วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

วรรณคดีอยุธยาตอนกลาง

        เป็นยุคทองของวรรณคดี” มีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย   ลักษณะคำประพันธ์นิยม  ใช้โคลงมากที่สุด  ฉันท์และกาพย์มีบ้าง   ไม่ปรากฏคำประพันธ์ประเภทกลอน  มีแบบเรียนภาษาไทยกำเนิดขึ้นด้วยคือเรื่อง  “จินดามณี

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง มีดังนี้

    . กาพย์มหาชาติ

 กาพย์มหาชาติ เป็นวรรณคดีเก่าแก่เล่มหนึ่ง ที่แต่งขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และประวัติการแต่งก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ถือว่ามีคุณค่าทั้งทางวรรณคดีและทางพุทธศาสนา

         ประวัติ   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า กาพย์มหาชาติน่าจะแต่งขึ้นในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อมีประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งขึ้น ในช่วง พ.ศ.๒๑๔๕ - ๒๑๗๐ 

เนื้อหา ภาษา และคำประพันธ์   เนื้อหาของกาพย์มหาชาตินั้น เป็นการเล่าเรื่องมหาชาติ หรือเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง เป็นการแต่งแบบที่เรียกว่า ยกคาถา กล่าวคือ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วแต่งภาษาไทยเล่า สลับไปเป็นช่วงๆ จนจบ โดยใช้คำประพันธ์ที่เรียกว่าร่ายโบราณ หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ร่ายมหาชาติ เนื่องจากเป็นร้อยกรองที่แต่งไว้สำหรับการเทศน์เรื่องมหาชาตินั่นเอง แต่ละกัณฑ์ (ในกาพย์มหาชาติเรียกว่า บรรพมีความยาวไม่มาก

        จุดมุ่งหมาย   ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง 

ตัวอย่าง

จาก กัณฑ์วนประเวศน์

*เต จัต์ตาโร ขัต์ติยา* อันว่าพระบรมกษัตริย์ทั้งสี่ศรีสุริยวงศ์  เมื่อเสด็จบทจรประสงค์สู่เขาคิริยวงกฎ   มิได้แจ้งทางที่กำหนดดำเนินไพร  ด้วยความเข็ญใจก็จำเป็น  ปติปเถ ทอดพระเนตรเห็นมหาชน  อันเดินทวนทางถนนนั้นมา  ก็ตรัสถามถึงมรคาเขาคันธมาทน์ ..."

(* คาถาภาษาบาลี)

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

๒.  โคลงสุภาษิต

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คำประพันธ์     เป็นโคลง
สาระสำคัญ

      -โคลงพาลีสอนน้อง พาลีพระยาวานรเจ้าเมืองขีดขินสอนสุครีพน้องชายถึงหลักการรับราชการ

       -โคลงทศรถสอนพระราม ท้าวทศรถสอนพระรามถึงหลักการครองบ้านเมือง

       -โคลงราชสวัสดิ์ ทรงนำหลักพระพุทธศาสนามาสั่งสอนข้าราชการหลายเรื่อง เช่น กิริยามารยาท การแต่งกายเข้าเฝ้า การไม่ยักยอกของหลวง ฯลฯ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

      -โคลงพาลีสอนน้อง เป็นหลักฐานสำหรับข้าราชการ

      -โคลงทศรถสอนพระราม เป็นการแสดงหลักในการ   ปกครองบ้านเมือง

      -โคลงราชสวัสดิ์ แต่งเพื่อสอนข้าราชการ

คุณค่า

          ให้แบบอย่างการปฏิบัติตนของกษัตริย์และข้าราชการแสดงค่านิยมในการเคารพยกย่องกษัตริย์

๓. เสือโคคำฉันท์

       เสือโคคำฉันท์  เริ่มด้วยบทไหว้ครู  ไหว้เทวดา  และบทเทิดเกียรติกษัตริย์  เป็นเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือกับลูกโคที่พระฤๅษีได้ชุบให้เป็นมนุษย์  โดยให้ชื่อลูกเสือว่า  “พหลวิไชย" ส่วนลูกโคได้ให้ชื่อว่า คาวี"

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง         พระมหาราชครู ได้เค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดก

 คำประพันธ์   เป็นคำฉันท์ มีกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ปนอยู่ด้วย

วัตถุประสงค์  เป็นคติสอนใจ

สาระสำคัญ   เป็นเรื่องราวของลูกเสือกับลูกโคซึ่งเป็นเพื่อนกัน เป็นผู้มีคุณธรรมคือความกตัญญูและซื่อสัตย์ จึงได้รับการชุบเป็นคนชื่อ หลวิชัยและคาวี ซึ่งก็ยังมีความรักความผูกผันซึ่งกันและกัน ได้เดินทางผจญภัยจนได้ปกครองเมืองเป็นเจ้าเมืองทั้งสองคน

คุณค่า    เป็นคำฉันท์ที่แต่งเป็นเรื่องยาวเป็นเรื่องแรก  ให้คติสอนใจในเรื่องความกตัญญูและความซื่อสัตย์

๔.สมุทรโฆษคำฉันท์

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

                  สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่  ว่าเป็นเรื่องที่แต่งดีเป็นเยี่ยมในกระบวนคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมขนาดย่อม มีความยาว ของเนื้อเรื่อง ๒๑๒๘ บท(นับรวมแถลงท้ายเรื่อง ๒๑ บท ) กับโคลงท้ายเรื่องอีก ๔ บท

                สมุทรโฆษคำฉันท์นับเป็นหนึ่งในวรรณคดีไทย ที่มีประวัติอันยาวนาน สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จวบจนถึงช่วงต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อหาแบบนิยายไทยทั่วไป ที่มีความรักและการพลัดพราก กวีได้สอดแทรกขนบการแต่งเรื่องไว้อย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ยังใช้วรรณคดีเล่มนี้สำหรับการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมด้วย

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ประวัติและผู้แต่ง   สมุทรโฆษคำฉันท์มีผู้แต่งสามท่าน ซึ่งแต่งในยุคสมัยต่างๆ กัน ดังนี้

๑. พระมหาราชครู แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่แต่งตั้งปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ คาดว่าน่าจะอยู่ในราว พ.ศ. ๒๒๐๐ ท่านได้แต่งไว้ ๑๒๕๒ บท นับตั้งแต่ต้น จนถึงตอน "งานสยุมพรพระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดี" ด้วยกาพย์ฉบัง ที่ว่า

                             พระเสด็จด้วยน้องลีลาส     ลุอาศรมอาส-

                      นเทพลบุตรอันบนฯ

๒. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง ๒๐๕ บท แต่ไม่จบเรื่อง ก็สวรรคตเสียก่อน ทรงแต่งตั้งแต่ตอน "พระสมุทรโฆษและนางพินทุมดีไปใช้บน" (แก้บน) จนถึง ตอนที่พิทยาธรสองตนรบกัน (ตนหนึ่งตกลงไปในสวน) แต่ยังรบไม่จบ ทรงแต่งจนถึงสัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ที่ว่า

             แต่นี้พี่อนุช(ะ)ถึงแก่กรรม(ะ)พิกล        เรียมฤๅจะยากยล พธู

     ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู        โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็นฯ

๓. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระนิพนธ์ต่อจากนั้นจนจบเรื่อง นับได้ ๘๖๑ บท หลังจากที่ค้างอยู่นานถึง ๑๖๐ ปี (นับจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑) เนื่องจากไม่มีผู้ใดกล้าแต่งต่อ โดยได้ทรงพระนิพนธ์เป็นสองช่วง และสุดท้ายก็จบเรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ (จ.ศ. ๑๒๑๑) 

     เนื้อเรื่อง    ดัดแปลงมาจากสมุทรโฆษชาดก ในปัญญาสชาดก กล่าวคือเป็นชาดกที่มิได้มีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่เนื้อหาในเรื่องที่พระราชครูแต่งนั้น แตกต่างไปจากชาดกอยู่บ้าง ทว่าเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแต่ง พระองค์ได้ดำเนินตามปัญญาสชาดกจนจบเรื่อง

๕. จินดามณี

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

            จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก) เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่างๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ ๖๐ ชนิด มีทั้งจินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และยังเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยด้วย และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า "จินดามณี" เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเลย์

 ผู้แต่ง   พระมโหราธิบดี

คำประพันธ์    เป็นร้อยแก้ว มีตัวอย่างคำประพันธ์ต่างๆ

วัตถุประสงค์   สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้นักปราชญ์แต่งหนังสือเรียนภาษาไทยเพื่อไม่ให้เด็กไทยหันไปเรียนและไปนับถือศาสนาคริสต์

สาระสำคัญ กล่าวถึงอักษรศัพท์ เป็นคำศัพท์ที่มีเสียงคล้ายๆ กัน วิธีใช้อักษรต่างๆ การผันอักษร กำเนิดตัวอักษร วิธีแต่งคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ

คุณค่า  เป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก  เป็นหนังสือค้นคว้าอ้างอิงเกี่ยวกับภาษาไทยที่ดีที่สุด

๖.พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง   เป็นพระประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้รวบรวมจดหมายเหตุและเหตุการณ์ต่างๆ  รวบรวมไว้ด้วยกัน หลวงประเสริฐอักษรนิติเป็นผู้ได้มาจากชาวบ้านแล้วนำมาถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  จึงประทานชื่อให้เป็นเกียรติ

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

หลวงประเสริฐอักษรนิติ (แพ ตาละลักษณ์)

เวลาแต่ง            พ.ศ. ๒๒๒๓

คำประพันธ์    เป็นร้อยแก้ว เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ หรือเหตุการณ์แปลก ๆ ไว้

วัตถุประสงค์   เพี่อบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองไว้เป็นหลักฐาน

    สาระสำคัญ  เริ่มตั้งแต่เริ่มสร้างพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง พ.ศ. ๑๘๖๗ จุลศักราช ๖๘๖ ไปจนถึง พ.ศ. ๒๑๔๗  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปรบที่เมืองเชียงใหม่ ประชวรสวรรคตที่เมืองห้างหลวง

คุณค่า      มีคุณค่าสำคัญด้านประวัติศาสตร์ 

๗. อนิรุทธ์คำฉันท์

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง    ศรีปราชญ์  เป็นบุตรของพระโหราธิบดี  เป็นกวีเอกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
คำประพันธ์    เป็นฉันท์และกาพย์ มีร่ายปนอยู่บ้าง
วัตถุประสงค์ 

พื่อแข่งกับเรื่อสมุทรโฆษคำฉันท์

 แสดงความสามารถแต่งฉันท์เป็นเรื่องยาวได้

     สาระสำคัญ    เรื่องอนิรุทธ์ได้มาจากคัมภีร์วิษณุปุราณะและมหาภารตะ มีเนื้อเรื่องคล้ายสมุทรโฆษ คือมีการอุ้มสมระหว่าง พระอนิรุทธ์กับนางอุษา และพรากจากกัน แต่ในที่สุดก็ได้พบกันและครองกันสืบมา
คุณค่า

         (๑) ใช้ในการเปรียบเทียบกับเรื่องอณุรุทในสมัยรัชกาลที่ ๑ 

         (๒) มีลักษณะแหวกธรรมเนียมนิยมคือไม่มีบทไหว้ครู 

โคลงกำสรวล หรือ กำสรวลศรีปราชญ์

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง        ศรีปราชญ์

คำประพันธ์  เป็นโคลงดั้น   มีสัมผัสระหว่างบท

วัตถุประสงค์ พรรณนาการเดินทางพร้อมทั้งคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักไปด้วย เนื้อความบางตอนมีการยกวรรณคดีเรื่องอื่นมากล่าวเปรียบเทียบ

คุณค่า

ด้านภาษา ให้ความรู้ด้านคำศัพท์โบราณ

ด้านภูมิศาสตร์ ทราบสภาพเส้นทางตามที่กวีกล่าว

ด้านสังคม ได้รู้ถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย          

๙. โคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

       ผู้แต่ง   ศรีปราชญ์ได้แต่งไว้เป็นโคลงเฉพาะกิจ มีการรวมรวมอยู่ในโคลงกวีโบราณของพระยาตรังคภูมิบาล  และตำนานศรีปราชญ์ ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ   ตาละลักษณ์) 

๑๐. โคลงอักษรสามหมู่

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง         พระศรีมโหสถ
เวลาแต่ง         สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คำประพันธ์      โคลงสี่สุภาพ กลบท ใช้คำๆ เดียวกันเรียงตั้งแต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ และผันได้ด้วยไม้เอก ไม้โท  เป็นชุดๆ     

วัตถุประสงค์     เพื่อแสดงฝีมือทางวรรณศิลป์

คุณค่า เป็นแบบอย่างในการแต่งกลบทของกวียุคหลัง 

๑๑โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง       พระศรีมโหสถ
คำประพันธ์  โคลงสี่สุภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อสดุดีพระเกียรติและบันทึกเหตุการณ์บ้านเมือง

สาระสำคัญ  เล่าเรื่องการได้ช้างเผือก อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากชียงใหม่ และพรรณนาเมืองลพบุรี
คุณค่า       มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี 

๑๒นิราศนครสวรรค์

ผู้แต่ง       พระศรีมโหสถ
คำประพันธ์  ร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ
วัตถุประสงค์ พรรณนาการเดินทางชลมารคตามเสด็จไปรับช้างเผือกที่นครสวรรค์


สาระสำคัญ  พรรณนาสถานที่ต่างๆ ที่เดินทางผ่านจากอยุธยาถึงนครสวรรค์ โดยแทรกสำนวนนิราศไว้ด้วย   
คุณค่า       ได้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองยุคนั้น 

๑๓กาพย์ห่อโคลง

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง       พระศรีมโหสถ
คำประพันธ์  กาพย์ยานีสลับกับโคลงสี่สุภาพบทต่อบท
วัตถุประสงค์ สดุดีชมบ้านเมืองสมัยสมเด็จพระนารายณ์
สาระสำคัญ  เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอยุธยา
คุณค่า       (๑) เป็นตัวอย่างของกวีรุ่นหลังในลักษณะการแต่งกาพย์ห่อโคลงขนาดยาวมีสำนวนโวหารที่ไพเราะ คมคาย หลายตอน

            (๒) ได้ทราบถึงสภาพบ้านเมือง

๑๔. นิราศสีดา (ราชาพิลาป)

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง     ไม่ปรากฎ

ลักษณะคำประพันธ์   กาพย์ฉบัง และ กาพย์สุรางคนางค์

สาระสำคัญ   เป็นเรื่องที่แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พรรณนาความคร่ำครวญของพระราม ตอนเดินออกเดินทางตามหานางสีดา

คุณค่า   เป็นตัวอย่างของนิราศให้กวีรุ่นหลังได้ศึกษา

๑๕คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง           ขุนเทพกวี

คำประพันธ์     ฉันท์กาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง

วัตถุประสงค์    ใช้ขับในราชพิธีสมโภชช้างเผือก

สาระสำคัญ     ตอนต้นเป็นบทสดุดีเทพทั้งหลายพรรณนาการเตรียมตัวคล้องช้างขอพรเทพให้ทำการคล้องช้างสำเร็จ

คุณค่า

           (๑)  เป็นคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างที่เก่าที่สุดที่กวีรุ่นหลังนำมาเป็นตัวอย่าง

           (๒) ให้ความรู้เรื่องพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง 

๑๖โคลงทวาทศมาส

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง  ไม่ชัดเจน บอกไว้เพียงว่าพระเยาวราชแต่ง และมีขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกวีราชและขุนสารประเสริฐ เป็นผู้เกลากลอน

เวลาการแต่ง ยังไม่เป็นที่ยุติ บางท่านว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์บางท่านว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

คำประพันธ์  โคลงดั้นวิวิธมาลี  

สาระสำคัญ  พรรณนาคร่ำครวญการจากไป ๑๒ เดือน

คุณค่า เป็นตัวอย่างในการแต่งนิราศของกวีรุ่นหลัง

๑๗โคลงนิราศหริภุญชัย

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

  ผู้แต่ง       กวีชาวเชียงใหม่
คำประพันธ์      โคลงสี่สุภาพ
วัตถุประสงค์ แสดงความอาลัยรักนาง แต่ผู้ที่ถอดมาเป็นภาษาไทยภาคกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ และแสดงผลงานของกวีผู้เป็นเจ้าของ
สาระสำคัญ  เขียนในลักษณะนิราศพรรณนาถึงสถานที่ผ่านและคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักระหว่างเดินทางไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัย
คุณค่า ได้รับรู้ด้านวัฒนธรรมและการละเล่นในสมัยนั้นและเป็นตัวอย่างในการศึกษาศัพท์โบราณภาคเหนือ 

๑๘. ลิลิตพระลอ 

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง pdf

ผู้แต่ง  ไม่ทราบแน่ชัด

ระยะเวลาในการแต่ง  อาจเป็นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕)

ลักษณะคำประพันธ์  เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วนใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น

วรรณคดีสโมสรให้เป็น ยอดของลิลิต

ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย

      คุณค่า ด้านสังคม และวัฒนธรรม เป็นนิยายพื้นบ้านที่สะท้อนชีวิตทั้งด้านการปกครอง ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ