเบียนบ้านได้ในคราวเดียวกัน

5. ถ้าคุณแดนซื้อบ้ายใหม่แบบกู้ร่วมกับแฟนสาวคุณแดนสามารถย้ายทะเบียนบ้าน

ปลายทางเข้าทะเบียนบ้านใหม่เพื่อย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นเจ้าบ้านได้เลยหรือไม่ 

ตอบ ไม่ได้ คุณแดนต้องแสดงเอกสารกรรมสิทธิ์ และ หนังสือยินยอมจากแฟนสาวเพื่อย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นเจ้าบ้าน 

 6. ในกรณีที่แม่ซื้อบ้านใหม่ และแม่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน คุณจะย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง แม่สามารถทำแทนคุณได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ แม่ต้องเตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคุณ

7. ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านไม่แจ้งย้าย เจ้าบ้านมีความผิดหรือไม่ มีค่าเสียหายเท่าไหร่

ตอบ ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านไม่แจ้งย้าย เจ้าบ้านมีความผิด และจะต้องเสียค่าปรับจำนวน 1,000 บาท ณ ที่ทำการเขต หรืออำเภอที่เป็นพื้นที่ก่อนย้ายทะเบียนบ้าน

8. ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายภายในกี่วัน

ตอบ ถ้าลูกบ้านในทะเบียนบ้านย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายภายใน 15 วัน

9. เมื่อย้ายทะเบียนบ้านแล้ว คุณต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ คุณจะต้องเตรียมเงินกี่บาท

ตอบ ต้องเตรียมเงิน 120 บาท ค่าธรรมเนียมย้ายทะเบียนบ้าน 20บาท และค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ 100 บาท

10. ในกรณีที่คุณพ่อเป็นผู้รับผิดชอบเลี้ยงลูกนอกสมรสยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องการย้ายทะเบียนบ้านลูกเมื่อซื้อบ้านใหม่ สามารถทำได้อย่างไร

ตอบ ติดต่อให้แม่ของเด็กและเจ้าบ้านทะเบียนบ้านเดิมเป็นผู้ย้ายทะเบียนบ้าน หากไม่สามารถตกลงกันได้ต้องฟ้องร้องต่อศาลและให้ศาลเป็นผู้สั่ง

11. รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) นายทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร

ตอบ เมื่อทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านเสร็จ นายทะเบียนจะประทับตราโดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด

12. ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง สามารถทำได้ทุกสำนักงานเขต ทุกเทศบาลหรือไม่

ตอบ สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายได้ ทุกสำนักงานเขต ทุกเทศบาล เพราะกรมการปกครองใช้ระบบออนไลน์ เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเรื่องง่ายสำหรับเจ้าของบ้านใหม่ และหากทำตามขั้นตอนการย้ายบ้านให้ถูกต้อง เราสามารถรักษาสิทธิของตนเองได้มากมาย เช่น การครอบครองกรรมสิทธิ์ต่อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะเจ้าบ้าน ความสะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ความสะดวกในการติดตามข้อมูลข่าวสารเพราะที่อยู่เป็นปัจจุบันและตรงกับทะเบียนราษฎร คุณไม่ต้องเสียภาษีที่อยู่อาศัยเมื่อคุณย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน อีกทั้งยังได้เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอย่างสุขใจ เรายังมีบทความสารพันปัญหาเกี่ยวกับคอนโดและบ้าน คอยอัพเดทให้เพื่อน ๆ ได้ติดตามอยู่เสมอ อย่าลืมติดตามข่าวสารอสังหาฯ คอนโด และไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ กับเรา CondoNewb นะคะ  

ย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

5. กรณีแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน ต้องนำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์มาแสดงด้วย เช่น สัญญาซื้อขายบ้าน เอกสารการให้เลขหมายประจำบ้าน/ คำขอโอนมรดก (ท.ด.๙) นำฉบับจริงมาแสดงด้วย กรณีมีเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมหลายคน ทุกคนต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมพร้อมรับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

เจ้าบ้าน ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านไหม

สรุปได้ว่า เจ้าบ้านจะเป็นใคร ย่อมขึ้นอยู่กับสถานะการครอบครองบ้านในขณะนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ปรากฏชื่อในทะเบียนบ้านและระบุสถานภาพว่าเป็นเจ้าบ้านเพียงคนเดียว โดยวิธีปฏิบัติให้นายทะเบียนบันทึกปากคำเป็นหลักฐานไว้ว่าในขณะนั้นว่าใครทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน บุคคลนั้นก็จะมีฐานะเป็นเจ้าบ้าน

ย้ายทะเบียนบ้านมีค่าใช้จ่ายไหม

1. ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ทั้ง 3 ตอน โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออก และช่องผู้แจ้งย้ายเข้าแล้วคืนทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตร ฯ แก่ผู้แจ้ง 3. * เสียค่าธรรมเนียม 5 บาท *

ถ้าจะย้ายทะเบียนบ้านต้องทำยังไง

ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า.
นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง.