สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
               สื่อการเรียนการสอน  หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น  อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอนสื่อการศึกษา  เป็นต้น

ความหมายของสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://amornratteacher10.blogspot.com

            สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางที่มีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัฒน์หรือในยุคที่เต็มไปด้วย ICT เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารต่างๆ โดยเครื่องมือเหล่านี้ช่วยสร้างสีสันดึงดูดใจ เปิดโลกการเรียนรู้กว้างไกลต่อผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรงถึงตัวผู้เรียนเองทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ พฤติกรรมในที่นี้หมายถึงลักษณะในการเรียนจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่เห็นอยู่นั้นถือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และแปลกตาสำหรับเด็กนักเรียน โดยสื่อการเรียนการสอนที่ครูนำมาสอนส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสิ่งที่ทันสมัยมีการพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งครูผู้สอนหรือนักวิชาการจะเรียกชื่อสื่อการสอนเหล่านี้แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นต้น

            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทั้งสื่อการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันจะแตกต่างกันตรงที่เครื่องมือที่ใช้เป็นตัวกลางในการเรียนการสอนนั้นไม่เหมือนกัน  ในส่วนของสื่อการเรียนการสอนแบบเดิมนั้นจะเป็นสื่อที่ไม่หลากหลาย อาจจะไม่มีความทันสมัย ไม่น่าสนใจ  อย่างเช่น ภาพ  เสียง หรือสื่ออะไรที่เก่าๆ  แต่สำหรับสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่นั้นส่วนมากแล้วจะเป็นสื่อที่มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี  ITC ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความสนใจ  อยากที่จะเรียนมากขึ้น  อย่างเช่น  สื่อ  CAI  บทเรียนออนไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น

หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่

        การเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยในการเลือกสื่อ  ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อน  เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณา  คือ

1. สื่อนั้นต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในบทเรียนและตรงกับจุดมุ่งหมายที่จะสอน

2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน

3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน

4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป

5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง

6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองก็ควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

                ในการเรียนการสอนนั้น  วัตถุประสงค์ของการเรียนนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ผู้สอนจะต้องกำหนดไว้เพื่อเป็นหลักว่า  จะสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ด้านใดบ้างจากบทเรียนนั้น ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถเลือกสื่อการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่างด้วย

ประโยชน์และคุณค่าของสื่อการเรียนการสอน

             สื่อการเรียนการสอนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนดังต่อไปนี้

ประโยชน์และคุณค่าต่อครูผู้สอน

         สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียวแถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดหาแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียวสื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น  การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต   การแสดงนาฏการ  เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนและยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้นและยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอนนักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้น  จากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และยังมีข้อเสนอแนะอีกมากมายอย่างเช่น

1. เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว

2. สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในการเตรียมเนื้อหา  เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาจากเนื้อหาจากสื่อได้บ้าง

3. เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ประโยชน์และคุณค่าต่อตัวผู้เรียน

1. เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น 

2. สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน  ทำให้เกิดความสนุกและไม่รู้สึกเบื่อหน่าย

3. การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันและเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน

4. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์

5. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงครูผู้สอนที่นำสื่อมาใช้ในการสอนและจากสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงทางสังคมและวัฒนธรรม
6. เทคโนโลยีสารสนเทศของสื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กสามารคิดแยกแยะได้และมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
7. สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่สามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียนคือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกันหรือสามารถเปลี่ยนมุมมองทัศนคติไปจากเดิมได้
8. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
9. เป็นการสร้างแรงจูงใจ เร้าความสนใจให้เด็กสนใจในการเรียนอีกครั้ง เป็นการนำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
10. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

11. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น  เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ  เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง  เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน เรียนรู้ได้มากขึ้นและเรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด

12. เป็นการนำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาศึกษาได้และช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนด้วย
13. ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียนและการสอนของครูผู้สอน
14. ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหาเป็นและตัดสินใจได้

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน

           การใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน แต่มิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง  เป็นสื่อที่ง่ายในการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น

2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน

3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด

4. ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ

5. ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เรียนว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนถูกต้องมากน้อยเพียงใด  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการประเมินจากคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจจะมีภาพประกอบด้วยก็ได้

ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่

1.สื่อ  CAI

    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://yalor.yru.ac.th/~sirichai/4123612/unit1/meaning-cai.html

        คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับสื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม

         หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนออาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียงเพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นรวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนและยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคนนอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่า “บทเรียนสำเร็จรูป” แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่างๆทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือกว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบอื่นๆทั้งหมดโดยเฉพาะมีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information)  หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)  การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
* การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
* ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร

       ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI

1.การสอน (TutorialInstruction)  เป็นโปรแกรมที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ แก่ผู้เรียนในรูปแบบของข้อความ  ภาพ   เสียง หรือทุกรูปแบบรวมกัน แล้วให้ผู้เรียนตอบคำถามเมื่อผู้เรียนให้คำตอบแล้วคำตอบนั้นจะได้รับการวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับทันทีแต่ถ้าผู้เรียนตอบคำถามนั้นซ้ำและยังผิดอีกก็จะมีการให้เนื้อหาเพื่อทบทวนใหม่จนกว่าผู้เรียนจะตอบถูกแล้วจึงตัดสินใจว่าจะยังคงเรียนเนื้อหาในบทนั้นอีก หรือจะเรียนในบทใหม่ต่อไป

 2.การฝึกหัด (Drills and Practice)  เป็นโปรแกรมฝึกหัดที่ไม่มีการเสนอเนื้อหาความรู้แก่ผู้เรียนก่อนแต่จะมีการให้คำถามหรือ ปัญหาที่ได้คัดเลือกมาจากการสุ่ม หรือออกแบบมาโดยเฉพาะโดยการนำเสนอคำถาม หรือปัญหานั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ผู้เรียนตอบแล้วมีการให้คำตอบที่ถูกต้อง   เพื่อการตรวจสอบยืนยันแก้ไขและพร้อมกับให้คำถามหรือปัญหาต่อไปอีก จนกว่าผู้เรียนจะสามารถตอบคำถามหรือแก้ปัญหานั้นจนถึงระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกหัดนี้ ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องมีความคิดรวบยอดและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราว และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆเป็นอย่างดีมาก่อน แล้วจึงจะสามารถตอบคำถาม หรือแก้ปัญหาได้

3.การจำลอง (Simulation)  เป็นโปรแกรมที่จำลองความเป็นจริงโดยตัดรายละเอียดต่าง ๆหรือนำกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้ศึกษานั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พบเห็นภาพจำลองของเหตุการณ์ เพื่อการฝึกทักษะและการเรียนรู้ได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงภัย หรือเสียค่าใช้จ่ายมากนักโปรแกรมนี้มิใช่เป็นการสอนเหมือนกับโปรแกรมการสอนแบบธรรมดาซึ่งเป็นการเสนอเนื้อหาความรู้ แล้วจึงให้ผู้เรียนทำกิจกรรมแต่เป็นเพียงการแสดงให้ผู้เรียนได้ชมเท่านั้น

4. เกมเพื่อการสอน (Instructional Games) โปรแกรมชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่ายเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้นและช่วยมิให้ผู้เรียนเกิดอาการเหม่อลอยหรือฝันกลางวัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเรียนเนื่องจากมีการแข่งขันจึงทำให้ผู้เรียนต้องมีการตื่นตัวอยู่เสมอ

5. การค้นพบ (Discovery)  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มากที่สุดโดยการเสนอปัญหาให้ผู้เรียนลองผิดลองถูกหรือโดยวิธีการจัดระบบเข้ามาช่วย  โปรแกรมคอมพิวเตอร์     จะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนเพื่อช่วยในการค้นพบจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด

6. การแก้ปัญหา (Problem-Solving)  เป็นการให้ผู้เรียนฝึกการคิด การตัดสินใจโดยมีการกำหนดเกณฑ์ให้ แล้วให้ผู้เรียนพิจารณาไปตามเกณฑ์นั้นโปรแกรมเพื่อการแก้ปัญหาแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โปรแกรมที่ให้ผู้เรียนเขียนเองและโปรแกรมที่มีผู้เขียนไว้แล้วเพื่อช่วยผู้เรียนในการแก้ปัญหาโดยที่คอมพิวเตอร์จะช่วยในการคิดคำนวณ และหาคำตอบที่ถูกต้องให้

7. การทดสอบ (Tests)  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทดสอบมิใช่เป็นการใช้เพียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ของผู้เรียนเท่านั้นแต่ยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกที่เป็นอิสระจากการผูกมัดทางกฎเกณฑ์ต่าง ๆเกี่ยวกับการทดสอบได้อีกด้วย

การนำไปใช้

         สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสื่อการเรียนการสอนประเภท “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” เองนับว่าเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณสมบัติในการนำเสนอแบบหลายสื่อ (Multimedia) ด้วยคอมพิวเตอร์และการเรียนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเป็นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้เรียน โดยนำเสนอในรูปแบบต่างๆเช่น ภาพ เสียง กราฟฟิกต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

      การประเมิน

        ประเมินว่าหลังจากนักเรียนใช้โปรแกรมนี้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่วิธีการประเมินผลส่วนนี้กระทำโดยผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียนถ้าผลการทดสอบออกมาติดลบแสดงว่าหลังจากการใช้โปรแกรมผู้เรียนไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงวัตถุประสงค์ใหม่เพราะโปรแกรมที่สร้างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้นอกจากนี้ยังประเมินในส่วนของโปรแกรมและการทำงานว่าการใช้โปรแกรมกับเนื้อหารวิชานี้เหมาะสมหรือไม่เจตคติของผู้เรียนต่อการใช้โปรแกรมเป็นอย่างไรวิธีการใช้โปรแกรมง่ายยากอย่างไรวิธีการสอนบทเรียนความถูกต้องของเนื้อหาเอกสารประกอบการติดต่อกับผู้เรียนเป็นอย่างไรการประเมินผลเป็นอย่างไรการประเมินผลส่วนนี้จะใช้แบบสอบถามจากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้

2.  E-Leaning  หรือบทเรียนออนไลน์

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก www.intlel.com/education/th/elements

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก www.intlel.com/education/th/elements

    คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้นซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือการเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

     ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช. ได้ให้คำจำกัดความของ บทเรียนออนไลน์ (Online) e-Learning (อีเลิร์นนิง) คือ การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning (อีเลิร์นนิ่ง) การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย เช่น e-mail, webboard, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

สามารถนำไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน ได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. สื่อเสริม (Supplementary)  กล่าวคือนอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้วผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น จากเอกสาร (ชีท)ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น

2. สื่อเติม (Complementary)  หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่นนอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้วผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning ในความคิดของผู้เขียน

3. สื่อหลัก (Comprehensive Replacement)   หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ในปัจจุบัน e-Learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดีย ที่นำเสนอทาง e-Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนโดยสมบูรณ์ได้

การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน สำหรับการเรียนแบบ e – Learning
   - สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ และใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
   - เพื่อการเรียนเนื้อหาบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 256 K
   - ผู้เรียนจะต้องวางแผนการเรียน แบ่งเวลาในการเรียน ควบคุมการเรียนให้เป็นไปตามความพร้อมและความสามารถของตนเองควบคู่ไปกับตารางการเรียนการสอนของทางสถาบัน

การประเมิน

เนื้อหาต้องมีความถูกต้อง วิธีการสอนหรือการเสนอเนื้อหาความมุ่งหมายชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ มีความชัดเจนและตามตรรกะ เหมาะสมกับผู้เรียนส่งเสริมในการคิดสร้างสรรค์ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเหมาะสมกับสถานการณ์ เวลา และเหตุการณ์ช่วยบูรณาการประสบการณ์ในอดีตผู้เรียนสามารถควบคุมได้เทคนิควิธีการ การแสดงผลง่ายต่อการใช้งาน มีความแน่นอนเชื่อถือได้

3.  E-Book  หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://npkschool.com/Joomla/index.php?option=com_content&task=view&id=9&Itemid=2

        อีบุ๊ค  (e-book, e-Book, eBook, EBook,)   เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

                  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องพิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษหรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง ทั้งนี้สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) และถ้าหากข้อมูลนั้นรวมถึงภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวจะเรียกว่า ไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia)โดยการประสานเชื่อมโยงสัมพันธ์ของเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้มเดียวกัน หรืออยู่คนละแฟ้ม เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนได้ตามความต้องการไม่จำกัดเวลาและสถานที่

 โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)

      ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)
2. คำนำ (Introduction)
3. สารบัญ (Contents)
4.สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
5. อ้างอิง (Reference)
6.ดัชนี (Index)
7. ปกหลัง (Back Cover)


    หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
    คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
    สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้

ประโยชน์

1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนเองสะดวก

2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำ ให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย

3. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลาลดค่าใช้จ่าย สนองความต้องการและความสามารถของบุคคล มีประสิทธิผลในแง่ที่ทำ ให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย

4. สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

5. เสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุผล มีความคิดและทัศนะที่เป็น Logical เพราะการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะต้องทำ อย่างมีขั้นตอน มีระเบียบ และมีเหตุผลพอสมควรเป็นการฝึกลักษณะนิสัยที่ดีให้กับผู้เรียน

6. ครูมีเวลาติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนได้มากขึ้น

7. ช่วยพัฒนาทางวิชาการ 

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก  http://www.thaigoodview.com

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/472834

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก www.provision.co.th

4. Tablet  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพกพา

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก  http://www.it24hrs.com/2011/tablet-for-education

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ หรือ แท็บเล็ต

         "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"

สรุป

    ปัจจุบันนี้เริ่ม มีการใช้ Tablet PC ในแวดวงการศึกษากันอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ในรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นลงทุนซื้อ Table PC แจกให้กับนักเรียนเพื่อใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมๆ ทั้งนี้เพราะTablet PC จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือและตำราเรียนได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังทำให้การปรับปรุงเนื้อหาตำราเรียนสามารถทำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอหนังสือเป็นเล่มๆ หมดแล้วค่อยพิมพ์ใหม่แบบเดิมๆ อีกต่อไป เพราะหนังสือต่างๆ ที่อยู่บน Tablet PC นั้นล้วนแล้วแต่เป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอล จึงสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา

    Tablet PC หนึ่งเครื่องนั้นสามารถบรรจุหนังสือได้เป็นพันๆ เล่ม โดยผู้อ่านสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้ ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของTablet PC คือการเชื่อมโยงครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เข้าด้วยกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา สามารถอยู่กันคนละที่แต่เข้ามาเรียนพร้อมกันแบบเห็นหน้าเห็นตาผ่านทางกล้องที่ถูกติดตั้งมาบนTablet PC ได้ จึงทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และเข้าไปถึงกลุ่มคนทุกชั้นไม่ว่าจะอยู่ในชนบทห่างไกลแค่ไหนก็ตาม

    สำหรับในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มมีการแจก Tablet PC ให้กับนักศึกษาใหม่แล้ว แต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนแน่นอนเพราะยังต้องอาศัยการพัฒนาโปรแกรมมารองรับรวมทั้งเนื้อหาตำราในรูปแบบ E-Book ที่จะต้องมีจำนวนมากกว่านี้ ในขั้นนี้ Tablet PC ในไทยจึงอาจเป็นได้แค่เครื่องมือที่ไว้จูงใจนักศึกษาหรือสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยให้กับมหาวิทยาลัยก่อน แต่ในอนาคต เมื่อราคาจำหน่ายของ Tablet PC ถูกลงกว่านี้จะมีจำนวนของหนังสือตำราเรียนต่างๆ ทยอยเข้าสู่E-Book มากขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับการอ่าน E-Book แบบไทย ๆ มากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นTablet PC จะกลายเป็นช่องทางใหม่ ที่เปลี่ยนรูปโฉมการเรียนการสอนและการกระจายความรู้ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว

               การนำเอา Tablet มาใช้เพื่อการศึกษาเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการไปพร้อมกับพัฒนาการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่เพียงการตั้งงบประมาณเพื่อจัดหาตัว Tablet แต่จะต้องพัฒนาเนื้อหา ระบบควบคุมและอบรมการใช้งานระบบที่รองรับเหล่านี้แก่บุคลากรในระบบการศึกษาด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเพียงช่องทางการแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้างอีกช่องทางหนึ่งเท่านั้น

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://www.it24hrs.com/2011/tablet-for-education

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://www.it24hrs.com/2011/tablet-for-education

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://www.it24hrs.com/2011/tablet-for-education

5.  กระดานอัจฉริยะ  INTERACTIVE  BOARD

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพ : แสดงส่วนประกอบ ของกระดานอัฉริยะ

กระดานอัจฉริยะ 

           Interactive Board หรือกระดานอัจฉริยะ เป็นกระดานระบบสัมผัสที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหน้าจอโปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์ (computer projector screen) ซึ่งสามารถควบคุมโดยการสัมผัสหรือเขียนบนหน้าจอแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด

หลักการทำงาน

     ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบคือ คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ โปรแกรม และกระดานอัจฉริยะ         โดยคอมพิวเตอร์จะถูกต่อเข้ากับโปรเจคเตอร์และกระดานอัจฉริยะ ซึ่งสามารถต่อผ่านสาย USB ไปยังคอมพิวเตอร์ หรือบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง  บลูทูธ หรืออินฟราเรด (Wireless) สำหรับโปรเจคเตอร์จะแสดงผลจากภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปยังกระดานอัจฉริยะ การกระทำบนหน้าจอแสดงผลที่ผิวกระดานอัจฉริยะจะมีการรับส่งสัญญาณข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ผ่านการเชื่อมต่อสาย USB หรือการเชื่อมต่อแบบ Wireless และแปรผลผ่านโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ทำให้สามารถควบคุมการทำงาน ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านการสัมผัสที่ผิวกระดานอัจฉริยะได้ทันที    จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมิได้โดยเด็ด ขาด กระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board นั้นจะทำให้เราสามารถที่จะคอนโทรลหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ ปากกา, นิ้วมือ, และอุปกรณ์อื่น ๆ สัมผัสไปที่กระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board              ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานคือไม่ต้องเดินไปที่คอมพิวเตอร์ ในการที่จะเลื่อนเมาส์ เพื่อคลิ๊ก หรือ พิมพ์ ส่วนใหญ่กระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board นั้นจะแบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วน

    ส่วนแรก คือ ในส่วนของหน้าจอระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ชนิดต่าง ๆ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเป็น ระบบปฏิบัติการวินโดส์ ซึ่งในการทำงานของกระดานจะสามารถสัมผัสไปที่ตัวกระดานได้เลยโดยใช้ นิ้วมือ หรือ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ

    ส่วนที่สอง คือ ในส่วนของหน้าจอไวท์บอร์ดในส่วนนี้จะเปรียบเหมือนกระดานดำหรือกระดาน ไวท์บอร์ด นั่นเองต่างกันตรงที่กระดานดำหรือกระดานไวท์บอร์ดนั่น จะต้องใช้ ชอร์ค หรือ ปากกาเมจิกใช้ในการเขียน และไม่สามารถที่จะบันทึกสิ่งที่เขียนเอาไว้ในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ได้ ตรงจุดนี้เองซึ่งเป็นข้อดีของกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board เพราะว่าสามารถที่จะใช้นิ้วหรือปากกาในการเขียนได้แล้วยังสามารถที่จะบันทึก ทุกสิ่งที่เราเขียนลงไปเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ได้เลย นอกจากนั้นกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive White Board บางยี่ห้อ ยังสามารถที่จะแปลงตัวเขียนให้เป็น ตัวพิมพ์ ได้ทันที และยังสามารถที่จะบันทึกเสียงได้อีกด้วย แล้วก็สามารถเรียกขึ้นมาใช้งานใหม่ได้ทันที และยังสามารถใช้ในการประชุมระหว่างตึก หรือการเรียนการสอนระหว่างตึกได้อีกด้วย

ข้อดีสำหรับผู้เรียนที่ใช้สื่อ กระดานอัจฉริยะ (Activboard)

1. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้

2.ไม่เป็นกำแพงกั้นทางด้านความคิดและความสามารถของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้สื่อ ทดสอบความสามารถของผู้เรียนได้

3. ช่วยให้การเรียนสนุกสนาน เสมือนมีคุณครูคนใหม่เพิ่มขึ้น

4. มีกระบวนการทางเทคนิคภายในสื่อ สามารถทำให้ผู้เรียน เรียนรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมได้ อย่างสมบูรณ์

5. ช่วยประหยัดเรื่องของการบันทึกข้อมูลได้

ข้อดีสำหรับผู้สอนที่ใช้สื่อ กระดานอัจฉริยะ (Activboard)

1. มีบทบาทในการช่วยครูผู้สอนได้มากกว่าที่คิด เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ก่อนล่วงหน้าได้ ถ้ามีปัญหาก็สามารถซักถามภายในห้องเรียน หรือส่งทางสื่อได้รวดเร็ว

2. ช่วยครูผู้สอนค้นคว้าความรู้อื่น ๆ เพื่อนำมาเพิ่มพูนความรู้กับผู้เรียน ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้เวลาสอนเท่าเดิม แต่ผู้เรียน เรียนรู้มากกว่าเดิม

3. สามารถใช้ประเมินผลการเรียนได้อย่างรวดเร็ว

               จะเห็นว่าประโยชน์ของกระดานอัจฉริยะ (Activboard) เป็นสื่อไฮเทคที่มีประโยชน์มากสำหรับโลกของการศึกษาในปัจจุบัน และอนาคต

ความเหมาะสมในการนำไปใช้

โดยทั่วไปถูกใช้ในห้องเรียนและห้องบรรยายหรือห้องประชุมเทคโนโลยี สามารถให้คุณเขียนหรือควบคุมผ่านการสัมผัสบนหน้าจอโดยตรง เช่น การพริ้นภาพ เซฟข้อมูลลงคอมพิวเตอร์หรือส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย กระดานอัจฉริยะถูกใช้ในหลายๆโรงเรียน แทนกระดานไวท์บอร์ดแบบเดิม นอกจากนี้กระดานอัจฉริยะ ทำให้ครูสามารถบันทึกการสอนได้และใส่ข้อมูลไว้ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ศึกษาได้หลังจากเลิกชั้นเรียนแล้ว ซึ่งสิ่งนี้เป็นกลวิธีที่มีประสิทธิและใช้ได้ผล

เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1.เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบอิเล็กโตรแมกเนติก ( Electromagnetic Interactive Board) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน

2.เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบอินฟราเรด (Infrared Interactive Board)เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นอินฟราเรดในการรับจุดตัด

3.เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบดีวีทีที ( DVTT Interactive Board ) กระดานอัจฉริยะแบบดีวีทีที นั้นจะประกอบไปด้วยที่ส่งสัญญาณอินฟราเรดและ อุปกรณ์แปลงสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณอนาล็อค และสัญญาณอนาล็อคก็จะแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที

4.เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบ ทัชเซ้นซิทีฟ ( Touch Sensitive Interactive Board)เทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะแบบTouch Sensitive ถูกสร้างขึ้นด้วยผิวหน้าที่มีความแข็งแรงทนทาน

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/460054

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ

ภาพจาก ที่มา:http://www.alleducare.com/index.php?ctrl=page&id=4

              สรุปสำหรับสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่   ผู้เรียนสามารถใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีจุดมุ่งหมายคือ

 1. การรู้เทคโนโลยีและการรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ไอซีทีเพื่อการค้นคว้า รวบรวม และประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ และเพื่อเการสร้างองค์ความรู้ใหม่

 2. บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม

3. กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้ไอซีทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและกระบวนการคิดอย่างวิเคราะห์

4. ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน

5. ต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีการใช้ไอซีทีให้มากขึ้น

6. กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที การรู้ไอซีที และมีการพัฒนาการของทัศนคติที่ดีต่อไอซีทีตามความต้องการของแต่ละคน

7. นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำและตารางการคำนวณได้ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถเขียนโปรแกรมได้ นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1-100 คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้ ผู้สอน ผู้สอนควรมีความรู้และทักษะไอซีทีในระดับสูง รวมถึงความเข้าใจในการพัฒนาการของการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนการสอน                     

โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

1. สมรรถนะด้านไอซีทีจะช่วยให้ผู้สอนมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสามารถเป็นผู้แนะนำแกผู้เรียนได้

2. คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียน ผู้สอนคนอื่นๆและผู้บริหาร

3. ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และสร้างสรรค์ 4. ผู้สอนควรติดตามพัฒนาการและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ 5. ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที

สื่อและแหล่งการเรียนรู้คืออะไร

ในการจัดการเรียนรู้ มีการใช้สื่อการเรียนรู้หลายอย่าง ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์มีทั้งประเภทหนังสือเรียน แบบฝึกหัด เอกสารประกอบการสอน หนังสืออ่านประกอบต่างๆ ซึ่งจัดให้นักเรียนสามารถเข้าไปใช้ค้นคว้าในห้องสมุดได้อย่างพอเพียง

สื่อที่เป็นแหล่งเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ ห้องสมุด โรงเรียน ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือใน ห้องเรียน ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องมัลติมีเดีย ห้อง คอมพิวเตอร์ ห้องอินเทอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์โสตทัศนศึกษา ศูนย์สื่อ การเรียนการสอน ศูนย์พัฒนากิจกรรมการ เรียนการสอน สวนพฤกษศาสตร์สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ สวนหนังสือ ...

สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

แหล่งเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะเช่นไรบ้าง 1. มีบริการกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีการจัดขึ้น ตลอดเวลา อย่างต่อเนื่อง หรือหมุนเวียนไป 2. มีบริการความรู้ข่าวข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็ว โดยใช้เทคโนโลยีคมนาคมและสารสนเทศ( ICT ) 3. ควรจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมให้เอื้ออาทรต่อการศึกษาค้นคว้าตลอดจนเอื้อต่อการจัดกิจกรรมของสังคมและชุมชน

ข้อใดจัดเป็นสื่อและแหล่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา และนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ