รายชื่อโรงพยาบาลที่รับบัตรทอง กรุงเทพ

บัญชีเครือข่ายสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพที่เข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพ

สำหรับประชากรในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร หรือ เข้ามาอาศัย เช่น มาศึกษา หรือ พำนักที่กทม.เป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องมีสถานพยาบาลประจำตัวที่ใกล้บ้านเพื่อดูแล สปสช.จึงได้ทำผังระบบบัญชีเครือข่ายเพื่อให้ง่ายต่อการเลือกสถานพยาบาลขึ้น โดยมีขึ้นตอนดังนี้

1. คลิกที่ลิงค์ http://bkk.nhso.go.th/pp/stat/mcupmap.php   เพื่อค้นหาสถานพยาบาล

2. คลิกเลือก พื้่นที่ในแผนที่ จะแสดงกรอบรายชื่อสถานพยาบาลที่ยังว่างอยู่ให้เลือก

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับบัตรทอง กรุงเทพ

หรือคลิกที่ภาพเพื่อเปิดผังบัญชีเครือข่าย

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับบัตรทอง กรุงเทพ

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ = เป็นสวัสดิการเบิกค่ารักษารพ.รัฐ หรือสถานพยาบาลใดๆที่ลงทะเบียนกับทางรัฐ ของประชาชนคนไทยทุกคนที่**ไม่อยู่ในกลุ่มที่มีสิทธิ์เบิก 4 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น** (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแล)

โดยที่เราต้องไปลงทะเบียนสมัครกับหน่วยงานที่กำหนด และเขาจะให้เราเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเขตใกล้บ้าน ที่เราจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น (ยกเว้นกรณีพิเศษต่างๆที่จะกล่าวต่อไป) 

ใครที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการนี้?
1) ประชาชนคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจ (สิทธิ์สวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ) และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม (สิทธิ์กองทุนประกันสังคม) สามารถตรวจสอบสิทธิ์ว่าเรามีสิทธิ์เบิกสวัสดิการของรัฐในกลุ่มไหนได้ที่ http://wwwback.nhso.go.th/peoplesearch/
2) เด็กแรกเกิดที่ไม่มีประกันสุขภาพที่พ่อแม่ซื้อให้
3) ลูกของผู้ที่เป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นลูกที่มีอายุเกิน 20 ปี หรือสมรสแล้ว (ถ้าอายุไม่เกิน 20 ปีและยังไม่ได้สมรส สามารถเบิกในสิทธิ์ข้าราชการของพ่อแม่ได้)
4) ลูกของข้าราชการ ตั้งแต่คนที่ 4 เป็นต้นไป (สิทธิ์ลูกข้าราชการใช้ได้สูงสุด 3 คน)
5) ข้าราชการที่เกษียณก่อนกำหนด และไม่ได้รับบำเน็จบำนาญ

อยากมีสิทธิ์นี้ต้องทำยังไง? ลงทะเบียนที่ไหน?
เอกสารที่ใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตรแทน)
- ถ้าที่อยู่ในบัตรประชาชนไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ให้เอาทะเบียนบ้านไปด้วย
- แบบคำขอลงทะเบียน (เอาที่สถานที่ลงทะเบียน)
สถานที่ลงทะเบียน
- กรุงเทพ = สำนักงานเขต 30 แห่งที่กำหนด (สามารถเช็คได้ที่ http://ebook.dreamnolimit.com/nhso/004/
- จังหวัดอื่นๆ = สถานีอนามัย / รพ.รัฐ / สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด
จากนั้นก็ระบุโรงพยาบาลที่เราจะใช้สิทธิ์
ใช้สิทธิ์โรงพยาบาลไหนได้บ้าง?
ได้เฉพาะโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ในเขตที่เราอยู่อาศัย(เรียกว่า "หน่วยบริการประจำ") แต่เราสามารถขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี (แจ้งได้ที่สถานที่ลงทะเบียน นำบัตรประชาชนกับทะเบียนบ้านไปแจ้ง ซึ่งจะสามารถเริ่มใช้บริการของโรงพยาบาลใหม่ได้ประมาณ 1 เดือนหลังแจ้ง)
**ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่เราสามารถใช้สิทธิ์ในโรงพยาบาลใดๆก็ได้

ใช้สิทธิ์รักษาอะไรได้บ้าง?
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้บริการที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาพต่างๆดังต่อไปนี้
1) สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (วางแผนมีลูก / ฝากครรภ์ / ฉีดวัคซีน / ตรวจร่างกาย)
2) คลอดบุตร
3) ทันตกรรม
4) ตรวจ / วินิจฉัย / รักษาโรค
5) ค่ายาและเวชภัณฑ์
6) ค่าอาหารและห้องสามัญ
7) การจัดการส่งต่ออาการเจ็บป่วยให้หน่วยบริการอื่น
8) บริการแพทย์แผนไทย (การรักษาด้วยสมุนไพร / นวด / ประคบ)
9) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ

ใช้สิทธิ์รักษาอะไรไม่ได้บ้าง?
1) ผสมเทียมเพื่อให้มีบุตร
2) ผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
3) การบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ติดยาเสพติด
4) ปลูกถ่ายอวัยวะ (ยกเว้น ไต / ตับ / เปลี่ยนหัวใจ)
5) ทันตกรรมเพื่อความสวยความงาม (จัดฟัน)

ต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม?
แล้วแต่อาการเจ็บป่วยของเราโดยทั่วไป หากไม่ได้เจ็บป่วยร้ายแรง มีการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 72 ชั่วโมง จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (ไม่ต้องจ่าย 30 บาทในการรักษาแล้ว) แต่หากเป็นการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจจะต้องมีส่วนที่ออกเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายและค่ารักษาส่วนเกินที่ทางกองทุนของรัฐไม่ได้ซัพพอร์ต

เวลาต้องเข้าโรงพยาบาล จะใช้สิทธิ์ ต้องทำยังไงบ้าง?
หากลงทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนให้เจ้าหน้าที่ ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้แล้ว(เมื่อก่อนต้องยื่นเป็นบัตรทอง แต่เดี๋ยวนี้ใช้แค่บัตรประชาชนก็ได้แล้ว)

หากต้องการศึกษารายละเอียด หรือสอบถามเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ http://www.nhso.go.th หรือโทรไปที่เบอร์ 1330 ได้เลย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Back to Top

สปสช. กทม. กรมการแพทย์ รพ.รัฐ-เอกชน หารือจัดระบบดูแลประชาชนสิทธิบัตรทองหลังยกเลิกสัญญา 9 รพ.เอกชน หาหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่ม ประกาศ 10 ต.ค.65 ให้ประชาชนสิทธิว่างจาก 9 รพ.เอกชนเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิแห่งใหม่ได้ พร้อมหา รพ.รับส่งต่อมาเพิ่ม หลัง รพ.แต่ละสังกัดมารับดูแลช่วง 3 เดือนนี้ 


เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ พร้อมทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประชุมการจัดระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง 30 บาท) ที่มีโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ และรับส่งต่อทั่วไป 

ตามที่ สปสช.ได้มีการยกเลิกสัญญาการให้บริการปฐมภูมิ ประจำ และรับส่งต่อทั่วไปกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามข้อกฎหมายจากปัญหาการเบิกจ่ายค่าบริการไม่ถูกต้อง นั้น พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับ นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ พญ.ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ได้ข้อสรุปว่า ในส่วนของการหาหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกสัญญา รพ.เอกชน 9 แห่ง ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปจะกลายเป็นสิทธิว่าง ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการใหม่นั้น สปสช.และสำนักอนามัย จะร่วมจัดทำบัญชีเครือข่ายหน่วยบริการให้ประชากรสิทธิว่างเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยศูนย์บริการสาธารณสุข ยินดีเป็นหน่วยบริการประจำ โดยขอให้ สปสช.จัดหาคลินิกชุมชนอบอุ่นมาเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มเติมเพื่อดูแลประชาชน และได้กำหนดให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับบัตรทอง กรุงเทพ

ทั้งนี้ สปสช.จะจัดทำบัญชีเครือข่ายหน่วยบริการให้ประชาชนได้เลือก โดยสามารถเข้าไปดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. http://mscup.nhso.go.th/mastercup/ เพื่อเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ของตน หรือโทร.สอบถามได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งจะระบุหน่วยบริการใกล้บ้านให้ประชาชนเลือกลงทะเบียนได้ หรือดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. และไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso ได้เช่นกัน 

พญ.ลลิตยา กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดหาหน่วยบริการแห่งใหม่มาเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อนั้น การหารือในวันนี้ ได้ข้อสรุปว่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.มเหสักข์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เลิดสินและ รพ.ตากสินแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.กล้วยน้ำไท เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เจริญกรุงประชารักษ์แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.บางนา 1 เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เดอะซีพลัสแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.นวมินทร์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.นพรัตน์ราชธานีแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.เพชรเวช เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.คลองตันและ รพ.กลางแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.ประชาพัฒน์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.ไอเอ็มเอช ธนบุรี แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.แพทย์ปัญญา เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.สิรินธร รพ.ราชวิถี รพ.กลาง และ รพ.เดอะซีพลัส แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.บางมด เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.ราชพิพัฒน์แทน

“สำหรับ รพ.รับส่งต่อนั้น ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนต่อจาก สปสช.จะหา รพ.รับส่งต่อแห่งใหม่มาเพิ่มอีก เพื่อดูแลผู้มีสิทธิบัตรทอง และจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง” พญ.ลลิตยา กล่าวและว่า สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องรับยาและตรวจติดตามอาการต่อเนื่องนั้น สามารถไปรับยาและรับการรักษาได้ตามที่สถานพยาบาลที่ สปสช.ได้แจ้งให้ทราบแล้ว โดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีนัดรักษาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปที่ รพ.กล้วยน้ำไท รพ.ประชาพัฒน์ และ รพ.บางมด ยังคงไปรับการรักษาได้เหมือนเดิมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยทั้ง 3 รพ.ยินดีรับดูแลผู้ป่วยต่อในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ 

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับบัตรทอง กรุงเทพ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  
1.สายด่วน สปสช. 1330 กด 6 
2.ช่องทางออนไลน์ 
•    ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 
•    Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  • Movement

  • สปสช.
  • บัตรทอง
  • สิทธิบัตรทอง
  • สิทธิบัตรทอง30บาท
  • ระบบบัตรทอง

  • 1384 views

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ใช้สิทธิ์บัตรทองได้ไหม

1.1.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ รับขึ้นทะเบียนบัตรทองเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1.2.เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนบัตรทอง - แบบคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัตรทอง - สำเนาบัตรประชาชนที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด

หน่วยบริการบัตรทองมีที่ไหนบ้าง

โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข 1. รพ.ทหำรเรือกรุงเทพ 1. รพ.บำงนำ 1 1. ศูนย์บริกำรสำธำรณสุข 8บุญรอดรุ่งเรือง หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพื้นที่กทม. เขตบางนา โรงพยาบาลเอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข

รพ คลองตัน รับบัตรทองไหม

ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.เพชรเวช เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.คลองตันและ รพ.กลางแทน

บัตรทองใช้ที่ไหนได้บ้าง 2565

ยกตัวอย่างเช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน, ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทั้ง 69 แห่ง คลินิกเอกชนในระบบบัตรทอง และคลินิกอบอุ่น เป็นต้น โดยใช้สิทธิบัตรทองได้ดังนี้