แม่โอนเงินให้ลูก เสียภาษีไหม

Contents

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี คือ เงินได้ที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าไม่อยู่ในข่ายต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีอยู่นับร้อยรายการโดยกระจายอยู่ตามกฎหมายฉบับต่างๆ เช่น ประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง1 และพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเหมือน เงินได้ ทั่วไป

ตัวอย่าง เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

  • กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์2
  • เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ หรือว่างงาน เป็นต้น3
  • เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้4
  • เงินรางวัลที่ถูกล็อตเตอร์รี่สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือสลากออมสิน5
  • บำเหน็จดำรงชีพ ของข้าราชการบำนาญ6
  • เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล 7
  • รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขันที่ผู้รับไม่ได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน8
  • รางวัลสินบนนำจับที่ทางราชการจ่ายให้9
  • รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ เช่น ทุนการศึกษาของหน่วยงานเอกชน 10
  • ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินชดใช้ค่าเสียหาย11
  • เงินที่บริษัทประกันจ่ายให้จากการประกันภัยหรือประกันชีวิต12
  • เงินได้ที่ได้รับตามหน้าที่ธรรมจรรยา หรือรับตามประเพณี เช่น เงินอั่งเปา สินสอด ของรับขวัญ เงินค่าขนมลูก เงินค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ฿10 ล้าน (แต่จะขยายเป็น ฿20 ล้าน ถ้าได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)13
  • ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ทุกบัญชีรวมกันตลอดทั้งปีที่ไม่เกิน ฿20,00014 ทั้งนี้ เจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้ต้องไม่คัดค้านการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารให้กรมสรรพากร15
  • ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือสหกรณ์แบบประจำอย่างน้อย 24 เดือน ที่ยอดเงินฝากไม่เกินเดือนละ ฿25,000 และรวมทั้งหมดแล้วไม่เกิน ฿600,00016
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในไทยสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 55 ปี ที่ฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วตลอดปีไม่เกิน ฿30,000 (หากเกิน ฿30,000 ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมาคำนวณภาษีทั้งจำนวนตั้งแต่บาทแรกเลย)17
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะที่ลูกจ้างได้รับตามความจำเป็นเป็นครั้งคราว18
  • รายได้จาก การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา ที่อยู่นอกตัวเมือง ให้ยกเว้นรายได้ ฿200,000 แรก19
  • รายได้ที่คนอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนพิการได้รับ ให้ยกเว้นรายได้ ฿190,000 แรก20
  • รายได้ (รวมถึงเงินส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล) จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา21
  • เงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา (ให้เปล่าฝ่ายเดียวโดยไม่มีสิ่งใดตอบแทน) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ฿10 ล้าน (แต่จะขยายเป็น ฿20 ล้าน ถ้าได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)22
  • เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนที่สมาชิกสหกรณ์ได้รับจากสหกรณ์23

ไม่ว่ารายได้ของคุณจะเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี คุณก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการยื่นภาษีและคำนวณภาษีได้ และหากคุณไม่อยากใช้เวลากับการคำนวณภาษีมากเกินไป iTAX application สามารถช่วยลดทอนเวลาที่มีค่าของคุณลงได้ นอกจากคำนวณภาษีแล้ว คุณยังสามารถค้นหาแผนลดหย่อนภาษีที่คุ้มที่สุดได้จาก iTAX shop อีกด้วย


อ้างอิง

  1. ^

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  2. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(23) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  3. ^

    มาตรา 42(25) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 42(7) ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(64) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  7. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  8. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  11. ^

    มาตรา 42(13) ประมวลรัษฎากร

  12. ^

    มาตรา 42(13) ประมวลรัษฎากร

  13. ^

    มาตรา 42(27),(28) ประมวลรัษฎากร

  14. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(38) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  15. ^

    ประกาศอธิบดี ฉบับที่ 347 (พ.ศ. 2562)

  16. ^

    พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539)

  17. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(69) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 137)

  18. ^

    มาตรา 42(1) ประมวลรัษฎากร

  19. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(17) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  20. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(72),(81) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  21. ^

    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538

  22. ^

    มาตรา 42(27),(28) ประมวลรัษฎากร

  23. ^

    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับท่ี 40) พ.ศ. 2514

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ภาษีการรับการให้ หรือที่ทั่วไปเรียกว่า ภาษีการให้ เป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับเฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทใน ปีภาษี เดียวกัน (แต่จะขยายเพดานเพิ่มเป็นมูลค่าส่วนเกิน 20 ล้านบาทได้ถ้าผู้รับเป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส) โดยจัดเก็บในอัตราคงที่ 5% หรือผู้รับจะเลือกนำรวมคำนวณภาษีในฐานะเงินได้อื่นๆ (เงินได้ประเภทที่ 8) ก็ได้

ภาษีการรับการให้เป็นภาษีที่มาพร้อมกับ ภาษีมรดก เพื่อจัดเก็บภาษีจากการถ่ายโอนมรดกเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิต รวมถึงการดักทางไม่ให้เลี่ยงภาษีมรดกโดยการเก็บภาษีการให้สำหรับการถ่ายโอนทรัพย์สินก่อนที่เจ้าของมรดกจะเสียชีวิตด้วย

อัตราภาษี

ในกรณีทั่วไปจะคำนวณภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท1

แต่ถ้าผู้รับเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด และสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ และต่ำลงมา) หรือคู่สมรสตามกฎหมาย ให้คำนวณภาษีอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท2

การยื่นภาษี

เนื่องจากการรับการให้เป็นเงินได้อื่นๆ (เงินได้ประเภทที่ 8) อยู่แล้ว ดังนั้น จึงสามารถยื่นในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถเลือกเสียภาษีในอัตรา 5% หรือจะเลือกนำไปรวมคำนวณกับเงินได้ทั้งหมดก็ได้3

ข้อยกเว้นการจัดภาษีการรับให้สำหรับเงินอัดฉีดที่มอบให้นักกีฬา สต๊าฟโค้ช ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

ถ้าผู้รับเป็นนักกีฬา รวมถึงสต๊าฟโค้ช และเงินที่ได้รับเป็นเงินอัดฉีดเกิน 10 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษีให้เป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ หากนักกีฬาได้รับเงินอัดฉีดเป็นรางวัลเนื่องจากเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ (เช่น Olympic Tokyo 2020) นักกีฬาและทีมผู้ฝึกสอนจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย4 ซึ่งวัตถุประสงค์ของนโยบายยกเว้นภาษีนี้คือ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินั่นเอง5

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ภาษีมรดก

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 48(7) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 48(6) ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    มาตรา 48(6) และ (7) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    ข้อ 2(93) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  5. ^

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ.2560)

พ่อแม่ให้เงินถือเป็นรายได้ไหม

เพราะเงินที่คุณให้พ่อแม่นั้น ถือเป็นเงินเลี้ยงดูไม่ถือเป็นรายได้ตามกฎหมาย และข้อกำหนดที่บอกว่า พ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีนั้น สรรพากรจะนับจากรายได้ที่อยู่ในระบบ เช่น รายได้จากการทำงาน, รายได้จากประกันสังคม, เงินบำนาญข้าราชการ, รายได้จากการเล่นหุ้น, รายได้เหมาจากการขายของ รวมถึง รายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ...

คนโอนเงินให้ ต้องเสียภาษีไหม

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป

เงินที่ได้มาโดยเสน่หาต้องเสียภาษีไหม

ทรัพย์สินโดยเสน่หา ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเป็นการโดยเสน่หาเนื่องใน พิธี หรือ ตามโอกาสขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานศพ งานแต่ง งานวันเกิด งานวันขึ้นปีใหม่ งานวันครบรอบบริษัท เป็นต้น อาจจะให้เป็น เงินสด เช็ค ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้

การให้โดยเสน่หาเสียภาษียังไง

ในกรณีทั่วไปจะคำนวณภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท แต่ถ้าผู้รับเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด และสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ และต่ำลงมา) หรือคู่สมรสตามกฎหมาย ให้คำนวณภาษีอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท