พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง

        ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น...

Posted by เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคุณภาพชีวิต on Thursday, February 11, 2016

15 ตุลาคม 2562

พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง

พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง

คำสั้นๆได้ใจความ...คำว่า “หนี้” ได้ยินเพียงเบาๆ ก็สะเทือนใจ หลายคนคงอยากจะหนีให้ห่างไกลกับคำนี้ และเมื่อเป็นหนี้แล้วคงไม่มีใครที่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกแน่นอน เพราะกว่าที่จะปลดหนี้ได้ ต้องใช้ทั้งกำลังใจ และความพยายามอย่างมาก

ปลดหนี้ว่ายากแล้ว แต่ที่ยากกว่าก็คือ ทำอย่างไร ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้อีก วันนี้เราขอแนะนำวิธีการที่ไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ โดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร ?

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในทางสายกลางและความพอเพียง ซึ่ง “ความพอเพียง” ในมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง ได้แก่ :
 

ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ

ความพอประมาณในความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักการนี้สามารถนำมาใช้กับการใช้เงินของคุณได้ครับ ถ้าไม่อยากกลับไปเป็นหนี้ก็ควรใช้จ่ายให้พอดีกับความต้องการ เช่น ซื้อรถที่พอดีกับการใช้งาน กินแต่พอดี

หรืออาจนำมาใช้ในเรื่องการออมเงินก็ได้ โดยตามหลักการนี้คุณควรที่จะออมพอดี หรือออมแบบทางสายกลาง ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพราะถ้าคุณออมน้อยไป เมื่อคุณต้องการใช้เงิน แล้วคุณไม่มีเงินออม คุณก็อาจกลับไปเป็นหนี้อีก หรือถ้าออมมากเกินไป คุณก็จะมีเงินไม่พอใช้ และไม่มีความสุข เพราะฉะนั้นออมแบบพอดีๆ จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือกินเหลือใช้และเหลือเก็บนั่นเอง
 

ห่วงที่ 2 มีเหตุผล

การตัดสินใจในเรื่องการเงินนั้นต้องตั้งอยู่บนความพอดี และความพอดีนั้นต้องมีเหตุผลด้วย โดยก่อนจะทำอะไรควรมองปัจจัยต่างๆให้รอบด้าน และลองคิดดูว่าการกระทำนั้นจะส่งผลอะไรบ้างในอนาคต เช่น ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ ควรหยุดคิดก่อนว่า เราเป็นหนี้เพราะอะไร มันจำเป็นจริงเหรอ และหนี้จะส่งผลอย่างไรกับเราในอนาคต หรือถ้าเป็นเรื่องการลงทุน ก่อนลงทุนก็ควรวิเคราะห์ให้รอบด้าน ไม่ควรรีบร้อน เพราะทุกการลงทุนมักมีความเสี่ยง

ดังนั้นแนะนำว่า ก่อนที่จะทำอะไรที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆ อยากให้ใจเย็นๆก่อนนะครับ ลองนั่งคิดทบทวนเหตุผลให้ดีๆ ว่าจะส่งผลยังไงในอนาคต เพราะถ้าคุณมีเหตุผลในการใช้เงินแล้ว โอกาสที่คุณจะกลับไปเป็นหนี้ก็จะไม่มีอีกเลย..
 

ห่วงที่ 3 ภูมิคุ้มกัน

การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมพร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง โดยคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการมีภูมิคุ้มกันนั้นจะเป็นเกราะป้องกัน ที่จะทำให้คุณไม่กลับไปเป็นหนี้อีก โดยภูมิคุ้มกันในที่นี้ก็คือ ภูมิคุ้มกันด้านการเงิน ซึ่งได้แก่ :
 
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง

นอกจากหลักสำคัญ 3 ห่วงที่กล่าวไปแล้ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังมี เงื่อนไข ที่ช่วยให้การตัดสินใจ และให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับที่พอเพียง โดยเงื่อนไขมี 2 ประการดังนี้ :
 

เงื่อนไข ความรู้

ก่อนที่จะทำอะไร ควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นให้รอบด้านเสียก่อน เพราะการตัดสินใจด้วย เงื่อนไขความรู้ จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

เรื่องการเงินก็เช่นกัน การมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ จะช่วยให้คุณตัดสินใจในเรื่องการเงินไม่ผิดพลาด และไม่โดนคนอื่นมาเอาเปรียบ นอกจากนี้เงื่อนไขความรู้ยังรวมถึงการพัฒนาความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพราะความรู้จะช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น และเลี้ยงตัวเองได้
 

เงื่อนไข คุณธรรม

เงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่จะต้องเสริมสร้าง โดยจะประกอบด้วย การมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงอดออมอยู่เสมอ และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การแบ่งปัน และช่วยเหลือผู้อื่น การมีเงื่อนไขข้อนี้จะทำให้คุณใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข หลังจากที่ไม่มีหนี้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยคุณไม่ให้กลับไปเป็นหนี้ได้ แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ว่าคุณได้นำไปปรับใช้หรือเปล่า และไม่ใช่แค่เรื่องหนี้กับเรื่องการเงินเท่านั้น คุณสามารถนำหลักการนี้ไปใช้กับเรื่องอื่นๆในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

หลังจากที่คุณปลดหนี้ได้แล้ว ลองใช้ชีวิตแบบพอเพียงดู แล้วคุณจะพบกับความสุขที่แท้จริง..

พอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มกันคืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจาเป็นที่ต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการรับ ผลกระทบใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ต้องอาศัย ความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการ น าหลักวิชาการต่าง ๆมาใช้ในการวางแผนเพื่อด าเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันต้อง ...

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึงอะไร

ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

ความพอประมาณหมายถึงอย่างไร

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะ ...

ตัวอย่างความพอประมาณ มีอะไรบ้าง

ความพอประมาณในความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักการนี้สามารถนำมาใช้กับการใช้เงินของคุณได้ครับ ถ้าไม่อยากกลับไปเป็นหนี้ก็ควรใช้จ่ายให้พอดีกับความต้องการ เช่น ซื้อรถที่พอดีกับการใช้งาน กินแต่พอดี