ปวด ท้องน้อย ด้านขวา ตกขาว ปวดหลัง

   เชื่อว่าในชีวิตของลูกผู้หญิงหลายคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ปวดท้องน้อยกันบ้าง อาจะปวดน้อย ปวดมาก แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่แต่ละบุคคลในระหว่างที่มีประจำเดือน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องปกติของของเดือนเสมอไป หากมาพร้อมกับอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังทุกวัน รอบเดือนมากผิดปกติ ปวดหน่วงๆ จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำอื่นได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆได้ การปวดท้องน้อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งแบบเรื้อรัง และทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน

ปวด ท้องน้อย ด้านขวา ตกขาว ปวดหลัง

  • การปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain) โดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากปวดแบบเป็นๆ หายๆ กระทั่งปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดหน่วงๆ เป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ บางรายปวดร่วมกับการมีประจำเดือน ตามหลักเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอกมดลูก (ถ้าก้อนโตมากๆ อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการท้องโตคล้ายคนท้อง) ซีสต์ที่รังไข่ และ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ อาการปวดมักจะเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3-6 เดือน มีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีประจำเดือนออกมาก หรือนานผิดปกติ บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือร่วมเพศ และอาจคลำเจอก้อนเนื้อที่ท้องน้อย

  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute pelvic pain) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม สาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุ หรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อยๆ เช่นการอักเสบต่างๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหากเกี่ยวข้องกับมดลูกอักเสบ โดยทั่วไปสังเกตได้จากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย

    ปวด ท้องน้อย ด้านขวา ตกขาว ปวดหลัง

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการ “ปวดท้องน้อย” ที่เป็นมาจากสาเหตุใด?

           สาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาต่อไป ปัจจุบันการค้นหาโรคจากความผิดปกติทำได้ไม่ยุ่งยาก และเสียเวลา เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูก และปีกมดลูกได้ การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษามีวิธีการอะไรบ้าง?

        เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ทางเลือกการรักษาเริ่มจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดการอักเสบ หรือฮอร์โมน การผ่าตัด เช่น ขึ้นอยู่กับอาการ ความเหมาะสม และวิจารญาณของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม การปวดท้องน้อยมีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เมื่อเกิดแล้วไม่ควรมองข้าม ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี

ปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) คืออาการปวดช่องท้องด้านล่างบริเวณอุ้งเชิงกราน  อาการปวดท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณจากการติดเชื้อ การอักเสบ การบาดเจ็บที่อวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ หรืออาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน  แต่อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงโดยส่วนมากมักจะเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์

โรคที่มักจะเกิดอาการปวดท้องน้อยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือโรคจากระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง และโรคในช่องท้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

โรคจากระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยคือ

  • ภาวะอักเสบภายในอุ้งเชิงกราน
  • การท้องนอกมดลูก
  • พบว่ามีซีสต์ในรังไข่ หรือรังไข่มีความผิดปกติ
  • ท่อนำไข่เกิดการอักเสบ
  • พบว่ามีเนื้องอกในมดลูก
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก

โรคในช่องท้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

  • ความผิดปกติของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไส้เลื่อน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ  (Diverticulitis) ท้องผูกเรื้อรัง
  • ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
  • อาการเจ็บป่วยบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดเกร็ง (Pelvic Floor Muscle Spasm)
  • ความผิดปกติบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • กระดูกเชิงกรานร้าว หรือแตกหัก
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นหนองในแท้ หนองในเทียม
  • ภาวะติดเชื้อในไต หรือมีนิ่วในไต
  • ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ภาวะเจ็บป่วยในระบบสืบพันธุ์เพศชาย เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ

อาการปวดท้องน้อยอาจมีลักษณะปวดเสียด ปวดหน่วง ๆ ปวดแปลบ ๆ โดยอาจมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแล้วหายไป หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื้อรังก็ได้โดยลักษณะของอาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการป่วย แต่ถ้าหากเกิดอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงกะทันหัน มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอาการปวดท้องน้อยคู่กับอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดประจำเดือน หรือปวดเกร็งในขณะมีประจำเดือนและอาการแย่ลงเรื่อย ๆ
  • มีเลือด หยดเลือด หรือตกขาวไหลออกจากช่องคลอด
  • เจ็บปวดในขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะลำบาก ติดขัด
  • ท้องผูกหรือท้องร่วง
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือเรอ
  • มีเลือดออกในขณะขับถ่าย
  • เจ็บปวดในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีไข้ หรือหนาวสั่น
  • ปวดบริเวณสะโพก หรือขาหนีบ

ขอแนะนำให้เข้ารับการตรวจ MRI Lower Abdomen (ตรวจช่องท้องส่วนล่าง) เพื่อหาสาเหตุของอาการเพราะการตรวจสามารถแสดงภาพความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจนทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ตกขาวทำให้ปวดท้องได้ไหม

หากมีอาการปวดท้องน้อยร่วมกับมีอาการตกขาวปริมาณมาก มาเป็นเวลานาน อาจเกิดจากมีมดลูกอักเสบ หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งคือการอักเสบติดเชื้อในมดลูก รวมถึงท่อนำรังไข่ รังไข่ และภายในช่องท้องน้อย โดยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายมาจากช่องคลอดหรือปากมดลูก

ปวดท้องข้างขวาเกิดจากสาเหตุอะไร

ปวดท้องด้านขวาบน มักเกิดหลังจากการทานอาหารที่มีไขมันสูงมาก เมื่อนำมือไปกดลงบริเวณที่มีอาการปวด อาจพบก้อนเนื้อแข็ง และอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตามมา ตับอ่อนอักเสบ ปวดท้องด้านขวาแล้วลามไปถึงแผ่นหลัง เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติ และเกิดอาการตับอ่อนอักเสบได้ ไส้ติ่งอักเสบ

ปวดท้องหน่วงๆเกิดจากอะไร

ส่วนสาเหตุของการปวดท้องน้อยที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ได้แก่ ความผิดปกติของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ไส้เลื่อน ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ท้องผูกเรื้อรัง ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง

ปวดท้องตรงไหน

อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการปวดตั้งแต่บริเวณใต้สะดือลงไปจนถึงหัวหน่าว เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดท้องทั่วๆ ไป คล้ายกับการปวดประจำเดือนที่ไม่นานก็หาย แต่แท้จริงแล้วอาการปวดท้องน้อยอาจจะเกี่ยวข้องกับ 4 ระบบภายในร่างกาย ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติภายในระบบสืบพันธุ์เพียงอย่างเดียว ...