เกณฑ์การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา ของ moph

การแก้ปัญหาโดยมีการลำดับความสำคัญ นับว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินงานไปกว่าครึ่ง

KM Topic
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา(Priority setting of problems)
นำเสนอโดย นายสามารถ เฮียงสุข นักวิชาการสาธารณสุข 5
เสนอที่ประชุม KM ศูนย์การเรียนรู้โรคติดต่อนำโดยแมลง (วันที่ 4 เมษายน 2549)
จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ต้องนำมาพิจาณาว่า ปัญหาสุขภาพของชุมชน คืออะไร ทั้งนี้ ปัญหาหลายประการไม่อาจสามารถแก้ไขได้พร้อม ๆ กัน เนื่องจากมีข้อจำกัดต่าง ๆ หลายประการ จำเป็นต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพ
ความหมายของปัญหา มีผู้ให้นิยามของปัญหา และลักษณะของสมการว่า
ปัญหา = (สิ่งที่ควรเป็น - สิ่งที่เป็นอยู่) x ความสนใจ
การกำหนดปัญหา อาศัยดัชนีอนามัยตัวบ่งชี้ ให้หลัก 5 D คือ
การเจ็บป่วย (Diseases),การตาย (Death),การพิการ (Disability),ความไม่สะดวกสบาย(Discomfort),ความไม่สมหวังหรือไม่พึงพอใจ (Dissatisfaction)
                ตัวชี้วัดด้านสุขภาพอนามัย ที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการป่วย ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการตายของประชากร ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข ตัวชี้วัดเกี่ยวกับทรัพยากรด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข
                เมื่อได้กลุ่มปัญหาแล้ว (Problem list) ขั้นตอนต่อไปจะต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา วิธีการประเมินปัญหาสุขภาพเพื่อจัดลำดับ ไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของประเทศ หรือชุมชนนั้น ๆ อาจใช้ข้อมูลในการตัดสินใจจากข้อมูลต่อไปนี้
-          การประเมินโดยหลักเศรษฐศาสตร์ (Economic appraisal) โดยการพิจารณาถึงความคุ้มทุนและคุ้มค่า ได้แก่ cost-benefit analysis หรือ cost-effectiveness analysis
-          การประเมินโดยตารางตัดสินใจ (Multi-variable decision) โดยมีตัวแปรต่าง ๆ ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
1.       ขนาดของปัญหา (size of  problem)
2.       ความรุนแรงของปัญหา (ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน)
3.       แนวโน้มการแก้ปัญหาหรือความยากง่ายในการแก้ปัญหา
4.       ความร่วมมือของชุมชนหรือความตระหนักของชุมชน
5.       ผลกระทบในระยะยาว (ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม)
-          การสร้างหลักเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยปกติเกณฑ์พื้นฐานที่นิยมใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (priorities setting of health problem) วิเคราะห์โดยพิจารณาจากตัวแปร ต่อไปนี้
1.       ขนาดของปัญหา (size of problem) ประชากรที่ถูกกระทบจากปัญหา ถ้ามีประชากรที่ได้รับผลจากปัญหามากก็ควรได้การจัดลำดับความสำคัญสูงกว่าเพราะขนาดปัญหาใหญ่

2.       ความรุนแรงหรือความเร่งด่วนของปัญหา (severity of problem) หมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงหรือเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข หากปล่อยไว้นาน อาจเกิดความพิการ หรือเสียชีวิตได้ เป็นต้น
3.       ความเป็นไปได้ แนวโน้มในการปัญหา หรือความยากง่ายในการแก้ปัญหา (feasibility or ease) เช่น ข้อจำกัดทางวิชาการ ข้อจำกัดทางการบริหารจัดการ ข้อจำกัดด้านเวลา หรือจำนวนทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา ปัญหาที่แก้ได้ง่ายหรือมีแนวโน้มในการแก้ปัญหาที่ดีควรได้จัดลำดับความสำคัญสูงกว่า

4.       ความตระหนัก การยอมรับหรือความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชุมชน (Community concern) ปัญหาที่ชุมชนตระหนักและให้ความร่วมมือดำเนินการแก้ไข ควรจะจัดลำดับความสำคัญสูงกว่า
5.       ผลกระทบในระยะยาว (Impact) ปัญหาที่มีผลกระทบในระยะยาวมากกว่า ควรจะจัดลำดับ ความสำคัญสูงกว่า
การให้น้ำหนักหลักเกณฑ์หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่เลือก
                โดยพิจารณาเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เลือกแล้วว่าเกณฑ์ไหนมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ดังนั้น น้ำหนักของเกณฑ์ แนวโน้มการแก้ปัญหาและความร่วมมือของชุมชนน่าจะมากกว่าเกณฑ์อื่น คะแนนที่ให้ อาจใช้ดังต่อไปนี้

ความสำคัญ
น้ำหนัก (W)
สูง
5
ค่อนข้างสูง
4
ปานกลาง
3
ค่อนข้างต่ำ
2
ต่ำ
1

                น้ำหนักของเกณฑ์มาตรฐานที่นิยมใช้

ความสำคัญ
น้ำหนัก (W)
ขนาดของปัญหา
4
ความร้ายแรงเร่งด่วน
3
แนวโน้มการแก้ไขปัญหา
5
ความร่วมมือของชุมชน
5
ผลกระทบในระยะยาว
2

การให้คะแนนปัญหา (R)
                โดยให้หลักการให้คะแนนแบบเดียวกับการให้คะแนนหลักเกณฑ์ โดยให้คะแนนปัญหาแต่ละปัญหาในทุก ๆ หลักเกณฑ์หรือทุกตัวแปร ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้วิจารณญาณว่าปัญหานั้น ๆ ในตัวแปรที่ไม่มีค่าสถิติสนับสนุน เช่น ความยากง่าย ความตระหนักของชุมชน เป็น ปัญหาใด สูงต่ำเพียงใด การให้คะแนนสูงต่ำตามเกณฑ์ ดังนี้

5
หมายถึง
มากที่สุดหรือสำคัญที่สุด
4
หมายถึง
มาก หรือสำคัญมาก
3
หมายถึง
ปานกลาง
2
หมายถึง
น้อย
1
หมายถึง
น้อยที่สุด

เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่เกี่ยวข้อง (prevalence)                                           คะแนนที่ได้
                                0 – 20%                                                                                               1                               

                21 – 40%                                                                                              2
                41 – 60%                                                                                              3
                61 – 80%                                                                                              4
                81 – 100%                                                                                            5
ตาราง ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับหลักเกณฑ์

องค์ประกอบปัญหา
ขนาดปัญหา
ความร้ายแรง
แนวโน้ม
การยอมรับ
ผลกระทบ
คะแนนรวม
R
W=2
R
W=2
R
W=3
R
W=3
R
W=5
ปัญหา ก
3
6
2
4
3
9
3
9
1
5
33
ปัญหา ข
3
6
3
6
3
9
2
6
1
5
32
ปัญหา ค
2
4
2
4
2
6
2
6
3
15
35
ปัญหา ง
2
4
1
2
3
9
2
6
2
10
31

การคิดคะแนน
1.       นำคะแนนที่ (R = การให้คะแนนปัญหา) ให้คูณกับน้ำหนัก (W = น้ำหนัก) จะได้คะแนนของแต่ละองค์ประกอบ
2.       คะแนนรวมได้จากการรวมขององค์ประกอบทั้ง 5
3.       การพิจารณาลำดับความสำคัญตัดสินจากคะแนนรวม โดยให้คะแนนตามตารางการจัดลำดับความสำคัญดังนี้
จากตัวอย่างปัญหาสุขภาพของชุมชนเรียงลำดับความสำคัญจากปัญหาในตารางข้างบน สรุปได้ดังนี้
ปัญหา            อันดับแรก             คือ           ปัญหา ค
                        อันดับ 2                 คือ           ปัญหา ก
                        อันดับ 3                 คือ           ปัญหา ข
                        อันดับ 4                 คือ           ปัญหา ง
เอกสารอ้างอิง
ปัตพงษ์  เกตุสมบูรณ์. เวชศาสตร์ชุมชน 3. เอกสารประกอบการสอนวิชาเวชศาสตร์ชุมชน หัวข้อ
การจัดลำดับความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
เรณู  หาญอาฤทธิ์. อนามัยชุมชน เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ยุทธรินทร์การพิมพ์, 2540.
ศิริกุล  อิศรานุรักษ์. หลักการวางแผนอนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ : เจริญดีการพิมพ์, 2542.