แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

กฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง

Show

1.   กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล

-          ชื่อบุคคล  (Name)  เป็นถ้อยคำที่ใช้เรียกบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคลใด  ประกอบด้วยชื่อ  ชื่อรอง  และชื่อสกุล  เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการจำแนกบุคคล  ส่วนชื่อรองกฎหมายไม่ได้บังคับ

-          ชื่อตัว  (First  Name)  เป็นชื่อประจำตัวของบุคคลแต่ละบุคคล  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบิดาหรือมารดา

-          ชื่อสกุล  (Family  Name)  เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลหรือประจำครอบครัวสืบเนื่องต่อมา  ชื่อสุกลโดยปกติจึงเป็นชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

-          ชื่อรอง  เป็นชื่อประกอบถัดไปจากชื่อตัว  มุ่งหมายบอกลักษณะหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพราะเมื่อบุคคลเกิดขึ้นมากๆ อาจมีชื่อตัวซ้ำกัน

2.   กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องมี  ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนจะเสดงภูมิลำเนาและที่อยู่เพื่อความสะดวกในการติดต่อ  ติดตาม  และการช่วยเหลือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว

1.   การหมั้น

   ชายและหญิงสามารถกระทำการหมั้นได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอายุยังไม่ถึง  17  ปี การหมั้นถือว่าเป็นโมฆะ   การหมั้นต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

-          บิดาและมารดา

-          ผู้รับบุตรบุญธรรม

-          ผู้ปกครอง

2.   การสมรส

 การสมรสจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  แต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรอาจจะขออนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้

3.    ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา

3.1  สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)   ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่

(2)   เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย

   (3)   เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

3.2  สินรสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)  คู่สมรสได้มาระหว่างที่สมรส

   (2)  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม

   (3)  เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

 4.  ความสัมพันธ์ในครอบครัว

-   สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะกันตามความสามารถและฐานะของตน

 -   บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา                         

-   บิดามารดาต้องอุปการะจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ  ต้องให้การศึกษาแก่บุตร

-   บุตรไม่สามารถฟ้องร้องอุปการีได้

 -  บุคคลที่สามารถรับคนอื่นเป็นลูกบุญธรรมได้  ต้องมีอายุมากกว่า  25 ปี่

 -   บุตรบุญธรรมมีฐานะได้สิทธิเช่นเดียวกับบุตร

 5. การหย่า

 การหย่านั้นจะกระทำได้โดยยินยอมทั้งสองฝ่าย  หรือโดยคำพิพากษาของศาล

 6.มรดก

 มรดก  หมายถึง  ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ  ด้วยเว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้  โดยการได้รับมรดกมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  6.1  เจ้ามรดกตาย  การตายของเจ้ามรดก  หมายถึง  การตายโดยธรรมชาติ  กล่าวคือ  หัวใจหยุดเต้น  และสมองไม่ทำงาน  ส่วนสาเหตุที่ทำให้เจ้ามรดกต้องตายนั้นอาจเป็นเพราะสาเหตุใด ๆ ก็ได้

7 . ทายาท

7.1                    ทายาทโดยธรรม  คือ  บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกโดยผลของกฎหมาย

(1)          ผู้สืบสันดาน

(2)          บิดามารดา

(3)          พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4)          ปู่  ย่า  ตา  ยาย

(5)          ลุง  ป้า  น้า  อา

7.2  ทายาทโดยพินัยกรรม  หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้

 8.   พินัยกรรม

พินัยกรรม  คือ  การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้  มีหลายแบบเช่น

-          แบบธรรมดาหรือแบบทั่วไป

-          แบบเขียนเองทั้งฉบับ

-          แบบเอกสารฝ่ายเมือง

-          แบบเอกสารลับ

-          แบบทำด้วยวาจา

-          แบบทำในต่างประเทศ

-          แบบทำในสภาวะสงคราม

 กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์

ผู้เยาว์  คือ  บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ   การสิ้นสุดผู้เยาว์สิ้นสุดเมื่อ

1.   อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

2.   สมรสตามกฎหมาย

กิจการที่ผู้เยาว์สามารถทำได้  และก่อให้เกิดผลทางกฎหมายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ

1.   นิติกรรม  คือ  กิจการใด ๆ ที่บุคคลกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

2.   นิติเหตุ  คือ  เหตุการณ์ใด ๆ ที่นอกเหนือจากนิติกรรม  เกิดได้ 2 ทาง  คือ2.1                    

 เกิดโดยธรรมชาติ

2.2  เกิดจากการกระทำของบุคคล

ด้านทรัพย์สินของผู้เยาว์

-          ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์  สามารถจัดการกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้โดยลำพังตามที่เห็นสมควรและประโยชน์ของผู้เยาว์

-          ผู้แทนโดยชอบทำของผู้เยาว์  ไม่สามารถทำหนี้  ทำหนี้โดยที่ผู้เยาว์จะต้องทำเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เยาว์ไม่ได้การทำนิติกรรมใด ๆ ของผู้เยาว์  หากปราศจากการยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมจะถือว่าเป็นโมฆียะทั้งสิ้น  แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี  ได้แก่

1.   การทำนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว

2.   การทำนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว

3.   การทำนิติกรรมเพื่อดำรงชีพของผู้เยาว์

กฎหมายที่เกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน

    บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้  เพื่อใช้พิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลว่ามีสัญชาติไทยจริง  บัตรประจำตัวประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  เช่น  การทำนิติกรรมสัญญา  การสมัครงาน  การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  การทำหนังสือเดินทาง  การทำใบอนุญาตขับขี่  ฯลฯ  ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิสูจน์ตัวบุคคลและการติดต่อการงานต่างๆ 

    กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน   (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542

    กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นพลเมืองไทย โดยจะต้องเป็นบุคคลผู้มีนสัญชาติไทย มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ มีรายละเอียดดังนี้

วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอตามระเบียบที่กรมการปกครองกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 90 วัน นับแต่

1.      วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์

2.      วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ

3.      วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

4.      วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

หลักฐานที่ต้องนำไปในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่

1.      สูติบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ

2.      สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

3.      หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลทั้งของตนเอง และของบิดามารดา

4.      ใบสำคัญประจำคนต่างด้าวของบิดา มารดา หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง

5.      ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำ

การขอมีบัตรในกรณีไม่ได้ทำบัตรตามกำหนดระยะเวลามาก่อน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้

1.      สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

2.      นำพยานบุคคล เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปให้คำรับรอง

3.      หลักฐานอื่นๆ เช่น สูติบัตรหรือหลักฐานการศึกษา หนังสือสำคัญการเปลี่ยนตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ทั้งของตนเอง และของบิดามารดา (ถ้ามี) ใบสำคัญทางทหาร (ถ้ามี) ใบสำคัญประจำคนต่างด้าว หากถึงแก่กรรมให้นำใบมรณบัตรมาแสดง

4.      เปรียบเทียบปรับไม่เกิน 200 บาท

5.      ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตร

การขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ทำได้ในกรณีต่อไปนี้

  • บัตรเก่าหมดอายุ
  • บัตรเก่าสูญหายหรือถูกทำลาย
  • บัตรเก่าชำรุดในสาระที่สำคัญ เช่น รูปถ่ายเจ้าของบัตรฉีกขาดจนไม่เห็นเค้าหน้าของเจ้าของบัตร เป็นต้น
  • มีการแก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน

การขอเปลี่ยนบัตรใหม่ เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ 

    บัตรประจำตัวประชาชนจะมีอายุใช้ได้คราวละ 6 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร เมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรนั้นต้องไปยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง มีดังนี้

สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

1.บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำการขอมีบัตรใหม่ในกรณีบัตรเดิมสูญหาย หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้

  • ใบแจ้งความบัตรหาย
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้มีบัตรและเป็นเอกสารซึ่งทางราชการออกให้
  • เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท

2.การขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนบ้าน หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้

สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

  • บัตรประจำตัวประชาชนบัตรเก่า
  • หนังสือสำคัญการเปลี่ยนแปลง เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า
  • เสียค่าธรรมเนียมในการทำ 10 บาท

3.ความผิดและโทษของผู้ฝ่าฝืน ไม่ทำตามกฏหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนไม่ขอมีบัตรภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

4.บัตรหมดอายุ บัตรหาย บัตรถูกทำลาย เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ไม่ยื่นขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

5.ไม่ส่งมอบบัตรคืนให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน หลังจากเสียสัญชาติไทย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือแสดงหลักฐานเป็นเท็จเพื่อขอมีบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้เมื่อเสียสัญชาติไทยแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท

7.เอาบัตรของผู้อื่นไป หรือยึดบัตรของผู้อื่น หรือใบรับรอง หรือใบแทนรับรองของผู้อื่น เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท

8.ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับบัตรประจำตัวประชาชนของตน เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่   

               1. สมเด็จพระบรมราชินี

           2. พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
           3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
           4. ผู้มีกายพิการไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 
           5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
           6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวได้

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว

 กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
            กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่อยู่ตามลำพัง และเมื่อติดต่อกับผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายแพ่งของไทย ซึ่งมีรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรม และสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน
            เมื่อเราเกิดมาเป็นคนแล้วย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งทั้งสิ้น อย่างน้อยก็จะต้องอาศัยกฎหมายแพ่งรับรองให้เรามีฐานะเป็นบุคคล ใช้ในการหาทรัพย์สินอันเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ หากจะแลกเปลี่ยนทรัพย์สินหรือทำกิจการต่างๆ กับผู้อื่นก็ต้องอาศัยกฎหมายแพ่งเรื่องนิติกรรมและสัญญา เพื่อสร้างความผูกพันให้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ระหว่างกัน หากได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้อื่น ก็ต้องใช้กฎหมายแพ่งในบทที่ว่า ด้วยการละเมิดสิทธิ เพื่อช่วยให้เราได้รับชดเชยความเสียหายนั้น เมื่อจะมีครอบครัวก็ต้องอาศัยกฎหมายแพ่งที่ว่าด้วยครอบครัว ในการก่อตั้งและกำหนดความสัมพันธ์ ภายในครอบครัว จนเมื่อเราจะตายก็อาจใช้ กฎหมายแพ่งที่ว่าด้วย เรื่องมรดก ช่วยกำหนดว่าทรัพย์สินที่เราหามาได้ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น จะให้ตกเป็นมรดกแก่ทายาทของเราได้อย่างไรบ้างอีกด้วย ดังนั้น กฎหมายแพ่งจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมของเราอย่างยิ่ง
           กฎหมายที่เกี่ยวกับบุคคล ได้แก่ กฎหมายที่รับรองให้เรามีสภาพบุคคล คือ ให้เราเป็นผู้สามารถมีและสามารถใช้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆตามกฎหมายได้ สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วอยู้รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดายังไม่มีฐานะเป็นบุคคล แต่กฎหมายจะคุ้มครองเป็นพิเศษ ผู้ใดทำลายย่อมมีความผิดฐานทำให้แท้งลูก

              กฎหมายจำแนกบุคคลเป็น ๒ พวก คือ มนุษย์ ที่เรียกว่าบุคคลธรรมดา อีกพวกหนึ่งเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นและกฎหมายยอมให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบบางอย่างในนามของกิจการนั้นเองได้ เช่น กระทรวง กรม องค์การมหาชน บริษัท สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร มูลนิธิ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า นิติบุคคล

            บุคคลธรรมดา ได้แก่ มนุษย์ที่คลอดจากครรภ์มารดาแล้วอยู่รอดเป็นทารก โดยจะต้องมีการแจ้งจดทะเบียนการเกิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งกำหนดว่าถ้าเด็กเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน หรือ บิดาหรือมารดา ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ภายในสิบห้าวันตั้งแต่เกิด และสภาพบุคคลจะสิ้นสุดลงเมื่อตาย
             นิติบุคคล ได้แก่ บุคคลที่กฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสภาพเป็นบุคคลได้ แม้ไม่ใช่มนุษย์ เช่น กระทรวง กรม 
องค์การมหาชน บริษัท สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กองทรัพย์สิน เช่น มูลนิธิ เป็นต้น
          ๓.๑ กฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง
          กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองที่สำคัญ มีดังนี้ 
           ๑) กฎหมายเรื่องบุคคล ที่สำคัญ ได้แก่ 
          ๑.๑ ) การกำหนดตัวบุคคล เนื่องจากบุคคลในรัฐมีจำนวนมาก กฎหมายจึงมีวิธีกำหนดตัวบุคคลเพื่อให้ชัดเจนว่าใครเป็นใคร และมีบทบาททางกฎหมายในสังคมได้เพียงใด ซึ่งสิ่งที่กฎหมายใช้กำหนดตัวบุคคล ได้แก่ ชื่อบุคคล ภูมิลำเนา สถานะ และความสามารถ
              (๑) ชือบุคคล ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕0๕ กำหนดให้บุคคลธรรมดามีชื่อตัว คือ ชื่อประจำตน และชื่อสกุล คือ ชื่อ ประจำวงศ์สกุล ชื่อตัวจะต้องแจ้งต่อ นายทะเบียนท้องที่ ซึ่งปกติจะประจำอยู่ที่ที่ว่าการอำเภอหรือเขต หรือ แจ้งแก่กำนันผู้ใหญ่บ้าน หากท้องที่อยู่นอกเขตเทศบาล โดยแจ้งพร้อมกับการแจ้งเกิดในแบบสูติบัตร การขอเปลี่ยนแปลงชื่อตัวและการขอเปลี่ยนชื่อสกุลก็จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่เช่นกัน
                 ชื่อบุคคลจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย หากมีผู้อื่นโต้แย้งหรือ มาใช้ชื่อบุคคลเดียวกัน บุคคลเจ้าของชื่อสามารถบอกให้ผู้อื่นนั้นหยุดโต้แย้งหรือหยุดใช้ชื่อนั้นได้ ถ้าไม่เชื่อฟังก็ขอให้ศาลสั่งห้ามได้
             (๒) ภูมิลำเนา ได้แก่ สถานที่ที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล เช่น บ้านที่เขาพักประจำมิใช่ที่อยู่ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น บ้านพักตากอากาศ หรือโรงแรมที่เขาพักระหว่างเดินทาง ภูมิลำเนาทำให้สามารถติดต่อกับบุคคลได้  เช่น ในการส่งเอกสารทางราชการให้แก่ผู้นั้น เป็นต้น
                 ภูมิลำเนาย่อมปรากฎในทะเบียนบ้านและเปลี่ยนแปลงได้โดยการแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านหนึ่งและย้ายเข้าในอีกทะเบียนบ้านหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฏร พ.ศ. ๒๕๓๔ ทั้งนี้เพื่อให้มีหลักฐานแน่นอน และสามารถติดต่อกับผู้นั้นในภูมิลำเนาใหม่ได้
              (๓) สถานะ ได้แก่ ความเป็นไปหรือความเป็นอยู่ของบุคคลทุกคน ซึ่งจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้น การรู้สถานะจะทำให้ทราบบทบาทของกันและกันได้ว่าแต่ละคนมีบทบาทเพียงใดในทางกฎหมาย สถานะบุคคล ได้แก่ 
           ๑. สถานะทางการเมือง ได้แก่ การเป็นบุคคลสัญชาติไทย กับการเป็นคนต่างด้าว ผู้มีสัญชาติไทยมีสิทธิเสรีภาพตลอดจนหน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรวมทั้งสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิตั้งพรรคการเมือง สิทธิรับราชการ สิทธิที่จะไม่ถูกเนรเทศและหน้าที่รับราชการทหาร
            สำหรับคนต่างด้าว คือ ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยย่อมไม่มีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่เช่นผู้มีสัญชาติไทย เว้นแต่โดยอาศัยสนธิสัญญาที่รัฐของคนต่างด้าวทำไว้กับประเทศไทย
          ๒. สถานะทางส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่ การสมรส การเป็นบิดา มารดา บุตร การเป็นผู้เยาว์ การให้คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น ซึ่งทำให้บทบาททางกฎหมายของบุคคลเปลี่ยนแปลงไป เช่น การสมรส เพราะ การทำนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับสินสมรสจะทำไปตามลำพังไม่ได้ เป็นต้น 
           (๔) ความสามารถ หมายถึง สภาพของบุคคลที่จะมีหรือใช้สิทธิหน้าที่ตลอดจนความรับผิดชอบทางกฎหมายได้เพียงใด โดยทั่วไปบุคคลย่อมมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆตามกฎหมาย แต่อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายได้เนื่องจากความเป็นเด็กหรือความบกพร่องทางสติปัญญา เช่น ผู้เยาว์ และคนไร้ความสามารถ

             ๑. ผู้เยาว์ คือ บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่อครบอายุ ๒0 ปีบริบูรณ์  หรือ เมื่อทำการสมรสโดยมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือโดยอายุต่ำกว่านั้น แต่มีเหตุอันสมควรที่ศาลอนุญาตให้สมรสได้
            ผู้เยาว์ถือว่ายังอ่อนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และประสบการณ์ จึงถือว่าหย่อนความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรมและสัญญา นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง กฎหมายให้สิทธิบิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถยกเลิกได้ในภายหลัง

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2


           ๒. คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิตกจริต ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ดูแลซึ่งเรียกว่าผู้อนุบาลให้ เพื่อทำนิติกรรมต่างๆแทนเนื่องจากผู้วิตกจริตย่อมขาดสติไม่อาจเข้าใจความสำคัญของสิ่งใดๆ ที่ตนทำลงไปได้ จึงถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมและสัญญา
           ๑.๒) หลักฐานแสดงตัวบุคคล บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้พิสูจน์ตัวบุคคล ภูมิลำเนา และสถานะ บางอย่างของบุคคลได้ เพราะ
บัตรประจำตัวประชาชนออกโดยทางราชการ ระบุชื่อ วัน เดือน ปีเกิด  ที่อยู่และรูปถ่ายเจ้าของบัตร จึงสามารถใช้เป็นหลักฐานทำการพิสูจน์ตนเอง อายุ และภูมิลำเนาได้ เมื่อต้องติดต่อกับทางราชการและบุคคลอื่นๆ
           พระราชบัญญัติ
บัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้บุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๗0 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนเว้นแต่จะได้รับการยกเว้นจากทางราชการ เช่น ภิกษุ สามเณร เป็นต้น เมื่อเจ้าพนักงานที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชน หากบุคคลใดไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแสดงก็จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๒00 บาท
         ๒) กฎหมายเรื่องทรัพย์สิน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดว่าสิ่งใดเป็นวัตถุ ซึ่งบุคคลสามารถยึดถือเป็นของตนได้ กำหนดวิธีได้มา ตลอดจนรับรองสิทธิต่างๆในสิ่งนั้นเพราะบุคคลโดยเฉพาะบุคคลธรรมดาย่อมต้องอาศัยสิ่งต่างๆที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
          แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของสังคม ทำให้กฎหมายให้ความคุ้มครองไม่เฉพาะสิ่งที่มีรูปร่างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ความคิดสร้างสรรค์จากสมองของมนุษย์ที่คิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆขึ้น เรียกว่า "ทรัพย์สินทางปัญญา" อีกด้วย
        ๒.๑) ความหมายของทรัพย์สิน ทรัพย์ตามกฎหมาย คือ วัตถุที่มีรูปร่างสามารถมองเห็นได้ สัมผัสได้ และบุคคลสามารถถือเอาเป็นประโยชน์ได้ เช่น รถยนต์ เป็นต้น 
        สำหรับทรัพย์สินมีความหมายกว้างกว่าทรัพย์ เพราะความหมายรวมถึงทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ได้แก่ สิทธิต่างๆ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิในการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ สิทธิในการประพันธ์ เป็นต้น
        ๒.๒) ประเภทของทรัพย์สิน กฎหมายแบ่ง
ทรัพย์สินและประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินออกเป็นหลายประเภท แต่ที่สำคัญ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ โดยกฎหมายให้ความสำคัญกับอสังหาริมทรัพย์มากกว่า เช่น ต้องแสดงสิทธิทางทะเบียนและนิติกรรมที่เกี่ยวข้องต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ต่างกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยทั่วไปกฎหมายจะไม่เข้มงวดมากนัก 

             ในทางกฎหมาย อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์สินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ ดังนี้ 
            ๑. ที่ดินและทรัพย์สินซึ่งติดอยู่กับที่ดินจะโดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้นต่างๆ หรือโดยมีบุคคลนำมาติดในลักษณะตรึงไว้ถาวรกับที่ดิน เช่น ตึก บ้าน เป็นต้น 
            ๒. ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น กรวด ทราย แร่ธาตุต่างๆในที่ดิน เป็นต้น

            ๓. สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครองที่ดิน สิทธิจำนอง สิทธิอาศัย เป็นต้น
       สำหรับ สังหาริมทรัพย์ ในทางกฎหมาย ได้แก่ 

             ๑. ทรัพย์ซึ่งเคลื่อนที่จากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยแรงเดินของตัวทรัพย์เอง หรือเคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น ช้าง โต๊ะ เก้าอี้ ดินที่ขุดจากพื้นดิน เป็นต้น
             ๒. กำลังแรงของธรรมชาติที่อาจมีราคาและถือเอาได้ เช่น กระแสไฟฟ้า พลังน้ำตก พลังไอน้ำ เป็นต้น
             ๓.สิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ สิทธิจำนำ และลิขสิทธิ์ เป็นต้น สำหรับไม้ล้มลุกและพืชประเภทเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อไป เช่น ข้าว กฎหมายกำหนดให้เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นเดียวกัน
         ๒.๓) สิทธิในทรัพย์สิน คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สิน ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่สำคัญ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ หมายถึง สิทธิในการเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ทำลายทรัพย์สิน และมีสิทธิได้ดอกผลจากทรัพย์สินนั้น เช่น ได้ผลไม้จากต้นไม้ของตน ได้ดอกเบี้ยจากเงินของตนที่ให้ผู้อื่นกู้ มีสิทธิติดตามและเรียกเอาทรัพย์สินของตนคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตลอดจนมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
          อย่างไรก็ตามกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องอยู่ใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น เจ้าของปืนจะนำปืนของตนมายิงเล่นตามใจชอบในที่สาธารณะไม่ได้ เจ้าของบ้านจะเผาบ้านของตนเล่นจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ได้ เป็นต้น 
          บุคคลจะมีสิทธิในทรัพย์สินได้โดยเหตุสำคัญ ๒ ประการ ดังนี้
            ๑. ได้มาตามบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมจะได้ลิขสิทธิ์ในผลงานที่ตนแต่งขึ้นและเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิทำซ้ำหรือดัดแปลงงานนั้นได้ เป็นต้น
            ทรัพย์สินบางอย่างจะได้มาโดยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากมีกฎหมายโอนให้เท่านั้น เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ เป็นต้น
           ๒. ได้มาโดยผลของนิติกรรมและสัญญา เช่น ทายาทของผู้ตายได้รับทรัพย์สินเป็นมรดกตามพินัยกรรม ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาซื้อขาย ผู้เช่าได้สิทธิใช้และรับผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น

             ๓) กฎหมายเรื่องละเมิด การละเมิดเป็นชื่อเฉพาะในกฎหมายสำหรับเรียกการกระทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายโดยผิดกฏหมาย ซึ่งวางหลักการทั่วไปไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ใดกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาได้รับความเสียหายไม่ว่าแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือ สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำละเมิดจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย 

               สาระสำคัญของกฏหมายเรื่องละเมิดจึงเป็นการที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลเคารพสิทธิ เสรีภาพต่างๆของผู้อื่นโดยทั่วไป ด้วยการไม่ก่อความเสียหายแก่สิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ ก็ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการทำละเมิดของตน
               การละเมิดบางกรณีอาจเป็นความผิดทางอาญาด้วย เช่น ทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายโดยเจตนา ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ฐานถูกละเมิด และอาจฟ้องให้ผู้กระทำนั้นได้รับโทษทางอาญาได้ด้วย เป็นต้น
               ๓.๒ กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

               กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕0 ได้บัญญัติเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไว้ เพื่อให้รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว รับรองสิทธิของบุคคลในครอบครัว และกำหนดให้เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เด็กและเยาวชนที่ไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ

               ๑) กฎหมายครอบครัว บัญญัติข้อกำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว ตั้งแต่การหมั้นไปจนถึงการสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการขาดจากความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ 

            ๑.๑) การหมั้น เป็นการทำสัญญาระหว่างชายกับหญิงว่าต่อไปจะสมรสกัน ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แต่ถ้าชายหรือหญิงยังเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน
             ในการหมั้นฝ่ายชายจะให้ของหมั้นแก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าจะสมรสกับหญิงด้วยของหมั้นนี้ เมื่อสมรสแล้วจะตกเป็นของฝ่ายหญิง แต่ถ้าไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากความผิดของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2


              การผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายที่เสียหายสามารถเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้ เพราะว่าการสมรสนั้นขึ้นกับความสมัครใจของผู้จะสมรสเท่านั้น
           ๑.๒) การสมรส เป็นการทำสัญญาตกลงเป็นสามีภริยากันระหว่างชายกับหญิงกฎหมายกำหนดเงื่อนไขของการสมรสไว้ ดังนี้
          ๑. การสมรสจะทำได้ ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณืแล้ว หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต ซึ่งจะต้องมีเหตุผลอันสมควร
          ๒. ชายหรือหญิงที่เป็นบุคคลวิตกจริตหรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถจะทำการสมรสไม่ได้
          ๓. ชายหรือหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เช่น พ่อหรือแม่กับลูก พี่น้องร่วมบิดามารดากัน หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่เพียงบิดาหรือมารดากันจะสมรสกันไม่ได้
          ๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
          ๕. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วไม่ได้

           ๖. หญิงที่เคยสมรสแล้วแต่สามีตาย หรือการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงโดยเหตุอื่น เช่น การหย่า จะสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้ว ไม่น้อยกว่า ๓๑0 วันเว้นแต่จะสมรสกับคู่สมรสเดิม คลอดบุตรระหว่างนั้น มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์หรือมีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
            ๗. ถ้าชายหรือหญิงฝ่ายใดมีอยุยังไม่ครบ ๒0 ปีบริบูรณ์ ฝ่ายนั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน
           ๘.การสมรสจะต้องจดทะเบียน โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอและเป็นนายทะเบียน

          ๙. ชายหญิงจะต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากัน โดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและนายทะเบียนต้องบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
            การสมรสที่ถูกต้องตามเงื่อนไขของกฎหมายก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ๒ ประการ ดังนี้
             (๑) ความสัมพันธ์ทางครอบครัว กฎหมายกำหนดให้สามีภริยาต้องอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู กันตามความสามารถและฐานะของตน  และในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ สามีหรือภริยาย่อมได้เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ และต้องเป็นการอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
            (๒) ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน กฎหมายแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นสินส่วนตัวและสินสมรส
             ๑. สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยามีอยู่ก่อนสมรส เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยการยกให้หรือรับมรดก สำหรับภริยาของหมั้นจะถือเป็นสินส่วนตัวของภริยาทั้งนี้สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการ

             ๒. สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการยกให้หรือโดยพินัยกรรม ซึ่งระบุให้เป็นสินสมรสรวมทั้งดอกผลที่เกิดจากสินส่วนตัวด้วย สามีภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันโดยการจัดการจะต้องได้รับความยินยอมร่วมกัน เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่นโดยสัญญาก่อนสมรสหรือศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นผู้จัดการแต่ฝ่ายเดียว
              เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงจะต้องมีการแบ่งสินสมรสระหว่างชายกับหญิงโดยนำสินสมรสมาแบ่งเท่าๆกันแต่ถ้าฝ่ายใดจำหน่ายสินสมรสไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องนำสินส่วนตัวของตนเองมาชดใช้สินสมรสที่ตนจำหน่ายไป
                   ในทางกฎหมายการสมรสจะสิ้นสุดลงด้วยปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้
              ๑. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมษะ หรือโมฆียะ หรือให้เพิกถอนการสมรสเพราะทำการสมรสโดยผิดเงื่อนไข
              ๒.คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
              ๓. การหย่า ได้แก่ การอย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน โดยต้องมีการจดทะเบียนการอย่าและการอย่าโดยคำพิพากษาของศาล ได้แก่ คู่สมรสไม่อาจตกลงอย่ากันโดยความยินยอมได้ ฝ่ายที่ต้องการอย่าจึงฟ้องต่อศาลให้ศาลพิพากษาให้อย่าโดยต้องอ้างเหตุอย่า ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้หลายประการด้วยกัน เช่น สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขตลอดมาเกิน ๓ ปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน ๓ ปีเป็นต้น
             ๑.๓) ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบบุตร สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
                     ๑. การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและการรับรองบุตร เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันแม้จะมีการเพิกถอนภายหลังก็ตาม หรือเกิดภายใน ๓๑0 วันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี เว้นแต่จะมีการฟ้องคดีไม่รับเด็กนั้นเป็นบุตรภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็กหรือฟ้องเสียภายในสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
                   เด็กซึ่งเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียวเท่านั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง โดยมีผลนับตั้งแต่วันสมรสหรือเมื่อบิดาจดทะเบียนรับเป็นบุตร โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็กและจะมีผลตั้งแต่วันจดทะเบียน
                    ในกรณีที่เด็กหรือมารดาไม่ให้ความยินยอมหรือคัดค้านว่าผู้ที่ขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ใช่บิดา หรือในกรณีที่ต้องมีการฟ้องชายเพื่อขอให้รับเด็กเป็นบุตร หากศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมมีผลนับแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นบุตรนั้นมีสิทธิ เช่น ใช้ชื่อสกุลของบิดา รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้ เป็นต้น ส่วนผู้รับรองบุตรก็สามารถใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นต่อไป
                   ๒. การรับบุตรบุญธรรม หมายถึง การจดทะเบียนรับบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงดูเป็นบุตรของตนเอง โดยดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขพื้นฐานรวมทั้งความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไว้ ประกอบกับพระราชบัญญัติการรับบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีที่ขอรับบุตรบุญธรรมของผู้ที่ไม่ใช่เครือญาติกับเด็กจะมีการทดลองเลี้ยงดู มีการตรวจสอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และความเหมาะสมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นต้น

                 เงื่อนไขพื้นฐานของการรับบุตรบุญธรรม ประกอยด้วย อายุและความยินยอม คือ บุคคลที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ และต้องแก่กว่าผู้ที่ตนจะรับเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย ๑๕ ปี และถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาโดยกำเนิดของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม และต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนด้วย
               การจดทะเบียนรับ
บุตรบุญธรรมมีผลให้บุตรบุญธรรมมีฐานะเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม เช่น มีสิทธิใช้ชื่อสกุล มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
               ผู้รับ
บุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครองและมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู แต่ไม่มีสิทธิรับมรดกในส่วนของบุตรบุญธรรม และจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ ส่วนบิดามารดาโดยกำเนิดเป็นอันหมดอำนาจปกครอง
              อย่างไรก็ตาม 
บุตรบุญธรรมไม่สูญเสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา เช่น มีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาโดยกำเนิด การรับบุตรบุญธรรมมีทางเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิก ตามความยินยอมของบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้วกับผู้รับบุตรบุญธรรม หรือเมื่อมีการสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม 
              ๑.๔) สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา 
         บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ หรือแม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ บิดามารดาก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูต่อไประหว่างที่บุตรเป็นผู้เยาว์
          บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร ทำโทษบุตรตามสมควร หรือว่ากล่าวสั่งสอนให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปมีสิทธิเรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นผู้แทนโดนชอบธรรมของบุตรในการฟ้องคดี และมีสิทธิจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย
          ถ้าบุตรมีเงินได้ บิดามารดามีสิทธินำมาใช้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของบุตรส่วนที่เหลือต้องเก็บรักษาไว้เพื่อมอบแก่บุตรภายหลัง เว้นแต่บิดามารดาจะยากจนไม่มีเงินได้พอแก่การครองชีพ จึงอาจนำเงินนั้นมาใช้ได้
          กรณีที่บิดามารดาตายหรือถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง เพราะวิตกจริตหรือประพฤติไม่เหมาะสม ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองให้บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ เพื่ออุปการะเลี้ยงดูและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เยาว์นั้นแทนบิดามารดาได้
           ๑.๕) สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา เว้นแต่ไม่ปรากฎบิดาให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา บุตรมีสิทธิได้รับ
อุปการะเลี้ยงดูและได้รับการศึกษาตามสมควรจากบิดามารดา แต่บุตรมีหน้าที่ต้องดูแล บิดามารดาของตนเป็นการตอบแทนบุญคุณ
          โดยบุตรจะฟ้องบิดามารดา รวมทั้งบุพการีอื่นของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ ต้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้
           ๒) กฎหมายเรื่องมรดก มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของมรดกและผู้ที่จะมีสิทธิรับมรดก หรือทายาท โดยมรดกหรือกองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆของผู้ตายหรือเจ้าของมรดกซึ่งเมื่อผู้ใดถึงแก่ความตาย มรดกของเขาย่อมตกทอดแก่ทายาททันที เว้นแต่สิ่งที่กฎหมายหรือตามสภาพแล้วถือเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมไม่ตกทอดเป็นมรดก เช่น สิทธิรับราชการ เป็นต้น 
            กรณีที่บุคคลใดหายไปจากที่อยู่โดยไม่ได้ข่าวคราวเป็นเวลานาน ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ซึ่งกฎหมายถือเสมือนว่า ถึงแก่ความตาย และมรดกของผู้สาบสูญย่อมตกทอดแก่ทายาทเหมือนกรณีตายจริงๆ
              ทายาท คือ ผู้ทีสิทธิได้รับมรดกในทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ 
               ๑. ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทที่ทีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ญาติ คู่สมรสและทายาทที่เป็นญาติ แบ่งออกเป็น ๖ ลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ย่า ตายาย และลุง ป้า น้า อา ซึ่งสิทธิได้รับมรดกและส่วนแบ่งที่จะได้รับจะลดลงตามลำดับความห่างของญาตินั้นๆ เช่น ถ้าคู่สมรส บุตร และบิดามารดาของผู้ตายยังอยู่ ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยเท่าเทียมกัน โดยคู่สมรสมีสิทธิได้รับหนึ่งส่วน บุตรแต่ละคนมีสิทธิได้รับคนละส่วน และบิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิได้รับคนละหนึ่งส่วน กล่าวคือ บิดาหนึ่งส่วนและมารดาหนึ่งส่วน ในกรณีเช่นนี้ญาติอื่นไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายอีก เพราะได้ถูกตัดโดยญาติสนิทกว่าของเจ้าของมรดกแล้ว
            ๒. ทายาทตาทพินัยกรรม ได้แก่ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามที่พินัยกรรม ซึ่งเป็นหนังสือแสดงความประสงค์สั่งการเผื่อตายของผู้ตายระบุไว้ โดยทายาทพวกนี้อาจเป็นญาติของผู้ตายหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ผู้ตายจะตั้งใจยกมรดกของตนให้แก่ผู้ใดบ้าง

             ในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกมรดกของตนให้ทายาทตามพินัยกรรมทั้งหมด ทายาทโดยธรรมย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย แต่บุคคลจะทำพินัยกรรมยกมรดกได้เฉพาะทรัพย์สินของตนเท่านั้น ในกรณีที่ตนมีคู่สมรสก็จะต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก่อน ส่วนของตนจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไปได้ แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ตายไม่ได้ ทำพินัยกรรมไว้ และไม่มีทายาท มรดกผู้ตายก็จะตกได้แก่แผ่นดิน คือ ตกเป็นของรัฐบาลไป

การศึกษามมี ๓ รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กฎหมายเกี่ยวกับชุมชนและประเทศชาติ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
๑) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
-เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
-รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
-บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแล ๙ ปี ดดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
-การจัดก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ . ศ. 2504 ได้ถูกตราขึ้นเพื่อการจัดการและการดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติเป็นการเฉพาะ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงสภาพอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ใช้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน

2. . กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature  Conservation Act)  กฎหมายและข้อบังคับประเภทนี้ประกอบด้วย  พ.ร.บ. คุ้มครองและรักษาสัตว์ป่า พ.ศ. 2535,  พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งพ.ร.บ.ทั้ง  3  ฉบับนี้  พื้นที่ครอบคลุมทั้งส่วนพื้นดินและพื้นน้ำ โดยเฉพาะพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาตินั้นได้ให้ความหมายว่า ส่วนพื้นที่  ในที่นี้รวมถึงส่วนพื้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานที่ใช้กฎหมายฉบับนี้ 

            3. กฎหมายว่าด้วยการสำรวจและใช้ประโยชน์ทรัพยากร (Natural  Resources  Exploitation  Act)  กฎหมายประเภทนี้มีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ในการคุ้มครองและจัดการป่าไม้ของประเทศไทย  พ.ร.บ.ประมง ปี 2490  เป็นกฎหมายที่ควบคุมและจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมง กรมประมงเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้  พ.ร.บ.แร่ ปี 2510  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีอนุญาตการทำเหมืองรวมทั้งควบคุมการผลิตและการจำหน่ายแร่  พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ปี 2511  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสำรวจและผลิตน้ำมันและแก๊ส  ซึ่งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี 2522  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการสำรวจ  วางแผน  และพัฒนาการท่องเที่ยว  

            4. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อม  (Environmental  Protection  Act)  กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อมได้แก่  พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ปี  2535  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ เป็นเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายน้ำทิ้งหรือของเสียจากโรงงานออกสู่สภาพแวดล้อมนอกโรงงาน เช่น กฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมการปล่อยของเสียออกจากโรงงาน การกำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่อนุญาตให้ระบายออกจากโรงงานได้ รวมทั้งการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ  พ.ร.บ. ดังกล่าวมี  3  หน่วยงาน  คือ  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและดำเนินการตามกฎหมาย

 5. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 และ พ.ศ. 2535 ได้ถูกตราขึ้นเพื่อควบคุมและจัดระเบียบการเดินเรือ แต่ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันปัญหามลพิษด้วย กล่าวคือ ห้ามทิ้งขยะสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว น้ำมัน เคมีภัณฑ์หรือสิ่งปฏิกูลใดๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบ หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยอันเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขิน ตกตะกอน หรือสกปรก กฎหมายว่าด้วยการใช้ประโยชน์ดินและน้ำ  กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินในประเทศไทยนั้นมีความสลัลซับซ้อน แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายที่อยู่ในกลุ่มนี้แล้ว ประกอบด้วย  2  กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่  กฎหมายการถือครองที่ดิน  และกฎหมายการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน  สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองที่ดินประกอบด้วยกฎหมายว่าด้วยกฎหมายที่ดินของประเทศไทย  ปี  2497  และกฎหมายอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการถือครองที่ดินซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอื่น ๆ ที่าำคัญได้แก่  พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ปี  2521  และพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ปี 2518  สำหรับกฎหมายในกลุ่มของการวางแผนการใช้ที่ดินนั้นประกอบด้วย  พ.ร.บ.ผังเมือง ปี 2535  พ.ร.บ.จัดประเภทการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ปี 2457  พ.ร.บ.พัฒนาที่ดิน ปี  2526 กฎหมายดังกล่าวนี้จะเป็นกรอบในการวางแผนการใช้ที่ดินทั้งในเมืองและชนบท  และผนวกกับกฎหมายการแบ่งเขตที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งเก่าและใหม่ เช่น พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ปี 2522

     ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับพื้นที่น้ำ  ได้แก่  พ.ร.บ.การเดินเรือในเขตน่านน้ำไทย  ปี 2456  ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ครอบคุมทั้งการเดินเรือในทะเลและลำน้ำภายใน โดยในส่วนที่ 7 ของพ.ร.บ. ดังกล่าวได้ให้ความหมายของคำว่า "น่านน้ำไทย" หมายรวมถึง "เขตน่าน้ำไทยทั้งหมด  ท่าเรือ  ที่จอดเรือ  แม่น้ำ  และลำคลองทั้งหมดในราชอาณาจักรไทย"  ส่วนหนึ่งของข้อตกลงเจนีวาปี 2505  ที่เกี่ยวกับกฎหมายทะเล  และตามข้อตกลงของกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ ปี 2525  ซึ่งประเทศไทยในคู่สัญญาด้วยเขตน่านน้ำไทยครอบคลุมพื้นที่ในระยะ  12  ไมล์ทะเล  และ  24  ไมล์ทะเลสำหรับเขต Contiguous ซึ่งวัดจากเส้นฐานตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา และในปี 2512 รัฐบาลไทยได้ประกาศการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณไหล่ทวีป ทั้งที่อยู่ในน้ำและที่อยู่ใต้ดิน  ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขณะเดียวกันในวันที่  23  กุมภาพันธ์  2524  ประเทศไทยก็ได้ประกาศขยายอาฯาเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไปเป็น  200  ไมล์ทะเล อย่างไรก็ดีในความหมายของคำว่า  "ชายฝั่งทะเล" นั้น ยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายและในเอกสารอื่น ๆ 

    นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในเขตน่านน้ำไทยดังกล่าวแล้วยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่น้ำ เช่น พ.ร.บ. รักษาเส้นทางเดินเรือ ปี 2446 พ.ร.บ.การชลประทาน ปี 2485  พ.ร.บ. คลองส่งน้ำ ปี 2526 เป็นต้น อย่างไรก็ดีกฎหมายดังกล่าวนี้มีความสำคัญน้อยกว่าการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพราะความเกี่ยวข้องของกฏหมายเหล่านี้มีเฉพาะส่วนพื้นน้ำภายในมากกว่าพื้นน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่

1. พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นข้อผูกพันทางกฎหมายสืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาในการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 6 ชนิด โดยได้มีการกำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมให้กับประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ที่พัฒนาแล้ว และประเทศในกลุ่มที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยให้การลงนามรับรองพิธีสารฯ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2542 แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน

2. คณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CSD) จัดตั้งขึ้นตามมติการประชุมสหประชาชาติ พ.ศ.  2537 และได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก CSD ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกภาพครั้งละ 3 ปี CSD จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการตามที่ระบุไว้ใน Agenda 21 และรายงานโดยตรงต่อสมัชชาสหประชาชาติ โดยผ่านคณะกรรมาธิการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Econimic and Social Council – ECOSOC)

3. ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน อาเซียนได้เริ่มโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 (ประเทศไทยให้การลงนามรับรองในปีเดียวกัน) โดยความช่วยเหลือจากโครงสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญเป็นคณะกรรมการ เรียกว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Senior Official on the Environment – ASOEN) ทำหน้าที่กำกับดูแลและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของอาเซียน และร่วมกันพิจารณาโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงาน 3 คณะ และคณะทำงานเฉพาะกิจ 1 คณะ คือ

1) คณะทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ มีประเทศ ฟิลิปปินส์ เป็นประธานคณะทำงาน

2) คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง มีประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน

3) คณะทำงานด้านข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม มีประเทศมาเลเซียเป็นประธานคณะทำงาน

4) คณะทำงานเฉพาะกิจด้านหมอกควันของอาเซียน มีประเทศอินโดนีเซียเป็นประธานคณะทำงาน

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2


ผลบังคับทางกฎหมาย

1.ผลบังคับทางอาญา มีการระบุความผิดและโทษ เช่น จำคุก ปรับ

ตัวอย่าง พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในที่สาธารณะ หรือสถานสาธารณะซึ่งมิใช่สถานที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดไว้เพื่อการนั้น

มาตรา 54 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 15 มาตรา 20 มาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 29 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 40 หรือ มาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

2.ผลบังคับทางแพ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน มีวัตถุประสงค์ให้ศาลสั่งห้ามจำเลยมิให้กระทำการใดๆ เช่น ระงับการก่อสร้างในเวลากลางคืน รวมทั้งการเรียกค่าสินไหมทดแทน

ตัวอย่าง พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

มาตรา 96 แหล่งกำเนิดมลพิษใดก่อให้เกิดหรือเป็นแหล่งกำเนิด ของการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย แก่ชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพอนามัย หรือเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของ รัฐเสียหายด้วยประการใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ไม่ว่าการ รั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ามลพิษเช่นว่านั้นเกิดจาก

(1) เหตุสุดวิสัยหรือการสงคราม

(2) การกระทำตามคำสั่งของรัฐบาลหรือเจ้าพนักงานของรัฐ

(3) การกระทำหรือละเว้นการกระทำของผู้ที่ได้รับอันตรายหรือ ความเสียหายเองหรือของบุคคลอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้น

ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่ง กำเนิดมลพิษมีหน้าที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่ทางราชการต้องรับภาระจ่ายจริงในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นนั้นด้วย

3.ผลบังคับทางปกครอง หมายถึง การที่รัฐเข้าไปดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้กับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่ต้องดำเนินการทางกระบวนการยุติธรรมเสียก่อน เช่น การที่เจ้าพนักงานมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาต หรือสั่งปิดโรงงานที่ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย

ตัวอย่าง พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535

มาตรา 37 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ประกอบกิจการโรงงาน ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการประกอบกิจการโรงงานมี สภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขหรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดได้

ในกรณีที่เห็นสมควร เมื่อได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัด กระทรวงมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจผูกมัดประทับตราเครื่องจักร เพื่อมิให้เครื่องจักรทำงานได้ ในระหว่างการปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง

กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากรแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

กฏหมายแรงงาน

     กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้านความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร 
     กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้น
ให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคง
ของประเทศ 
     กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 
     กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

"ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงแรงงาน และประกาศหรือคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

วันเวลาทำงาน

1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
2 . กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์
ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฏกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์ 3 . กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงาน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันไม่ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน 
4 . กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดผักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี

ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา 

1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตคือ 181 บาท/วัน
2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
  - ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง 
  - ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่ม เป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน 
  - ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ 
3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน

การลาป่วยและการลาคลอด

1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน 
2. ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน 
3. ลาเพื่อรับราชการทหาร ได้ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 
4. ลาเพื่อทำหมันได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่แพทย์วินิจฉัยให้หยุด
5. ลากิจธุระ อันจำเป็น แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
6. ลาเพื่อเข้ารับการอบรม

วันหยุด1. วันหยุดประจำสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง
2. วันหยุดตามประเพณี อย่างน้อยปีละ 13 วัน (รวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว) โดยได้รับค่าจ้าง
3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว

ค่าชดเชย

1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่มีความผิดดังนี้

1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 
2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน 
3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน 
4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน 
5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

2. กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ

3. ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี 
หากนายจ้าง ไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้

1) ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน 
2) ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย
3) ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน 
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีสาเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

การว่าจ้างแรงงานเด็ก

1. ห้ามใช้แรงงานเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด 
2. ห้ามใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ในกิจการบางประเภท และทำงานระหว่างเวลา 22.00 น. - 06.00 น. ทำงานวันหยุดและทำงานล่วงเวลา 
3. ห้ามใช้แรงงานเด็กในสถานที่ เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง และตามที่กำหนดในกฏหมาย 
4. ให้ลูกจ้างเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อรับการอบรม สัมมนา ที่จัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐ โดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกิน 30 วันต่อปี 
5. การว่าจ้างแรงงานเด็กต่ำกว่า 18 ปี ต้องแจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน

การว่าจ้างแรงงานหญิง

1. การใช้แรงงานหญิง ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้

  • งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
  • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
  • งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
  • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด 
3. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ 
4. ให้แรงงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน 
5. ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน ล่วงเกินทางเพศต่อแรงงานหญิง หรือเด็ก

ความปลอดภัยในการทำงาน

1. ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร เพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการร่วมกับนายจ้าง 
2. การกำหนดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ 
3. กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานประกอบด้วย นายจ้าง ผู้แทนระดบับังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีคณะกรรมการ ตามขนาดของสถานประกอบการ 
4. การให้ความคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพงานและได้มาตรฐานโดยให้นายจ้างเป็นผู้จัดให้ อาทิ ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ให้นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยสาวนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะของงาน และลูกจ้างต้องสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดเวลาการทำงานโดยบังคับ

กระบวนการในการตรากฎหมาย

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่แยกมาบัญญัติรายละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญเพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีกระบวนการตราและพิจารณาเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติ แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น รัฐสภาจะตราขึ้นได้เฉพาะในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราขึ้นและกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญไว้ อันเป็นการผูกพันให้รัฐสภาจะต้องตรากฎหมายให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ตราในรูปแบบของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีอยู่ 9 ฉบับด้วยกัน ได้แก่

(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(2)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

(4)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

(6)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(7)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

(8)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

พระราชบัญญัติ

เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ในการตราพระราชบัญญัตินั้น โดยทั่วไปสามารถกำหนดเรื่องต่าง ๆ ตามหลักการที่ประสงค์จะให้มีผลบังคับในสังคมได้ทุกเรื่อง มีข้อจำกัดเพียงแต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือหลักกฎหมายอื่น

ร่างพระราชบัญญัติ มี 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินและร่างพระราชบัญญัติทั่วไปที่ไม่เกี่ยวด้วยการเงิน

ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1)การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร

(2)การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

(3)การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ

(4)เงินตรา

ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย

ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติ

การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้แต่โดย

(1)คณะรัฐมนตรี

(2)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

(3)ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ

(4)ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา โดยกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณานั้นต้องจัดทำในรูปแบบร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น

ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องมีบันทึก วิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย นอกจากนี้ต้องเปิดเผยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดได้โดยสะดวก

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ

1. การตรวจสอบก่อนที่พระราชบัญญัติจะใช้บังคับ 

ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันและก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่งนั้น ถ้า

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือกระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

(2) นายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือกระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไปทั้งฉบับ

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แต่ไม่เป็นสาระสำคัญ ให้เฉพาะข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป ร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นยังสามารถประกาศใช้บังคับได้

2. การตรวจสอบภายหลังที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ

กรณีที่พระราชบัญญัติได้ประกาศใช้บังคับแล้ว หากต่อมาปรากฎว่าบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้ 4 กรณี คือ

1. การตรวจสอบว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร หรือศาลอื่น และไม่ว่าคดีจะอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลใดก็ตาม หากศาลเห็นเองหรือคู่ความในคดีนั้นโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

2. การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ เป็นกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวม หรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน

3. การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้เสนอ ในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นตามที่มีผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

4. การตรวจสอบคำร้องของบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีที่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว

พระราชกำหนด

เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก มีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่จะมีผลใช้บังคับได้ไปพลางก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ ถ้ารัฐสภาอนุมัติจะมีผลเป็นกฎหมายถาวรในระดับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็จะตกไป การออกพระราชกำหนดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ มี 2 กรณี คือ

กรณีแรก เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งในกรณีนี้จะต้องนำพระราชกำหนดเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า หากอยู่นอกสมัยประชุมคณะรัฐมนตรีก็จะต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาพระราชกำหนดนั้นโดยเร็ว

กรณีที่สอง เมื่อมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราในระหว่างสมัยประชุม ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งในกรณีนี้จะต้องนำพระราชกำหนดเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กระบวนการตราพระราชกำหนด

โดยเหตุที่พระราชกำหนดนั้นมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติจึงต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากพระราชกำหนดนั้นเป็นกฎหมายพิเศษที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับโดยยังไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณากฎหมายตามขั้นตอนปกติ เพียงแต่ว่าเมื่อมีการตราพระราชกำหนดขึ้นแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ต้องนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทันทีในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภา เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีผลบังคับเป็นการถาวร ซึ่งในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานั้นจะไม่มีการพิจารณาแก้ไขถ้อยคำในรายละเอียดดังเช่นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ แต่จะอภิปรายเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แล้วจะลงมติว่าเห็นชอบให้ใช้เป็นกฎหมายต่อไปหรือไม่เท่านั้น

การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนด ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนด หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาเห็นว่าพระราชกำหนดนั้นไม่ได้ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ก็สามารถใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกให้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นไม่ได้ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด

การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกับประชาชนได้นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะนำมาใช้บังคับกับประชาชนได้ รัฐธรรมนูญจึงได้ให้รัฐสภาซึ่งมาจากตัวแทนของประชาชน ดำเนินกระบวนการตรากฎหมายตั้งแต่การเสนอ การพิจารณาจนกระทั่งประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้กฎหมายที่ก่อประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย

 

 

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

     การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเรียกกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ได้มีการกำหนดบทบัญญัติรองรับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เป็นครั้งแรก ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 170 ของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน สามารถเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาในการเสนอกฎหมาย และเมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการบัญญัติให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในมาตรา 163 โดยได้ลดจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายจาก 50,000 คน เป็นไม่น้อยกว่า 10,000 คน เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมายให้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ดังนั้น อำนาจสูงสุดภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นอำนาจที่มาจากประชาชน การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชนจึงเป็นกลไกสำคัญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้โดย

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน

(3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ

(4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา โดยกฎหมายที่จะเสนอให้รัฐสภาพิจารณานั้นต้องจัดทำในรูปแบบร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น

ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องมีบันทึก วิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเสนอมาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติด้วย นอกจากนี้ต้องเปิดเผยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อรัฐสภาให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดได้โดยสะดวก

ขั้นตอนการตรากฎหมาย

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่เดิมนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงใช้เพื่อปกครองประเทศยังความร่มเย็นเป็นสุขแก่เหล่าอาณาประชาราษฎร แต่เมื่อคณะราษฎร กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอำนาจอธิปไตยนี้แก่ปวงชนชาวไทย โดยได้กระจายไปยังองค์กรผู้ใช้อำนาจแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการพิพากษาอรรถคดี ทั้งสามอำนาจนี้มีลักษณะถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อันเป็นการป้องกันไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจเพียงฝ่ายเดียว ดังจะเห็นได้จากการตรากฎหมายขึ้นใช้ภายในรัฐนั้นให้เป็นอำนาจของฝ่ายรัฐสภาเพื่อให้ฝ่ายบริหารนำกฎหมายไปเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ให้เป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการที่จะพิพากษาอรรถคดี

ขั้นตอนในการตรากฏหมาย(พระราชบัญญัติ)

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

การจัดทำพระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

1.การเสนอร่างพระราชบัญญัติ

ผู้ที่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคการเมืองที่สังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000คน เสนอร่างพระราชบัญญัติได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองด้วย

2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น วาระ คือ

-    วาระที่ รับหลักการที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ

-    วาระที่ แปรญัตติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม

-    วาระที่ ลงมติให้ความเห็นชอบ: ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป

3.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา

วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 30 วัน ถ้าไม่เสรีที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้อีก 30 วัน ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 105 วัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 20 วัน ถ้าไม่เสรีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบ

ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

4.การตราร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

5.การประกาศใช้พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

การตรวจสอบว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ สามารถดำเนินการได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป และให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นกลับคืนสภาผุ้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพิจารณาตามลำดับให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยมติในการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา

ในกรณีที่วินิจฉัยว่าข้อความดังกล่าวในร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นสาระสำคัญ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

พระราชกำหนด        เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรง ตราขึ้นโดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก มีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่จะมีผลใช้บังคับได้ไปพลางก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเสนอให้รัฐสภา พิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ ถ้ารัฐสภาอนุมัติจะมีผลเป็นกฎหมายถาวรในระดับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็จะตกไป การออกพระราชกำหนดนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ มี 2 กรณี คือ        กรณีแรก เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะ หลีกเลี่ยงได้ เพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งในกรณีนี้จะต้องนำพระราชกำหนดเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า หากอยู่นอกสมัยประชุมคณะรัฐมนตรีก็จะต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาพระราชกำหนดนั้นโดยเร็ว        กรณีที่สอง เมื่อมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราในระหว่างสมัยประชุม ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งในกรณีนี้จะต้องนำพระราชกำหนดเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา        1. กระบวนการตราพระราชกำหนด        โดยเหตุที่พระราชกำหนดนั้นมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติจึงต้อง ผ่านกระบวนการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากพระราชกำหนดนั้นเป็นกฎหมายพิเศษที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจฝ่าย บริหารตราขึ้นใช้บังคับโดยยังไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณากฎหมายตามขั้นตอน ปกติ เพียงแต่ว่าเมื่อมีการตราพระราชกำหนดขึ้นแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ต้องนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทันทีในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภา เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีผลบังคับเป็นการ ถาวร ซึ่งในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานั้นจะไม่มีการพิจารณาแก้ไข ถ้อยคำในรายละเอียดดังเช่นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ แต่จะอภิปรายเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แล้วจะลงมติว่าเห็นชอบให้ใช้เป็นกฎหมายต่อไปหรือไม่เท่านั้น      2. การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด        ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษากฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกับประชาชนได้นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะนำมาใช้บังคับ กับประชาชนได้ รัฐธรรมนูญจึงได้ให้รัฐสภาซึ่งมาจากตัวแทนของประชาชน ดำเนินกระบวนการตรากฎหมายตั้งแต่การเสนอ การพิจารณาจนกระทั่งประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้กฎหมายที่ก่อประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง สถานการณ์ที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดเหตุผลและความจำเป็นในการตราพระราชกำหนดไว้ดังต่อไปนี้1. พระราชกำหนดทั่วไป ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ พระราชกำหนดลักษณะนี้ เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เป็นต้น2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นนี้ จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชกำหนดลักษณะนี้ เช่น พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 ซึ่งออกมาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี      การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนด         ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนด หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภาเห็นว่าพระราชกำหนดนั้นไม่ได้ ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ก็สามารถใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกให้ ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นไม่ได้ตราขึ้นเพื่อ ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลใช้บังคับมาแต่ต้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรากฎหมาย

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีส่วนร่วมในการตรากฏหมายทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า หนึ่งหมื่นคน มีสิทธิลงชื่อเสนอกฎหมาย

ส่วนในระดับท้องถิ่น ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสิทธิเข้าชื้อเสนอต่อประธานสภาท้องถิ่น เพื่อให้พิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้

การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นหลักสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน  รวมทั้งเป็นตัวบ่งชี้วัดว่าสังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ  ถ้าประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง  แสดงว่าสังคมนั้นมีการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสูงและเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชน
อีกด้วย  เช่น 
1. การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง    
เพื่อลงคะแนนเสียงตามความเห็นชอบ ในการเลือกผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่แทนตนเองในการบริหารท้องถิ่น ประเทศชาติ และกฎหมายเป็นต้น

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2


2.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
หากเห็นว่ากฎหมายใดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  โดยจะต้องรวบรวมรายชื่อไม่น้อยไปกว่า 10,000 คน   
3.รวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง
เพื่อจัดทำกิจกรรมต่างๆทางการเมือง   

แผนการ สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

 
4.การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง 
สามารถกระทำได้โดยผู้มีสิทธฺเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน  มีสิทธิเข้าร้อง ขอต่อประธานวุฒิสมาชิก  เพื่อให้มีมติถอดกอนนายกรัฐมนตรี   รัฐมนตรี  สมาชิกผู้แทนราษฏร  
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงที่มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริต  เป็นต้น
5.การออกเสียงประชามติ
 เป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชนเช้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆที่มีผลต่อประเทศชาติและประชาชน 
นอกจากนี้  ยังได้มีการเพิ่มอำนาจประชาชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นกรกระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่ระดับท้องถิ่น  โดยประชาชนในพื้นที่ดูแลตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น และที่สำคัญยังเปิดให้ประชาชน ห้าหมื่นคน เข้าเสนอชื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปประไตย