จงระบุประโยชน์ของเทคโนโลยีการดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ใช้ทางด้านการแพทย์มา1ตัวอย่าง

จงระบุประโยชน์ของเทคโนโลยีการดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ใช้ทางด้านการแพทย์มา1ตัวอย่าง

Show

แบบใดก็ได้ที่ทำ�ให้เกิดรหัสหยุดก่อนรหัสหยุดเดิม ดังนั้นถ้ายับยั้งการแสดงออกของยีนหรือทำ�ให้ไม่มี

การสร้างโปรตีนจากยีนดังกล่าวได้จะทำ�ให้สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความหอมได้ และถ้าสามารถ

ตรวจหายีนดังกล่าวได้จะทำ�ให้ตรวจสอบสายพันธุ์ข้าวที่มีความหอมได้

นอกจากนี้ครูอาจขยายความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักเรียนโดยการอภิปรายร่วมกับนักเรียนถึงการใช้

ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากความรู้เกี่ยวกับข้อมูลยีนที่ทำ�หน้าที่ควบคุมลักษณะที่สนใจ รวมทั้งหน้าที่

ของยีนและโปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น ทำ�ให้สามารถควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตได้ สามารถ

ตรวจสอบลักษณะที่สนใจก่อนที่ลักษณะนั้นจะปรากฏในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

จากนั้นครูอาจนำ�ข่าวตัวอย่างประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ และให้นักเรียน

ร่วมกันอภิปรายว่าเป็นการใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติของสารพันธุกรรมในเรื่องใดบ้าง และใช้

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วในด้านใดบ้าง โดยคำ�ตอบอาจมีได้

หลากหลาย เช่น

- ข่าวการสร้างสิ่งมีชีวิต GMO เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของสารพันธุกรรมในการ

ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดยมียีนที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนซึ่งนำ�ไปสู่ฟีโนไทป์

ของสิ่งมีชีวิต และใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในการระบุยีนที่ทำ�หน้าที่ควบคุมลักษณะที่

ต้องการ ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมในการโคลนยีน การตัดต่อ และการถ่ายยีน

- ข่าวการตรวจสอบ DNA ช้างบ้านซึ่งขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพื่อป้องกันการนำ�

ช้างป่ามาแอบอ้างว่าเป็นช้างบ้าน เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับการที่สิ่งมีชีวิตแต่ละสิ่งมีชีวิต

มีลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างกัน จึงสามารถใช้ในการระบุตัวตนได้

โดยครูอาจช่วยสรุปข้อมูลให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการนำ�ความรู้พื้นฐานเรื่องสมบัติของ

สารพันธุกรรมและเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

6.3.1 ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายว่า

จากความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี

ทางดีเอ็นเอที่นักเรียนได้ศึกษามา สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และ

เภสัชกรรมได้อย่างไร

ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในหัวข้อนี้

การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ครูให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการสร้างแบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนที่ควบคุมการผลิต

อินซูลินของมนุษย์จากรูป 6.13 ในหนังสือเรียน นอกจากนี้ครูอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นักเรียนว่า

พันธุวิศวกรรมยังสามารถนำ�มาใช้ในการผลิตวัคซีนบางชนิด ซึ่งวัคซีนใช้เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค

บทความ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

162

จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิต ดัดแปลง พันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มายิงใส่เข้าไปในยีนของ สิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ ในธรรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ชนิดใหม่ ที่มีคุณลักษณะ ตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลก มาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศ ปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มาใส่ในยีน ของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทาน ต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัส มาใส่ในมะละกอ เพื่อให้ มะละกอต้านทานโรค ไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

ในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยีนและดีเอ็นเอถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ยีนเป็นตัวสร้าง สิ่งมีชีวิต ให้มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ยีนทำให้ผมดำ ยีนที่ทำให้ทน ความหนาวเย็นได้ ยีนที่ทำให้มีปีก เป็นต้น กลไกการทำงานของยีน ในสิ่งมีชีวิตนั้น ซับซ้อน กว้างใหญ่ไพศาล และเป็นเครือข่ายที่เปราะบาง ยีนตัวเดียวกันแต่อยู่คนละตำแหน่งในสายยีน ก็อาจกำหนดคุณสมบัติ ที่แตกต่างกันได้ และยีนหนึ่งตัว ก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว การดัดแปลงยีน (จีเอ็มโอ) คือการพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิต อย่างที่ไม่สามารถ เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาล ต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายบนโลกใบนี้ เนื่องจาก มนุษย์ ไม่มีวันที่จะควบคุมมันได้

จากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ ปีที่ผ่านมา มะเขือเทศสามารถผสมพันธุ์กับมะเขือเทศ พันธุ์อื่นได้ แต่ไม่เคยเลยสักครั้ง ที่มะเขือเทศจะผสมพันธุ์ กับปลาหรือคางคก ถั่วเหลืองอาจผสม ข้ามพันธุ์ ระหว่างถั่วเหลืองด้วยกันเอง แต่ไม่มีวันที่จะผสมพันธุ์ กับแบคทีเรีย นี่คือกฎที่ธรรมชาติ สรรสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำแพงกั้นให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อความ อยู่รอด ของโลก แต่การดัดแปลงพันธุกรรม (วิศวพันธุกรรม หรือจิเอ็มโอ) เป็นการละเมิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การบีบบังคับ ให้ยีนของปลา เข้าไปผสมอยู่ใน สตรอว์เบอร์รี่ หรือยีนของแมงป่อง เข้าไปผสมกับ มะเขือเทศ

นักวิศวพันธุกรรมนำยีนแปลกปลอมเหล่านี้ใส่เข้าไปโดยใช้ไวรัสเป็นพาหนะหรือใช้ปืน ยิงยีนเข้าไป ในเซลล์ของพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ที่ต้องการ ดัดแปลงพันธุกรรม การทดลองตัดต่อยีน เข้าไปแบบ สุ่มเสี่ยงนี้ บ่อยครั้งที่ล้มเหลว ส่วนครั้งที่ทำสำเร็จ ก็ไม่รู้ได้ว่ายีนใหม่ จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ตรงไหน ของสายยีน และจะก่อให้เกิดผลกระทบอื่น นอกเหนือไปจากที่ต้องการหรือไม่

ตั้งแต่เกิดเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดกล้ายืนยันได้ว่า อาหาร ที่มี ส่วนประกอบของจีเอ็มโอ ปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาว การทดลอง ในสัตว์ทดลอง เป็นเพียง การทดลองระยะสั้นๆ เมื่อเทียบกับช่วงชีวิต ของมนุษย์ที่ยาวถึง ๖๐ — ๗๐ ปี การนำ อาหาร จีเอ็มโอ มาให้มนุษย์กิน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเท่ากับใช้มนุษย์ เป็นหนูทดลอง โดยที่พวกเราเอง ก็ไม่รู้ตัวว่ากินอาหารจีเอ็มโอ เข้าไปหรือไม่ ถ้าไม่มีฉลากที่ชัดเจน บอกไว้ และ หากเกิดผลร้าย ต่อสุขภาพขึ้นมาในอนาคต เราจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ผลร้ายนั้น เกิดจากการ บริโภคอาหาร จีเอ็มโออย่างต่อเนื่องหรือไม่

ปัจจุบัน อันตรายต่อสุขภาพที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารจีเอ็มโอ คือ โรคภูมิแพ้ ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในอเมริกา คนที่แพ้บราซิลนัท และไปกินถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ที่มียีน ของบราซิลนัทอยู่โดยไม่รู้ตัว จะเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที นอกจากนี้ การใส่ยีนแปลกปลอม ที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าไป อาจก่อให้เกิดโปรตีนพิษชนิดใหม่ ที่ร่างกายไม่รู้จัก และกระตุ้นให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเป็นห่วงว่าจีเอ็มโออาจกระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจาก ในการทดลองจีเอ็มโอ ต้องใส่สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะเข้าไป เพื่อเป็นตัวตรวจสอบว่า การทดลอง ครั้งนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ สมาคมแพทย์อังกฤษ เห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ควรให้ใช้สาร ต้านทาน ยาปฏิชีวนะในจีเอ็มโอ ประเทศในสหภาพยุโรป ได้ออกกฎหมายห้ามใช้สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่พืชจีเอ็มโอที่นำมาผลิตเป็นอาหาร อยู่ใน ท้องตลาดขณะนี้ ยังคงมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะ เป็นส่วนประกอบอยู่

จากการที่จีเอ็มโอเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ได้ง่าย เมื่อใดที่มันถูกปล่อย ออกไปสู่สภาพแวดล้อม เราจะไม่สามารถ จำกัดบริเวณ หรือเรียกมันกลับคืนมาได้ หากเราพบ ในภายหลัง ว่ามันมีอันตราย ตัวอย่างนี้มีให้เห็นจากเรื่องของดีดีที สารเคมีกำจัดแมลง ที่มนุษย์ คิดค้นเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในตอนนั้นไม่มีใครรู้ถึง อันตรายของมัน และนำดีดีทีมาใช้กันอย่าง กว้างขวาง หลังจากนั้นอีก ๓๐ ปี จึงค้นพบว่า ดีดีที เป็นตัวการทำให้พืช สัตว์และมนุษย์ ต้องล้มป่วย พิการ หรือเสียชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ จึงออกประกาศ ห้ามใช้สารดีดีที นับแต่นั้นมา สารเคมีพิษเหล่านี้แม้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือในอาหารไปแล้ว แต่เมื่อหยุดใช้ไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นร้อยปีพันปี ก็จะย่อยสลายไปได้ แต่สำหรับจีเอ็มโอ อาจซ้ำร้ายกว่านั้น หากใน ๕๐ ปี ข้างหน้า เราพบว่ามันส่งผลเสีย ร้ายแรงกว่าที่พบในตอนนี้ เราคงไม่สามารถ หยุดยั้งการปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือหาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่ปลอดจีเอ็มโอมาปลูกได้ เพราะพืชหรือสัตว์จีเอ็มโอ ได้แพร่พันธุ์ กลืนกินพืช ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอไปหมดแล้ว

การครอบงำจากบริษัทข้ามชาติ

มีบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ เพียง ๔ — ๕ บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในเทคโนโลยี การทำ จีเอ็มโอ รวมถึงตัวยีน และเมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ ที่เพาะปลูกกันอยู่ ในโลกขณะนี้ ในการทดลองวิจัย บริษัทเหล่านี้อาจบอกว่า เป็นความช่วยเหลือ แบบให้เปล่า แต่หากต้องการปลูก เพื่อการค้า จะต้อง ทำสัญญาทางการค้า และจ่ายเงินแทนให้แก่บริษัท เกษตรกรในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา จำนวนมาก ต้องตกเป็นทาส ในที่ดินของตนเอง เนื่องจากปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือถูกพืชจีเอ็มโอ เข้ามาปนเปื้อน ในพืชผลของตน จีเอ็มโอจึงเป็นหนทางให้ บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ เข้ามามีอิทธิพล และครอบครอง แหล่งเกษตรกรรมและแหล่งอาหารของเรา

กลุ่มผู้สนับสนุนอาหารจีเอ็มโอมักกล่าวว่าอาหารจีเอ็มโอที่วางขายในท้องตลาดผ่านการประเมิน ความปลอดภัยแล้วว่า ปลอดภัย เหมือนอาหารทั่วไป การกล่าวอ้างเช่นนี้ มาจากหลักการที่เรียกว่า หลักความเทียบเท่า (Substantail Equivalence)

ความเทียบเท่าจะเปรียบเทียบพืชจีเอ็มโอกับพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ เช่น ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ กับถั่วเหลืองปกติ โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอก และองค์ประกอบพื้นฐานบางประการเท่านั้น ถ้าไม่แตกต่างกัน ก็ถือว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากัน

แต่ในความเป็นจริงพืชจีเอ็มโอเกิดจากการตัดต่อยีนของพืชหรือสัตว์โดยใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไป การเปลี่ยนแปลง ในยีนนี้ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า การใช้หลักความเทียบเท่า ไม่ได้คำนึง ถึงการเปลี่ยนแปลงของยีน และไม่ได้ตรวจสอบ ความเป็นพิษ หรือสารก่อเกิดโรคภูมิแพ้ ชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดจากยีนแปลกปลอมนั้นๆ

นอกจาก “หลักความเทียบเท่า” แล้ว ผู้ผลิตพืชจีเอ็มโอไม่เคยวิจัยทดสอบความปลอดภัย ของอาหาร อย่างเพียงพอ ก่อนที่จะนำมาผลิต เพื่อการค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทไบเออร์ ยื่นขออนุมัติป ลูกข้าวจีเอ็มโอเพื่อการค้า ต่อองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา ไบเออร์ ทดสอบความปลอดภัย ทางอาหาร โดยนำข้าวจีเอ็มโอชนิดนี้ ให้ไก่กินเป็นเวลา ๔๒ วัน เมื่อพบว่า ไก่ไม่เป็นอะไร จึงถือว่าข้าวจีเอ็มโอนี้ ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็ยอมอนุมัติให้ปลูกโดยไม่ได้ทำการทดสอบด้วยตนเอง แต่อย่างใด

ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่สมบูรณ์ และข้ออ้างว่า อาหารจีเอ็มโอ ปลอดภัย ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง อาหารจีเอ็มโอกับอาหารปกตินั้น แตกต่าง

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอ เพื่อการค้า และ ยังมีมติ ครม. สั่งระงับการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอระดับไร่นา

ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจีเอ็มโอจำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออก ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ๙๙% ของถั่วเหลือง ที่ปลูกในอาร์เจนตินา เป็นถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ ๘๐% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอ็มโอ) จากการ ตรวจสอบของ กรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปในท้องตลาด มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง จีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลาก ให้ประชาชนได้รับทราบ

ุ กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่บังคับใช้ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ นั้น เป็นกฎข้อบังคับ ที่หละหลวมมาก คือกำหนด เปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนจีเอ็มโอ ไว้สูงถึง ๕% ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก นอกจากนั้น ยังกำหนด ให้ติดฉลาก เฉพาะเมื่อมีถั่วเหลือง หรือข้าวโพดจีเอ็มโอ เป็นส่วนประกอบ ในสาม อันดับแรกเท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอ อยู่ในระดับที่ ๔ ลงไป ก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุดิบอื่น ที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด แต่เป็นจีเอ็มโอ เช่น มะละกอจีเอ็มโอ หรือ ข้าวสาลีจีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้ จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง แก่ผู้บริโภค หรือให้สิทธิในการรับรู้ และปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ แก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย โดยประกาศ นโยบายปลอดจีเอ็มโอ ในยุโรป แต่ยังยืนยันว่า จะใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่มีจีเอ็มโอ สำหรับ ประเทศไทย เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบจีเอ็มโอ ในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็ก และทารก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ตรวจพบว่ามีจีเอ็มโอ จนกว่าบริษัท ผู้ผลิต อาหารนั้นๆ จะมีนโยบาย และมีมาตรการ ปลอดจีเอ็มโอ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอ ได้จากคู่มือจ่ายตลาด สำหรับซื้ออาหาร ปลอด จีเอ็มโอ

ตั้งข้อสงสัยอาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา หรือ แคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ มากที่สุดในโลก ตรวจสอบรายชื่อ บริษัทผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ส่วนประกอบจีเอ็มโอ ได้ที่เว็บไซต์www.truefoodnow.org

ุ ตรวจดูฉลากข้างกล่องว่า อาหารนั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากถั่วเหลือง หรือข้าวโพดหรือไม่ (เช่น ฟองเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง ใยถั่วเหลือง ผักสกัด ถั่วเหลืองสกัด โปรตีนถั่วเหลือง เลคซิตินจากถั่วเหลือง สารปรุงแต่งจากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช แป้งข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด น้ำมันจากคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย เป็นต้น) หากไม่ปรากฏ รายการส่วนผสมดังกล่าวนี้ ก็พอจะเชื่อมั่นได้ว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดนั้น ปลอดจีเอ็มโอ

ุ ซื้อผักผลไม้และอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังคงห้าม การปลูกพืช จีเอ็มโอเพื่อการค้าอยู่ แต่หากท่านพบวัตถุดิบ ที่ปลูกในประเทศไทย เป็นจีเอ็มโอ แสดงว่ามีการละเมิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งเบาะแส ให้แก่ทางการได้

ุ บริโภคอาหารธรรมชาติที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย และอาหารจากเกษตรอินทรีย์ โดยสังเกต ตรารับรอง จากสำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งรับรองได้ว่าปลอด ทั้งสารเคมี และ จีเอ็มโอ

ข้อดีและข้อเสียของ GMOs
ข้อดีของ GMOs

GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology)โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุนวิจัยจำนวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข
ความสำเร็จแห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มีรูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยุ่ทุกวันนี้ และในภาวะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้งเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรมคือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า
genomic revolution

GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่
ประโยชน์ต่อเกษตรกร
1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็นagronomic traits

2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOsส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ในจำพวก ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ที่กล่าวมานี้
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
3. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)

4. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน

GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมาในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจำหน่าย เป็นสินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ข้อ 1–4 นี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว ทำให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทำ GMOs ทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน

6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว

7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6–8 ล้วนมีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
8. ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทำให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณมาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่อาจมีโอกาสทำให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบวัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

9. หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น
ข้อเสียของ GMOs
เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและความซับซ้อนใน การบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจาก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย

2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น

3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย

4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า เชื้อจุลินทรีย์และพืช

6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา กล่าวคือเนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ดังนั้นจึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย ทำให้มีคำถามว่า
6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้าน ทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้
6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate) เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้ น้อยมาก
แต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสาร ต่อต้านปฏิชีวนะ หรือบางกรณีก็สามารถนำยีนส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่ อาหาร

7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน 35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด

8. อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป
ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม
9. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ เช่น ผลการทดลองของ Losey แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยาย ความ

10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้
ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม
11. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีความกังวลอยู่ แต่ควรทราบว่า GMOs เป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง เท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมา ในประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัย (biosafety guidelines) ทุกขั้นตอน ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาคสนามเพื่อให้การวิจัยและ พัฒนา GMOs มีความปลอดภัยสูงสุด และเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการ ประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุด
อย่างไรก็ดี กรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ ของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล มิใช่เป็นไปโดยความ ตื่นกลัว หรือการตามกระแส
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ, คุณรู้จัก “พืชดัดแปรพันธุกรรม” ดีแค่ไหน, เอกสารแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ หมายเลข 2
2. นเรศ ดำรงชัย, ผลกระทบของ GMOs ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, สิ่งที่ประชาชนควรทราบ,โครงการศึกษานโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), พิมพ์ครั้งที่ 2มีนาคม 2543, 14 หน้าในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยีนและดีเอ็นเอถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ยีนเป็นตัวสร้าง สิ่งมีชีวิต ให้มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ยีนทำให้ผมดำ ยีนที่ทำให้ทน ความหนาวเย็นได้ ยีนที่ทำให้มีปีก เป็นต้น กลไกการทำงานของยีน ในสิ่งมีชีวิตนั้น ซับซ้อน กว้างใหญ่ไพศาล และเป็นเครือข่ายที่เปราะบาง ยีนตัวเดียวกันแต่อยู่คนละตำแหน่งในสายยีน ก็อาจกำหนดคุณสมบัติ ที่แตกต่างกันได้ และยีนหนึ่งตัว ก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว การดัดแปลงยีน (จีเอ็มโอ) คือการพยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิต อย่างที่ไม่สามารถ เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาล ต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชทั้งหลายบนโลกใบนี้ เนื่องจาก มนุษย์ ไม่มีวันที่จะควบคุมมันได้

จากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ ปีที่ผ่านมา มะเขือเทศสามารถผสมพันธุ์กับมะเขือเทศ พันธุ์อื่นได้ แต่ไม่เคยเลยสักครั้ง ที่มะเขือเทศจะผสมพันธุ์ กับปลาหรือคางคก ถั่วเหลืองอาจผสม ข้ามพันธุ์ ระหว่างถั่วเหลืองด้วยกันเอง แต่ไม่มีวันที่จะผสมพันธุ์ กับแบคทีเรีย นี่คือกฎที่ธรรมชาติ สรรสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำแพงกั้นให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อความ อยู่รอด ของโลก แต่การดัดแปลงพันธุกรรม (วิศวพันธุกรรม หรือจิเอ็มโอ) เป็นการละเมิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การบีบบังคับ ให้ยีนของปลา เข้าไปผสมอยู่ใน สตรอว์เบอร์รี่ หรือยีนของแมงป่อง เข้าไปผสมกับ มะเขือเทศ

นักวิศวพันธุกรรมนำยีนแปลกปลอมเหล่านี้ใส่เข้าไปโดยใช้ไวรัสเป็นพาหนะหรือใช้ปืน ยิงยีนเข้าไป ในเซลล์ของพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ที่ต้องการ ดัดแปลงพันธุกรรม การทดลองตัดต่อยีน เข้าไปแบบ สุ่มเสี่ยงนี้ บ่อยครั้งที่ล้มเหลว ส่วนครั้งที่ทำสำเร็จ ก็ไม่รู้ได้ว่ายีนใหม่ จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ตรงไหน ของสายยีน และจะก่อให้เกิดผลกระทบอื่น นอกเหนือไปจากที่ต้องการหรือไม่

ตั้งแต่เกิดเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นมา ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดกล้ายืนยันได้ว่า อาหาร ที่มี ส่วนประกอบของจีเอ็มโอ ปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาว การทดลอง ในสัตว์ทดลอง เป็นเพียง การทดลองระยะสั้นๆ เมื่อเทียบกับช่วงชีวิต ของมนุษย์ที่ยาวถึง ๖๐ - ๗๐ ปี การนำ อาหาร จีเอ็มโอ มาให้มนุษย์กิน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ จึงเท่ากับใช้มนุษย์ เป็นหนูทดลอง โดยที่พวกเราเอง ก็ไม่รู้ตัวว่ากินอาหารจีเอ็มโอ เข้าไปหรือไม่ ถ้าไม่มีฉลากที่ชัดเจน บอกไว้ และ หากเกิดผลร้าย ต่อสุขภาพขึ้นมาในอนาคต เราจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ผลร้ายนั้น เกิดจากการ บริโภคอาหาร จีเอ็มโออย่างต่อเนื่องหรือไม่

ปัจจุบัน อันตรายต่อสุขภาพที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคอาหารจีเอ็มโอ คือ โรคภูมิแพ้ ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในอเมริกา คนที่แพ้บราซิลนัท และไปกินถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ที่มียีน ของบราซิลนัทอยู่โดยไม่รู้ตัว จะเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองนั้นทันที นอกจากนี้ การใส่ยีนแปลกปลอม ที่ไม่เคยมีมาก่อนเข้าไป อาจก่อให้เกิดโปรตีนพิษชนิดใหม่ ที่ร่างกายไม่รู้จัก และกระตุ้นให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังเป็นห่วงว่าจีเอ็มโออาจกระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจาก ในการทดลองจีเอ็มโอ ต้องใส่สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะเข้าไป เพื่อเป็นตัวตรวจสอบว่า การทดลอง ครั้งนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ สมาคมแพทย์อังกฤษ เห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ควรให้ใช้สาร ต้านทาน ยาปฏิชีวนะในจีเอ็มโอ ประเทศในสหภาพยุโรป ได้ออกกฎหมายห้ามใช้สารต้านทาน ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่พืชจีเอ็มโอที่นำมาผลิตเป็นอาหาร อยู่ใน ท้องตลาดขณะนี้ ยังคงมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะ เป็นส่วนประกอบอยู่

จากการที่จีเอ็มโอเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถขยายพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ได้ง่าย เมื่อใดที่มันถูกปล่อย ออกไปสู่สภาพแวดล้อม เราจะไม่สามารถ จำกัดบริเวณ หรือเรียกมันกลับคืนมาได้ หากเราพบ ในภายหลัง ว่ามันมีอันตราย ตัวอย่างนี้มีให้เห็นจากเรื่องของดีดีที สารเคมีกำจัดแมลง ที่มนุษย์ คิดค้นเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ในตอนนั้นไม่มีใครรู้ถึง อันตรายของมัน และนำดีดีทีมาใช้กันอย่าง กว้างขวาง หลังจากนั้นอีก ๓๐ ปี จึงค้นพบว่า ดีดีที เป็นตัวการทำให้พืช สัตว์และมนุษย์ ต้องล้มป่วย พิการ หรือเสียชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ จึงออกประกาศ ห้ามใช้สารดีดีที นับแต่นั้นมา สารเคมีพิษเหล่านี้แม้จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมหรือในอาหารไปแล้ว แต่เมื่อหยุดใช้ไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นร้อยปีพันปี ก็จะย่อยสลายไปได้ แต่สำหรับจีเอ็มโอ อาจซ้ำร้ายกว่านั้น หากใน ๕๐ ปี ข้างหน้า เราพบว่ามันส่งผลเสีย ร้ายแรงกว่าที่พบในตอนนี้ เราคงไม่สามารถ หยุดยั้งการปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือหาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่ปลอดจีเอ็มโอมาปลูกได้ เพราะพืชหรือสัตว์จีเอ็มโอ ได้แพร่พันธุ์ กลืนกินพืช ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอไปหมดแล้ว

การครอบงำจากบริษัทข้ามชาติ

มีบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ๆ เพียง ๔ - ๕ บริษัทเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรในเทคโนโลยี การทำ จีเอ็มโอ รวมถึงตัวยีน และเมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ ที่เพาะปลูกกันอยู่ ในโลกขณะนี้ ในการทดลองวิจัย บริษัทเหล่านี้อาจบอกว่า เป็นความช่วยเหลือ แบบให้เปล่า แต่หากต้องการปลูก เพื่อการค้า จะต้อง ทำสัญญาทางการค้า และจ่ายเงินแทนให้แก่บริษัท เกษตรกรในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา จำนวนมาก ต้องตกเป็นทาส ในที่ดินของตนเอง เนื่องจากปลูกพืชจีเอ็มโอ หรือถูกพืชจีเอ็มโอ เข้ามาปนเปื้อน ในพืชผลของตน จีเอ็มโอจึงเป็นหนทางให้ บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ เข้ามามีอิทธิพล และครอบครอง แหล่งเกษตรกรรมและแหล่งอาหารของเรา

กลุ่มผู้สนับสนุนอาหารจีเอ็มโอมักกล่าวว่าอาหารจีเอ็มโอที่วางขายในท้องตลาดผ่านการประเมิน ความปลอดภัยแล้วว่า ปลอดภัย เหมือนอาหารทั่วไป การกล่าวอ้างเช่นนี้ มาจากหลักการที่เรียกว่า หลักความเทียบเท่า (Substantail Equivalence)

ความเทียบเท่าจะเปรียบเทียบพืชจีเอ็มโอกับพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ เช่น ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ กับถั่วเหลืองปกติ โดยดูจากรูปลักษณ์ภายนอก และองค์ประกอบพื้นฐานบางประการเท่านั้น ถ้าไม่แตกต่างกัน ก็ถือว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากัน

แต่ในความเป็นจริงพืชจีเอ็มโอเกิดจากการตัดต่อยีนของพืชหรือสัตว์โดยใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไป การเปลี่ยนแปลง ในยีนนี้ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า การใช้หลักความเทียบเท่า ไม่ได้คำนึง ถึงการเปลี่ยนแปลงของยีน และไม่ได้ตรวจสอบ ความเป็นพิษ หรือสารก่อเกิดโรคภูมิแพ้ ชนิดใหม่ๆ ที่อาจเกิดจากยีนแปลกปลอมนั้นๆ

นอกจาก "หลักความเทียบเท่า" แล้ว ผู้ผลิตพืชจีเอ็มโอไม่เคยวิจัยทดสอบความปลอดภัย ของอาหาร อย่างเพียงพอ ก่อนที่จะนำมาผลิต เพื่อการค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทไบเออร์ ยื่นขออนุมัติปลูกข้าวจีเอ็มโอเพื่อการค้า ต่อองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา ไบเออร์ ทดสอบความปลอดภัย ทางอาหาร โดยนำข้าวจีเอ็มโอชนิดนี้ ให้ไก่กินเป็นเวลา ๔๒ วัน เมื่อพบว่า ไก่ไม่เป็นอะไร จึงถือว่าข้าวจีเอ็มโอนี้ ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็ยอมอนุมัติให้ปลูกโดยไม่ได้ทำการทดสอบด้วยตนเอง แต่อย่างใด

ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่สมบูรณ์ และข้ออ้างว่า อาหารจีเอ็มโอ ปลอดภัย ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง อาหารจีเอ็มโอกับอาหารปกตินั้น แตกต่าง

จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอ เพื่อการค้า และ ยังมีมติ ครม. สั่งระงับการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอระดับไร่นา

ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจีเอ็มโอจำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออก ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ๙๙% ของถั่วเหลือง ที่ปลูกในอาร์เจนตินา เป็นถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ ๘๐% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอ็มโอ) จากการ ตรวจสอบของ กรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปในท้องตลาด มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง จีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลาก ให้ประชาชนได้รับทราบ

กฎกระทรวงเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่บังคับใช้ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ นั้น เป็นกฎข้อบังคับ ที่หละหลวมมาก คือกำหนด เปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนจีเอ็มโอ ไว้สูงถึง ๕% ถ้าต่ำกว่านั้นก็ไม่ต้องติดฉลากบอก นอกจากนั้น ยังกำหนด ให้ติดฉลาก เฉพาะเมื่อมีถั่วเหลือง หรือข้าวโพดจีเอ็มโอ เป็นส่วนประกอบ ในสาม อันดับแรกเท่านั้น หากมีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอ อยู่ในระดับที่ ๔ ลงไป ก็ไม่ต้องติดฉลาก และถ้ามีวัตถุดิบอื่น ที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด แต่เป็นจีเอ็มโอ เช่น มะละกอจีเอ็มโอ หรือ ข้าวสาลีจีเอ็มโอ ก็ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก กฎกระทรวงฉบับนี้ จึงไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง แก่ผู้บริโภค หรือให้สิทธิในการรับรู้ และปฏิเสธอาหารจีเอ็มโอ แก่ผู้บริโภคแต่ประการใด

บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย โดยประกาศ นโยบายปลอดจีเอ็มโอ ในยุโรป แต่ยังยืนยันว่า จะใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่มีจีเอ็มโอ สำหรับ ประเทศไทย เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบจีเอ็มโอ ในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็ก และทารก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ตรวจพบว่ามีจีเอ็มโอ จนกว่าบริษัท ผู้ผลิต อาหารนั้นๆ จะมีนโยบาย และมีมาตรการ ปลอดจีเอ็มโอ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอ ได้จากคู่มือจ่ายตลาด สำหรับซื้ออาหาร ปลอด จีเอ็มโอ

ตั้งข้อสงสัยอาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา หรือ แคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ มากที่สุดในโลก ตรวจสอบรายชื่อ บริษัทผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ส่วนประกอบจีเอ็มโอ ได้ที่เว็บไซต์www.truefoodnow.org

ตรวจดูฉลากข้างกล่องว่า อาหารนั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากถั่วเหลือง หรือข้าวโพดหรือไม่ (เช่น ฟองเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง ใยถั่วเหลือง ผักสกัด ถั่วเหลืองสกัด โปรตีนถั่วเหลือง เลคซิตินจากถั่วเหลือง สารปรุงแต่งจากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช แป้งข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด น้ำมันจากคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย เป็นต้น) หากไม่ปรากฏ รายการส่วนผสมดังกล่าวนี้ ก็พอจะเชื่อมั่นได้ว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดนั้น ปลอดจีเอ็มโอ

ซื้อผักผลไม้และอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังคงห้าม การปลูกพืช จีเอ็มโอเพื่อการค้าอยู่ แต่หากท่านพบวัตถุดิบ ที่ปลูกในประเทศไทย เป็นจีเอ็มโอ แสดงว่ามีการละเมิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งเบาะแส ให้แก่ทางการได้

บริโภคอาหารธรรมชาติที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย และอาหารจากเกษตรอินทรีย์ โดยสังเกต ตรารับรอง จากสำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งรับรองได้ว่าปลอด ทั้งสารเคมี และ จีเอ็มโอ

ข้อดีและข้อเสียของ GMOs
ข้อดีของ GMOs

GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology)โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุนวิจัยจำนวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข
ความสำเร็จแห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มีรูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยุ่ทุกวันนี้ และในภาวะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้งเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรมคือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า
genomic revolution

GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่
ประโยชน์ต่อเกษตรกร
1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็นagronomic traits

2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOsส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ในจำพวก ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ที่กล่าวมานี้
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
3. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)

4. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน

GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมาในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจำหน่าย เป็นสินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ข้อ 1-4 นี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว ทำให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทำ GMOs ทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน

6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว

7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
8. ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทำให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณมาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่อาจมีโอกาสทำให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบวัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

9. หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น
ข้อเสียของ GMOs
เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและความซับซ้อนใน การบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจาก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย

2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น

3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย

4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า เชื้อจุลินทรีย์และพืช

6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา กล่าวคือเนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ดังนั้นจึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย ทำให้มีคำถามว่า
6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้าน ทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้
6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate) เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้ น้อยมาก
แต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสาร ต่อต้านปฏิชีวนะ หรือบางกรณีก็สามารถนำยีนส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่ อาหาร

7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน 35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด

8. อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป
ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม
9. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ เช่น ผลการทดลองของ Losey แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยาย ความ

10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้
ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม
11. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีความกังวลอยู่ แต่ควรทราบว่า GMOs เป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง เท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมา ในประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัย (biosafety guidelines) ทุกขั้นตอน ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาคสนามเพื่อให้การวิจัยและ พัฒนา GMOs มีความปลอดภัยสูงสุด และเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการ ประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุด
อย่างไรก็ดี กรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ ของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล มิใช่เป็นไปโดยความ ตื่นกลัว หรือการตามกระแส
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ, คุณรู้จัก “พืชดัดแปรพันธุกรรม” ดีแค่ไหน, เอกสารแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ หมายเลข 2
2. นเรศ ดำรงชัย, ผลกระทบของ GMOs ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, สิ่งที่ประชาชนควรทราบ,โครงการศึกษานโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), พิมพ์ครั้งที่ 2มีนาคม 2543, 14 หน้า

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมด้านการแพทย์

ดังจะเห็นได้ว่า พันธุวิศวกรรมได้มีบทบาท ส าคัญในทางการแพทย์มาเป็นระยะเวลานาน ทั้งในการ ผลิตยารักษาโรคต่างๆ ฮอร์โมน และวัคซีน ซึ่งได้รับการ ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก และท าให้ได้ยาที่มี ประสิทธิภาพดีขึ้น มีผลข้างเคียงน้อยลง ผลิตได้ใน ปริมาณมากในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งท าให้ลดต้นทุนการ ผลิตและส่งผลให้ยามีราคาถูกลง นอกจากนี้ ...

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

ในการแพทย์, พันธุวิศวกรรมได้ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตแบบมวลของอินซูลิน, ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตของมนุษย์, follistim (สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก), อัลบูมินมนุษย์ (โปรตีนชนิดหนึ่งพบในไข่ นม เนื้อสัตว์ และเลือด เป็นตัวขนส่งฮอร์โมน, กรดไขมัน, และส่วนผสมอื่นๆ, ผ่อนความเป็นกรดหรือความเป็นด่าง, และรักษาแรงดันของสารละลายที่ ...

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีทางDNAทางการแพทย์

ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีของ DNA มาใช้ในการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส โดยการใช้เทคนิค PCR เพื่อตรวจสอบว่ามีจีโมนของไวรัสอยู่ในสิ่งมีชีวิตนั้นหรือไม่ ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความไวสูง สามารถตรวจพบได้โดยมีตัวอย่างเพียงเล็กน้อย เทคนิคนี้ได้นำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์การติดเชื้อ HIV เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้จากความรู้ด้านพันธุศาสตร์ในด้านการแพทย์คืออะไร

การวิจัยด้านมนุษย์พันธุศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ เน้นการวิจัยในโรคในผู้สูงอายุที่เกิดจากความผิดปกติของยีนต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้งยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการเลือกยาให้เหมาะสมกับพันธุกรรมของผู้ป่วยที่จะได้รับการปลูกถ่ายไต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการรักษา นอกจากนี้ยังศึกษาถึงกลไก ...