โครงการโลจิสติกส์ คลังสินค้า

พิษโควิด-19 กระทบต้นทุนสินค้าและโลจิสติกส์ของสถานประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ผอ. กองโลจิสติกส์ เผยเตรียมเปิดโครงการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการโลจิสติกส์ฯ ปี 2565 ตั้งเป้าช่วยสถานประกอบการ 200 แห่ง ลดต้นทุนให้ได้ 1,200 ล้านบาท

  • จับตาภาคธุรกิจ ฝ่าวิกฤตซัพพลายเชน โดมิโน่เอฟเฟกต์จากโควิด
  • ท่าเรือจีนติดโควิด ซ้ำวิกฤตซัพพลายเชนโลก ดันต้นทุนค่าขนส่งสินค้า
  • วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ

วันที่ 8 กันยายน 2564 นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนสินค้า การขนส่ง การสต็อกสินค้า และการบริหารจัดการ ทำให้มีสถานประกอบการหลายราย โดยเฉพาะสถานประกอบการ SMEs เข้ามาขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจกับกองโลจิสติกส์เป็นจำนวนมาก

ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยและบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการ กองโลจิสติกส์ จึงได้เตรียมเปิด “โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม” ปี 2565 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการ 200 แห่ง เน้นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมชีวภาพ พลังงาน-เคมีชีวภาพ และผู้ให้บริการโลจิสติกส์  ทั้งผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการคลังสินค้า ที่ต้องการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยโครงการจะเริ่มดำเนินการและรับสมัครในเดือนธันวาคม 2564 

สำหรับกิจกรรมหลักในโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ฯ ได้แก่

1. ส่งเสริมความรู้การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสู่ภูมิภาค 

Show

2.ส่งเสริมให้สถานประกอบการประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ได้ด้วยตนเอง

3. จัดทำแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรายสาขาอุตสาหกรรม

4. การให้คำปรึกษาและนำแผนไปปฏิบัติ ณ สถานประกอบการ

5. กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการ โดยจะมีการแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศจากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยคาดว่าจะสามารถช่วยผู้ประกอบการในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท

ปัจจุบัน การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยตั้งแต่ปี 2560 - 2564 กองโลจิสติกส์ได้มีการจัดโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม เป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ มากกว่า 1,000 แห่ง มีผู้ประกอบการและบุคลากรร่วมอบรมในโครงการฯ กว่า 1,380 ราย สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เป็นมูลค่ากว่า 5,364 ล้านบาท

สถานประกอบการที่สนใจลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ “เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร” สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ กองโลจิสติกส์ ชั้น 4 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์  0 2430 6875-76 E-mail โดยโครงการจะเริ่มดำเนินการและรับสมัครในเดือนธันวาคม 2564 ติดตามข่าวสารการสมัครได้ที่ Website: https://dol.dip.go.th หรือกดติดตาม เพิ่มเพื่อนใน Facebook กองโลจิสติกส์

#โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ปี 2565 #ผู้ประกอบการ SMEs #สถานประกอบการ #ลดต้นทุน #การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน #โควิด-19 ผลกระทบ #ต้นทุนสินค้า การขนส่ง การสต็อกสินค้า การบริหารจัดการสินค้า #ต้นทุนโลจิสติกส์ #โลจิสติกส์ #คลังสินค้า #ห่วงโซ่อุปทาน #ซัพพลายเชน #วิกฤตซัพพลายเชน #จับคู่ธุรกิจ Business Matching #กองโลจิสติกส์ #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

  • เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
  • บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
  • เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
  • ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
  • กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
  • นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
  • อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
  • ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
  • อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH