การตรวจวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า

แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่การลดการใช้พลังงานจะเห็นเป็นรูปธรรม เนื่องจากว่าเราไม่มีตัวที่จะเช็คว่าตอนนี้เราใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าไร และหลังจากทำการดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานที่เราคิดค้นขึ้นมาเองอย่างเช่นการปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน การปรับตั้งแอร์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ฯ ทำแล้วจะลดพลังงานไปเท่าไร

ในทางทฤษฎี เราอาจจะคำนวณและตีความได้ว่ามีการลดการใช้พลังงานจริง เพราะดูได้จากบิลค่าไฟที่ส่งมาต้นเดือน แต่ก็นั่นแหละลึกในใจแล้ว เราก็มีความสงสัยว่ามาตรการที่เราทำนั้นลดจริงหรือเปล่าหรือลดจากสิ่งที่เราไม่รู้ เราไม่สามารถฟันธงอะไรได้ เพราะว่าเราไม่มีตัวที่จะตรวจจับพลังงานไฟฟ้าเลย

ถ้าเรารู้ข้อมูลปริมาณและลักษณะการใช้พลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัวจากการตรวจวัด ก็สามารถที่จะดำเนินการมาตรการต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้

การนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดค่าพลังงานช่วงก่อนและหลังการดำเนินมาตรการมาเปรียบเทียบกัน เราก็จะทราบว่าสิ่งที่เราได้ทำไปนั้นเกิดการประหยัดพลังงานจริงหรือเปล่า และคำนวณมาเป็นเงินจะประหยัดไปได้กี่บาทต่อเดือนและต่อปีได้

การมีเครื่องวัดปริมาณไฟฟ้าจะทำให้เรามีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่การประเมินอีกต่อไป ทำให้เรามั่นใจที่เราจะดำเนินมาตรการต่างๆ ภายในบ้าน และสนุกไปกับการจัดการพลังงานมากขึ้น

การตรวจวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า

ผลการศึกษาวิจัยระดับนานาชาติพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อทราบข้อมูลการใช้พลังงานของตนเอง จะมีจิตสำนึกที่จะใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและจะหาวิธีต่างๆ เพื่อจะมาเซฟเงินในกระเป๋าตัวเอง นอกจากนี้ผลวิจัยยังกล่าวอีกว่าผู้ใช้กลุ่มนี้สามารถลดการใช้พลังงานลงอย่างน้อย 12 % จากเดิมที่ไม่รู้ข้อมูลการใช้พลังงานในบ้านตนเองเลย

การลดการใช้พลังงานนี้ไม่ได้กระทบการดำเนินชีวิตของผู้อยู่อาศัย เพราะพลังงานที่ลดลงได้นั้นเกิดจากสิ่งที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์และสิ่งที่เกินความจำเป็นแทบทั้งนั้น ถ้าถามว่าทำไมก่อนหน้านี้จึงลดไม่ได้ คำตอบก็คือผู้ใช้ไฟฟ้าไม่รู้ข้อมูลว่าตนเองใช้ไฟเป็นอย่างไรและใช้ไปเท่าไรนั่นเอง

สมมติถ้าเราจ่ายค่าไฟเดือนละ 5,000 บาท ลดได้ 12% เท่ากับ 600 บาทต่อเดือน และเท่ากับ 7,200 บาทต่อปี เงินที่ได้กลับมาส่วนนี้เราสามารถนำไปใช้ทำอะไรก็ได้ เช่นเป็นทุนการศึกษาให้ลูก พาครอบครัวไปทานอาหารดีๆหรือพาครอบครัวไปเที่ยวเป็นต้น

ดังนั้นการรู้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อทำให้เราสามารถใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ช่วยประหยัดค่าไฟและมีเงินเหลือในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น

     ในปัจจุบันการตรวจวัดและวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างมาก ในการช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ทราบถึงการใช้พลังงานแต่การตรวจวัดพลังงานต้องมีขั้นตอน วิธีการตรวจวัดและเครื่องมือให้สัมพันธ์กับระบบพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและเหมาะสม จนสามารถนํามาวิเคราะห์ผลและกําหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการอยู่ 3 หัวข้อ 1.การสำรวจ 2.การตรวจวัด 3.การเก็บข้อมูล

การตรวจสอบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน

ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.  2535 มาตรา 3

ได้บัญญัติความหมายของคำว่า “ตรวจสอบ”  ไว้ว่า  สำรวจ  ตรวจวัด  และเก็บข้อมูล  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังนี้

  1. การสำรวจ  เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงลักษณะการใช้พลังงานและลักษณะของกระบวนการการผลิต  รวมทั้งชนิด  ขนาด  จำนวน  และสภาพของระบบ  วัสดุ  และอุปกรณ์  ที่ได้ทำการสำรวจ เป็นต้น
  2. การตรวจวัด  เพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้พลังงาน  สภาพการทำงานและการสูญเสียพลังงานของระบบและอุปกรณ์ที่ทำการตรวจวัด
  3. การเก็บข้อมูล  หมายถึง  การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานเช่นข้อมูลและสถิติการใช้พลังงานประวัติการทำงานการซ่อมแซมและการปรับปรุงที่ผ่านมารวมทั้งชนิดลักษณะหรือคุณลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตต่างๆที่อยู่ในข่ายของการตรวจสอบ เป็นต้น

ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงพื้นฐานของการตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และระบบที่ใช้พลังงานความร้อน 

การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้า มีความสําคัญค่อนข้างมาก ซึ่งจะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ทราบถึงการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดต้องเริ่มจากการ รู้จักเครื่องมือวัดและวิธีการใช้งานเครื่องมือวัด รวมทั้งขั้นตอนในการวัดและการอ่านค่าที่ถูกต้อง แล้วนําค่าที่ได้มารวบรวมและวิเคราะห์ผล และจึงกําหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม 

การตรวจวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า

การใช้มิเตอร์วัดไฟฟ้าที่ถูกต้อง

  1. ตรวจสอบย่านการตรวจวัด กระแส/แรงดัน ให้ถูกต้อง เช่น กรณีต้องการตรวจวัดค่ากระแสสลับ 43 แอมป์ ก็ควรปรับตั้งย่านการตรวจวัดให้อยู่ในช่วง 0-100 แอมป์เพื่อให้ได่ค่าที่ถูกต้อง (โดยทั่วไปสําหรับ เครื่องมือวัดแบบอนาล็อกควรปรับตั้งย่านการตรวจวัดให้ค่าที่ต้องการวัดอยู่ในช่วง 40-60% ของค่าสูงสุดของ ย่านการตรวจวัด)
  2. ตรวจสอบตัวแปรอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงของภาระหรือความเร็วรอบจะมีผลต่อค่าที่ได้จากการ ตรวจวัด ในระหว่างการวัด จะต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของภาระของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทําให้ค่าที่ตรวจวัดแตกต่างไปจากค่า พิกัด 
  3. ตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีการบํารุงรักษาอย่างถูกต้องสม่ําเสมอ

การเลือกเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่เหมาะสม

เนื่องจากเครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายขนาดและมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันและใช้ในการตรวจวัดตัวแปรหลาย ประเภท

ดังนั้นจึงเป็นการยากและมีค่าใช้จ่ายสูงที่จะเลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม มีกฎเบื้องต้น สําหรับการปฏิบัติ