การประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์

การประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์

การดำเนินธุรกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ รอบด้าน แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและควบคุมได้ ด้วยการให้ความสำคัญกับ “การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน”

การดำเนินธุรกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งจากปัจจัยภายนอกที่ยากต่อการควบคุม อาทิ ภัยธรรมชาติ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคภัย ตัวอย่างเช่น ไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลก  และปัจจัยภายใน อาทิ การขาดการวางแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าลดลง ต้นทุนสินค้าสูงเกินความจำเป็น ผลกำไรลดลง บางรายขาดทุน จนถึงกับต้องปิดกิจการก็มี

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและควบคุมได้ ด้วยการให้ความสำคัญกับ “การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน”

“การบริหารจัดการโลจิสติกส์” เครื่องมือเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร

การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจปัจจุบัน  เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย

 แต่เชื่อไหมว่า มีอีกหลายคนที่เข้าใจว่า “โลจิสติกส์” คือ “การขนส่งสินค้า” เท่านั้น !!!

จริง ๆ แล้ว การขนส่งสินค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “โลจิสติกส์” เพราะ “โลจิสติกส์” เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมกระบวนการงานที่กว้างขวางตลอดโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การจัดการและควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ข้อมูล การเงิน ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดจัดเก็บ จุดผลิต ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความถูกต้อง ทั้งเวลา คุณภาพ ปริมาณ สถานที่ และต้นทุน

ส่วน “การจัดการซัพพลายเชน” เป็นการจัดลำดับกระบวนการทั้งหมดที่มี เริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ที่จะทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการไหล และการจัดเก็บสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดจากลูกค้า

การวางแผนการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างเป็นระบบจะมีส่วนช่วยผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

•    ทำให้ทราบจำนวนวัตถุดิบในสต็อก ว่ามีเพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ และสามารถคำนวณคำสั่งซื้อที่สอดคล้องกับการผลิต และความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ไม่สั่งซื้อมากไป จนสิ้นเปลืองงบประมาณ หรือสั่งมาน้อยเกินไปจนสินค้าผลิตไม่เพียงพอ

•    ช่วยให้สามารถคำนวณต้นทุนสินค้าที่แท้จริง และตั้งราคาที่เหมาะสม ไม่สูงเกินไปจนขายไม่ได้หรือต่ำเกินไปจนไม่มีกำไร และยังช่วยให้สามารถคำนวณเวลาการผลิต และส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

กล่าวคือ การบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สถานประกอบการสามารถบริหาร “ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“กองโลจิสติกส์” ติดอาวุธ เสริมความแกร่งอุตสาหกรรมไทย

นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กองโลจิสติกส์ รับหน้าที่สำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมไทย  ส่งเสริมการศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงซัพพลายเชนของสถานประกอบการเป้าหมาย เป็นศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

โดยสถานประกอบการเป้าหมาย ได้แก่ สถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนโลจิสติกส์สูง ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและพลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงสถานประกอบการตามนโยบายของรัฐบาล เช่น เกษตรแปรรูป และเครื่องจักรกล 

นอกจากนี้ กองโลจิสติกส์ ยังมีบทบาทสำคัญในการติดอาวุธทางความรู้ให้ผู้ประกอบการและบุคลากรในสถานประกอบการ ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ

  • ส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนโดยจะเข้าไปทำการวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหา ประเมินศักยภาพและให้คำปรึกษาเชิงลึก เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง การเพิ่มความแม่นยำของการพยากรณ์ การวางแผนความต้องการสินค้าและวัตถุดิบ การวางแผนการผลิตหลัก การจัดซื้อและการกระจายสินค้า การบริหารจัดการคลังสินค้า เป็นต้น
  • ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และเชื่อมโยงภายในองค์กรตั้งแต่การพยากรณ์ การจัดการคำสั่งซื้อ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์การตลาดและความต้องการของลูกค้า การวางแผนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค โดยการให้คำปรึกษาแนะนำการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านโลจิสติกส์
  • พัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับสากล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการให้บุคลากรด้านโลจิสติกส์ระดับต่าง ๆ เพื่อยกระดับพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
  • ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนเช่น การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการหาช่องทางให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น
  • สร้างปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ เช่น  การจัดทำเกณฑ์ประเมินการจัดการประสิทธิภาพและศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สำหรับสถานประกอบการนำไปใช้ประเมินตนเอง หรือการจัดองค์ความรู้การบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการเผยแพร่และขยายผล

โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการเข้ารับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แล้วประมาณ 1,000 แห่ง มีบุคลากรผ่านการอบรมเสริมสร้างศักยภาพ แล้วกว่า 1,380 ราย สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมในประเทศได้รวมกว่า 5,300 ล้านบาท

“การบริหารจัดการโลจิสติกส์” ลดต้นทุนผู้ประกอบการ

บริษัท เดอร์มา อินโนเวชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจโรงงานรับผลิตเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการขนส่งและสินค้า  เนื่องจากประสบปัญหาการจัดการภายในโรงงานมากมาย ตั้งแต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็น สินค้าผลิตไม่ทันตามกำหนด ระบบสต็อกมีปัญหาทำให้ไม่ทราบปริมาณวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่แท้จริง จนบางครั้งต้องจ้างโรงงานภายนอกผลิตเพื่อส่งสินค้าให้ทันตามความต้องการของลูกค้า

โดยกองโลจิสติกส์ ได้เข้ามาช่วยบริษัทฯ ลดการรั่วไหลของค่าใช้จ่ายและต้นทุนสินค้า ด้วยการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนเชื่อมโยงระบบจัดส่งกับระบบ WMS ในคลังสินค้า ระบบการจัดการคลังสินค้าออนไลน์ ทำให้บริหารสต็อกสินค้าได้แม่นยำขึ้น ส่วนการจัดส่งสินค้า ได้มีการปรับปรุงระบบขนส่งที่เชื่อมโยงระบบ web ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าได้ตรงเวลาตามที่กำหนด

ปัจจุบัน บริษัท เดอร์มา อินโนเวชั่น จำกัด สามารถนำความรู้ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ได้รับไปปรับใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในจุดที่บกพร่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลังได้เฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 47 คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ประมาณ 7.5 ล้านบาทสามารถคลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม

สนใจเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เพิ่มความแข็งแกร่งให้สถานประกอบการ ติดต่อ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 4 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 75/6 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์  0 2430 6875 อีเมล Website: https://dol.dip.go.th

การประยุกต์ใช้งานการจัดการโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ GPS (Global Positioning System) Barcode RFID (Radio Frequency Identification) EDI (Electronics Data Interchange) การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ (Enterprise Resource Planning: ERP) ระบบการจัดการคลังสินค้า ( ...

การบริหารจัดการโลจิสติกส์มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

Logistics Management : การจัดการด้านโลจิสติกส์ คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลด ...

เทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารข้อมูลโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีที่จ าเป็นส าหรับโลจิสติกส์ในยุคใหม่ทั้ง 7 ระบบ ในบทความนี้ประกอบด้วย 1) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange System: EDI) 2) ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) 3) รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ ของคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) 4) ระบบ ก าหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม ( ...