ลูกตั๊ก บริบูรณ์ เป็นดาวน์ซินโดรม

กำลังอยู่ในช่วงวัยที่น่ารักน่าฟัดจริงๆ สำหรับ "น้องบีลีฟ" ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของนักแสดงอารมณ์ดี "ตั๊ก บริบูรณ์" แต่ดูเหมือนว่าร่างกายน้องจะสมบูรณ์เกินไปหน่อย ตัวจึงได้จ่ำม่ำเกินวัย

ล่าสุด มีโอกาสได้เจอ ตั๊ก บริบูรณ์ เจ้าตัวจึงได้ออกมาเผยให้ฟังอย่างอารมณ์ดีว่า ตอนนี้น้องอายุได้ 8 เดือนแล้ว แต่น้ำหนักพุ่งทะลุไป 11 กิโลกรัม พร้อมยอมรับมีคำสั่งจากคุณหมอให้ลดน้ำหนักลงได้แล้ว ทั้งยังแพลนปิดอู่แค่คนเดียว เหตุเพราะสงสารภรรยาที่มีอายุเพิ่มขึ้นและต้องเลี้ยงลูกมากขึ้น

ตอนนี้ลูกสาวเป็นอย่างไรบ้าง?
"8 เดือนแล้วครับ ไม่ได้กลับเข้าบ้านมาประมาณ 3 วันแล้วครับ น้องเดินได้แล้วครับ ไม่รู้ว่าเดินออกจากบ้านไปไหนแล้ว (หัวเราะ)"

เลี้ยงง่ายไหม?
"ลองเอาไปเลี้ยงดู แล้วคุณจะรู้ เด็กอัจฉริยะครับ ไม่ยอมนอน เล่นทั้งคืน เขาคุยเก่งมาก คุยกับใครก็ไม่รู้ (หัวเราะ)"

มีโอกาสได้ช่วยภรรยาเลี้ยงบ้างไหม?
"แทบไม่ค่อยได้ช่วยเลี้ยงเลยครับ แฟนพี่เขาจะเป็นเลี้ยงเองทุกสิ่งทุกอย่างเลยครับ ล่าสุดก็พาน้องไปเรียนหนังสือมา ไปออกกำลังกาย โหนบาร์สำหรับเด็กครับ เด็ก 8 เดือน น้ำหนัก 11 โลแล้วครับ เมียพี่นมหายไปข้างหนึ่งแล้วครับ กินนมเก่งมาก"

น้องอ้วนกว่าเกณฑ์แล้วใช่ไหม?
"อ้วนมาก อุ้มไม่ได้อ่ะ เจ็บแขนแล้ว"

คุณหมอสั่งให้ลดบ้างหรือเปล่า?
"สั่งแล้วครับ (หัวเราะ)"

น้องติดใครมากกว่ากัน ระหว่างพ่อกับแม่?
"ติดทั้งคู่ครับ"

เรื่องลดน้ำหนักน้องต้องทำอย่างไรบ้าง?
"เด็กน่าจะยืดตัวเองมากกว่านะ ผมคิดว่าน้องจะผอมก็ต่อเมื่อน้องเดินได้ หัดเดินนี่แหละ แต่ขอบอกเลยว่าน้องเป็นเด็กที่เก่งมากๆ ฉลาดมากๆ สามารถจะยืนได้ พูดได้ เกาะราวยืนได้ แต่เขาไม่ทำ เรื่องจริงครับ เป็นเด็กที่ขี้เกียจมาก กล้าพูดเลยว่าเด็กคนนี้ฉลาดมาก พูดเก่งมาก แต่ขี้เกียจ ของอยู่ตรงหน้า สามารถที่จะคลานไปเอามาได้ แต่น้องจะไม่ทำ เล่นละครเก่งมาก ร้องให้ไปเอา ที่พูดมานี่เรื่องจริงนะ ไม่ได้โกหก (หัวเราะ)"

เราหนักใจที่สุดตรงไหน?
"หนักใจมากก็คือ ทะเลาะกับเมียครั้งหนึ่ง อันนี้เรื่องจริงนะ น้อง 6 เดือน 7 เดือน อ้วนมาก แล้วพี่กลัวมากว่าว่าน้องจะเดินไม่ได้ พี่เลยบอกกับแฟนว่า ลูกของเราอ้วนมากแล้วนะ แฟนพี่ตอบกลับมาว่า แล้วทีเธอขาสั้นล่ะ พี่ก็เลยต้อง ครับ (หัวเราะ) นี่แหละครับชีวิตในครอบครัว คือเขาจะไม่ชอบให้ใครมาว่าลูกเขาอ้วน เขาจะโกรธมาก ตาขวางเลย น่ารักมาก นางฟ้า (หัวเราะ)"

พอพูดแบบนี้แล้วเราทำอะไรได้บ้าง?
"จะทำอะไรได้ล่ะน้องเอ๋ย จดทะเบียนมาพี่ก็ผิดทุกอย่างแล้ว (หัวเราะ) แรกๆ ก็ดี วันแต่งงานไหว้พี่ตลอด แต่พอหลังจากนั้นพี่ต้องไหว้มันแล้วครับ (หัวเราะ) นี่แหละครับชีวิตครอบครัว"

แพลนคนที่สองต่อเลยไหม?
"ตอนแรกเคยบอกไว้ว่าอยากจะได้แฝด ไม่ใช่ลูกนะครับ เมียแฝด แต่เขาไม่ยอมครับ เลยต้องมาจบที่ลูกคนเดียว สงสารเมียครับพูดจริงๆ เจ็บนม"

ปิดอู่เลยใช่ไหม?
"แฟนพี่บอกว่า เขาก็ไม่อยากมีแล้วครับ น่าจะปิดอู่แล้วครับ ด้วยวัยด้วย เราเองก็โตมากขึ้น แฟนพี่ก็ค่อนข้างมีอายุ ถ้าจะมีลูกอีกคนมันก็เสี่ยงมากนะ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ลูกตั๊ก บริบูรณ์ เป็นดาวน์ซินโดรม

การที่เรารู้ล่วงหน้าว่าลูกจะมีโอกาสเป็น "ดาวน์ซินโดรม" หรือไม่จะช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่วางแผนได้ดูแลลูกให้เขามีความสุขที่สุดได้

เชื่อว่าคุณผู้หญิงทั้งหลายที่วางแผนกำลังจะมีลูกคนแรก หรือ คนที่สองต่างกำลังเตรียมหาข้อมูลว่า เราจะมีลูกอย่างไรให้เขาเกิดมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ลูกจะแข็งแรงได้มีส่วนสำคัญจากสุขภาพของทั้งคุณพ่อคุณแม่ หมายความว่าโอกาสการที่ลูกเราจะเป็น "ดาวน์ซินโดรม" หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน ดังนั้น หากอยากหลีกเลี่ยงกลุ่มอาการนี้ในลูกน้อย คุณพ่อและคุณแม่สามารถทำการตรวจสุขภาพก่อนว่าลูกที่เกิดมาเป็น "ดาวน์ซินโดรม" หรือ ไม่

ทั้งนี้เราไม่ได้มีเจตนาจะชี้นำว่า หากผลแสดงออกมาแล้วลูกของเรามีโอกาสเป็น "ดาวน์ซินโดรม"  จึงไม่ควรมีลูก ไม่ใช่ หากแต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยืนยันจะมีเขา คุณพ่อคุณแม่เพียงต้องเตรียมพร้อมดูแลเขาให้มีชีวิตที่ดีเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ 

ลูกตั๊ก บริบูรณ์ เป็นดาวน์ซินโดรม

 เข้าใจกลุ่มอาการดาวน์ 

 กลุ่มอาการดาวน์ หรือ "ดาวน์ซินโดรม"  คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้เด็กเกิดภาวะด้อยสติปัญญา หรือ พัฒนาช้า มีลักษณะจำเพาะของรูปร่างภายนอก มีอวัยวะบางอย่างพิการแต่กำเนิด มีปัญหาทางสุขภาพและโรคทางกายอื่น ๆ ซึ่งกลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติทางด้าน โครโมโซม เนื่องจากมีจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินจากคนทั่วไปมา 1 แท่ง

ผลกระทบที่ทำให้ต้องพิจารณาว่าลูกเป็น "ดาวน์ซินโดรม" หรือไม่

อาการและความรุนแรงของผลกระทบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ โครโมโซมคู่ที่ 21 ของแต่ละบุคคล ซึ่งจากภาวะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้จำเป็นในการตรวจคัดกรองระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ ตรวจตัวอ่อนคัดกรองก่อนการตั้งครรภ์ ในสตรีที่มีความเสี่ยงเพื่อรับมือกับทารกกลุ่มอาการนี้

ผลกระทบต่อ: พัฒนาการและสติปัญญา

  • มีพัฒนาการช้าในทุกๆ ด้าน เช่น การพัฒนาการของกล้ามเนื้อ การหยิบจับสิ่งของ พัฒนาการด้านการเรียนรู้ สติปัญญา ภาษา และพัฒนาการด้านการเข้าสังคม   
  • มีระดับเชาวน์ปัญญาด้อยกว่าผู้อื่นในวัยเดียวกัน ซึ่งพบได้หลายระดับตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ถึงระดับปานกลาง

ผลกระทบต่อ: การเจริญเติบโต

  • มีอัตราการเจริญเติบโตช้าตั้งแต่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า การเจริญเติบโตช้าต่อเนื่องจนถึงช่วงวัยรุ่น 

ผลกระทบต่อ : ระบบหลอดเลือดและหัวใจ

  • ร้อยละ 50 มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาวะผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว หรือมีภาวะหัวใจพิการแบบซับซ้อน อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตและต้องการการผ่าตัดแก้ไขโดยเร่งด่วนในวัยขวบปีแรก
  • มีโอกาสเกิดการเกิดลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น พบได้ในผู้ใหญ่กลุ่มอาการดาวน์ที่ไม่เคยมีอาการของภาวะพิการของหัวใจแต่กำเนิด 

ผลกระทบต่อ : ด้านการมองเห็นและการได้ยิน

  • เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็น ได้แก่ ต้อกระจก ตาเหล่ ตากระตุก และค่าสายตาผิดปกติ 
  • มีภาวะใบหน้าส่วนกลางพัฒนาไม่เต็มที่จึงเพิ่มโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อของหูชั้นกลางได้ และยังมีโอกาสสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นจากขี้หูที่เหนียวข้นอุดตัน และการอักเสบติดเชื้อที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ดังนั้นจึงควรมีการตรวจติดตามการทำงานของหูเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรอง "ดาวน์ซินโดรม"

  1. มารดาที่อายุมากกว่า 37 ปี เพื่อการใส่ตัวอ่อนเพียงตัวเดียว
  2. ปัญหามีบุตรยากจากฝ่ายชายที่รุนแรง
  3. ปัญหาแท้งเป็นอาจิณ
  4. ปัญหาการไม่ตั้งครรภ์จากการวางตัวอ่อนหลายครั้ง

การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนทำได้ในกรณีต่อไปนี้

  1. สามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนมีพันธุกรรมผิดปกติ ซึ่งอาจถ่ายทอดพันธุกรรมที่ผิดปกตินั้นไปสู่ทารกได้เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ โดยการถ่ายทอดดังกล่าวมีความเสี่ยงอย่างชัดเจนว่าอาจเป็นเหตุให้ทารกที่เกิดขึ้นมีโอกาสจะเป็นโรค หรือเป็นพาหะโรค หรือมีภาวะผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งไม่อาจมีชีวิตอยู่รอดหรือมีชีวิตเฉกเช่นคนปกติ
     
  2. สามีและภริยาที่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจทําการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนได้ ในกรณี ดังต่อไปนี้
     
  3. มีประวัติการต้ังครรภ์ที่ทารกมีความพิการ หรือเป็นโรค หรือความผิดปกติที่รุนแรง และความผิดปกติทางพันธุกรรมนั้นอาจป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองพันธุกรรมของตัวอ่อน 
     
  4. มีบุตรที่ป่วยเป็นโรคหรือมีความผิดปกติอย่างรุนแรง ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกําเนิดจากบุคคลอื่นที่มีความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ (HLA matched) ซึ่งการตรวจ HLA ของตัวอ่อนในกรณีนี้จะเป็นประโยชน์โดยสามารถนําเซลล์ต้นกําเนิดจากเลือดในสายสะดือ เมื่อแรกคลอดไปใช้รักษาบุตรคนที่ป่วยเนื่องจากมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
     
  5.  มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์สิบสองสัปดาห์ตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป หรือในกรณีที่มีผลการตรวจยืนยันว่าการแท้งในครั้งก่อนมีสาเหตุมาจากทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
     
  6.  ภริยามีอายุตั้งแต่ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าตัวอ่อนอาจมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม
     
  7.  ไม่ตั้งครรภ์สองครั้งติดต่อกันในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

ลูกตั๊ก บริบูรณ์ เป็นดาวน์ซินโดรม

ที่มาข้อมูล :

https://theworldmedicalcenter.com/th
http://https://www.pobpad.com