กฎกระทรวง กำหนดประเภท ชนิด และขนาดของ โรงงาน พ ศ 2563

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อก. รับความเห็นของ อว. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ อก. เสนอว่า

1. โดยที่มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561 ? 2570 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ในส่วนของมาตรการขจัดอุปสรรคการลงทุนและสร้างปัจจัยสนับสนุนได้กำหนดให้ อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) เพิ่มบัญชีประเภทกิจการอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในบัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแยกอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพออกจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อก. จึงดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแก้ไขประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อปรับปรุงแก้ไขประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535)ฯ รวมทั้งยกร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่มประเภทหรือชนิดของโรงงานประกอบกิจการทำเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี โดยกระบวนการเคมีชีวภาพ และการผลิตพลาสติกชีวภาพ

2. ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 อก. จึงดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อน จึงไม่อาจดำเนินการร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1. ต่อไปได้ โดยดำเนินการยกเลิกกฎกระทรวงเดิมและออกเป็นกฎกระทรวงฉบับใหม่ คือ กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงบัญชีประเภทหรือชนิดของโรงงานท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535)ฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2563

3. โดยที่กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 ตามข้อ 2. ยังไม่มีความชัดเจนในการประกอบกิจการโรงงานหลักที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Industry) ซึ่งเดิมมีการพิจารณาจัดรวมอยู่ในประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 42ฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ ประกอบกับเพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล (S ? Curve) อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลดีในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากยิ่งขึ้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงฯ โดยเพิ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ 3 ประเภทให้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 (ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานก่อนจึงจะดำเนินการได้) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กรกฎาคม 2661 โดยจัดทำเป็นร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาด ของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.

4. อก. โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวงตามข้อ 3 แล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขเพิ่มเติมประเภทหรือชนิดของโรงงานในลำดับที่ 42 แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ 3 ประเภท ให้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ (1) การทำเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งใช้วัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการเคมีชีวภาพเป็นพื้นฐาน (2) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบ พื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง และ (3) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องรวมกับวัตถุดิบที่ผลิตมาจากปิโตรเลียม และทำให้พลาสติกชีวภาพนั้นสลายตัวได้ทางชีวภาพ

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2564


กฏกระทรวงกำหนดประเภทของโรงงานฉบับปี 2563 (ล่าสุด)

ก่อนอื่น นิยามใหม่ของคำว่า โรงงาน ได้ถูกปรับให้เป็น อาคาร สถานที่ หรือ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้า (HP) หรือใช้คนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปในการผลิต ทั้งนี้จากเดิมคือ กำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ คน7คนขึ้นไป  เพื่อช่วยผู้ประกอบการ และให้สอดคล้องกับ การทำธุรกิจในปัจจุบัน ได้ออกมาเป็น “กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563” ประกาศให้ในวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา

โดยยังแบ่งโรงงานเป็น 3 จำพวกเช่นเดิม แต่จะมีการปรับให้เหมาะสมขึ้นดังนี้.

โรงงาน ประเภทที่ 1

   คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน  20 แรงม้า ( HP) หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 20 คน ถูกถอดออกจากบัญชี ไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงานตามกฎหมายอีกต่อไป

โรงงาน ประเภทที่ 2

   คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้งสิ้น ไม่เกิน 75 แรงม้า ( HP)  และมีพนักงาน หรือ คนงานไม่เกิน 75 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้ จะสามารถประกอบกิจการได้ทันที ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมในแต่ละปี แต่ต้องไม่เข้าข่ายโรงงานที่ส่งผลต่อมลพิษและสิ่งแวดล้อม

โรงงาน ประเภทที่ 3

   คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้ง 75 แรงม้าขึ้นไป ( HP) หรือเทียบเท่า และมีพนักงาน หรือ คนงานมากกว่า 75 คนขึ้นไป หากเป็นโรงงานประเภทนี้ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานต่อกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมด้วยนะครับ และเมื่อไปขอแล้วจะได้รับเอกสาร รง.3 และต้องยื่นขอเอกสารอนุญาตประกอบกิจการโรงงานด้วย นั่นก็คือ รง.4 และเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดนี้แล้ว จะสามารถเปิดใช้โรงงานของเราได้ครับ

โดย รง.4 นี้ในอดีตเราจะต้องไปต่ออายุทุกๆ 5 ปี โดยค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเครื่องจักรอีกด้วย และในปัจจุบัน ได้มีการยกเลิกการต่ออายุ ใบ รง.4 แล้ว พูดง่ายๆก็คือ ใบ รง.4 จะไม่มีวันหมดอายุแล้วนั่นเอง โดยนับตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา

(ในสมัยก่อนนั่น การต่อใบ รง.4 ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการ คอรัปชั่น และความไม่โปร่งใสต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมาก อีกด้วย)

ฉะนั้นแล้ว การวางแผนในการก่อสร้าง และรู้ถึงกฏหมายเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าของ หรือผู้เข้ามาอ่านทั้งหลาย สามารถใช้ข้อมูลข้างบนนี้เพื่อจำแนกประเภทโรงงานหรือกิจการของเราได้ด้วยตัวเอง และยังมีข้อมูลเชิงลึกกว่านั้น  ในกฎกระทรวง 2563 (ฉบับเดียวกัน) ที่ยังระบุประเภทโรงงาน โดยแยกย่อยออกมาอย่างละเอยีดแลัชัดเจน เพื่อให้ ผู้ออกแบบและเจ้าของ รู้ถึงประเภทของโรงงาน ของเรา โดยสามารถศึกษาได้ตาม ลิ้งค์นี้ ดังต่อไปนี้

ฉบับเต็ม

https://download.asa.or.th/03media/04law/fa/mr63-03.pdf

หรือตาม web-site กรมโรงงานอุตสาหกรรม

https://www.diw.go.th/datahawk/factype.php

และสำหรับท่านผู้ประกอบการ ทางเรา EASY WAREHOUSE มีให้บริการการก่อสร้างงานโรงงาน แบบ one-stop-service ตั้งแต่ออกแบบจนก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยสามารถศึกษาผลงานเพิ่มเติมและข้อมูลของพวกเราได้ ที่ FACEBOOK หรือ ช่อง ผลงาน ด้านบน ครับ

Post Views: 1,284